ควันหลงงาน วันการศึกษานอกโรงเรียน


การทำงานกับชุมชนในประเด็นการนัดประชุมทำเวที

กลับจากอบรมที่สถาบันสิรินธร ฯ วันนี้เป็นวันแรกที่เปิดเข้ามาดูบล็อกของตัวเอง ดีใจมาก ๆ ที่เริ่มมีคนเข้ามาทักทาย ยินดีและขอบคุณมากที่เข้ามาเยื่ยมเยียน กลับจากปากช่อง ยังไม่ได้พักเลยต้องจัดง กันยายน งานวัน การศึกษานอกโรงเรียน สำเร็บลุล่วงไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 8 กันยายน  2550 ที่ระนอง จัดงาน 2 วัน คือวันที่ 7 - 8 กันยายน มีทั้งภาคกลางวันและกลางคืน กิจกรรมเช่น การจัดฐานการเรียนรู้ การอ่านทำนองเสนาะ การประกวดร้องเพลง การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย การประกวดโครงงาน การประกวดเรียงความ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการให้ขวัญกำลังใจสถานศึกษาต่าง ๆ โดยมอบโล่ห์ให้กับสถานศึกษาที่มีจุดเด่นของตัวเอง อำเภอละอุ่น ได้มา 2 รางวัล คือสถานศึกษาดีเด่น และห้องสมุดดีเด่น ก็เป็นเพราะบุคลากรทุกคนร่วมมือร่วมแรง ร่วมใจในการมุ่งมั่น และตั้งใจทำงานจนสำเร็จเชิงประจักษ์ ต้องขอบคุณบุคลากรทุกท่านและเตรือข่ายก็มีส่วนสำคัญในการสนับสนุน และส่งเสิรมกิจกรรม กศน. ดังนั้นการประสานเครือข่ายจึงถือว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารและบุคลากรทุกคนต้องถือปฏิบัติและวันนี้ขออนุญาตนำเสนอการทำงานกับชุมชนในกรณีจัดประชุมชาวบ้านสั้นเพือเป็นแนวปฏิบัติของคนกศน.ดังนี้

1.  ตรงต่อเวลา  ในการนัดชาวบ้านเพื่อประชุมหรือทำเวทีอะไรก็ตามเคล็ดลับอบ่างหนึ่งคือการเคารพต่อเวลา และควรประชุมน้อยครั้งเข้าไว้ ถ้าเราเคยเป็นคนมาสายจนเรื้อรังก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มิฉะนั้นแล้วเมื่อไปถึงทีประชุมที่นัดหมายท่านจะไม่พบใครเลย ดังนั้นครู กศน.ควรเริ่มให้ตรงเวลา และเสร็จก็ให้ตรงเวลา

2.  จัดทำวาระการประชุมและทำตามที่เขียน  วาระการประชุมเป็นเหมือนมัคคุเทศน์ แต่อย่าให้วาระการประชุมควบคุมตัวคุณจนกระดิกกระเดี้ยไม่ได้เลย ถ้ามีเรื่องอะไรที่โผล่เข้ามาโดยไม่ได้คาดฝันก็ปล่อยให้เป็นไปตามนั้น แต่ควรสรุปเรื่องให้เกิดผลดีกับงานของเราให้ได้

3.  อย่าเยิ่นเย้อ ควรย่นย่อและแยกย้ายกันไป โดยเตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะมีการรวมตัวกัน ตระหนักว่าวันนี้จะได้อะไรจากการรวมกลุ่มหรือประชุมครั้งนี้ พูดให้จบให้เร็วชัดเจน รวบรัด  อย่าให้ชาวบ้านเสียงานเสียการโดยใช้เหตุ เพราะเขาต้องทำมาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

4.  ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อทุกคน บทบาทของครูกศน. คือการสนทนา คอยดูและกระตุ้นให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพูดแสดงความคิดเห็น และครูต้องจับประเด็นนำมาสรุปเพื่อวัตถุประสงค์ที่สำเร็จของงานกศน. ไม่ใช่ครูเข้าไปครอบงำการสนทนา

5.  หมั่นติดตามผล บันทึกจะช่วยได้ดีและยืนยันได้ การติดตามผลอย่างต่อเนื่องจะทำให้งานกศน. อยู่ในหัวใจประชาชนตลอดไป

 

หมายเลขบันทึก: 126418เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 07:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ยินดีกับท่าน ผอ.และทีมงาน กศน.ละอุ่น กับ 2 รางวัล สถานศึกษาดีเด่น และห้องสมุดดีเด่น ในงานวันที่ 8 ก.ย วัน กศน. ปีนี้
  • สองเรื่องที่ได้รับรางวัล ท่าน ผอ.คงนำมาเล่าเพื่อการ ลปรร.กันได้หลายๆบันทึกทีเดียวเชียว ...อยากรู้จังเลยว่าทำอย่างไร how to ....
  • สำหรับเทคนิคในการทำงานกับชาวบ้านนั้นเยี่ยมเลยครับ ความรู้ประสบการณ์อย่างนี้ผมชอบมาก เขียนตามสิ่งที่ได้ทำมา สุดยอดมากไม่ว่าจะเป็น ตรงต่อเวลา  จัดทำวาระการประชุมและทำตามที่เขียน   อย่าเยิ่นเย้อ ควรย่นย่อและแยกย้ายกันไป ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อทุกคน หมั่นติดตามผล ผมจะนำไปปรับใช้ในหน้าที่ของตนเอง จะทำได้หรือเปล่าไม่รู้...จะตกตั้งแต่ข้อแรกแล้วไปไม่ตรงตามนัด...โอย...ต้องฝึกหนักแน่ๆ
  • เป็นแนวทางที่ดีมากครับผม
  • ชอบๆๆ
  • อยากให้บันทึกออกมาอย่างสม่ำเสมอครับผม
  • ขอบคุณครับ

1.  ตรงต่อเวลา  ในการนัดชาวบ้านเพื่อประชุมหรือทำเวทีอะไรก็ตามเคล็ดลับอบ่างหนึ่งคือการเคารพต่อเวลา และควรประชุมน้อยครั้งเข้าไว้ ถ้าเราเคยเป็นคนมาสายจนเรื้อรังก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มิฉะนั้นแล้วเมื่อไปถึงทีประชุมที่นัดหมายท่านจะไม่พบใครเลย ดังนั้นครู กศน.ควรเริ่มให้ตรงเวลา และเสร็จก็ให้ตรงเวลา

2.  จัดทำวาระการประชุมและทำตามที่เขียน  วาระการประชุมเป็นเหมือนมัคคุเทศน์ แต่อย่าให้วาระการประชุมควบคุมตัวคุณจนกระดิกกระเดี้ยไม่ได้เลย ถ้ามีเรื่องอะไรที่โผล่เข้ามาโดยไม่ได้คาดฝันก็ปล่อยให้เป็นไปตามนั้น แต่ควรสรุปเรื่องให้เกิดผลดีกับงานของเราให้ได้

3.  อย่าเยิ่นเย้อ ควรย่นย่อและแยกย้ายกันไป โดยเตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะมีการรวมตัวกัน ตระหนักว่าวันนี้จะได้อะไรจากการรวมกลุ่มหรือประชุมครั้งนี้ พูดให้จบให้เร็วชัดเจน รวบรัด  อย่าให้ชาวบ้านเสียงานเสียการโดยใช้เหตุ เพราะเขาต้องทำมาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

4.  ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อทุกคน บทบาทของครูกศน. คือการสนทนา คอยดูและกระตุ้นให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพูดแสดงความคิดเห็น และครูต้องจับประเด็นนำมาสรุปเพื่อวัตถุประสงค์ที่สำเร็จของงานกศน. ไม่ใช่ครูเข้าไปครอบงำการสนทนา

5.  หมั่นติดตามผล บันทึกจะช่วยได้ดีและยืนยันได้ การติดตามผลอย่างต่อเนื่องจะทำให้งานกศน. อยู่ในหัวใจประชาชนตลอดไป

จะ Prit ออกมาติดโต๊ะไว้เลยครับ

จะนำไปปฏิบัติในการจัดเวทีที่ลับแลบ้าง ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท