พายุ
นาง สุภาภรณ์ บุตรดีวงษ์ มีเงิน

การพัฒนาคน…สู่ความเป็นทรัพยากรมนุษย์


ชีวิตประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.ร่างกาย 2. ระบบประสาท 3.ความรู้สึก

วันนี้จะนำเสนอบทความทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาคนคะ

บทความเชิงวิชาการ   " การพัฒนาคน…สู่ความเป็นทรัพยากรมนุษย์ "
 ผู้เขียนได้อ่านเรื่องระบบการศึกษาที่ถูกต้องของความเป็นมนุษย์ ซึ่งบรรยายโดยพระคุณเจ้าพระอาจารย์วรศักดิ์ วรธัมโม วัดพุทธธรรม เมืองชิคาโก รัฐอิลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะกลับมา เมืองไทยและรับนิมนต์บรรยาย ให้บุคลากรกระทรวงศึกษาธิการฟัง และกรมวิชาการได้จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2545 ประเด็นที่ผู้เขียนสนใจคือท่านบอกว่า ชีวิต (Life) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ (1) ส่วนที่เป็นร่างกาย (Physical) ถ้าส่วนนี้ดีการงานดี    (2) ส่วนที่เป็นระบบประสาท (Mentality) ถ้าส่วนนี้ดีเล่าเรียนดี  และ (3) ส่วนที่เป็นเรื่องของความรู้สึก (Spiritual) ถ้าส่วนนี้ดีจิตใจดี   และท่านสรุปว่าการปฏิรูปการศึกษา ควรที่จะให้ผู้เรียนดีทั้งร่างกาย  ดีทั้งระบบประสาท สมอง และดีทั้งจิตใจ นั่นก็คือ การงานดี  เล่าเรียนดี และจิตใจดี (ดี เก่ง มีความสุข)  จะเห็นได้ว่าในการพัฒนาอะไรก็ตามจำเป็นที่จะต้องพัฒนาคนก่อน ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า ในการพัฒนาองค์กร (ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง  พัฒนาบุคลากร (คน) และวัตถุ  โดยที่บุคลากรมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ไม่มีกฎเกณฑ์ ที่แน่นอน ขึ้นกับภูมิหลัง ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ ส่วนวัตถุ เป็นสิ่งคงที่ มีกฎเกณฑ์ค่อนข้างตายตัว

       คนถือได้ว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือความล้มเหลวของสังคม เนื่องจากคนเป็นผู้สร้าง รักษา พัฒนา และขณะเดียวกันก็เป็นผู้ทำลาย ดังนั้น ทำอย่างไรที่จะให้คนเข้าสู่กระบวนการของการพัฒนาไม่ว่าเป็นการให้การศึกษา (ความรู้และประสบการณ์ด้านวิชาการ) การฝึกอบรม (วิทยาการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่) ตลอดจนการพัฒนาตนด้านคุณธรรมและจริยธรรม โดยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นคนที่มีคุณภาพ คือเป็นคนที่ มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถปรับตนให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง คนที่ผ่านกระบวนการพัฒนาก็จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ (คนที่มีคุณค่าเหมือนทรัพย์)  ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และการเมือง แต่สิ่งที่นักวิชาการและผู้ที่เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยส่วนหนึ่งกลับวิตกว่า การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นทรัพยากรมนุษย์นั้นจะหลงทิศทาง โดยมุ่งในทางกายภาพมากเกิน ส่วนด้านคุณธรรม จริยธรรม ความดี ความงาม จะถูกละเลย ทั้งนี้เพราะคนทุกคนเมื่อทำอะไรลงไป มักจะคำนึงถึงผลประโยชน์ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ผลประโยชน์นั้น เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ หรือผลประโยชน์ตน
นายธนกร  เกื้อกูล (ผู้เขียน)
ผอ. สถานศึกษา (คศ.3)
ศบอ.ควนเนียง  จังหวัดสงขลา
15  พฤศจิกายน 2548

หมายเลขบันทึก: 127974เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2007 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • "คน" ถือว่าอยู่กึ่งกลาง วัดกันที่จิตใจจะเห็นได้ชัดครับ
  • ถ้าจิตใจต่ำ ก็ลงสู่ความเป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต ....
  • ถ้าจิตใจสูง ก็ขึ้นสู่ความเป็นมนุษย์ เป็นเทพ ...
  • การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ (ผู้มีใจสูง) จึงพัฒนาที่จิตใจ แต่ถ้าพูดถึงเป็นทรัพยากรแล้วละก้อ ต้องพัฒนาทั้งกายและใจครับ
  • ตามไปดูหน่อยไหม  http://gotoknow.org/blog/tanan1/114241
ขอบคุณคะ แล้วจะตามไปดูตามที่แนะนำไว้คะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท