ธรรมาภิบาล


บริหารอาศัยหลักคุณธรรม
สรุป ธรรมาภิบาลGOOD GOVERNANCEความหมาย GOOD GOVERNANCE  หรือ ธรรมาภิบาลสรุปได้ว่า GOOD GOVERNANCE แปลว่า การปกครองที่ดี  GOOD GOVERNANCE  คนไทยได้ใช้คำศัพท์ในภาษาไทยหลายคำ ได้แก่ ประชารัฐที่ดี ประชารัฐ ศุประศาสนการ ธรรมาภิบาล การปกครองที่ดี ธรรมรัฐ ธรรมรักษ์ บรรษัทภิบาล เป็นต้น แต่ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 ให้ใช้ คำว่า ธรรมาภิบาลจึงสรุปได้ว่า ธรรมาภิบาล หรือ GOOD GOVERNANCE หมายถึง กระบวนการ หรือขั้นตอนปฏิบัติกิจกรรมใด ๆ ที่จัดขึ้นในการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เพื่อการพัฒนาของประเทศหลักการ ของ ธรรมาภิบาล หรือ GOOD GOVERNANCEหลักการของ GOOD GOVERNANCE ตามที่ UN ESCAP (United Nation Economic and Socail Commission for Asia and the Pacific)  กำหนดมี 8 หลักการ คือ1.       การมีส่วนร่วม                                           (participatory)2.       การปฏิบัติตามกฎหมาย                          (rule of law)3.       ความโปร่งใส                                            (transparency)4.       ความรับผิดชอบ                                        (responsiveness)5.       ความสอดคล้อง                                        (consensus oriented)6.       ความเสมอภาค                                         (equity and inclusiveness)7.       การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล    (effectiveness and efficiency)8.       การมีเหตุผล                                              (accountability)1.  การมีส่วนร่วม (participatory)การมีส่วนร่วมของสมาชิกทั้งชายหญิง คือ การตัดสินใจที่สำคัญในสังคมและสร้างความสามัคคี 2.  การปฏิบัติตามกฎหมาย (rule of law)ธรรมมาภิบาลต้องการความถูกต้อง ตามกรอบของกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ 3.  ความโปร่งใส (transparency) ความโปร่งใสเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง 4.  ความรับผิดชอบ (responsiveness)ความรับผิดชอบเป็นการพยายามให้คนทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดในการทำงาน 5.  ความสอดคล้อง (consensus oriented)ความสอดคล้องต้องกันเป็นการกำหนดและสรุปความต้องการในสังคม 6.  ความเสมอภาค (equity and inclusiveness)ความเสมอภาคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับจากรัฐบาล 7.  การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (effectiveness and efficiency)เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรอื่นๆที่มีอยู่ โดยการผลิตและจำหน่ายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า8.  การมีเหตุผล (accountability)การมีเหตุผลเป็นความต้องการในทุกสังคม ประชาชนทุกคน ต้องตัดสินใจและรับผิดชอบต่อ การกระทำของตนด้วยเหตุด้วยผลที่สมเหตุสมผล จะเห็นได้ว่า  GOVERNANCE ให้ความสำคัญกับองค์กรเป็นอย่างมาก ทั้งองค์กรที่มีรูปแบบ (formal) และองค์กรที่ไม่มีรูปแบบ(informal) กล่าวคือ คนที่อยู่ในองค์กรเป็นผู้ตัดสินใจการกระทำตามโครงสร้างและแนวทางที่ได้กำหนดไว้หลักการธรรมาภิบาลกับสังคมไทยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ได้วางราก ฐานของธรรมาภิบาลไว้อย่างครบถ้วน กล่าวคือ ในแง่ของวัตถุประสงค์ การบริหารจัดการ รัฐธรรมนูญกำหนดยึดประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ของคนทุกภาคในสังคม (ทั้ง 3 ภาค คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม)  ซึ่งสรุปเป็นประเด็นหลัก ๆ พอสังเขปได้ดังนี้·       ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ·       การปฏิรูประบบราชการ·       การปฏิรูปศาลและระบบตรวจสอบ·       ปฏิรูประบบผู้แทน·       การขจัดความทุจริตในบ้านเมืองGOOD GOVERNANCE หรือ หลักธรรมาภิบาลของไทย 6 หลัก ได้แก่1.       หลักนิติธรรม2.       หลักคุณธรรม3.       หลักความโปร่งใส4.       หลักความมีส่วนร่วม5.       หลักความรับผิดชอบ6.       หลักความคุ้มค่าธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษา (Educational Good Governance)การจัดการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการสอดคล้องกัน ระหว่างหน่วยงาน 3 ระดับ คือ ระดับกระทรวง ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสถานศึกษาในแต่ละระดับต่างก็มีบทบาทอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะ กล่าวคือ ระดับกระทรวงจะกำหนดแผนนโยบาย มาตรฐาน การประเมินผลการจัดและการสนับสนุนทรัพยากรให้แก่หน่วยปฏิบัติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการประสานทุกระดับ ส่งเสริม สนับสนุนด้านต่าง ๆ แก่สถานศึกษา และระดับสถานศึกษาเป็นหน่วยจัดการศึกษาที่สำคัญที่สุดการบริหารจัดการในทุกระดับจำต้องดำเนินการตามหลักการหรือแนวทาง ธรรมาภิบาล (Good Governance) จึงจะเป็นการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับแนวโน้มสภาพปัญหาและความต้องการในยุคโลกาภิวัตน์ นำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรหรือหน่วยงาน และเป็นหลักประกันความสำเร็จในการบริหารจัดการธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นแนวทางการบริหารที่กำหนดไว้ในกฎหมายและระเบียบหลายระดับ เริ่มต้นตั้งแต่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ติดตามด้วยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 การบริหารฐานโรงเรียน (SBM) และแนวทางการบริหารโรงเรียนในฐานะที่เป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546การนำหลักธรรมาภิบาลใช้ในการบริหารสถานศึกษา1.       หลักนิติธรรมกำหนดกติกา หรือข้อตกลงของหน่วยงานกฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ในการทำงาน ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตาม กฎข้อบังคับเหล่านั้น คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม เสมอภาค2.       หลักคุณธรรมบุคลากรจะต้องปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ให้ความยุติธรรมตอบสนองความต้องการของประชาชน 3.       หลักความโปร่งใสประชาชนสามารถรู้ขั้นตอนปฏิบัติงานในองค์กร สามารถติดต่องานได้สะดวก และสามารถตรวจสอบได้ สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน 4.       หลักความมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจในการบริหารและการแก้ปัญหาของหน่วยงาน ไ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ5.       หลักความรับผิดชอบจัดสรรหน้าที่ให้ชัดเจน กระจายอำนาจการตัดสินใจ สร้างความตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมการใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน6.       หลักความคุ้มค่าผู้บริหารและบุคลากรทุกคนต้องทบทวนงานในความรับผิดชอบทั้งหมด และบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมให้มากที่สุด โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า                       บทสรุป                      ธรรมาภิบาลหรือ good governance แม้จะดีเลิศแค่ไหนก็ตามแต่ก็ยากที่จะกระทำลงให้สำเร็จได้ครบทุกหลักการ ก่อนที่จะมาให้ความสนใจการพัฒนาด้านบริหารและจัดการเท่านั้น ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก่อนที่จะนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ การพัฒนางานใดๆ ต้องพัฒนาที่อุดมการณ์อันเป็นจุดมุ่งหมายของการกระทำที่แท้จริง การควบคุมภายในความหมายของการควบคุมภายในการควบคุมภายใน หมายถึง   กระบวนการที่คณะผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรกำหนดขึ้น ซึ่งเป็นการออกแบบในระดับที่สมเหตุสมผลเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการบรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องดังต่อไปนี้·         ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน ·         ความเชื่อถือได้ของข้อมูลและรายงานทางการเงิน ·         การปฏิบัติตามกฎหมาย   ระเบียบ ข้อบังคับวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ของระบบการควบคุมภายใน      มีดังนี้1. เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัดและคุ้มค่า    โดยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนหรือไม่จำเป็น   ลดความเสี่ยงหรือผลเสียหายด้านการเงินหรือด้านอื่น ๆ ที่อาจมีขึ้นในหน่วยงาน   ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานแก่หน่วยงานในที่สุด 2. เพื่อให้มีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้องครบถ้วนและเชื่อถือได้      สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริหารในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงาน     และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง3. เพื่อให้บุคลากรมีการปฏิบัติตามนโยบาย กฎหมาย  เงื่อนไขสัญญา ข้อตกลง  ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของหน่วยงานอย่างถูกต้องและครบถ้วนองค์ประกอบการควบคุมภายในการควบคุมภายใน มีองค์ประกอบ ส่วน     ดังนี้1.       สภาพแวดล้อมการควบคุม ( Control  Environment ) 2.       การประเมินความเสี่ยง ( Risk  Assessment ) 3.       กิจกรรมการควบคุม ( Control  Activities ) 4.       สารสนเทศและการสื่อสาร  ( Information  and  Communication ) 5.       การติดตามและประเมินผล  ( Monitoring and Evaluation )  ประโยชน์ที่ได้รับ            ประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับ     จากการมีระบบการควบคุมภายในที่ดี            1. การดำเนินงานของหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ2. การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   ประหยัด   และคุ้มค่า            3. มีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง  ครบถ้วนและเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ            4. การปฏิบัติในหน่วยงานเป็นไปอย่างมีระบบและอยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ  ข้อบังคับที่วางไว้            5. เป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหารในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานได้อย่างดียิ่ง 
 
          

  
คำสำคัญ (Tags): #ธรรมาภิบาล
หมายเลขบันทึก: 126578เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณบันทึกได้ดีมากครับ

***** ขอบคุณบทความที่ดีและมีสาระของอาจายร์มากๆเลยครับ ผมขออนุญาตอาจายร์นำบทความของอาจายร์บางส่วนไปเป็นข้อมูลเพิ่ออ้างอิงและเผยแพร่นะครับ โดยจะเขียนในบล็อคผมที่ Mblog ที่ลิงค์นี้ครับ http://mblog.manager.co.th/kingkoon

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท