หลัก"ธรรมาภิบาล" กับระบบราชการไทยตอนที่ 2


ประชาชนมีความพึงพอใจ สามารถตรวจสอบได้...

หลัก"ธรรมาภิบาล" กับระบบราชการไทยตอนที่ 2 วันนี้ต่อจากตอนที่ 1ครับ

ส่วนคำที่สอง คือ Good มีการนิยามว่า ที่ดี ของการบริหารกิจการบ้านเมือคืออะไร คำว่าที่ดีมีขอบเขตกว้างขวางและแตกต่างกันออกไป ไท่ดี" ของนักเศรษฐศาสตร์อาจหมายถึง ความคุ้มค่ามีประสิทธิภาพ "ที่ดี" ของนักบริหารคือมีประสิทธิผลทำงานเสร็จตามเป้าหมายทำงายอย่างมีคุณภาพ ประชาชนมีความพึงพอใจ สามารถตรวจสอบได้หรือเรียกว่ามีภาระรับผิดชอบ แต่ "ที่ดี" ตามแนวคิดของนักรัฐศาตร์ คือ ประชาชนต้องมีส่วนร่วม การทำงานต้องมีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูล ให้ราชการทำงานเหมือนปลาทองในตู้กระจก คือ เห็นการทำงานได้ยอ่างชัดเจน โปร่งใน มีการกระจายอำนาย รวมทั้งทำงานตอบสนองความต้องการของประชาชน ช่วยแก้ไขปัญหาประชาชน  บรรเทาทุกข์ของประชาชน

ส่วน"ที่ดี " ของนักกฏหมายมหาชนมองว่าต้องยึดหลักนิติรัฐ นิติธรรมซึ่งต้องการให้ฝ่ายปกครองปฏิบัติตามหลักกฏหมาย เมื่อใดที่ฝ่ายปกครองใช้กฏหมายเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดก็จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่ต้องการให้มีการเลือกปฏิบัติ  มีความยุติธรรมเสมอภาคกัน

จบแค่นี้ก่อนนะครับค่อยต่อตอนที่ 3 พรุ่งนี้นะครับ เรื่องวิชาการต้องค่อยๆ อ่าน ไม่งั้นเครียดครับผม

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมาภิบาล
หมายเลขบันทึก: 127170เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท