ผลการประกวดสารคดีโดยชุมชนเพื่อชุมชนของคณะกรรมการปรีย์ทม


ประเด็นต่างๆของเรื่อง 4 เรื่อง ชาวบ้าน มองเห็นจากข้อดีทีมีอยู่ในชุมชนและยกมาทำสารคดี

คืนนี้  ประชุมนำเสนอ สารดคี 4 เรื่อง

1.สามัคคีปรีย์ทม    นำทีมโดย ผู้ใหญ่บ้าน

2.เขียวขจีปรีย์ทม  นำทีมโดย พี่สมบูรณ์  หน่วยอาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน


3.ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ  นำทีมโดย อบต. ละเมียด

  4.อนุรักษ์วัฒนธรรม  นำทีมโดยพ่อประดับ

     ประเด็นต่างๆของเรื่อง 4 เรื่อง ชาวบ้าน มองเห็นจากข้อดีทีมีอยู่ในชุมชนและยกมาทำสารคดี

    คืนนี้ต้องเป็นกรรมการตัดสิน สารคดี 4 เรื่องนี้ กับ อ.ปุณณรัตน์ และ ทีมวิจัย เป็นการตัดสินชี้ขาดที่ ยากมาก  แต่ละเรื่องนำเสนอ ล้วนตอบประเด็นที่มีเป้าหมายของเรื่องแต่ละเรื่อง อย่างชัดเจน ทุกเรื่องนำไปสู่เป้าหมายของตน

    เราต่างก็ชื่นชมทั้ง 4 เรื่อง ...ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ของการคิดเรื่องทำหนัง หรือ สารคดี

ในเทคนิคแนวนี้ ครั้งที่ 2 เป็นการตอบโจทย์ การสื่อสาร ความเข้าใจ การมีเนื้อหา ได้อย่างลงตัว  ไม่ว่า

  เรื่องที่ 1 ผู้ใหญ่ เก็บภาพกิจกรรมชุมชนที่ช่วยเหลือกันมาเป็นช่วงๆ ตั้งแต่  การพร้อมเพรียงในการประชุม  ช่วยกันสร้างบ้านให้เพื่อนร่วมชุมชนที่ยากจน งานปลูกป่า การช่วยกันพัฒนาหมู่บ้าน  ภาพกิจกรรมจริงๆทั้งหมด ถูกนำมาตัดต่ออย่างลงตัวและเพลงประกอบ

 เรื่องที่ 2 คนส่วนใหญ่ในกลุ่มจะเป็นครูปรีย์ทม อยู่แล้ว ในเรื่อง เป็นการพาชมจุดศึกศึกษาธรรมชาติที่มีอยู่จริงในป่าทั้ง 16 จุด  การนำเรื่องที่คุ้นเคยมาทำสารคดี กลายมาเป็นเนื้อหาที่แน่นด้วยคุณภาพ และการบรรยาย ทำให้เห็นแง่มุมที่มีคุณค่า

เรื่องที่ 3 ความชำนาญในเรื่องการมัดย้อมของกลุ่มแม่บ้าน ถูกบันทึกทุกขั้นตอน พร้อมประกอบด้วยภาษาถิ่น ลวดลายผ้าย้อมแต่ละซีน ดูสด และหลากลาย ทำให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และเห็นธรรมชาติในส่วนประโยชน์ใช้สอย

  เด่นที่การเริ่มเรื่อง การนำความเชื่อ ประเพณีมานำเสนอที่ชัดเจน และดาราที่ดูสมจริงในความเป็นพื้นบ้าน สื่อผสมที่น่าสนใจ กลุ่มพ่อประดับเลยคว้ารางวัล สารคดียอดเยี่ยมเป็นปีที่ 2

เรื่อง 4 เปิดฉากแนว ดราม่า เป็นภาพ ชาวบ้านที่ทุกข์เพราะลูกป่วยมาหาแม่หมอของหมู่บ้าน เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการป่วย มุมกล้องพยายามจับที่ การเสี่ยงทาย ที่แม่หมอ คว่ำ

จานและใช้เหรียญห้าบาทกลมมน พยายามให้เหรียญตั้งนิ่งๆ เพื่อถามหาสิ่งที่เกิดขึ้น

แล้วเหรียญกลมๆก็ตั้งได้  ชาวบ้านฮือฮากันมาก ขณะที่ดู ทั้งๆเป็นเรื่องที่เขาเคยเห็นในหมู่บ้านมาแล้ว และฉากก็ดำเนินไป  ความเป็น ดราม่า ผสมกับสารคดี ทำให้เรื่องนี้ดูง่าย และการดำเนินเรื่อง ไม่ได้เรียง จาก 1 ไป 2 ไป 3 แต่ พ่อประดับ เรียงจาก 2 มา 3 มา 4 และมาปิดกล้องที่ 1 นั่นคือ ลูกป่วย และหายป่วย เมื่อพาไปไหว้บรรพบุรษของหมู่บ้าน ( ศาลตายาย )

       

    ทุกคนก็เฮ ดีใจ กับกลุ่มผู้ได้รับรางวัล  เมื่อสรุปการประชุม ทุกคนก็มีความสุขที่เห็นว่า ชาวบ้านเรา กล้าแสดงออกมากกว่าแต่ก่อน มีเนื้อหาอยู่ในตัว และรอวันที่จะได้เอาออกมา ผ่าน เครื่องมือ ต่างๆที่จะได้มีโอกาสเรียนรู้

  " ได้เรียนรู้ แต่ก่อนไม่เชื่อว่าเราทำได้ แต่เดี๋ยวนี้เชื่อมากขึ้น และจะพัฒนาไปอีกเรื่อยๆ "  ลัดดา ศิริปัญญา  จากคุ้มแสลงพันธ์ สะท้อนความรู้สึก

คำสำคัญ (Tags): #สารคดีจากชุมชน
หมายเลขบันทึก: 126171เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • น่าสนใจเรื่องที่นำเสนอ
  • โดยเฉพสะเรื่องที่เป็นของชาวบ้านเอง เขาก็ให้ความสนใจและกระตุ้นต่อมสำนึกดีมากนะครับ
  • เยี่ยมน้องดอกแก้ว
  • น่าสนใจจริงๆ ค่ะ  และก็รับรู้ถึงความลำบากใจของคณะกรรมการตัดสินด้วย
  • การทำให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมั่นที่จะเรียนรู้ และบอกตัวเองว่า เราทำได้ นั้นเป็นจุดสำคัญของการพัฒนานะคะ
  • ส่งใจมาช่วยคุณหน่อยทำงานค่ะ
P
     พี่บางทรายคะ เรื่องดงหลวง ก็น่าสนใจคะพี่
ตอนหน่อยไปหาอ่าน ดูเรื่องแผนที่ของพี่น่ะ หน่อยดูที่สารบัญ เห็นแต่ละหัวข้อ ที่จะเป็นข้อเด่นของดงหลวง เยอะมาก และพี่ก็นำเสนอแต่ละเรื่อง แปลกๆดีคะ
    แต่คนท้องถื่นคงธรรมดา ถ้าให้กล้องชาวบ้าน ทำตามประเด็น ที่มีนะ น่าสนใจ และหลากหลายมากเลยคะ หน่อยแค่คิดเล่นๆ...แหะๆ 
P
2. dd_L
       กรรมการลำบากใจ จริงๆคะ  จริงๆแค่เพิ่มปื๊ป ขนม อีก 3 ปิ๊ป ก็สิ้นเรื่องนะ แจกทุกกลุ่มเลย เอาไว้ปีหน้าดีกว่า
     
  • การทำให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมั่นที่จะเรียนรู้ และบอกตัวเองว่า เราทำได้ นั้นเป็นจุดสำคัญของการพัฒนานะคะ
  • .......ประเด็นน่าแลกเปลี่ยนมากคะ จากที่ไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรได้ และค่อยลอง และทำได้ เขาก็สะสมความภูมิใจเล็กๆไปเรื่อยๆนะคะ  ผู้ใหญ่เรา ก็เหมือนเด็กๆนะคะ ขั้นตอนการเรียนรู้เหมือนๆกัน ต้องการคนแค่ยืนยันว่า ...ทำไปเถอะ...ทำต่อไป

          แต่เด็ก จะง่าย กว่าผู้ใหญ่ แต่ถ้าผู้ใหญ่ ปรับ /เปิด

    โอกาสให้ตัวเองได้ เขาก็จะค้นพบความสามารถของตัวเองยิ่งๆขึ้น

         และกรณี เรื่อง การสร้างสื่อ โดยชาวบ้าน แรกๆ ชาวบ้านก็คงงง ค่ะ ทำไมต้องให้เขาทำ คนแก่ จะทำอะไรได้ ทำไมไม่จ้างเด็กมาเก็บภาพ

         พี่หน่อยก็คิดว่า ชาวบ้าน ต้องแบบมาเสียเวลา กับการถ่ายทำ เพราะ สมัยนี้ อาชีพรับจ้างรายวัน ไม่ได้ทำงาน 1 วัน ก็ไม่มีกินแล้ว 1 วัน  แต่เขาก็มาร่วมกับเรา  มาร่วมคิดเรื่อง คิดประเด็น วางแผนถ่ายทำ ดูแลการตัดต่อ การผลิต....โดยไม่มีค่าจ้าง มีแต่ประสบการณ์ และอิ่มใจ สนุก เท่านั้น

    คุณหน่อยคะ

    (ดูจากรูปแล้วฉันไม่แน่ใจที่จะเรียกว่าพี่หน่อย)

    ประทับใจในภาพที่เห็นมาก ไม่เพียงแค่เพราะความสวยงาม ความคมชัด และการถ่ายทอดเรื่องราว แต่ภาพเหล่านี้สวยงามตั้งแต่ก่อนจะเป็นภาพนี้ และ หลังจากมีภาพนี้

    มันบอกถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของคน   เห็นคุณค่าในสิ่งที่ชาวบ้านทำ ประสานเชื่อมโยงผู้คนทั้งแก่เฒ่า หนุ่มสาว ทั้งพระ ฆราวาส

    มือที่จับจอบ เสียม ได้ใช้กดปุ่มสั่งงานอุปกรณ์ เครื่องมือ..  แล้วพบว่า..ทำได้.. เกิดผลสำเร็จ.. "ฉัน"ควบคุมมันได้..

    "ฉัน"ได้เห็นผลงานจาก การคิดบท การแสดง.. เห็นภาพสดๆ กันตอนนั้น  ผลงานจากความร่วมมือร่วมใจได้เห็นกันเดี๋ยวนั้น..

    และอีกมากมาย..

    สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจ ความรู้สึก ความภาคภูมิ เชื่อมั่น  ความสุขในความสำเร็จเล็กๆ จะนำไปสู่การเรียนรู้ครั้งต่อไป  และเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ฉันเชื่อว่า การมองตนเองว่า ทำไม่ได้ "ฉัน"ไม่สามารถหรอก จะหายไป  และเมื่อนั้น "ฉัน" จะสนุกกับการค้นหา พัฒนา สิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

    ฉันชื่นชมที่คุณหน่อยและคณะ จัดสรรโอกาสให้ผู้คนได้ค้นหา เชื่อมั่นและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ดีกว่าเดิมค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท