จิต: ทฤษฎีเอกลักษณ์ (The Identity Theory)


คำกล่าวของทฤษฎีนี้มีใจความสำคัญว่า  จิตกับกายคือสิ่งเดียวกัน

สำหรับความหมายของคำว่าจิต  ก็เข้าใจเหมือนกับที่คนอื่นเข้าใจ  คือ  เป็นเหตุการณ์ของ ความรู้สึกตัว  การรู้สึกสัมผัส  การจำ  การคิด  รวมทั้งความรู้สึกในกลุ่มของอารมณ์  และคำว่า กาย ก็มีความหมายเน้นหนักที่สมอง  แต่ที่ต่างออกไปก็คือ  ทั้งสองอย่างนี้ เป็นสิ่งๆเดียวกัน

ถ้าจะเปรียบเทียบก็จะได้ว่า "นายกรัฐมนตรีของไทยในปี พ.ศ. ๒๕๕๐" กับ "พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์"  คือคนๆเดียวกัน  ตัวอย่างนี้เป็นฉันใด  จิตและกายก็เป็นฉันนั้น เป็นต้น

ถ้าจะถามว่า  "มีดบาดน้วมือเป็นแผล"(กาย) กับ"ความรู้สึกเจ็บ" (จิต) เป็น "สิ่งเดียวกันหรือไม่"  ฝ่ายนี้จะตอบว่า "ใช่"  และคำอธิบายก็จะเป็นว่า  มีดบาดเป็นแผล เหตุการณ์นี้จะถูกส่งต่อไปจนถึง สมอง  กลุ่มนิวโรนในแดนนั้นก็จะ "แสดงกิจกรรม" (กระบวนการทางกาย) แล้วเกิด"ความรู้สึกเจ็บตามมา  และความรู้สึกเจ็บนั้น กับกระบวนการของกลุ่มนิวโรนดังกล่าว คือ "สิ่งเดียวกัน"  แต่สมองเป็นสสาร  ฉะนั้น เราควรศึกษากับก้อนสมองก็พอแล้ว  จากนั้นก็ถกเถียงกัน  หาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของฝ่ายตน

แต่เราก็ยังแคลงใจไม่รู้หาย !  มันจะเป็นสิ่งเดียวกันได้อย่างไร? ในเมื่อสิ่งหนึ่งเป็นอสสาร(ความรู้สึกตัว / จิต)  และอีกสิ่งหนึ่งเป็นสสาร(กาย)

ผมเองคิดว่า  "ตัวคน"(กาย)เป็น "หนึ่งหน่วยระบบ"  ถ้าเราเริ่มต้นถกกันตั้งแต่จุดเริ่มต้นตรงนี้แล้ว  ความรู้สึกตัว ความรู้สึกคิด (จิต) นั้น มีแน่นอน  และต้องไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนดังกล่าว แต่ถ้าเราคิดในระดับโมเลกุล  หรือระดับอะตอม เช่น แยกสลายคนออกไปเนชิ้นส่วน ไปเรื่อยๆ จนถึงระดับอะตอม  หรือระดับที่เล็กว่านั้น แล้ว จิตก็หามีไม่  อย่างนี้ก็ไม่ว่ากัน  แต่ถ้าเราเริ่มต้นคิดเอาจาก "คน" แล้วละก้อ   จิตดังกล่าวนั้น "มีแน่"

การคิดถอยหลังไปถึงระดับอะตอมนั้น  เป็นความคิดของกลุ่ม Materialism ครับ  เมื่อกลุ่มนี้มี สสารนิยมอยู่ใจจิต  เขาก็คิดแบบ สสารนิยมครับ

เป็นอันว่า  ตาบอดคลำช้าง ต่างก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าตนเองคลำถูกช้างทั้งตัวแล้วหรือยัง

แต่มันสนุกตรงที่มนท้าทายปัญญาของพวกเรา - มนุษย์ ครับ

ทฤษฎีจิตมีหลายทฤษฎีนะครับ  แต่ผมจะนำมาอภิปรายเพียงเท่านี้  เพราะพอเพียงที่เห็นทางเดินของความคิดแล้วครับ

ทฤษฎีที่เล่ามานี้ เป็นทฤษฎีทางปรัชญาครับ  ความ"ถูก - ผิด" ต้อง "พิสูจน์" กันด้วยหลักวิชา "ตรรกศาสตร์"

นักจิตวิทยาเขาก็สร้างทฤษฎีเหมือนกัน  แต่เป็นทฤษฎีเชิงประจักษ์ และ "ทดสอบ"ความถูก - ผิด ด้วย "การวิจัย" ครับ

การที่ยังไม่พบตัวช้างที่แท้จริง เป็นการเปิดโอกาสให้พวกเราได้ช่วยกันคลำต่อไปนะครับ

ขอแต่เพียง "อย่าว่าจ้างเขาทำวิทยานิพนธ์ให้"ก็แล้วกัน

หมายเลขบันทึก: 128255เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2007 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดร. ไสว......

ขอแต่เพียง "อย่าว่าจ้างเขาทำวิทยานิพนธ์ให้"ก็แล้วกัน

อาจารย์สรุปได้ถูกใจมาก....

เจริญพร 

ครับ   พระคุณเจ้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท