ฟันหลุด ทำอย่างไรดี


...เราๆ ท่านๆ อาจจะสงสัยว่า ถ้าฟันหลุด เช่น อุบัติเหตุ ถูกทำร้ายร่างกาย ฯลฯ จะทำอย่างไรดี...

Hiker 

พวกเราอาจจะสงสัยว่า ถ้าฟันหลุด เช่น อุบัติเหตุ ถูกทำร้ายร่างกาย ฯลฯ จะทำอย่างไรดี ข่าวดีคือ ฟันของคนเราส่วนหนึ่งหลุดแล้วใส่กลับคืน เปรียบคล้ายต้นไม้ที่หลุดจากดินแล้วปลูกคืนได้ถ้าทำถูกวิธี

โอกาสที่จะใส่ฟันกลับคืนได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ ฯลฯ เด็กที่อายุน้อยมีโอกาสใส่ฟันกลับคืนให้ดีดังเดิมมากกว่าผู้ใหญ่

การดูแลฟันที่หลุดออกมาอย่างดี และรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุดช่วยเพิ่มโอกาสใส่ฟันกลับคืนสำเร็จให้มากขึ้นได้

การใส่ฟันที่หลุดกลับคืนไปมักจะต้องทำการรักษาช่องรากฟัน (root canal treatment) และใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้เอ็นขนาดจิ๋วบริเวณโคนฟันยึดฟันติดกับขากรรไกรได้ดี

เรื่องนี้เปรียบคล้ายเสาโทรศัพท์ เสาวิทยุ หรือเสาส่งต่อสัญญาณตามต่างจังหวัดที่มีขนาดเล็ก เมื่อจะทำให้แข็งแรงขึ้นต้องมีลวดสลิงยึดโยงไปรอบๆ.... ฟันก็มีเยื่อยึดที่โคนฟันคล้ายๆ กัน

ศาสตราจารย์ ทพ.ดร.โดนัลด์ ซาโดสกี้ อาจารย์โรงเรียนทันตกรรมและศัลยกรรมช่องปาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia university school of dental & oral surgery) นิวยอร์ค แนะนำว่า ถ้าเรามีฟันหลุดควรทำดังต่อไปนี้

  • อย่าจับรากฟัน:
    รากฟัน(ด้านล่างที่ติดกับขากรรไกร)บอบบางมากกว่าที่คิด การจับรากฟันด้วยมือจะทำให้รากฟันเสียหาย ให้จับส่วนบนของฟัน

  • ล้างด้วยน้ำนม:
    ล้างฟันด้วยน้ำนม อย่าถู เพราะรากฟันบอบบางมากกว่าที่คิด

  • ใส่ถ้วย:
    แช่ฟันในน้ำนม ถ้าไม่มีฟันให้หาถ้วยหรือภาชนะสะอาด บ้วนน้ำลายลงไป ถ้าไม่มีถ้วยหรือภาชนะสะอาด... ให้อมฟันไว้ในปาก วางไว้ด้านนอกฟันแถวล่าง(ระหว่างเหงือกกับแก้ม) หลังจากนั้นอย่าพูดหรือกลืน(ถ้าอมฟันไว้ในปาก) เพราะอาจทำให้กลืนฟัน หรือสำลักลงหลอดลมได้

    ไม่ควรให้เด็กอมฟันไว้ในปาก เพราะเด็กอาจจะกลืนฟันลงไป ถ้าไม่มีถ้วยหรือภาชนะสะอาด และอมไว้ในปากไม่ได้ ให้บ้วนน้ำลายใส่ชายเสื้อหรือผ้าจนเปียกดี แล้วห่อไว้ อย่าให้ฟันแห้ง อวัยวะภายในของคนเราแห้งไม่ได้ ถ้าแห้งแล้วส่วนนั้นจะตาย

    แนะนำให้อ่าน:                                  

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ช่องปาก"
  • [ Click - Click ] 
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ทันตกรรม+ฟัน"
  • [ Click - Click ]

    แหล่งที่มา:                                      

  • ขอขอบคุณ > [ Click - Click ] > http://www.simplestepsdental.com/ SS/ihtSS/r.EMIHC252/st.32579/t.32602/ pr.3/ d.dmtSSContent/c.306361.html > January 17, 2006. (แยกลิงค์ออก โดยใส่ "เว้นวรรค" เพื่อให้จัดหน้าบล็อกได้)
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT + หน่วยรังสีกรรม > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT + กลุ่มงานรังสีวินิจฉัย > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • ความเห็นและการอ้างอิงในบันทึกเป็นไป เพื่อสนับสนุนการให้ข้อมูลข่าวสาร และส่งเสริมการดูแลสุขภาพ... ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาทันตแพทย์ แพทย์ หรือบุคลากรสุขภาพที่ดูแลท่าน เช่น หมออนามัย พยาบาล เภสัชกร ฯลฯ
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ > แก้ไข 24 พฤษภาคม 2550.
หมายเลขบันทึก: 12788เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2006 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท