บทความ “ภาพรวมของโซลูชันอีเลิร์นนิ่งและแนวคิดด้าน Constructionism” ตอนที่ 1


ในหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการส่งเสริมให้ครูอาจารย์ได้ให้ความสนใจในเรื่องอีเลิร์นนิ่งเพื่อที่จะได้จัดทำระบบอีเลิร์นนิ่งสำหรับแต่ละสถานศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาก็สามารถสร้างอีเลิร์นนิ่งเพื่อนักเรียนนักศึกษาไทยได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ยังไม่มีรูปแบบหรือระบบที่สมบูรณ์ เนื่องจากในวงวิชาการอีเลิร์นนิ่งก็ได้มีการพัฒนาแนวทางหรือโซลูชันที่ครบถ้วนมากที่สุดสำหรับระบบอีเลิร์นนิ่งในปัจจุบันและอนาคต
บทความ ภาพรวมของโซลูชันอีเลิร์นนิ่งและแนวคิดด้าน Constructionism ตอนที่ 1

            ในหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการส่งเสริมให้ครูอาจารย์ได้ให้ความสนใจในเรื่องอีเลิร์นนิ่งเพื่อที่จะได้จัดทำระบบอีเลิร์นนิ่งสำหรับแต่ละสถานศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาก็สามารถสร้างอีเลิร์นนิ่งเพื่อนักเรียนนักศึกษาไทยได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ยังไม่มีรูปแบบหรือระบบที่สมบูรณ์ เนื่องจากในวงวิชาการอีเลิร์นนิ่งก็ได้มีการพัฒนาแนวทางหรือโซลูชันที่ครบถ้วนมากที่สุดสำหรับระบบอีเลิร์นนิ่งในปัจจุบันและอนาคต จากบทความ ภาพรวมของโซลูชันอีเลิร์นนิ่งและแนวคิดด้าน Constructionism ของคุณสุพจน์ ศรีนุตพงษ์ ผุ้จัดการฝ่ายการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด นั้น ได้สรุปถึงประโยชน์ของอีเลิร์นนี่งและโซลูชั่นอีเลิร์นนิ่งได้อย่างครบถ้วนเพื่อการสร้างอีเลิร์นนิ่งที่สมบูรณ์ และนอกจากนี้ ยังได้สรุปถึงแนวคิดด้าน Constructionism อีกด้วย ซึ่งในครั้งนี้จะขอเสนอ ตอนที่ 1 ดังนี้

                การเรียนและการสื่อสารแบบออนไลน์นั้นได้ช่วยให้สถาบันการศึกษาและองค์กรบริษัทมากมายมีความคล่องตัวในการจัดการเรียนการสอนรวมทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้รวมทั้งยังเป็นการสร้างรากฐานสู่ระบบเศรษฐกิจและชุมชนแห่งการเรียนรู้ (knowledge-based economy) ในระยะยาว

ตั้งแต่ปีสองพันเป็นต้นมาเราก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากมากในการก้าวเข้าสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร (Information age) ซึ่งส่งผลให้องค์กรภาคเอกชนมากมายต้องมีการปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและโซลูชันที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วให้กับพนักงาน นักเรียนและนักศึกษาก็คืออีเลิร์นนิ่งนั่นเอง

สังคมใดที่สามารถบริหารจัดการให้องค์ความรู้ทั้งในระดับชุมชนไปจนถึงระดับนานาชาติให้พร้อมและสามารถให้ประชากรเข้าถึงได้โดยง่ายก็จะสามารถก้าวต่อไปสู่ความสำเร็จในการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และในที่สุดก็จะส่งผลให้กับความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติโดยภาพรวมได้อีกด้วย

ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวางในแวดวงการศึกษานั้นก็ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและงานวิจัยกันมากขึ้นซึ่งทำให้มีการนำเอาองค์ความรู้ใหม่ๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางโดยในส่วนขององค์กรภาคเอกชนนั้นก็ได้ส่งผลถึงการทำงานของพนักงานในทุกระดับชั้นที่จะต้องบริโภคข้อมูลข่าวสารจำนวนมากในแต่ละวันโดยตัวอย่างง่ายๆที่เราสามารถเห็นได้ในแต่ละวันก็คือการรับ-ส่งอีเมล์ที่โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 10 ฉบับต่อวันขึ้นไปจนเป็นร้อยๆ ฉบับต่อวัน และเพื่อที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องกังวลต่อเวลา สถานที่ นั้นการเรียนรู้แบบออนไลน์จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการจัดการเรียนการสอนตลอดจนการสื่อสารในยุคดิจิตอลที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อหลักโดยในช่วงเริ่มต้นนั้นสื่ออินเทอร์เน็ตและการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้ถูกใช้เป็นส่วนเสริมในการเรียนการสอนมาตรฐานที่ใช้อยู่เดิมและค่อยๆขยายตัวไปจนถึงการศึกษาแบบทางไกลที่เรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ตและการผสานสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของ Web 2.0

อีเลิร์นนิ่งนั้นสามารถนำเอาทรัพยากรและองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมมาประกอบและปรับแต่งให้เหมาะสมกับผู้เรียนซึ่งก็เป็นแนวโน้มในการศึกษาแนวใหม่ที่จะยึดเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยมีเทคโนโลยีและโซลูชันทางฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ต่างๆเป็นองค์ประกอบในการนำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้แนวใหม่นี้

ระบบอีเลิร์นนิ่งนั้นสามารถเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนได้มากขึ้นกว่า การสนทนากลุ่มย่อย การอ่านเนื้อหาจากหนังสือ การใช้ซีดีรอมและแผ่นใส ที่มีการใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนมาแต่เดิมแต่ทั้งนี้ระบบ อีเลิร์นนิ่งจะครอบคลุมถึงองค์ประกอบต่างๆดังต่อไปนี้

          เนื้อหาและองค์ความรู้ (Content objects) ซึ่งสามารถพัฒนาเนื้อหาให้ออกมาส่วนๆ (Module) และถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลแบบ Object ซึ่งสามารถที่จะเรียกออกมาใช้ได้ตามแต่ความต้องการของผู้เรียนและผู้พัฒนาหลักสูตรซึ่งจะเป็นพื้นฐานหลักไปสู่การเรียนรู้แบบส่วนบุคคล (personalized learning)

           ชุมชนการเรียนรู้ (Communities) ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียนและอาจารย์ผู้สอนได้

          การให้คำปรึกษาแบบออนไลน์ (Online expertise) เป็นการให้บริการด้านคำปรึกษาแบบออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆเพื่อที่จะรับฟังปัญหาและช่วยแนะนำผู้เรียนรวมถึงเป็นที่ปรึกษาด้านการเรียนด้วย

          การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ (Online collaboration) โดยใช้ซอฟท์แวร์ระบบจัดการประชุมแบบออนไลน์ที่สามารถทำให้บุคคลที่อยู่ต่างสถานที่กันในระยะทางไกลๆสามารถที่จะสนทนาปรึกษาและทำงานร่วมกันได้โดยไม่ต้องเดินทาง

          การใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia) ด้วยเทคโนโลยีด้านวีดีโอที่มีทั้งภาพและเสียงซึ่งสามารถเรียกดูและฟังได้ตามความต้องการของผู้ใช้แบบ On-demand ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกในการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์

…”                 จากที่คุณสุพจน์ ได้สรุปมานั้น เป็นโซลูชั่นที่เหมาะสมทั้งสถานศึกษาและหน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่จะจัดทำระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยจะเห็นได้ว่าอีเลิร์นนิ่งนั้นมิใช่แต่เพียงเรานำเสนอหรือมอบความรู้ให้ผู้เรียนเท่านั้น แต่จะมีการปรับแนววิธีด้วยการสร้างสังคมเสมือนด้วยการสร้างชุมชนความรู้ และการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ที่จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าไม่ได้เรียนอย่างโดดเดี่ยว นอกจากนี้ จะต้องมีการจัดระบบการให้คำปรึกษาออนไลน์ด้วยเพื่อการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียนได้อย่างทันทีโดยที่ในอดีตจะให้ผู้เรียนรับความรู้ด้านเดียวแต่เมื่อมีข้อสงสัยใดๆ ก็จะไม่ได้รับการตอบสนองซึ่งถือว่าเป็นการเรียนที่ยังไม่ครบองค์ประกอบของการเรียนรู้ ดังนั้น การที่หน่วยงานหรือสถานศึกษาต่างๆ ที่จะจัดทำระบบอีเลิร์นนิ่งนั้นควรมีการวางแผนและจัดองค์ประกอบของอีเลิร์นนิ่งตามที่คุณสุพจน์ฯได้นำเสนอมาผนวกกับการเลือกใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียในรูปแบบตามความต้องการของผู้เรียนหรือ On-demand ก็จะเกิดการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ที่ถูกต้องมากกว่าที่จะเป็นการบังคับให้ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์จากรูปแบบเดิมๆ ที่ผ่านมา                ต่อไปจะขอนำเสนอ แนวคิดใหม่ตามแนวคิดแบบ Constructionism ซึ่งคุณสุพจน์ฯได้นำเสนอไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง
หมายเลขบันทึก: 125372เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เห็นด้วยกันอาจารย์สมพรครับ สงสัยเราต้อง มาลองใช้ gotoknow ให้เป็น Online collaboration กันดูสักตั้งแล้วครับ ^^
ดีค่ะ ครูอ้อยเห็นด้วยกับ คนข้างบนนี้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท