ใส่ใจ บ่มเพาะเยาวชน หาดใหญ่ ปลอดภัย บนถนน


ในเดือน มค.49 ที่ผ่านมา  มีเด็ก ต่ำกว่า 15 ปี บาดเจ็บ จากขับขี่ และโดยสาร มารักษาตัวใน หอผู้ป่วยหนัก รพ.หาดใหญ่ 4 ราย จึงเห็นว่า วิกฤตการณ์นี้ เป็นโอกาสในการเรียนรู้จากของจริงให้กับ นร.ประถม ที่สังคมยอมรับให้โอกาส ขับขี่ จักรยานยนต์อย่างแพร่หลาย ทั้งที่กฎหมายกติกาไม่ได้ยอม

ทีม รพ.หาดใหญ่ จึงได้ ทดลองกิจกรรม นำนักเรียน ป. 4 จาก รร.ขนาดใหญ่ ข้างรพ. คือ  รร.เทศบาล 1. ทั้งนี้ ได้มีการปรึกษา หารือ ร่วมกัน กับ ทางคุณครู และ ผช.ผู้อำนวยการ รร. อาจารย์พัฒน์ ตันสกุล   โดยการประสานงานต่อ โดย อาจารย์ ลำใย อาจารย์ประจำสายชั้น ป 4.

ในการเรียนรู้ จาก ของสด โดย มาค้นหาความจริง ที่ รพ. ทั้งนี้  ทั้ง 2ฝ่าย เคยร่วมมือกันจัดการเรียนรู้  โดยการให้โอกาส นร. ชั้น ป 5 ทั้ง รร. มาเยี่ยมสัมผัส ผู้บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุ ทั้งอาการหนัก และ อาการเบา

พบว่า เด็ก นร. มีความตื่นตัว ในการเรียนรู้ มาก

ในปี 2548 ได้ทดลอง นำร่อง จำนวน นร. 2 ขนาด คือ คราว ละ 20 คน กับ คราวละ 40 คน  ทั้งนี้ มีครูประกบ มาด้วย 1 คน  

ความตั้งใจเดิม ในปี 48 อยากเป็นกลุ่มเล็ก  20 คน แต่เมื่อดำเนินการจริง ให้ได้ครอบคลุม นร .ป 5 ทุกคน ใน จำนวน มาก จึงต้องใช้เวลา หลายรอบ  เช่น กรณี นร 8 ห้อง ห้องละ 40 คน รวม 320 คน   ต้องจัดการเรียนรุ้ จำนวน 16 รอบ ในภาคการศึกษา   เกิดความเสี่ยง ของ การที่รร.ต้องบริหารเวลา กิจกรรมอื่น สับหลีก กัน   ทำให้ต้องเลื่อน ตารางเวลา นัดหมาย และ ประสานงาน ปรับเปลี่ยน     จึง ตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย คือ รพ. และ รร. ว่า กรณีจัดการทั้ง ชั้นเรียน จำนวนมาก คงต้อง จัดคราวละ 40 คน และ ทาง รพ. จัดพยาบาลพี่เลี้ยง เสริมให้ คราวละ 4 คน ต่อ นร. 40 คน ในคราวนั้น ทางชมรมลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองหาดใหญ่  ได้สนับสนุน ค่าใช้จ่าย ให้ 30 บาท ต่อ หัวนร. เท่ากับ  1200 บาท ต่อ  นร.40 คน  ซึ่ง กรณีของ ทาง รพ.หาดใหญ่ ได้จัดสรรเป็นค่าตอบแทน ให้แก่ พยาบาลพี่เลี้ยง ที่ขอช่วย ให้มาทำงานพิเศษ นอกเวร ครวละ 3 ชม.

บทเรียน พบว่า  หาก จัดการเรียนรู้ แก่ นร.จำนวนมาก  อยากจะทำได้มากพอ ลดขนาดปัญหา ได้ เนื่องจาก คงรวมถึงนร.กลุ่มเสี่ยงน้อย  เช่น ใช้รถยนต์ เป็นประจำ หรือ พ่อแม่ตระหนักจริง ๆ  อบรมลูกจริงจัง เป็นกลุ่มไม่น่าจะบาดเจ็บ จากขับขี่ หรือ ซ้อนท้าย    จึงควรมุ่งเป้ากลุ่มมีโอกาสสูง ที่จะบาดเจ็บง่าย  และขยายจำนวน กลุ่มนี้ ให้เพียงพอ 

นอกจากนี้ พบว่า คราวใดที่มาเยี่ยม รพ. และพบผป. เป็นเด็กวัยเดียวกัน  นร.จะตื่นตัวมากกว่า มาพบคุณลุง คุณป้า ที่บาดเจ็บ จากจักรยานยนต์

ในปี 2549 จึง ทดลองรูปแบบ ให้ เลือก นร.ผู้นำ ( โอกาสบาดเจ็บมากกกว่า เช่น หัดขับขี่ จยย.เป็นแล้ว ) มาเยี่ยม คราวละ   20 คน  แล้วครูมาประกบ 2 คน   แบ่งกลุ่มละ 10 คน คราวนี้ใช้เวลาสั้นลงแต่ได้ผลสูง  และสามารถทำได้ง่าย  ไม่ต้องอาศัยทีมพยาบาลเพิ่มเป็นพิเศษจากการทำงานปกติ เพราะรบกวนเวลาพยาบาล ไม่นานในการเล่าสภาพความรุนแรง

บทเรียนที่ผมเรียนรู้ว่า  หากใช้เงิน เราจะได้โครงการ  หากใช้ปัญญา เราจะได้ระบบ ( ความคิดของ อ.เสรี พงศ์พิศ ที่ผมได้เรียนรู้)  หมายความว่า เราออกแบบการเรียนรู้ให้ง่ายได้ผลสูง  จะได้ระบบการเรียนรู้แก่เด็ก โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมากขึ้น  มีความคล่องตัวสูง ประสานจัดการเรียนรู้โดยขั้นตอนการประสานงานน้อย ไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้าหลายวัน   รพ.ส่งข่าว รร.ทราบ ล่วงหน้า 1-2 วัน ก็มาเรียนรู้ได้  ไม่ต้องทำหนังสือราชการ  ครูปล่อยเด็ก ก่อนเลิกคาบสุดท้าย สัก20 นาที  มาถึง รพ.ประมาณ 14.50-15 น. ใช้เวลาเรียนรู้ที่ รพ.20 นาที  ในช่วงที่พยาบาล ไม่ยุ่งมากนัก ก่อนส่งเวรเวลา ประมาณ 16 น   รูปแบบนี้ง่าย สำหรับ รร.และ รพ.อยู่ใกล้กันคนละฟากถนน

หากเป็น รร.ที่ไกลกันกับ รพ. คงต้องประสานกันหลายชั้น หลายขั้นตอน เพราะต้องบริหารรถยนต์ในการรับส่ง นร.มาเรียนรู้ที่รพ.  แต่ก็ไม่ได้ยากยุ่งเกินกำลัง

บทเรียนคราวนี้  นร.พอใจ   ครูพอใจ  พยาบาลและทีม รพ.ก็พอใจ   

 ผมก็ชื่นใจ....ในบทบาทคุณประสาน

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12640เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2006 01:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท