ผมได้เข้าวัง...


ชาวบ้านเป็นทั้งผู้เลี้ยงและผู้ทำลาย

   วันพุธที่ 5 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เข้าวัง...อีกครั้ง

            วังที่ว่านี้ ก็คือ วังกุ้ง ครับ เป็นวังกุ้งที่วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงสัตว์น้ำและแปรรูปบ้านคลองยายหลี อ.พระสมุทรเจดีย์
             การเดินทางรอบนี้ ก็เป็นการเข้าไปติดตามโครงการผลิตอาหารกุ้งอัดเม็ด กับบางสิ่งบางอย่าง...ที่ตกค้างในสมุดบันทึก (2) ที่เคยเข้าไปประสานงานมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่รอบที่แล้วไม่มีภาพมาฝาก รอบนี้ก็เลยบันทึกภาพมาฝากกันอย่างจุใจครับ

บรรยากาศบริเวณท่าเรือคลองยายหลี

ปากคลองยายหลี (ถ่ายจากบนสะพาน)

บ้านริมคลอง

บรรยากาศริมคลอง

ระหว่างการเดินทาง

ทางขึ้นวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงสัตว์น้ำและแปรรูปบ้านคลองยายหลี

          จากการสอบถามเรื่องโครงการผลิตอาหารกุ้งอัดเม็ด ตอนนี้ความคืบหน้าก็คือ วันเสาร์ที่ 8 กันยายน สมาชิกกลุ่มจำนวน 30 ท่าน จะเข้ารับการอบรมเรื่องการผลิตอาหารกุ้งอัดเม็ด ที่มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ (เกษตรหันตรา อยุธยา ในอดีต..สถาบันเก่าผมเองครับ) และจะจัดซื้อเครื่องอัดเม็ดภายใน1-2 สัปดาห์นี้    

น้องสุดารัตน์ พี่จรูญ และพี่สนอง ไกรเนตร เจ้าของบ้าน

             นอกจากนั้น ยังได้เห็นสิ่งที่แปลกตาเพิ่มขึ้น ก็คือ โต๊ะปลูกผักไร้ดิน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมการปกครองตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (กำลังเพาะเมล็ดกันอยู่) ก็เลยแนะนำให้ทางกลุ่มไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งก็ทำกิจกรรมนี้อยู่ (เป็นลูกหลานของสมาชิกที่นี่หลายคน)

             และได้มีโอกาสพูดคุยเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบธรรมชาติเพิ่มเติมจากที่เคยได้พูดคุยกันไปบ้าง ซึ่งมีข้อมูลที่ผมไม่รู้มาก่อนก็คือ ที่นี่เคยปลูกข้าวมาก่อน ขอย้ำนะครับ ว่าปลูกข้าว พี่สนองเล่าให้ฟังว่าปลูกมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่
              ผมลองเรียบเรียงประวัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของที่นี่  ก็จะเห็นลำดับการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ครับ
 ปี 2497 พี่สนองเกิด (ปลูกข้าวกันอยู่แล้ว)โดยปลูกกันในฤดูกาลปกติ หลังเก็บเกี่ยวก็จะผันน้ำเข้าที่นา
แล้วเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีตามธรรมชาติ
 ปี 2523 เลิกปลูกข้าว เพราะน้ำเค็มเกินไป มาเลี้ยงสัตว์น้ำเพียงอย่างเดียว
 ปี 2523-2535 ผลผลิตลดเรื่อย ๆ จากความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม น้ำเสียมากขึ้นและพันธุ์สัตว์น้ำ
ตามธรรมชาติลดลง ทั้งพันธุ์ปลา พันธุ์กุ้ง (กุ้งขาว กุ้งแชบ๊วย)
 ปี 2535 เริ่มเลี้ยงกุ้งกุลาดำจากการส่งเสริมของภาครัฐ ที่ต้องมีการซื้อพันธุ์กุ้งมาเลี้ยง (ปีนั้นลูกกุ้งตัวละ 1 บาท)
 ปี 2538-2543 ราคาพันธุ์กุ้งเริ่มลดลงพร้อมกับคุณภาพของลูกกุ้ง และกุ้งกุลาดำเริ่มมีปัญหาเรื่องโรค ผลผลิตตก
 ปี 2543 กุ้งที่เลี้ยง..ตายยกคลอง (ตายหมดทุกรายที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำ)สาเหตุจากโรคระบาดในกุ้งและน้ำเสีย
      พี่จรูญบอกว่าไปปรึกษาหน่วยงานราชการ ได้รับคำตอบว่า ให้ปรับมาเลี้ยงแบบพัฒนาที่มีการเลี้ยงแบบหนาแน่นโดยใช้ยา สารเคมี
และกังหันตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจน) แต่ติดที่ต้องลงทุนมาก มีความเสี่ยงเกินไปและไม่เหมาะกับสภาพบ่อขนาดใหญ่ (พื้นที่บ่อ 90 ไร่)
ทำให้ต้องหาวิธีใหม่ที่เหมาะสม จึงเริ่มเข้าอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อแนวทางเลี้ยงกุ้งที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และ
สภาพการเงินของตัวเอง   สุดท้ายคำตอบที่ได้จากการอบรม และกลับมาคิดทบทวน ก็คือ การกลับมาเลี้ยงแบบธรรมชาติโดยใช้จุลินทรีย์
ช่วยในการบำบัดน้ำ และปรับสภาพพื้นที่เป็นบ่อเล็กในบ่อใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงในการเลี้ยง
 ปี 2545 หลังจากทดลองใช้จุลินทรีย์จนมั่นใจว่าได้ผล และปรับสภาพบ่อเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มการเลี้ยงแบบธรรมชาติเต็มพื้นที่ 

ประตูน้ำระหว่างบ่อเล็ก

 

ท่อที่ใช้ถ่ายน้ำระหว่างบ่อ

 

ประตูน้ำที่เชื่อมต่อคลองยายหลี


      นอกจากใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดสภาพน้ำแล้ว พี่สนองยังใช้การเลี้ยงปลากระพงช่วยในการบำบัดน้ำด้วย เพราะเมือกจากตัวปลา
จะช่วยปรับสภาพน้ำให้ดีขึ้น โดยน้ำที่เลี้ยงปลากะพงจะถูกผันมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
ต่อ(พี่สนองเน้นว่านี่เป็นจุดประสงค์หลักในการเลี้ยงปลากระพงคือ การปรับและบำบัดสภาพน้ำ ส่วนรายได้จากการขายปลากระพงเป็นของแถม !)       

      และใช้วิธีการปลูกโกงกางที่ขอบบ่อ เพื่อให้เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำที่อายุยังไม่มาก แต่จะมีการตัดต้นโกงกางออกให้เหลือเฉพาะราก ( ตัดออกเพื่อไม่ให้ขวางทางลม ที่จะช่วยในเรื่องของออกซิเจนภายในบ่อ)

<p align="center"></p> <p align="center">ต้นโกงกางที่เพาะไว้เตรียมปลูก</p> <p align="center"></p> <p align="center">ที่อาศัยของสัตว์น้ำวัยเยาว์</p> <p align="center">
      กระทั่งปัจจุบัน สมาชิกในกลุ่มได้มีการเลี้ยงสัตว์น้ำโดยใช้จุลินทรีย์ทุกคน แต่การเลี้ยงแบบบ่อเล็กในบ่อใหญ่ยังมีเพียงพี่สนองรายเดียว ซึ่งแนวคิดนี้ก็มีสมาชิกบางรายกำลังจะปรับมาใช้ด้วย พี่สนองบอกว่าคงต้องใช้เวลาสักระยะเพราะต้องใช้เงินลงทุนปรับพื้นที่มากและต้องใช้เวลาในการปรับพื้นที่ 2-3 ปี เพราะดินจากพื้นบ่อที่จะขุดมาทำคันบ่อจะเป็นดินเลนที่ต้องใช้เวลานานในการขึ้นเป็นคันบ่อ</p>
<p align="center"></p><p align="center">บริเวณวัง….กุ้ง</p><p align="center"></p><p align="center">
 </p><p align="center">
          </p><p align="center">หลากมุมมองของพื้นที่                    </p><p align="left">นอกจากการกระตุ้นให้สมาชิกและคนในชุมชนได้คิดทบทวนและปรับรูปแบบการเลี้ยงมาใช้จุลินทรีย์ โดยการเลี้ยงเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าได้ผลแล้ว ยังมีการใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดมาเป็นตัวช่วยกระตุ้นในการให้สมาชิกเลิกใช้ยาฆ่าปลา พี่สนองบอกผมว่า
ชาวบ้านเป็นทั้งผู้เลี้ยงและผู้ทำลาย(หลังจากเลี้ยงแต่ละรอบแล้ว เมื่อพักบ่อเตรียมเลี้ยงรอบต่อไปจะใช้สารเคมีทำลายสัตว์น้ำที่
อาจหลงเหลืออยู่ในบ่อให้หมด เพื่อการเลี้ยงกุ้งอย่างเดียว)
โดยการเปิดตลาดผลิตภัณฑ์ปลากระบอกเค็ม (ขณะนี้จำหน่ายอยู่ที่ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง..มีการตอบรับจากผู้บริโภคดีมาก)โดยมองว่าหากมีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ปลากระบอกเค็มและขายได้ราคาดี สมาชิกก็จะลดการใช้สารเคมีทำลายสัตว์น้ำลง และหันมาแปรรูปปลากระบอกที่จะพบอยู่ในบ่อมากขึ้น</p><p align="center"></p><p align="center">สาหร่ายไส้ไก่..ตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม</p><p>..เป็นวิธีคิดที่ใช้การตลาดนำการผลิตอย่างชัดเจนครับ..และเกิดขึ้นจากชุมชนอย่างแท้จริง
            </p><p>           สิ่งหนึ่งที่ผมได้พบจากการพูดคุยกันในวันนั้น ก็คือ ภาพของการเปลี่ยนแปลงที่หันกลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากการเดินตามการพัฒนาที่เน้นการผลิตเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก เป็นอีกภาพสะท้อนของปรัชญาที่บอกไว้ว่า "สูงสุดคืนสู่สามัญ" </p><p>
          บันทึกมาแบ่งปันสิ่งดีดี ที่ยังมีอยู่ในสังคมเกษตรของประเทศไทยครับ
  </p>

หมายเลขบันทึก: 126712เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2007 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • สวัสดีครับน้องวิศรุต
  • เดี๋ยวนี้มีภาพประกอบที่หลากลายมากเลยนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • สวัสดีครับพี่สิงห์ป่าสัก
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยม
  • ผมคิดว่า น่าจะต้องบันทึกภาพที่ผมได้เห็นมาแบ่งให้พวกเราได้เห็นด้วยครับ ลำพังอ่านเพียงบันทึกแล้วนึกภาพไม่ออก

สวัสดีครับคุณวิศรุต

ภาพสวย บรรยากาศดี น่าทำเป็นท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นะครับ

มาติดตามอ่านบันทึกครับ

  • สวัสดีค่ะคุณวิศรุต
  • ภาพสวยงามมากค่ะ เห็นแล้วอยากไป (background ก็สวยนะคะ)
  • ขอบคุณจริงๆ ที่บันทึกอย่างตั้งใจมาให้อ่านกันค่ะ

  สวัสดี..น้องชาย

  • เรียบเรียงดีมาก
  • ภาพสวย บรรยากาศน่าท่องเที่ยว
  • สาระครบถ้วน
  • ขอบคุณมาก
  • น้อง วิศรุต  เป็นช่างภาพมืออาชีพ ได้เลยนะคะ ภาพสวยมากๆ
  • พี่ก็เป็นศิษย์เก่า เกษตร หันตรา เหมือนกันนะค่ะ
  •  บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรกที่นี่แหละคะ ...(ปีไหนไม่บอก )

 

  • สวัสดีครับคุณจตุพร คุณปลาเค็ม พี่เกษตรยะลา พี่นันทา
  • ขอบพระคุณมากๆครับ ที่แวะมาเยี่ยม
  • บรรยากาศที่วิสาหกิจชุมชนฯ ดีมากเลยครับ อาหารก็อร่อย...ฮา
  • ผมลืมบอกไปครับ ว่าที่นั่นให้บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย ถ้าสนใจก็ติดต่อได้ที่            คุณจรูญ ไกรเนตร โทร 0-2819-5202

สวัสดียามจะเช้าค่ะ

  • เข้ามาขอ บันทึกเข้าแพลนเน็ตค่ะ
  • คงต้อง  แวะไปนอนซักวัน
  • ชอบ  ชอบ  ค่ะ 

สวัสดีครับพี่องุ่นคนสวย

  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยม
  • สมุทรปราการยังมีอะไรดีดี อีกแยะ จะนำมาแบ่งปันกันในโอกาสต่อไปครับ

สวัสดีครับคุณวิศรุต เป็นความรู้ที่มีคุณค่า ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ

สวัสดีพี่ วิศรุต

  • แอบแวะมาเที่ยวชมวัง จ้า
  • ดีนะ สามารถนำงานที่รับผิดชอบมาปรับเข้ากับงานที่ชอบได้
  • แล้วจะลองบ้าง ค่ะ
  • ตอนนี้มี option เพิ่มแล้วนี่น่า
  • ขอบพระคุณมากครับพี่เขียวมรกต น้องTuDToo ที่แวะมาเยี่ยม
  • จะนำสิ่งดีดีมาแบ่งปันต่อไปครับ

เรียนคุณวิศรุต

ขอทราบรายละเอียดอันตรายจากสารฆ่าปลาที่มีมาสู่คนหน่อยครับ

เพื่อที่จะได้ป้องกันได้ครับ

ขอบคุณครับ

เอนก อบรมทรัพย์

อย่ามาเลยครับ

เชื่อผม

ผมคนพื้นที่

คนในภาพผมก็รู้จัก

แค่นี้ก็ไม่เหลือความเป็นธรรมชาติแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท