โฆษณา "หน้าไม่มัน" กับการหายไปของภาษาโซ่


ผู้ใหญ่บ้านจึงชักชวนให้ลูกบ้านหัดพูดภาษาไทอีสาน แทนภาษาโซ่

โฆษณา หน้าไม่มันกับการเลือนหายของภาษาโซ่ที่ชุมชนหนึ่ง 

เผอิญได้ยินเสียงจากโฆษณาชุด หน้าไม่มันเลยของเครื่องประทินหน้ายี่ห้อหนึ่ง ที่นายแบบเอาน้ำมันพืชทาหน้าเพราะผู้กำกับบอกว่า ทำหน้าให้มันๆหน่อย หน้าไม่มันเลย (ในโทรทัศน์ที่เปิดไว้เป็นเพื่อน)ทำให้นึกไปถึงเรื่องราวของการเลือนหายไปของภาษาโซ่ที่ชุมชนหนึ่ง

เชื่อมโยงกันได้อย่างไรนั้น เชิญทัศนา

ชุมชนดังกล่าว อยู่ในอำเภอ กุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร แต่อยู่ค่อนมาทางอำเภอเมือง กับอำเภอท่าแร่(แหล่งจำหน่ายเนื้อสุนัขลือชื่อนั่นแหละครับ) ประวัติการตั้งชุมชนสืบค้นไปได้กว่าสองร้อยปี โดยพี่น้องชาวเผ่าโซ่ที่อพยพมาจากอีกฟากฝั่งของแม่น้ำโขง ในยุคที่ยังไม่มีพรมแดนกางกั้น

สถานการณ์ของความเป็น อัตตลักษณ์กลุ่มชาติพรรณในปัจจุบัน พบว่า ภาษาโซ่ได้เลือนหายไปจนเกือบหมดแล้ว พี่น้องที่อายุต่ำกว่าสี่สิบปี แค่พอฟังภาษาโซ่ออก แต่พูดไม่ได้แล้ว ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่คาดไม่ถึง ทั้งๆที่อำเภอกุสุมาลย์ เป็นเมืองหลวงทางด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมเผ่าโซ่แท้ๆ มีงานรวมเผ่าโซ่ทุกปี และมีพิพิธภัณฑ์ชาวเผ่าโซ่แสดงที่ข้างที่ว่าการอำเภอ

สอบถามในเวทีการทำ พีอาร์เอ ได้รับคำบอกเล่าว่า เมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ได้มีการแยกกิ่งอำเภอกุสุมาลย์ ออกจากอำเภอเมือง ได้มีผู้ปกครองท่านหนึ่งพูดขึ้นในที่ประชุมว่า พวกโซ่นี่พูดไม่รู้เรื่องผู้ใหญ่บ้าน กับผู้ช่วยจึงได้หารือกัน สั่งให้ทุกคนหัดพูดภาษาไทอีสาน รวมถึงการสอนลูกหลานให้พูดภาษาไทกลาง หรือไทอีสานแทนภาษาโซ่

นี่สะท้อนอะไรได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการ สะท้อนถึงความซื่อของพี่น้องไทโซ่

แต่ที่สำคัญอย่างน่าอัศจรรย์ก็คือ ความคล้ายคลึงกันของเหตุการณ์ในโฆษณา กับที่เกิดในชุมชนนั้นเมื่อห้าสิบปีก่อน 

การเลือนหายไปของภาษาประจำถิ่น ไม่เพียงแต่หายไปแค่ภาษาเท่านั้น เป็นที่น่าวิตกว่าภูมิปัญญาดั้งเดิม เช่นความรู้เรื่องสมุนไพร และความรู้ด้านต่างๆ ที่คนรุ่นก่อนๆได้สะสม และถ่ายทอดมาหลายสิบชั่วอายุคน จะสูญหายไปด้วย แม้กระทั่งประเพณีการเลี้ยงปู่ตา ซึ่งเป็นกรอบควบคุมกลไกทางสังคม และเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ ปัจจุบันนี้ก็หาคนมาเป็นเจ้าจ้ำที่พูดภาษาโซ่ได้ยากเต็มที ผู้เฒ่าแม่แก่บอกว่าคงต้องอัดเทปเอาไว้ไปเปิดเวลามีการเลี้ยงปู่ตา (อนิจจา)

อย่างไรก็ตาม ชุมชนพี่น้องไทโซ่ที่ดงหลวง ยังมีการอนุรักษ์ภาษาโซ่กันอย่างเหนียวแน่น โดยภาษาแรกที่เด็กจะได้เรียนรู้ หรือหัดพูดจากพ่อแม่ที่บ้าน คือภาษาโซ่ เมื่อไปโรงเรียนจึงเรียนรู้ภาษาไทอีสาน และไทกลางตามลำดับ

ท่านผู้อ่านคิดว่าสามารถโยงสองเหตุการณ์ข้างบนเข้าด้วยกันได้ไหมครับ 

หมายเลขบันทึก: 127861เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2007 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • นักปกครองที่ไม่ตระหนักในความมีคุณค่าของภาษา เอาตัวเองเป็นหลัก เรื่องทำนองนี้ปัจจุบันก็มีอยู่นะ
  • แนะนำ blog น่าสนใจที่ http://gotoknow.org/blog/modeling/128727
ลืมบอกไปว่าสร้างรูปแบบใหม่แล้ว ตัวหนังสือใหญ่และห่างกัน อ่านง่ายดี

อยากเรียนรู้ภาษาโซ่ครับ ไม่มีคนสอนเลย แต่ผู่เฒ่าบ้านผมแต่ก่อนฟังโซ่ออกครับ

จาก ผู้ไทเมืองเว เรณูนคร

ผมพูดเป็นคับ ภาษาโซ่ ผมเกิดที่หมู่บ้านโซ่

ผมเป็นคนโซ่ อยู่นครพนมและไม่เคยที่จะหลงลืมภาษาตัวเองที่บรรพบุรุษให้มา แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่าภาษาของเรากำลังจะเลือนหาย

อยากรู้จักภาษาโซ่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท