จริยา
นาง จริยา เพ็ญประทุม(สวันตรัจฉ์)

เทคนิคการเล่านิทาน


การเล่าปากเปล่าทำให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการ

        การเล่านิทานแบ่งออกเป็น  2  ประเภท (tips  of  the  mouth)โดยกระปุกข่าว

  การเล่าปากเปล่า   การเล่าปากเปล่าเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อกันมาเป็นร้อยเป็นพันปีนับตั้งแต่สมัยโบราณ   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่าสมัยพุทธกาลหรือเรื่องเล่าเก่าแก่ทั้งหลายต่างก็ใช้วิธีเล่าปากเปล่า  สืบทอดกันมาจนได้มีการจดบันทึกเรื่องเล่าเหล่านั้น  จึงกลายเป็นหนังสือและบทความมากมายให้คนรุ่นหลังอย่างเราๆได้อ่านกัน 

  1.                    การเล่านิทานปากเป่ลาเป็นวิธีการที่ต้องอาสัยความสามารถเฉพาะตัวค่อนข้างสูง  เพราะความสำคัญของการเล่าปากเปล่า  อยู่ที่สามารถดึงดูดผู้ฟังได้สิ่งนั้นก็คือน้ำเสียง   ของผู้เล่านั่นเองแต่นอกจากน้ำเสียงแล้ว การใช้ สายตา  ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน  เพราะการมองไปยังผู้ฟังคือ  การสื่อสารให้ผู้ฟังรู้ว่าในขณะเรากำลังบอกเรื่องราวนั้นๆให้ใครฟัง

  2.                     การเล่าโดยใช้สื่อประกอบ    ไม่ได้หมายความว่าน้ำเสียงและสายตาของผู้เล่าจะไม่สำคัญ   เพียงแต่จะถูกลดทอนความสำคัญลงไป   เพราะมีสื่อเข้ามาดึงดูดความสนใจมากขึ้น  สื่อแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบและมีวิธีใช้ต่างๆกัน  ข้อดีทำให้ผู้ชมได้ฝึกการรับรู้ทั้งประสาทหูและประสาทตาไปพร้อมๆกัน   นอกจากนั้นการใช้สื่อจะสามารถดึงดูดผู้ชมได้มากกว่าการเล่าปากเป่ลา   ส่วนด้อยคือถ้าผู้เล่าเตรียมตัวไม่พร้อมไม่มีการฝึกซ้อมอาจทำให้ผู้ชมไม่สนใจ

  3.    สรุปแล้ว               ไม่ว่าจะเป็นการเล่าปากเปล่าหรือใช้สื่อประกอบก็ล้วนแล้วแต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ   ครูตุ้มก็เคยสอนเด็กปฐมวัยและเคยเล่านิทานให้เด็กฟัง  เด็กๆตั้งใจฟังสนุกมากและเคยถ่ายทำ  VDO   เทป  เพื่อเป็นต้นแบบของเขตการศึกษา  11  ในสมัยนั้น  ดีมากค่ะ

หมายเลขบันทึก: 125794เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2007 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากให้ครูตุ้มเล่านิทาน ให้ฟังบ้างจัง อิอิ

ขอบคุณค่ะ..

สวัสดีครับเอื้อย

            ได้อ่านการเล่านิทานของพี่สาวแล้วรู้สึกเห็นด้วยกับแนวคิดว่าอย่างไรก็ต้องเตรียมตัวอยู่ดี ระนาบเสียงสูงต่ำก็เป็นสิ่งสำคัญในการเล่า ....พี่ลองเขียนนิทานบ้างครับเผื่อได้ลอกไปประกอบการสอนและการอบรมบ้าง 

            จาก   (คนแอบอ่านแต่ไม่ค่อยติชม)

     สวัสดีค่ะคุณครูแอ๊วที่น่ารัก

   เดี๋ยวครูตุ้มไปนิเทศห้องป.  1/2  จะเล่าให้เด็กๆฟังแต่ห้ามครูนั่งฟังนะคะ  อายมากค่ะ

     lสวัสดีค่ะอาจารย์โกศล

       ขอบคุณมากค่ะที่แวะ  ลปรร   ระยะนี้ไม่ค่อยมีเวลา   หากมีวันหน้าจะนำมาเล่าให้ฟังนะคะ  

สวัสดีครับ

ผมขออนุญาตินำสาระความรู้ของคุณครูไปใช้ด้วยนะครับ

กำลังสนใจนิทานด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กัวยเรียน (ระดับอนุบาลและประถมศึกษา)

อยากให้มีสื่อด้านนี้ออกมามากครับ

ในโอกาสอาจจะขอความกรุณาจากคุณครูและเครือข่ายในนี้

ขอบพระคุณครับ

สมโชค คุณสนอง

สถาบันโภชนาการ

มหาวิทยาลัยมหิดล ศลาลายา

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท