คิดก่อนคลิก เพื่อชีวิตที่ไร้ปัญหา


ยุติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้แล้ว...
     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดประชุมสัมมนาเว็บมาสเตอร์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 175 เขต ณ โรงแรมรอยัลเบญจา กรุงเทพมหานคร.....

     เมื่อวันที่ 9-12 กันยายน 2550 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดประชุมสัมมนาเว็บมาสเตอร์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 175 เขต ณ โรงแรมรอยัลเบญจา กรุงเทพมหานคร โดยมีรองเลขาธิการ กพฐ. นางมัณฑนา ศังขะกฤษณ์  เป็นประธานในพิธี  ดร.สุวัฒน์ ศักดิ์ตรีศูล ผอ.สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน กล่าว รายงาน คณะวิทยากรเช่น พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ให้ความรู้ เกี่ยวกับ พรบ.ฉบับใหม่ที่เกี่ยวข้องเว็บไซต์ ให้ผู้ดูแลรับผิดชอบเว็บไซต์ ถึงแนวปฏิบัติ ข้อปฏิบัติต่าง ๆ และข้อกฎหมายที่ท่านผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตทั้งหลายควรจะทราบไว้....

"พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้แล้ว".....

     ปัจจุบันโลกแห่งของอินเทอร์เน็ต โลกของคอมพิวเตอร์ เป็นโลกที่กว้างใหญ่ ไร้พรมแดน สามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าชม และเชื่อมถึงกันโดยเกือบจะไม่มีข้อจำกัดใด ๆ

นี่คือ "ดาบสองคม"

     เพราะในขณะที่การส่งข้อมูลข่าวสารในโลกของคอมพิวเตอร์ มีการเชื่อมต่อ และส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ในมุมกลับกันหากข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมุลเท็จ หรือข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่บุคคลหรือส่วนรวมก็ย่อมจะเกิดผลร้ายอย่างใหญ่หลวงเช่นกัน การส่งภาพโป๊ คลิปแอบถ่าย ภาพลามกหรือข้อความใส่ร้ายป้ายสีใครต่อใคร เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไปในโลกอินเทอร์เน็ต ยิ่งกว่านั้นอาชญากรรมในโลกอินเทอร์เน็ตนับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การฉ้อโกง การหลอกลวง ฯลฯ

     ข่าวดี...ขณะนี้เรามีกฎหมายใหม่ออกมาบังคับใช้ เพื่อควบคุมเกี่ยวกับการกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ คือ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2550 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป

     ท่านผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหรือระบบคอมพิวเตอร์ทราบหรือไม่ว่า การกระทำใดบ้างที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ผู้กระทำผิดจะได้รับการลงโทษมากน้อยเพียงใด พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้คือใคร มีอำนาจอย่างไร

     หากลองศึกษากฎหมายฉบับดังกล่าว จะพบว่าการกระผิดของผู้ใช้บริการระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่ถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามกฏหมายมีโทษจำคุก 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ได้แก่ ข้อมูลอันเป็นเท็จที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายรวมถึงการนำข้อมูลลามกอนาจารเข้าใปในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งคนอื่น ๆ สามารถเข้าไปดูข้อมูลนั้นได้ (มาตรา 14)

     ไม่ใช่แค่ผู้นำข้อมูลเหล่านี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ เท่านั้นที่มีความผิด ผู้ที่เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ ก็ถือว่ามีความผิดได้รับโทษเช่นเดียวกัน (มาตรา 14)

     นอกจากนี้ การนำเข้าภาพต้ดต่อ ภาพดัดแปลงด้วยวิธีการใด ๆ ของบุคคลอื่นเข้าไประบบคอมพิวเตอร์โดยมีเจตนาให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ก็ถือเป็นความผิดต้อโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 16)

     ใครที่ถูกนำภาพไปตัดต่อ ในลักษณะดังกล่าวสามารถดำเนินการร้องทุกข์ได้หรือถ้าผู้เสียหายตายไปเสียก่อน พ่อแม่ สามีภรรยาหรือลูก ยังมีสิทธิ์ร้องทุกในฐานะผู้เสียหายได้ ต่อไปนี้ ใครที่ชอบเอาภาพดารา ภาพคนดัง หรือภาพตัดต่อ ดัดแปลงของใครต่อใครเข้าไปโพสในเว็บไซต์ต้องระวังตัว !!!

    ส่วนท่านบรรดาแฮกเกอร์ทั้งหลาย ฟังให้ดี ท่านจะได้รับโทษจากการกระทำของท่านดังนี้ถ้าท่านจะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่เขามีมาตราการป้องกัน มีความผิดจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 5) และถ้าท่านได้เข้าไปดูข้อมูลของเขาด้วยแล้วละก็จะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 7) ยิ่งกว่านั้นถ้าท่านทำการปลอมแปลง ทำลาย แก้ไขข้อมูลความพิเวตอร์ของผู้อื่น หรือทำการใด ๆ ที่ไประงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น มีโทษจำคุกสูงสุดถึงยี่สิบปี (มาตรา 9 , 10 และ 12)

     ส่วนพวกที่ชอบดับกรับข้อมูลของผู้อื่นระหว่างการส่งข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายนี้ด้วยโดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 8)

     พวกที่ชอบส่งอีเมล์ที่ปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา เช่น สแปมเมล์ ทำให้รบกวนการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นก็ถือว่ามีความผิดต้องโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา 11)

     การเผยแพร่เนื้อหาืที่มีลักษณะข้างต้นนี้ ไม่ว่า่จะเผยแพร่จากเคื่องคอมพิวเตอร์ พีดีเอ โทรศัพท์มือถือ หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ก็ล้วนแต่มีความผิดเช้่นกัน

     สำหรับผู้ให้บริการ เช่น อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ไอเอสพี กลุ่มผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ชนั้นกฎหมายกำหนดให้เก็บข้อมูลการเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน เพื่อใช้ติดตามผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ ซึ่งถ้าผู้ให้บริการรายใดไม่ปฏิบัติตามนี้ มีโทษปรับสูงสุดถึงห้าแสนบาท (มาตรา 26)

     อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้ ยังได้ให้อำนาจศาลยุติธรรมสั่งระงับหรือบล็อกเว็บไซต์ ที่มีถ้อยคำเนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที อาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยายานหลักฐาน เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งระงับได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.korat6.go.th นะครับผม...แล้วพบกันใหม่ครับ

หมายเลขบันทึก: 128818เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ  พี่หนุ่ม ^-^

สิงคโปร์ 47

อ่านแล้วได้ความรู้ดีมากครับคุณหนุ่มโคราช...ในอีกแง่มุมหนึ่ง ในความเห็นส่วนตัวแล้ว เห็นว่ากฏหมายนี้ดี แต่การบังคับใช้กฏหมายของภาครัฐยังไม่ดีพอ เขียนเอาไว้เฉยๆ ซะมากกว่า เพราะยังขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ,เฝ้าระวัง,ห้ามปรามการบังคับใช้กฏหมาย แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ รัฐ(กระทรวงวัฒนธรรม,ศึกษา,คมนาคม,ICT,สตช.,มหาดไทยฯ)ควรให้มีการส่งเสริมให้เยาวชน มีความรู้ความเข้าใจ,มีจิตสำนึกถึงสิทธิส่วนบุคคล,โทษของการกระทำผิดและจริยธรรมด้านอื่นๆ  เพราะจะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นโต.....เฮ๊ย...ผมหล่ะสงสารขิงแก่....

ได้เข้าไปรับความรู้ที่เขียนไว้นี้ด้วย แต่นี้เป็นฉบับสรุปชนิดคำพูด อ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น ดีคะที่มีสรุปไว้อ่านกัน

ดีนะคะ เป็นการเตือนสติว่าต่อไป Webmaster ทุกคนต้องขยันทำงานกันมากขึ้น  ..ขอบคุณ ขอบคุณมาก ขอบคุณที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท