อรรถาธรรมธิบายอันอาจหาญและพระปรมาจารย์แห่งอริยสงฆ์


พระอาจารย์มั่น จึงเปรียบดังผู้ปลูกต้นโพธิ์แห่งธรรมให้ประดิษฐานมั่นคงมากมาย

 

 ตอน  อรรถาธรรมธิบายอันอาจหาญของพระอาจารย์มั่น  

 

         การดำเนินชีวิตปฏิบัติธรรมกรรมฐานของพระอาจารย์มั่น ยิ่งผ่านนานเนิ่นไปเท่าใด  เกียรติคุณของท่านก็ยิ่งระบือไกลไปอย่างกว้างขวาง  ท่านเปรียบดังเพชรล้ำค่าควรเมืองที่อุบัติขึ้น เพื่อเปล่งประกายจำรัสแสงแห่งธรรมในยุคนั้นโดยแท้

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         พระอาจารย์มั่นจาริกไป ณ ที่ใด  บรรดาผู้เลื่อมใสก็เฝ้าตามติดกราบ นมัสการ คอยสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาจากท่านมากมาย  แม้แต่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ก็ใคร่สนทนาธรรมกับท่าน ครั้งหนึ่งจึงนิมนต์ท่านไปสนทนาธรรมเป็นการเฉพาะ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         พระเถระกล่าวถามว่า ท่านมีอัธยาศัยใฝ่บำเพ็ญอยู่แต่ในป่าตามลำพังเช่นนี้  ท่านมีปัญหาธรรมอันขบคิดไม่ตกบ้างหรือไม่?” </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          พระอาจารย์มั่นกล่าวธรรมด้วยความอาจหาญว่า  ท่านศึกษาธรรมะประกอบด้วยความเพียรอยู่ทุกอิริยาบถ มิได้ว่างเว้นเลยทุกกาลเวลา เว้นเสียแต่ว่านอนหลับพอแต่เล็กน้อยเท่านั้น  ครั้นตื่นขึ้นมา ใจกับธรรมะก็สัมผัสกันทันที  ในจิตใจของท่านมิได้ว่างเว้นจากปัญหาที่ต้องขบคิดเลยแม้แต่น้อย  ค่อยถกเถียงโต้ตอบกับใจอยู่เช่นนั้น ปัญหาใดขบคิดลุล่วงไป  ปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้น  ขบคิดวนเวียนอยู่เช่นนั้น ทุกแง่มุม ทั้งกว้างและแคบ ทั้งลึกและตื้น ทั้งละเอียดและหยาบ ปราบกิเลสให้หลุดพ้น เป็นบทเป็นตอน ถอดถอนกิเลสด้วยตัวเองโดยมิได้คำนึงว่าจะหาผู้ใดมาแก้ไขให้  ด้วยพึงใจในตนตามพุทธวาจาว่า  อัตตาหิ อัตโน นาโถ  ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน  ด้วยแลเห็นว่า</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>           ธรรมะ  คือสติปัญญาในหลักธรรมชาติ  การจะค้นพบธรรมที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ต้องอาศัยความเพียรแห่งตนจนถึงที่สุด ปัญหารใดที่ไถ่ถามนักปราชญ์เพราะเป็นหนทางสะดวก เกิดผลเร็ว ก็ย่อมกระทำได้  หากแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ท่านเองก็คงขวนขวายเข้าเฝ้าพระองค์เพื่อกราบทูลถามแห่งปัญหานั้นโดยมิได้ลังเล  แต่โดยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เองโดยชอบ มิได้พึ่งพาไถ่ถามผู้ใด  ทรงค้นพบสัจธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้น นี่เป็นหนทางอันประเสริฐ เป็นแนวทางที่ท่านควรยึดถือปฏิบัติตาม ถึงท่านจะใช้เวลาขวนขวายนานสักเท่าใด จะลำบากยากเย็นแค่ไหน  ท่านก็ยินดีที่จะค้นหาสัจธรรมด้วยตนเองตามลำพังเช่นนี้    </p><p></p><p>        พระเถระชั้นผู้ใหญ่ได้ฟังอรรถาธรรมธิบายของพระอาจารย์มั่นแล้ว ก็เลื่อมใส กล่าวอนุโมทนาว่า  พระอาจารย์มั่น คือพระอริยสงฆ์ที่มีความอาจหาญ จาริกปฏิบัติธรรมในป่าดุจพญาช้างสารที่ท่องไพรด้วยใจที่ร่าเริง สมควรแก่การยกย่องยิ่งนัก  </p><p> </p><p>ตอน  พระปรมาจารย์แห่งพระอริยสงฆ์ทั้งปวง </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         ต้นโพธิ์ยืนต้นเติบใหญ่ หยั่งรากลึก แผ่กิ่งใบกว้างไกลเท่าใด  ก็ย่อมให้ความชุ่มเย็นแก่ผู้อาศัยร่มเงาได้มากเท่านั้น  พระอริยสงฆ์ทั้งหลายก็เช่นกัน ย่อมเปรียบได้ดังต้นโพธิ์ที่แผ่ร่มเงาแห่งพระธรรมให้แก่ศาสนิกชนทั้งหลาย  และต้นโพธิ์แห่งธรรมทั้งปวงที่ประดิษฐานในแผ่นดินนี้ โดยมากคือศิษยานุศิษย์แห่งพระอาจารย์มั่นทั้งสิ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          พระอาจารย์มั่น จึงเปรียบดังผู้ปลูกต้นโพธิ์แห่งธรรมให้ประดิษฐานมั่นคงมากมาย ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายก็ล้วนแล้วแต่เลิศในคุณธรรมอันวิเศษ ละวางกิเลสแล้วทั้งสิ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         พระอริยสงฆ์ที่เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่นที่สำคัญในรุ่นแรกๆ  ได้แก่ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        พระอาจารย์สุวรรณ  แห่งวัดอรัญญิกาวาส อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        พระอาจารย์สิงห์ ขัตยาคโม  แห่งวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล  แห่งวัดศรัทธาราม จังหวัดนครราชสีมา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        ศิษย์ในรุ่นลำดับต่อมา ได้แก่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        พระอาจารย์เทสก์  เทสรังสี  แห่งวัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        พระอาจารย์ฝั้น  อาจาโร  แห่งวัดป่าอุดมสมพร  อำเภอพรรณนานิคม  จังหวัดสกลนคร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์ขาว  อนายโย  แห่งวัดถ้ำกลองเพล  อำเภอหนองบัวลำพู  จังหวัดอุดรธานี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์พรหม  จิรปุญโญ  แห่งวัดประสิทธิธรรม จังหวัดอุดรธานี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  แห่งวัดอโศการาม  จังหวัดสมุทรปราการ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์ชอบ  ฐานสโม  แห่งวัดป่าสัมมานุสรณ์  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์อ่อน   แห่งวัดป่าประชานิยม  จังหวัดกาฬสินธุ์</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์หลุยส์  จันทสาโร  แห่งวัดถ้ำผาบิ้ง  อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์สิม  พุทธจาโร  แห่งวัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม  แห่งวัดป่าอรัญวิเวก อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ  แห่งวัดดอยธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์แหวน  สุจิณโณ  แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอาจารย์ชา  สุภัทโท  แห่งวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     และปัจจุบัน  พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโ  แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>      และอีกมากมายเกินกว่าจะนำมากล่าวได้ครบถ้วนในที่นี้ </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     พระอริยสงฆ์ทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนเป็นผู้มีคุณอันวิเศษ และคุณลักษณะเด่นแตกต่างกันไป  แต่ทุกท่านล้วนเป็นเลิศในด้านปฏิบัติธรรม  วิปัสนากรรมฐาน ตามแนวทางสัมมาปฏิบัติแห่งพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต  ผู้เป็นพระปรมาจารย์อันประเสริฐ ซึ่งได้ปลูกโพธิธรรมให้บังเกิดขึ้น เป็นที่พึ่งแก่พุทธศาสนิกชนมาโดยลำดับ ตราบเท่าทุกวันนี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>(ติดตามตอนต่อไป)   

หมายเลขบันทึก: 128672เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 06:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • มาติดตาม..หลักธรรมของพระอริยะสงฆ์ ต่อคะอาจารย์
  • ยากคะที่จะสอนให้คนปัจจุบันพึ่งพาตนเองนะคะ

 

คุณP

        ขอบคุณครับที่ติดตามอ่าน  ถ้าอย่างไรเขียนมาเล่าประสบการณ์ทางธรรมให้อ่านบ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท