การพัฒนาอาชีพการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า


สรุปบทเรียนส่งเสริมการเรียนรู้

วันนี้เป็นวันอาทิตย์แต่ก็มาทำงานเพื่อมาเคลียร์งานที่ค้างอยู่ต้องสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในรอบปีงบประมาณ 2550 ที่ผ่านมาส่งต้นสังกัด เป็นธรรมดาของระบบราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณทีก็ต้องสรุปผลงานที่ทำไปแล้วมีผลเป็นอย่างไรบ้าง มีอุปสรรคอะไรบ้างจะได้นำไปแก้ไขต่อไป วันนี้ขอเล่าโครงการที่ได้ดำเนินงานไปในช่วง เดือนมีนาคม 2550 เป็นการสรุปบทเรียนการส่งเสริมการเรียนรู้ตามโครงการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าของหมู่บ้านสุมข้าม หมู่ที่ 4 ต.นาขุม อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ ก่อนจะดำเนินการโคงการนี้ได้เก็บข้อมูลการประกอบอาชีพ ความต้องการ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตของคนในชุมชน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโคกกับคนในชุมชน ทำให้กิจกรรมที่จัดตรงตามความต้องการกับชุมชนสอดคล้องกับวิถีชีวิตและทรัพยากรที่มีอยู่

สภาพความเป็นจริง ประชาชนหมู่บ้านสุมข้ามประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าวไว้กิน ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียวผิวมันไว้ขายเพราะใช้ระยะเวลาในการปลูกสั้นได้เงินมาใช้จ่ายได้รวดเร็ว ปลูกมะขามหวานขายปีละครั้งถ้าบำรุงรักษาไม่ดีก็จะได้ผลผลิตปีเว้นปีและเลี้ยงสัตว์ได้แก่วัว ควายไว้ขาย ในหมู่บ้านไม่มีตลาดสดมีแต่ร้านค้าเล็กๆเท่านั้นเพราะไม่ต้องซื้อกับข้าวอะไรมากอาหารก็จะมีกินไปตามฤดูกาลเช่นหน้าหน่อไม้ก็กินหน่อไม้ หน้าเห็ดก็กินเห็ด หน้าจิ้งหรีดก็ขุดจิ้งหรีดมาประกอบอาหาร เป็นต้น จากการไปสัมผัสกับคนในหมู่บ้านทำให้ทราบว่าประชาชนส่วนใหญ่นิยมบริโภคเห็ดเพราะเก็บไว้กินนานไม่ได้ไม่เหมือนหน่อไม้ จึงได้จัดโครงการฯนี้ขึ้นมาโดยใช้เศษวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว

วิธีดำเนินการ

  1. จัดอบรมการบริหารทุนเชิงบูรณาการในหมู่บ้านสุมข้ามให้กับคณะกรรมการกองทุนต่างๆ(มีรายละเอียดมากคราวหน้าจะเล่าให้ฟังนะครับ)
  2. ประชุมประชาชนในหมู่บ้านทั้งหมดและจะให้คุ้มไหนจัดกิจกรรมนี้ได้คุ้มที่4-5(ในหมู่บ้านแบ่งเป็น 5 คุ้มบริหารโดยมีหัวหน้าคุ้ม)
  3. วางแผนร่วมกันกำหนดเวลาให้เหมาะสมและสอดคล้องกันกับเวลาที่ว่างจากงานที่ทำประจำ
  4. ประชาสัมพันธ์การจัดโคงการฯ
  5. สุปผลการดำเนินงาน

วัสดุอุปกรณ์

  1. ขี้เลื่อยเก่าจากการทำเห็ดนางฟ้าซึ่งมีอยู่แล้ว
  2. ฟางข้าว เปลือกถั่วเขียว หยวกกล้วย
  3. ตะกร้าพลาสติก สูง 12 นิ้วหรือ 18 นิ้ว ชนิดเป็นตาห่าง 1 นิ้ว
  4. พลาสติกอย่างหนา
  5. รำละเอียด
  6. เชื้อเห็ดฟาง

 

วิธีทำ

  • นำขี้เลื่อยเก่าขยี้ให้ละเอียดตากให้แห้งแล้วพรมน้ำจนชุ่มใส่ลงในตะกร้าให้หนาประมาณ 2 นิ้วนำอาหารเสริมชนิดใดก็ได้(ฟางข้าว เปลือกถั่วเขียว หยวกกล้วย)ที่แช่น้ำแล้ว 1 คืนวางทับบนขี้เลื่อยหนาประมาณหนาประมาณ 2 ซม.นำเชื้อเห็ดฟาง 1 ถ้วยผสมกับรำละเอียด 2 ช้อนโต๊ะโรยข้างๆตะกร้าให้รอบทำเหมือนเดิมอีก 1-2 ชั้นจนเต็มตะกร้า วางตะกร้าเห็ดเป็นแถวหรือวางซ้อนกันก็ได้คลุมด้วยพลาสติกเพื่อควบคุมอุณหภูมิทิ้งไว้ประมาณ 7 วันเห็ดจะออกตามช่องรูตะกร้าดอกสวยน่ากินเก็บได้ประมาณ 1-2 ครั้งก็จะหมดต่อ 1 รุ่น เห็นไหมครับทำไม่ยากสามารถลดรายจ่ายได้ด้วยสิ่งเหล่านี้เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านอยู่แล้ว ใครสนใจอยากจะทำไว้ประกอบอาหารก็เชญได้เลยครับไม่สงวนลิขสิทธิ์

หมายเลขบันทึก: 128764เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
เป็นอีกนวตกรรมหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน ขอบคุณที่เผยแพร่ให้ความรู้และขออนุญาตนำไปขยายผล
ออกดอกแล้ว ขอชิมด้วยนะคะผอ.

- เป็นธรรมชาติที่ชาว ศบอ.จะทำงานวันอาทิตย์ วิถีการทำงานอยู่ใกล้ชิดและมีส่วนร่วมกับชาวบ้านๆจะไม่มีคำว่าวันหยุด.....

- การเพาะเห็ดฟางของที่นี่น่าสนใจ ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อ....

- พรุ่งนี้วันเสาร์...นศ.กศน.หลักสูตร กศ.พื้นฐานเริ่มสอบปลายภาคเรียน....ชาว ศบอ.ทุกคนต้องไปทำหน้าที่...ณ.สนามสอบ....

- ขอภาวนาอย่าให้เกิดน้ำท่วม...ทุกคน...จะได้ไม่ต้องกังวลและเกิดความลำบากตรากตรำในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่......

ทำได้ด้วยหรอค่ะ อยากรู้ให้มากกว่านี้ แล้วผลผลิตดีไหมค่ะ

 

ต้องการเชื้อเห็ดฟางจะต้องทำงัย

อยู่แถวไหนล่ะคะ คุณที่ต้องการเชื้อเห็ดฟาง สอบถามได้นะยินดีตอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท