การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 8 คู่มือขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก


เห็นไหมครับ ง่ายนิดเดียว น่าทำไหมครับ

           ถ้าตัดสินใจว่าจะทดลองทำปุ๋ยหมักแน่นอนแล้วก็อ่านต่อนะครับ  ได้ทำเลดีๆในสวนหลังบ้านตามที่ได้แนะนำไว้แล้ว  ต่อไปก็เลือกแบบถังหมักหรือคอกหมักที่ถูกใจ  ถ้ายังไม่ตัดสินใจแนะนำให้ใช้วงบ่อคอนกรีตมาทดลองทำก่อนนะครับ  จะใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม.  หรือ 1 เมตรก็ได้   เจาะโดยรอบวงบ่อให้มีรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม.   ประมาณ 10-12 รูโดยรอบวงบ่อ   เพื่อให้อากาศสามารถเข้าถึงกองหมักได้สดวก

    


           เวลาวางถังหมักให้รองขอบวงบ่อให้สูงพ้นพื้นเล็กน้อย  เพื่อให้อากาศสามารถผ่านเข้าถังหมักจากด้านล่างได้  และจะช่วยระบายน้ำ ( กรณีที่ท่านวางวงบ่อบนพื้นปูน )
            เอากิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่วางรองก้นถังหมักเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สดวก  หนาประมาณ 5-10 ซม.  คราวนี้ก็นำเอาวัสดุสีน้ำตาลและวัสดุสีเขียวผสมกันให้ได้สัดส่วนตามที่เคยแนะนำไว้  นำลงไว้ในถังหมักหรือคอกหมัก  ถ้าท่านผสมได้ถูกต้องจะได้กองหมักที่มีความชื้นพอสมควร  ไม่แห้งหรือไม่แฉะเกินไป  ถ้าแห้งเกินไปอาจพรมน้ำลงไปเล็กน้อย  หรือถ้าแฉะเกินไปก็ให้เพิ่มปริมาณของวัสดุสีน้ำตาลเพิ่มลงไป  เสร็จแล้วให้คลุมกองหมักด้วยวัสดุสีน้ำตาล  ซึ่งวัสดุสีน้ำตาลชั้นนี้จะทำหน้าที่ดูดซับกลิ่น  ทำให้กองหมักไม่เหม็นรบกวนเราและเพื่อนบ้าน
           วัสดุสีน้ำตาลจะมีสัดส่วนของคาร์บอนสูง  จะทำหน้าที่เหมือนที่เราใช้ถ่านในการดับกลิ่น  ศัพท์ทางวิชาการเรียกว่าทำหน้าที่เป็น Biofilter  จะดูดซับกลิ่นทำให้ไม่มีกลื่นเหม็นรบกวน
           ในการทำจริงๆ  เราจะมีวัสดุสีน้ำตาล ( กิ่งไม้  ใบไม้ ใบหญ้าแห้ง )  ที่เราสามารถเก็บรวบรวมไว้ก่อนเป็นจำนวนมาก  ถ้าเป็นกิ่งไม้ก็ควรจะตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆแล้วใส่เข่งหรือถุงปุ๋ยเพื่อเก็บไว้ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ย
           ส่วนวัสดุสีเขียวส่วนมากจะเป็นเศษผัก   เศษผลไม้ที่เกิดขึ้นทุกวัน  ( ถ้ายังไม่แน่ใจก็อย่าเพิ่งนำเศษอาหารไปทำปุ๋ยหมัก  แต่ถ้าชำนาญแล้วก็สามารถนำไปหมักได้  ไม่มีปัญหาอะไร )  วัสดุพวกนี้พวกนี้มักจะเกิดขึ้นในครัวหรือห้องรับประทานอาหารเป็นส่วนใหญ่  ก็สามารถรวบรวมไว้ในภาชนะที่ใช้รวบรวมเรียกว่า Minibin หรือ  Compost Pail   แล้วนำไปทิ้งในถังหมักได้ทุกเย็น  ล้างภาชนะให้สะอาดแล้วนำกลับมาไว้ที่เดิม

         


           เวลามีเศษผัก  เศษผลไม้และเศษอาหารเพิ่มทุกวัน  เราก็นำไปไว้ในคอกหมักปุ๋ยทุกวัน  เพราะถ้าปล่อยไว้หลายวันจะมีกลิ่นเหม็นรบกวนในบ้าน  เวลาจะนำลงในถังหมักก็ควรจะเปิดชั้นวัสดุสีน้าตาลออก   แล้วเ้ทวัสดุสีน้ำตาลเพิ่มลงไป  ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันโดยใช้คราดหรือมือเสือก็ได้  แล้วปิดกองด้วยวัสดุสีน้ำตาลเพื่อไม่ให้มีกลิ่น 
           เห็นไหมครับ  ง่ายนิดเดียว  น่าทำไหมครับ  ตอนต่อไปจะแนะนำวิธีดูแลกองหมัก  คอยติดตามนะครับ       

 

หมายเลขบันทึก: 124435เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2007 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณคร้าที่แนะนำ

หจก. พรจันทร์มาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป

จำหน่ายปุ๋ยปลาปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตราชาวประมง

ปุ๋ยปลา คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็น สารละลายเข้มข้น ที่ได้จากปลาสดโดยกระบวนการหมักซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย มีธาตุอาหารหลักและรองครบตามที่พืชต้องการ

วัตถุดิบ

ปลาสดจากทะเล : ให้ ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แก่ต้นพืช

ส่าเหล้า : สารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ มีสีน้ำตาลเข้ม และมีธาตุอาหาร N: P: K ซึ่งเป็นสารอาหารที่พืชต้องการ

จุลลินทรีย์ : สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นตัวกลางช่วยเร่งปฏิกิริยาการดูดซึมธาตุอาหารของพืชได้เร็วขึ้น

ประโยชน์ของปุ๋ยปลาตราชาวประมง

-ปรับสภาพดินและฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมจากการทำเกษตกรรมมายาวนาน และจากการใช้ปุ๋ยเคมีที่เกินขนาด ช่วยให้ดินโปรง ร่วนซุย

-ปรับความเป็นกรด-ด่างในดิน สร้างความต้านทานโรครากเน่าโคนเน่า

-ช่วยเปิดรากพืชเสริมการดูดซึมธาตุอาหารแก่พืช

-มีสารเร่งการเจริญเติบโต GA3, IAA

-เพิ่มความเขียวสดเป็นมันวาวให้ไม้ใบ ยืดอายุการบานของไม้ดอก

-มีกลิ่นและสารช่วยไล่แมลง พวกแทนนิน

-ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยเสริมประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมี

มีขนาด 1 ลิตร 5 ลิตร 20 ลิตร มีทั้งราคาส่งและปลีก

อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อมานะครับ ขอบคุณครับ

สนใจติดต่อ คุณปอ คุณอัญชรี 077-541347’544473 อ.หลังสวน จ.ชุมพร

หรือ คุณวิรัตน์ หมวดแทน 089-6455239

พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ

- ขอมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

- ตอนนี้กำลังรณรงค์เรื่องการจัดการกับขยะย่อยสลายได้ที่บ้านค่ะ แต่มีเรื่องสอบถามคือ มีการถกเถียงกันเรื่องของ เศษอาหาร ว่าจะนำมาทำปุ๋ยได้หรือไม่ บางคนที่ทำขยะหอม ที่ทำกับกากน้ำตาล บอกว่า ต้องเลือกทำได้แค่เศษผัก ผลไม้ เศษอาหารไม่ได้ หากทำเป็นปุ๋ยหมัก ก็มีเรื่องถกเถียงว่า ต้องซื้อมูลสัตว์มาเติมจึงจะเกิดการย่อยสลายที่รวดเร็ว (จริงหรือไม่) ทำให้การจัดการกับเรื่องขยะย่อยสลายได้ที่บ้าน ชะงักไป ลองเสนอให้ทำถังข้าวหมู แต่ตัวเองไม่เห็นด้วย เพราะยังเชื่ออยู่ว่า เราต้องสามารถนำเอาเศษอาหาร แม้แต่น้ำแกง มาทำปุ๋ยได้

- ต้องรบกวนจากผู้มีประสบการณ์จากคุณหมอแล้วค่ะ

 

  • อ้อ ขออนุญาต นำไปเผยแพร่ต่อด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท