ธรรมาภิบาล


ธรรมาภิบาล
ระบบธรรมาภิบาล(GOOD GOVERNANCE)บทนำ/ความเป็นมา                ในสังคมไทย ประวัติศาสตร์ไทยมีพระมหากษัตริย์ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช    พระเจ้าแผ่นดินทรงมีอำนาจเต็มที่  มีอำนาจโดยสมบูรณ์  สามารถที่จะทำอะไรก็ได้  หากสมมติจะทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรมจรรยา ก็ทำได้   แต่ทำไมพระเจ้าแผ่นดินของไทย แต่ละพระองค์ทรงปกครองแผ่นดิน ปกครองประชาชน ปกครองบ้านเมือง จนประชาชนให้ความรัก เทิดทูล ได้รับความนับถือ จากประชาชน ทั่วทั้งประเทศ    คำตอบที่หลายๆคนจะตอบก็คือ เพราะพระเจ้าแผ่นดิน  ปกครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม (Royal Governance) มาโดยตลอด จึงถือได้ว่าไทยใช้ Royal Governance   หรือ   Good  Governance  มาแต่เดิมในประวัติศาสตร์ไทยแล้ว               ในสังคมตะวันตก มีการเริ่มพูดถึงเรื่อง Governance เมื่อประมาณ  40  ปี ที่ผ่านมา หากเปิด  Dictionary   ในอดีต จะหาไม่พบคำว่า  Governance   เพราะในสังคม ยุโรป อเมริกา   พึ่งจะบัญญัติศัพท์นี้ มาเมื่อไม่กี่ปี   แต่สำหรับไทยแล้ว คำๆนี้ไม่ใช่ของใหม่ เพราะพระมหากษัตริย์ไทยปฏิบัติมาตั้งแต่อดีตแล้ว  แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตรัสว่า ข้าจะครองแผ่นดินโดยธรรมคำว่าธรรม  หรือหลักธรรมในการครองแผ่นดิน ซึ่งก็คือ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่สมบูรณ์ลึกซึ้ง  ครบถ้วน  ครบทุกมิติยิ่งกว่า  Good  Governance                        ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)   และความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ขึ้นในโลกมากมาย  ทั้งในเชิงที่เป็นผลประโยชน์ ที่เป็นโอกาสในการเรียนรู้วิทยาการ, ระบบบริหารจัดการที่ก้าวหน้า และในเชิงที่เสียผลประโยชน์  ผู้มีข้อมูลมากมีความรู้มากกว่า สามารถสร้างกฎระเบียบโลก (New World Order)  สร้างระบบเศรษฐกิจใหม่(New Economy) และใช้ความก้าวหน้าของ  IT ออกมาหาประโยชน์จากประเทศที่ล้าหลังกว่า หรือปรับตัวไม่ทันรวมทั้งประเทศไทย                สังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ จากการรู้ไม่เท่าทัน เปิดแสรีทางการเงินระหว่างประเทศและตลาดทุน ไว้รองรับการเปลี่ยนแปลง อันเกิดจากความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงของโลกเหล่านั้น อันนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย  ทั้งทางตรงคือ การไหลเขาของวัฒนธรรมอันไม่พึงประสงค์  จากต่างประเทศ  ผ่านระบบเครือข่ายข้อมูลระหว่างประเทศ(INTERNET) และสื่อสารมวลชลปรกติ  เช่น   วิทยุ   โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  เป็นต้น ฯลฯ  และทางอ้อม  ที่ต้องมีคนตกงาน เป็นโรคเครียด และป่วยทางจิต ปัญหายาเสพติดฯลฯ เหตุผลที่ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหา อาจเพราะเกิดจากความอ่อนแอ  และหย่อนประสิทธิภาพของกลไกด้านการบริหารจัดการในระดับชาติ  ระดับองค์กร  ทั้งในภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงการทุจริต  และการทำผิดจริยธรรมในวิชาชีพ  ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้  1.การขาดกลไก และกฎเกณฑ์ที่ดีพอในการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคม2.ความอ่อนด้อยและถดถอยของกลุ่มข้าราชการ นักวิชาการหรือเทคโนแครต(Technocrate)3.ระบบการตัดสินใจและการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชนมีลักษณะที่ขาดความโปร่งใส   บริสุทธิ์ และยุติธรรม4.ประชาชนขาดข้อมูลข่าวสาร ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองอย่างชัดเจน5.ปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและเอกชน              จากสาเหตุดังกล่าว หากไม่ได้รับการจัดการแก้ไข  และป้องกันโดยเร่งด่วนแล้ว  โอกาสการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจของไทย  อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็น  ดังนั้นการแก้ไข้ปัญหา อย่างยั่งยืนก็คือ การขจัดสาเหตุของปัญหาดังกล่าวข้างต้น  และสร้างธรรมรัฐ หรือธรรมาภิบาล(Good Governance) เพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ให้ปรากฏเป็นจริง ในภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน          นักวิชาการบริหารบางท่านได้กล่าวว่า     ผลกระทบอันเกิดจากกระแสโลกาภิวัติน์ได้ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านขึ้นทั่วโลก จากผู้ที่ได้รับผลกระทบในเชิงที่เสียผลประโยชน์  เพราะมองเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบจากผู้ที่เจริญทางวัตถุและมีโอกาสมากกว่า    ที่ต้องการสร้างความเป็นธรรมขึ้นในสังคมโลก  โดยมีแนวคิดว่า  จะต้องเริ่มต้นจากการกระจายอำนาจในการตัดสินใจจากรัฐบาลที่มีระบบและโครงสร้างการบริหารไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามบริบทของโลก เพื่อนำไปสู่การกระจายอำนาจด้านอื่นๆ ในสังคม  เหตุใด  ต้องธรรมาภิบาล และธรรมาภิบาล  คืออะไร           สำหรับประเทศไทยมีมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือน พฤษภาคม  2542  ให้ใช้คำว่า ระบบบริหารและจัดการบ้านบ้านเมืองที่ดี  หรือธรรมภิบาล(Good Governance) ซึ่งเดิม เราเคยใช้คำว่า ธรรมรัฐ ประชารัฐ  ธรรมรัฐแห่งชาติ  การนำคำนี้มาใช้ ในช่วงแรกๆถูกใช้งานอยู่ในด้านพัฒนาสังคม และงานด้านการเงินของสถาบันการเงินนานาชาติ  ประเทศไทยได้นำมาใช้อย่างจริงจัง เมื่อ IMF และADB ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2540 ฉะนั้น Governance คือกระบวนการตัดสินใจที่จะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง  สำหรับในทางบริษัทเอกชน ธรรมาภิบาล อาจจะเรียกในชื่อ บรรษัทภิบาล (Corporate Governance)                 คำว่า Governance เป็นกระบวนการตัดสินใจ วิเคราะห์ได้ว่า Governance จะให้ความสำคัญกับองค์ที่มีรูปแบบ (Formal) และไม่มีรูปแบบ(Informal) คนที่อยู่ในองค์การ เป็นผู้ตัดสินใจ และกระทำตามโครงสร้าง  และแนวทางที่กำหนดไว้                ดังนั้นรัฐบาลเป็นผู้บริหารและจัดการประเทศ ฉะนั้นในการกำหนดนโยบายและแผนการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  จะต้องออกมาจากนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงต่างๆ 
คำสำคัญ (Tags): #ธรรมาภิบาล
หมายเลขบันทึก: 126532เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ
  • เข้ามาเก็บความรู้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท