การศึกษาเด็กเป็นรายกรณี


การศึกษาเด็กเป็นรายกรณี
รายงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณีปีการศึกษา 2548

 ชื่อผู้รับการศึกษา                 เด็กชายดี  มีสุข (นามสมมุติ)สาเหตุที่ศึกษา                      ต้องการปรับพฤติกรรมเงียบขรึม ซึมเศร้า ไม่ร่าเริง ของนักเรียนช่วงเวลาการศึกษา             วันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 31 สิงหาคม 2548 รวม 3 เดือน 16 วันประวัตินักเรียนด้านต่าง ๆ โดยย่อ                ประวัติส่วนตัวและครอบครัว                อายุ 13 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 เป็นเด็กรูปร่างค่อนข้างผอม ผิวดำแดง หน้าตาอยู่ในเกณฑ์ดี แต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน สีหน้าแววตาเรียบเฉยไม่ยิ้มแย้มไม่ค่อยยอมพูดจากับใคร                พ่อเสียชีวิตตอนนักเรียนอายุ 10 ขวบ ด้วยโรคเอดส์(จากการสืบทราบประวัติเชิงลึกหลังจากดูข้อมูลการมอบตัวซึ่งมีใบมรณะบัตรของพ่อนักเรียน) แม่ทำงานโรงงานและได้ย้ายไปทำงานที่ไต้หวัน เป็นลูกคนเดียว  เด็กชายดีต้องอาศัยอยู่กับยายและน้า ซึ่งน้าก็มีลูกหลายคนแต่ก็เลี้ยงดูเด็กชายดี ด้วยความรักและสงสาร แต่ไม่มีเวลาพูดคุยกับเด็กชายดีมากนัก ส่วนลูกของน้า 3 คน ก็ อายุห่างกับเด็กชายดี มากคือคนโตอายุ 2 ขวบ คนเล็กอายุ 1 ขวบ                ในด้านการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยคะแนนค่อนข้างดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสม3.50 ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพราะไม่ชอบท่องจำ                ในด้านสุขภาพ เด็กชายดี สูง 145 เซนติเมตร น้ำหนัก 29 กิโลกรัม ซึ่งผอมมาก แต่ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีประวัติการเจ็บป่วยใด ๆ                ในด้านสังคม เด็กชายดีเป็นเด็กเงียบมาก ไม่ยิ้มแย้มไม่ค่อยยอมพูดจากับใครง่าย ๆ บางครั้งนั่งเหม่อลอย ชอบเดินคนเดียว ไม่มีเพื่อน จากการสัมภาษณ์ครูประจำวิชาทุกวิชา และเพื่อน ๆบอกตรงกันว่าเด็กชายดีมีความรับผิดชอบส่งงานครูทุกคนครบทุกครั้ง แต่ไม่ยอมตอบคำถามต่าง ๆ ในชั้นเรียน ซึ่งหากให้ตอบลงกระดาษจะทำได้ดีการวินิจฉัย                จากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้พอสรุปได้ว่าเด็กชายดี มีปัญหาด้านการปรับตัว คือ มีพฤติกรรมเงียบเฉย ไม่ร่าเริงตามวัย เพราะมีปัญหาทางจิตใจเนื่องจากทราบสาเหตุการตายของพ่อและกังวลกับแม่ที่อาจได้รับเชื้อเอดส์ แต่ด้วยความเป็นเด็กเงียบอยู่ก่อนแล้ว ยิ่งเงียบเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัวเพราะไม่ทราบว่าเด็กชายดี คิดอะไรอยู่ การช่วยเหลือ1. เยี่ยมบ้านเด็กชายดี 4 ครั้ง ให้ความใกล้ชิดสนิท สนม เพื่อสร้างความไว้วางใจ สร้างความคุ้นเคย จนให้เด็กชายดี รู้สึกไว้ใจ และเรียกมาพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เด็กชายดี พูดคุยด้วยมากขึ้น และยอมรับว่ามีปัญหาในใจเรื่องสาเหตุการตายของพ่อและกังวลกับแม่ที่อาจได้รับเชื้อเอดส์                2. ตัดสินใจโทรศัพท์พูดคุยปัญหาของเด็กชายดีให้แม่ที่ทำงานไต้หวันทราบและให้แจ้งความจริงกับลูก ซึ่งในเบื้องต้นแม่ตกใจเพราะปกปิดเป็นความลับของครอบครัว จึงแจ้งว่าเด็กชายดี ทราบเรื่องการตายของพ่อ และพอจะรับรู้ว่าโรคเอดส์ อาจติดต่อไปถึงแม่จึงกังวลมาก ทราบจากแม่ว่าหลังจากทราบว่าก่อนสามีไปมีความสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อก็แยกกันอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ห้ามสามีเข้าบ้านและได้ตรวจร่างกายพบว่าไม่มีเชื้อเอดส์ แต่คิดว่าเป็นเรื่องไม่ดีเลยไม่ได้พูดให้ลูกฟัง ได้แนะนำให้แม่บอกความจริงลูกจะได้หายกังวลและสามารถมีพัฒนาการได้เต็มที่ แม่จึงให้น้านำใบผลการตรวจให้ลูกชายดูและโทรศัพท์พูดคุยกับลูกชาย รวมทั้งพยายามหาเวลาโทรศัพท์มาหาลูกชายบ่อยครั้งมากขึ้น                3. คัดเลือกนักเรียนในห้องที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีและเป็นเพื่อนที่เด็กชายดี ไว้วางใจคอยดูแลให้ความใกล้ชิดเป็นพิเศษ คือ เด็กชายยอดชาย (นามสมมุติ) โดยบอกว่าเด็กชายดี คิดถึงแม่มาก เพื่อนเหงา ว้าเหว่ ต้องช่วยครูดูแลอย่างใกล้ชิด4. ทุกวันช่วงเข้าแถวเคารพธงชาติ ผู้ศึกษาจะไปจับมือ จับแขน หรือโอบกอด เด็กชายดี เพื่อสร้างความอบอุ่นสบายใจ และขณะเดียวกันก็ปฏิบัติกับนักเรียนทุกคน เพื่อนักเรียนจะได้ไม่ริษยากันการติดตามผล1.       สอบถามพฤติกรรมจากครูประจำวิชา2.       ผู้ศึกษาสังเกตพฤติกรรมด้วยตนเอง3.       สอบถามพฤติกรรมจากเพื่อนในห้องเรียนการสรุปและข้อเสนอแนะ                จากการติดตามผล พบว่าเด็กชายดี แม้จะเงียบขรึมบางครั้งแต่ก็ยอมพูดคุยกับครูคนอื่น ๆ และเพื่อนมากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น 3 กิโลกรัม อาการเหม่อลอยลดลง อย่างชัดเจน จนไม่มีอาการเหมอลอย แววตาสดใสมากขึ้นและมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะบ้าง แม้จะไม่มากเท่าเพื่อนคนอื่น ๆ แต่ผู้ศึกษาก็ดีใจและพยายามจะดูแลช่วยเหลือพัฒนาต่อไป จนกว่าเด็กชายดี จะไปเรียนต่อที่โรงเรียนอื่น                การทำให้นักเรียนรักและไว้วางใจเป็นบันไดขั้นแรกของการแก้ปัญหาต่าง ๆ แม้ว่าปัญหานั้นดูเหมือนจะยากต่อการแก้ไข                                                                 ลงชื่อผู้ศึกษา                                                                                         (นางอภินันท์  สีสันต์)                                                                                                 ครูที่ปรึกษา

รายงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณีปีการศึกษา 2549

 ชื่อผู้รับการศึกษา                 เด็กชายสุข  มีดี (นามสมมุติ)สาเหตุที่ศึกษา                      ต้องการปรับพฤติกรรมก้าวร้าว ของนักเรียนช่วงเวลาการศึกษา               วันที่ 1 มิถุนายน  ถึง 31 กรกฎาคม  2549 รวม  2 เดือน ประวัตินักเรียนด้านต่าง ๆ โดยย่อ                ประวัติส่วนตัวและครอบครัว                อายุ 13 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 เป็นเด็กรูปร่างล่ำสัน ผิวดำแดง หน้าตาอยู่ในเกณฑ์ดี แต่งกายไม่ค่อยถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน สีหน้าแววตาหยาบกระด้าง ชอบพูดคำหยาบและรังแก เพื่อน ๆ คบนักเรียนรุ่นพี่ที่มีปัญหา                พ่อไม่ทราบไปไหน แม่รับราชการครู มีสามีและลูกใหม่ 2 คน กับสามีที่เป็นตำรวจ เด็กชายสุข  เป็นลูกคนเดียวกับพ่อคนแรก  เด็กชายสุข  ต้องอาศัยอยู่กับยายและตา  ซึ่งตาเป็นครูเกษียณแล้ว ตามใจเด็กชายสุข  ทุกอย่าง ส่วนยายก็กลัวตามากไม่กล้าว่ากล่าวดูแลมากนัก นอกจากให้เงิน แม่ก็ไม่มาดูแลเด็กชายสุข  เพราะต้องดูแลลูกใหม่ 2 คน                ในด้านการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยคะแนนปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสม2.15 ชอบเรียนวิชาพลศึกษา ส่วนวิชาอื่น ๆ ไม่ชอบ  เพราะไม่ชอบท่องจำ และไม่สนุก                ในด้านสุขภาพ เด็กชายสุข สูง 155 เซนติเมตร น้ำหนัก 47 กิโลกรัม ซึ่งดูล่ำสัน แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีประวัติการเจ็บป่วยใด ๆ                ในด้านสังคม เด็กชายสุข เป็นเด็กช่างพูด พูดจาหยาบคาย ชอบเกเรเพื่อนทั้งในห้องเดียวกันและต่างห้อง คบนักเรียนรุ่นพี่ที่มีปัญหา เป็นที่รังเกียจของเพื่อน ๆ และมักถูกครูประจำวิชาตำหนิ  จากการสัมภาษณ์ครูประจำวิชาทุกวิชา และเพื่อน ๆบอกตรงกันว่าเด็กชายสุขมีพฤติกรรมก้าวร้าว พูดจาไม่สุภาพ ชอบรังแกเพื่อน และไม่สนใจเรียนการวินิจฉัย                จากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้พอสรุปได้ว่าเด็กชายสุข มีปัญหาด้านการปรับตัว คือ มีพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร เพราะมีปัญหาทางจิตใจเนื่องจากพ่อทิ้ง แม่ไม่สนใจ ตา ยาย เลี้ยงอย่างตามใจเพื่อชดเชยและกำลังเริ่มเปลี่ยนสังคมใหม่จากประถมมาอยู่มัธยม จึงเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างด้วยพฤติกรรม ดังกล่าว การช่วยเหลือ1. เยี่ยมบ้านเด็กชายดี 5 ครั้ง เพื่อขอความร่วมมือตา และยาย ให้แก้ปัญหา ร่วมกันเพื่ออนาคตของหลาน                2. พบแม่ เพื่อพูดคุยปัญหาของเด็กชายสุข ให้ทราบและขอความร่วมมือให้ดูแลเด็กชายสุขมากขึ้น โดยแนะนำว่าควรพบลูกอาทิตย์ละครั้งเป็นอย่างน้อยและโทรศัพท์พูดคุยหรือพาลูกไปเที่ยวบ้างตามโอกาสสมควร                3. ทำสัญญาทางการเรียนกับเด็กชายสุข                 4. คัดเลือกนักเรียนในห้องที่เด็กชายสุข ไว้วางใจคอยดูแลให้ความใกล้ชิดเป็นพิเศษ คือ เด็กหญิงยอดหญิง* (นามสมมุติ) โดยบอกว่าเด็กชายสุข มีปัญหาต้องการเพื่อนที่ยอมรับ และดูแลตักเตือนเรื่องการเรียน การส่งงาน ให้ครบ5. ทุกวันช่วงเข้าแถวเคารพธงชาติ ผู้ศึกษาจะไปจับมือ จับแขน หรือโอบกอด เด็กชายสุข เพื่อสร้างความอบอุ่นสบายใจ และขณะเดียวกันก็ปฏิบัติกับนักเรียนทุกคน เพื่อนักเรียนจะได้ไม่ริษยากันการติดตามผล1.       สอบถามพฤติกรรมจากครูประจำวิชา2.       ผู้ศึกษาสังเกตพฤติกรรมด้วยตนเอง3.       สอบถามพฤติกรรมจากเพื่อนในห้องเรียนการสรุปและข้อเสนอแนะ                จากการติดตามผล พบว่าเด็กชายสุข แม้จะยังพูดจาหยาบคายบางครั้งเพราะความเคยชินแต่พฤติกรรมเกเร หนีเรียน ลดลงอย่างชัดเจน แม้จะไม่ดีเท่าเพื่อนคนอื่น ๆ ในชั้นเรียน แต่ผู้ศึกษาก็   ดีใจที่แก้ปัญหาได้บางส่วน และพยายามจะดูแลช่วยเหลือพัฒนาต่อไป                 การแก้ปัญหานักเรียนต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพื่อน ๆ ในห้องเรียน และตัวนักเรียนเอง แม้ปัญหานั้นจะยากต่อการแก้ไข ก็สามารถแก้ไขให้ลุล่วงได้แม้บางส่วนก็ยังดีกว่าให้ปัญหานั้นเพิ่มพูน                                                                                                  ลงชื่อ                                                     ผู้ศึกษา                                                                                                                (นางอภินันท์  สีสันต์)                                                                                                                          ครูที่ปรึกษา 

หมายเลขบันทึก: 124569เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูเพราะมีประโยชน์อย่างมาก

ชื่นชมมากค่ะ ที่สามารถทำได้

เก่งจังค่ะ คงจะช่วยลดปัญหาทางสังคมลงไปได้เยอะ(เพราะบางคนอาจมองข้ามสิ่งเหล่านี้)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท