มุสลิมกับสิทธิเสรีภาพ


ชาวมลายูมุสลิมกับสิทธิเสรีภาพ

ชาวมลายูมุสลิมกับสิทธิเสรีภาพ:   ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย ดร. สุริยะ สะนิวา และคณะ (อ. อับดูเลาะ อุมา อ. มะหะมะดารี แวโนะ และ อ. มะดาโอะ ปูเตะ)  email: [email protected]          

       บทความนี้เป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  มีการสำรวจสอบถามความคิดเห็น (perceptions) จากผู้นำชุมชนในจังหวัดปัตตานี  ยะลา  และนราธิวาส  เพื่อตรวจสอบคำถามที่ว่า เพราะเหตุใดความเคลื่อนไหวด้านการเมืองเปลี่ยนสู่ความรุนแรง  ซึ่งปัจจัยตัวแปรอิสระ 3 ปัจจัยที่กำหนดไว้คือ 1) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจไม่ทั่วถึง  2) ระบบการเมืองให้เสรีภาพไม่เพียงพอ  และ 3) ทัศนคติที่เปลี่ยนแปลง  และตัวแปรตามคือ เปลี่ยนแปลงสู่ความรุนแรง

ชาวมลายูมุสลิมกับสิทธิเสรีภาพ:   ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อบทความบทนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะตรวจสอบสาเหตุการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนกลุ่มน้อยจากแนวทางสายกลางสู่ความรุนแรงภายในประเทศที่มีระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา   จึงมีการตรวจสอบหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ของชนกลุ่มน้อยโดยใช้ปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระหลักๆ  สามปัจจัยคือ   1) ระบบการเมืองให้เสรีภาพไม่เพียงพอ 2)  การพัฒนาเศรษฐกิจไม่ทั่วถึง  และ 3)  ทัศนคติของประชาชนเปลี่ยนแปลง  ทั้งนี้ เพื่อค้นหาค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ความเคลื่อนไหวด้านการเมืองของชนกลุ่มน้อยจากแนวทางสายกลางสู่ความรุนแรง  บทความบทนี้จึงใช้ข้อมูลที่มาจากทั้งสองแหล่งคือ ปฐมภูมิและทุติยภูมิ  แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กันไป ซึ่งข้อมูลปฐมภูมินั้นได้มาจากการสัมภาษณ์ที่ได้ออกแบบโครงสร้างคำถามขึ้นมาสอบถามผู้นำชุมชนจำนวน 30 ท่านในอำเภอยะรัง (ปัตตานี) อำเภอยี่งอ (นราธิวาส) และอำเภอรามัน (ยะลา) เริ่มจากเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 การสัมภาษณ์ดังกล่าวก็เพื่อที่จะได้หยั่งแนวคิดและพิจารณาความเห็นถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ด้านการเมืองของชนกลุ่มน้อย ซึ่งคำตอบต่างๆ ทั้งหมดจากผู้นำชุมชนจะถูกนำมาวิเคราะห์ในรูปแบบของความถี่และแปลงค่าออกเป็นร้อยละ  ผลลัพธ์ที่คำนวณออกมาที่เป็นค่าร้อยละสูงที่สุดจากปัจจัยตัวแปรอิสระสามปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะถือเป็นการยืนยันถึงสาเหตุที่ชนกลุ่มน้อยเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ความเคลื่อนไหวจากแนวทางสายกลางสู่ความรุนแรง  ส่วนข้อมูลทุติยภูมินั้นจะได้มาจากสื่อและสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ นอกจากนี้ เค้าโครงที่ใช้ในบทความเล่มนี้ส่วนใหญ่จะยึดถือแนวความคิดด้านความแปรผันของกลุ่มชาติพันธุ์ของท่าน Smith (1981) ซึ่งในบทความเล่มนี้มีการพบว่า ปัจจัย การพัฒนาเศรษฐกิจไม่ทั่วถึงเป็นปัจจัยที่มีค่านิยมสูงสุด (ร้อยละ84.6) ที่มีความเกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ด้านการเมืองของชนกลุ่มน้อยที่เป็นชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูจากแนวทางสายกลางสู่ความรุนแรง  ส่วนปัจจัย ระบบการเมืองให้เสรีภาพไม่เพียงพอเป็นปัจจัยรอง (ร้อยละ27) และปัจจัย ทัศนคติของประชาชนเปลี่ยนแปลงจะมีค่านิยมที่ต่ำมาก (ร้อยละ 23.1) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากปัจจัยสามปัจจัยดังกล่าวที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในยุทธศาสตร์ด้านการเมืองของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูคือ ปัจจัย ความรู้สึกเสียใจกับญาติพี่น้องที่เสียชีวิตจากการปราบปรามทางทหาร(ร้อยละ 92.3) และปัจจัย ไม่เห็นด้วยกับการส่งกำลังทหารเข้าปราบปรามเหตุการณ์ไม่สงบ(ร้อยละ 57.7)   ฉะนั้น บทความเล่มนี้จึงมีข้อสรุปว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นสืบเนื่องมาจากประชาชนชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนใต้ยังขาดองค์กรทางการเมืองในลักษณะที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ทางชาติพันธ์เข้าสู่สภาในระบบการเมืองของประเทศไทยอย่างเป็นสัดส่วน (proportional representation)  นั้นเอง    

 The Malay-Muslims and Freedom: A Case Study of the Malay-Muslim Movement in Southern Border Provinces of Thailand

  ABSTRACT 

This paper is about rights and freedom of the Malay-Muslims in southern border provinces of Thailand.  It aims to examine why ethnic minority groups change their strategies from moderate to radical forms in their parliamentary democratic system.  This paper explores the change in political strategies of this ethnic group using three independent factors such as “poor liberalization of a system”, “poor economic developments”, and “change in attitude”.  It aims to discover some values which might be connected with the change in political strategies of the ethnic minority groups.  This paper uses both primary and secondary sources which were analyzed using qualitative and quantitative approaches.  The primary data are from our interviews and structured questionnaires that involved 30 respondents from ethnic Malay-Muslims in Yarang district (Pattani province), Yingor district (Narathiwat province), and Raman district (Yala province) started from June to September 2007.  The interviews were conducted in order to gauge the perceptions of “why ethnic minority groups change their strategies from moderate to radical forms” were manifested.  All the answers from respondents were qualitatively analyzed in the forms of frequencies and percentages.  The biggest percentage in the results from these three independent factors will be the most important value that can clarify the question of why ethnic strategies changed from moderate to radical forms in their communities.  The secondary sources are from published materials.  The conceptual framework used in this paper is that of ethnic revivals as put forward by Smith (1981).  This paper has found that “poor economic developments” is the most important value (84.6 percent) that concerns the change in ethnic strategies of the Malay-Muslims from moderate to radical forms.  The factor “poor liberalization of a system” is in the second (27 percent) position and the “change in attitude” in the lowest (23.1 percent).  However, it has also found that some factors other than these three factors such as “feeling of deep sorrow towards the Muslim deaths from the military squashes” (92.3 percent) and “disagreement with the military operations in the local areas” (57.7 percent) are also connected with the change in strategies of the Malay-Muslims from moderate to radical forms in the southern border provinces of Thailand.  This paper concluded that problems in the southern border provinces of Thailand occurred because the Malay-Muslim community itself still has no political organization which would be represented to protect their interests for their ethnicity   with a proportional representation process in the Thai parliamentary system.                   

หมายเลขบันทึก: 127694เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2007 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์ช่วยเอาสังเคราะห์เป็นประเด็นสำคัญๆ มานำเสนอหน่อยนะครับ อ่านเยอะอย่างนี้ตอนไม่ได้ทานข้าวด้วย ตามันลาย ฮาฮาฮา

กระผมได้อ่านบทความของท่านแล้ว

มันซำ้ไปซ้ำมา วกไปเวียนมา

มันเลยทำให้กระผม คนไม่มีการศึกษา

เวียนกระบานมากเลย ขอรับ(ครับ)

จนมาเจอ 5 บรรทัดสุดท้าย น่าจะเป็น Main Idea

ก็ไม่เชิง...เลยเข้าใจได้นิดหน่อย..........

This paper concluded that problems in the southern border provinces of Thailand occurred because the Malay-Muslim community itself still has no political organization which would be represented to protect their interests

for their ethnicity with a proportional representation process in the Thai parliamentary system.

แต่ไม่เข้าใจคำว่า Malay-Muslim นะครับ ว่ามาอยู่ทำไม่ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บ้านเรา..เพราะที่ผมเห็นก็มีแต่คนไทย ที่ใช้ถาษายาวีอาศัยอยู่ทั้ง

นั้น นี่ครับ...แล้วมาเรียกร้อง interests อะไรกันเล่า ทำไมไม่ไป เอารัฐบาล

มาเลเซียละ ขอรับ (ครับ) ท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท