ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น [E-Theses]


ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย...ช่วยให้คุณทำวิจัยได้ง่ายขึ้น......

แหล่งสารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย
            สวัสดีค่ะ มาพบกันอีกเช่นเคยนะคะ สำหรับฐานข้อมูลที่จะแนะนำในวันนี้ก็เป็นฐานข้อมูลที่ 5 แล้วค่ะ ซึ่งนับเป็นฐานข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับผู้ที่กำลังศึกษา ค้นคว้า ทำวิจัยหรือผู้ที่ทำงานวิชาการ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะต้องการและคาดหวังอยากให้มี ฐานข้อมูลที่ให้เอกสารฉบับเต็ม ที่สามารถเข้าค้นหา อ่าน พิมพ์ บันทึก ดาวน์โหลดได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ค้นหาได้ทุกเวลา โดยไม่จำกัดสถานที่
             ดังนั้นในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ ได้เริ่มพัฒนาฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มขึ้น เพื่อสนองรับความต้องการของผู้ใช้
             ห้องสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้เริ่มพัฒนาฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย เพื่อให้บริการแก่ นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฐานข้อมูลดังกล่าวนี้ เป็นฐานข้อมูลที่ให้เอกสารฉบับเต็มของงานวิจัย วิทยานิพนธ์ การศึกษาอิสระ และบทความวารสาร ที่ผลิต/แต่งโดยนักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่นเท่านั้น ปัจจุบันมีเอกสารฉบับเต็มกว่า 10,000 ชื่อเรื่อง ครอบคลุมเนื้อหาทุกสาขาวิชา ให้ข้อมูลในรูปแบบของ PDF [ดูวิธีค้นหาวิทยานิพนธ์ได้ที่นี่จ้า]

             ผู้มีสิทธิเข้าใช้บริการ
             ผู้มีสิทธิ์เข้าใช้บริการ ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ ข้าราชการ และบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
             สำหรับบุคคลภายนอก สามารถเข้าใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อค้นหาทรัพยากรห้องสมุดได้ที่ ห้องบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยมีค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 50 บาท มีระยะเวลาการใช้ 2 ชั่วโมงต่อวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ห้องบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารศูนย์สารสนเทศ ชั้น 3 (สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) หรือสอบถามได้ที่ [email protected]

              
             วิธีเข้าใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
             การค้นหาวิทยานิพนธ์ นักศึกษา อาจารย์ ข้าราชการ และบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถค้นหาผ่านทางหน้าโฮมเพจของสำนักวิทยบริการ URL:http://library.kku.ac.th เลือกเมนู E-Thesis หรือเว็บไซต์ของฐานข้อมูล http://202.28.92.232/dcmsth/main.nsp?view=DCM  โดยตรง    
            บุคลากรมข. สามารถค้นหาวิทยานิพนธ์ได้จากหน่วยงาน/ภาควิชา/คณะ/ห้องสมุด ภายในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้   
            ส่วนการสืบค้นข้อมูลนอกระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เช่น จากที่บ้าน/ที่ทำงาน โดยใช้การสื่อสารผ่าน MODEM, ADSL หรือบริการจาก ISP ที่ไม่ใช่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ใช้ต้อง Login ผ่านระบบ SSL VPN  (Secure Sockets Layer + Virtual Private Network)  ซึ่งเป็นการให้บริการระบบเครือข่ายเฉพาะภายในองค์กรที่สามารถใช้งานโดยอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (public Network) หรือ Internet โดยที่บุคคลภายนอกองค์กรไม่สามารถเข้าถึงได้  เพราะระบบจะทำการตรวจสอบความมีตัวตนก่อนให้บริการ [ดูการใช้งานระบบ SSL VPN ได้ที่นี่ http://www2.kku.ac.th/vpn/
            
ดังนั้น  การสืบค้นข้อมูลของห้องสมุดนอกระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้อง Login  ผ่านระบบ  SSL VPN  โดยใช้ User Name และ Password ตัวเดียวกับระบบ Web-Mail ของมหาวิทยาลัย  ซึ่งศูนย์คอมพิวเตอร์ออกให้ เพื่อตรวจสอบสิทธิก่อนการเข้าใช้บริการ
             ทั้งนี้นักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่นสามารถสมัครเป็นสมาชิก KKU NET ได้ที่ http://202.12.97.2/account/
             หากนักศึกษาหรือบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีปัญหาเกี่ยวกับ User name และ Password ไม่สามารถ Login เข้าสู่ระบบไม่ได้ กรุณาติดต่อที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  

             ข้อจำกัด
             
อย่างไรก็ตามฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ยังมีข้อจำกัดเหมือนๆ กับฐานข้อมูลอื่นๆ  เช่น  
             1. หน้าจอการค้นหา เมนูและเขตข้อมูลการค้นหา ใช้งานได้ไม่สมบูรณ์ และไม่เต็มฟังค์ชั่นที่มีให้ในตัวโปรแกรม
             2. ไม่สามารถ Export หรือจัดส่งไฟล์ข้อมูลผ่านทาง E-mail ได้ เนื่องจากโปรแกรมไม่มีเมนู/ฟังค์ชั่นการใช้งาน เกี่ยวกับการส่งข้อมูลทาง E-mail 
             3. ไม่สามารถค้นหา คำ/วลี ที่อยู่ในเขตข้อมูลที่เป็นเนื้อหาได้ เนื่องจากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แสดงผลข้อมูลในรูปแบบ PDF ไม่ได้แสดงผลในรูปของ HTML File
             4. ในฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย สามารถค้นหา โดยใช้คำค้นทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้  แต่เมื่อเปรียบเทียบการค้นหา ระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแล้ว บางรายการถ้าค้นหาเป็นภาษาไทย จำนวนผลลัพธ์จะได้มากกว่าที่ค้นหาเป็นภาษาอังกฤษ
              ทั้งนี้ เนื่องจาก..........(จะเล่าให้ฟังต่อไปค่ะ)
             5. ไม่มีเครื่องมือช่วย ในการ marked record หรือการเลือกงานวิจัย/วิทยานิพนธ์พร้อมกันหลายๆ เรื่อง  เพื่อจัดเก็บข้อมูลไว้อ่านภายหลัง
             6. การจัดเก็บข้อมูล ไม่สะดวก เนื่องจากต้องเปิดไฟล์ก่อน จึงจะสามารถบันทึกหรือจัดเก็บข้อมูลได้ ซึ่งงานวิจัย 1 เรื่องจะมีประมาณ 10 ไฟล์ ทำให้เสียเวลาในการจัดเก็บข้อมูล
              7. 

             หมายเหตุ  สมัยก่อนถ้าพูดถึงการลัก ขโมย คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงการลักขโมยทรัพย์สิน/สิ่งของผู้อื่น แต่ในปัจจุบัน..ในยุคโลกไร้พรมแดน พฤติกรรมการขโมยของคนบางกลุ่มเริ่มเปลี่ยนไป คนเริ่มมีการขโมยความคิดกันเกิดขึ้น  ทำไมถึงพูดอย่างนั้น ก็เพราะปัจจุบันห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศได้พัฒนาฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มให้บริการ ซึ่งการค้นหา อ่าน พิมพ์ จัดเก็บข้อมูล ดาวน์โหลด จนกระทั่งการคัดลอกข้อมูลทำได้ง่ายมาก  
            ส่งผลให้เกิดปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ตามมา โดยผู้ที่นำข้อมูลของผู้อื่นไปใช้งาน อาจจะหลงลืม หรือไม่มีความรู้ในเรื่องของการอ้างอิงหรือการอ้างถึงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และได้นำข้อมูลไปใช้ โดยไม่มีการอ้างอิงถึงเจ้าของงาน ทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์กันเกิดขึ้น
            ดังนั้น ข้อพึงระวัง...
เมื่อใดที่จะนำข้อมูลของผู้อื่นไปใช้งาน ควรศึกษาวิธีการอ้างอิง หรือการอ้างถึงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ดีเสียก่อน และต้องเขียนให้ถูกต้อง ตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนดด้วย มิฉะนั้นอาจจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้อื่น โดยไม่ได้ตั้งใจ
            การใช้ข้อมูลต่างๆ บนระบบออนไลน์ ผู้ใช้ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ และต้องมีวินัยในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โลกนี้ถึงจะน่าอยู่และฐานข้อมูลเหล่านี้ก็จะคงอยู่....ให้เราใช้งานต่อไป...

 
 

หมายเลขบันทึก: 127134เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีจังเลยค่ะที่ได้แนะนำการค้นคว้า เป็นประโยชน์กับผู้ใช้สารสนเทศมาก...

ฮั่นแน่.....เป็นหน้าม้า..อีกคนแระ...อิ อิ
ยุ่งๆ ยังมีเวลามาแซวอีกน๊า....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท