เรียนรู้ให้ลึกซึ้ง กับ ... KM หน่วยงานต้นแบบ (ตอนที่ 1)


KM เป็นส่วนที่จะมาช่วยในการทำงานของพวกเรา ... ราบรื่น สะดวกขึ้น

 

16 มกราคม 2549 ... วันครู ... เป็นวันที่ KM Team กรมอนามัย นำโดย นพ.ประเสริฐ หลุยเจริญ CKO KM กรมอนามัย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ และ พญ.นันทา อ่วมกุล และคณะ รวมกว่า 10 ท่าน ได้ฤกษ์งามยามดี รวมทีมเข้าเกาะติด งาน KM ของศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อาสาเป็นต้นแบบการดำเนินงาน KM กรมอนามัย ปี 2549

ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมทีมนี้ด้วย ซึ่งจะขอคัดบทสนทนาดีๆ มาเป็นกำลังใจให้กับคณะทำงาน KM กรมอนามัย เพื่อจะได้ทราบถึงความมุ่งหวังของผู้บริหารกรมอนามัย ต่อการทำงาน KM ... ต่อชาวกรมอนามัย และ ... เพื่อกรมอนามัย

CKO กรมอนามัย ... นพ.ประเสริฐ หลุยเจริญ ได้ให้ข้อคิดต่อทีม KM ศูนย์อนามัยที่ 1 และ KM ทีมกลาง ไว้ว่า ...

“วันนี้ เราคงได้มาเรียนรู้กันในเรื่องของ KM ผมไม่อยากให้เรื่องของ KM เป็นเรื่องที่ทำให้มีความรู้สึกเป็นภาระ กับการทำงานของเจ้าหน้าที่ แต่อยากให้ KM เป็นส่วนที่จะมาช่วยในการทำงานของพวกเรา ... ราบรื่น สะดวกขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของเรา ในฐานะที่กรมอนามัยเป็นกรมวิชาการ เพราะในขณะนี้ เราได้เปลี่ยนจากหน่วยปฏิบัติการ เป็นหน่วยวิชาการ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องมีการเตรียมความรู้ของเรา ให้เพียงพอกับการดำเนินงาน และในขณะเดียวกัน เราต้องเตรียมความรู้ของเราให้ก้าวหน้า เพื่อที่ให้เราอยู่รอดได้ในสถานการณ์ของวันนี้ คือ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อม … เราไม่ได้เป็นหน่วยงานเดียว เป็น Unique เดียว ที่อยู่ แต่ว่าทุกวันนี้เราจะมีหน่วยงานอื่นๆ ที่มาทำงานนี้แข่งกันกับเรา อาจจะมีหน่วยงานบางอันที่เป็นภาคี แต่บางครั้งบางคราว จากการเป็นภาคี ถ้าหากว่าเราไม่มีองค์ความรู้ ไม่มีศักดิ์ศรีที่จะอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับเขา ในการที่เราจะอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับเขาในเรื่องของวิชาการ ตรงนี้เราจะต้องเป็นหน่วยงานซึ่งมีความรู้ด้านวิชาการ ต้องสามารถผลิตองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ได้ นี่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าหากว่าเราต้องไป consume ความรู้มาจากตรงอื่นตลอด ก็อาจจะมีปัญหาเช่นเดียวกัน ตรงนี้ก็อยากให้เรื่อง KM เป็นงานซึ่งทำให้เราอยู่ในเวทีของเราได้ และทำให้เราเป็นที่เชิดหน้าชูตา สามารถผลิตองค์ความรู้ออกไปเพื่อประชาชนคนไทยในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ผมคาดหวังว่า ในการมาดูงานวันนี้ของเรา จะได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และสิ่งไหนที่ดี ก็ขออนุญาตที่จะนำไปถ่ายทอด เผยแพร่ต่อไป”

นพ.ประเสริฐ หลุยเจริญ และทีมงานศูนย์อนามัยที่ 1

 

คำสำคัญ (Tags): #อนามัย#kmanamai
หมายเลขบันทึก: 12435เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2006 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมต้องขออภัยที่ต้องหลบไปงานอื่นก่อน เลยต้องมาเล่าแลกเปลี่ยนกับพวกเราภายหลัง

 

ก่อนอื่นก็ต้องชมว่าศูนย์เขต 1 มีแผนทำ KM ที่ดี เพราะเท่าที่เห็นเป็นการทำการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ผสมผสานเข้าในการทำงานประจำ โดยใช้หลักเปลี่ยนวิธีทำงานแบบเดิมมาใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างเช่นการส่งเวร การให้สุขศึกษาคนไข้ (ที่เปลี่ยนมาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนไข้กับจนท แทน) อยากแนะนำว่าอย่าไปพยายามทำ ลปรร ถ้าคิดว่าไม่มีเรื่องจะแลก หรือรู็สึกว่าชักจะซำ้ซาก (เช่นเล่าคำชมจากผู้ป่วยหรือญาติจนชักเบื่อ - น่าอิจฉาจริงๆ) แต่ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นแบบนั้นนะที่จะไม่มีเรื่อง ลปรร นอกจากเราทำงานแบบน่าเบื่อหน่ายซะเอง ยิ่งงานบริการผู้ป่วยน่าจะมีเรื่อง ลปรร มากมาย ไม่จำเป็นต้องเลือกแต่เรื่องที่มีคนมาชม  เอาเรื่องที่เราช่วยแก้ปัญหาให้ได้ แต่คนไข้ไม่ได้ชมก็ได้ (แต่เราคิดว่าเป็นเรื่องน่าภูมิใจของเรา และน่าจะเล่าให้คนอื่นได้รู้)

ผมยังไม่มีโอกาสดูเรื่อง km ของฝ่ายที่ทำงานสนับสนุนวิชาการ (ซึ่งเป็นงานหลักของชาว กรมอในปัจจุบัน และอนาคต แตกต่างจากงานบริการผู้ป่วยที่เราถูกบอกเป็นระยะๆว่าน่าจะไม่ใช่งานของกรม อ)

การผสมผสานการ ลปรร เข้ากับการทำงานสนับสนุนวิชาการ ก็น่าจะใช้หลักการเดียวกับการให้สุขศึกษาผู้ป่วย คือเริ่มจากเปลี่ยนความคิดว่า เราต้องไปชี้แจง และบอกวิธีแก้ปัญหา หรือทำงานให้เข้าเป้า แต่ใช้วิธี ลปรร กับกลุ่มเป้าหมาย เหล่านั้นแทน (ฟังเขาด้วย พูดประสบการณ์ ความรู้ของเราสลับอย่างได้จังหวะ)  

 ผมจะรอไปดูที่หน่วยอื่นๆครับ เผื่อจะได้เรียนรู็เพิ่มเติมจากที่พวกเราตั้งหน้าตั้งตาคิดค้นกันอย่างคึกคัก

เรื่องราวดีดี...ต่อยอดจากการชื่นชมKM ศูนย์อนามัยที่1(ตอน1)

 

พี่จิ๋ว(เพ็ชรรัตน์ fa-หนึ่งในเลขาฯKM ศูนย์ฯ1) เล่าถึงการทำ cop ในกลุ่มนักวิชาการที่ถึงแม้จะบอกว่า เพิ่งทำเพียงครั้งเดียวก็ตาม แต่สรุปบทเรียน...น่าสนใจมาก เลยหยิบมาเล่าต่อกันฟัง...พี่จิ๋วบอกว่า มีการถกเถียงกันในเชิงวิชาการ แต่ไม่ได้ทะเลาะกัน..คำถามสุด classic คือ ทำไมต้องทำKM  /ทำไปเพื่ออะไร /ใครได้อะไรจากการทำ /ไม่ทำได้มั๊ย /แล้วค่อยมาถึงส่วนสุดท้าย...ทำอย่างไร  ต่อจากนั้นก็เริ่มค้นหาคำตอบ อ่านเอกสาร ถกเถียงกันเพื่อให้การทำKM มีกระบวนการ(ขั้นตอน) ที่ดีที่สุด แต่แล้วก็ให้บทสรุปกับตัวเองว่า

 

•         ทฤษฎีมีไว้อ้างอิง การเรียนรู้ที่แท้จริงต้องปฏิบัติ
•         การ ลปรร.ในแนวคิดของกระบวนการ KM ไม่จำเป็นต้องหาข้อยุติ  ต้องเรียนไปรู้ไป เพราะตำตอบจะได้ในช่วงท้ายของบทสรุป ไม่ใช่ที่จุดเริ่มต้น
•         KM ต้องเริ่มง่าย ถึงจะจูงใจให้คนหันมาสนใจ แต่ในขณะเดียวกันต้องอิงหลักการ
•         ต้องเชื่อมั่นในกระบวนการ KM ว่ามีประโยชน์จริง ไม่ใช่ทำเพราะภาคบังคับ
•         เมื่อคุณเอื้อของกลุ่มต้องอยู่ในบทบาทของผู้ร่วม ลปรร.   บทบาทต้องชัดเจน
•         Fa ในกลุ่มนักวิชาการที่จัดเจน ต้องเป็น Fa ที่เจนจัด
•         คุณลิขิตต้องเก่งต้องได้รับการพัฒนาทักษะ เพราะต้องทำความรู้ที่กระจัดกระจาย เป็นหมวดหมู่ให้ได้
•         สภากาแฟ สนุก น่าสนใน แต่ไม่เกิดประโยชน์ระยะยาวถ้าไม่มีการบันทึก

 

          มาถึงแค่นี้ ศรีวิภา ...ชื่นชมกับวิธีหาคำตอบ...บวกกับการสรุปบทเรียนของพี่จิ๋วและทีมงานมาก เพราะในประสบการณ์ตนเอง ค้นหาคำว่า KM จากหลากหลายตำรา ตะลุยอ่านทั้งไทยและอังกฤษ(แบบงูๆปลา) แล้วก็...หยุดเป็นระยะๆ บอกกับตัวเองว่าปิด..ปิดตำรา...ลงมือทำ...ผ่านมาแล้ว10 กว่าเวที ทั้งที่มีกุนซือ(คุณหมอนันทา คุณหมอสมศักดิ์ อาจารย์หมอวิจารณ์)และไม่มีกุนซือ เรา(ศรีวิภา/พี่สร้อยทอง) ไม่ค่อยเจอคำตอบเดียวใน KM ค่ะ ทุกเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ...มีคำถามและคำตอบ...ท้าทายเราเพื่อการเรียนรู้ ในคนละมุมและหลากหลายในแต่ละสถานการณ์

 

       ลุย ลุย ลุย ไปเลย...อย่างที่พี่จิ๋วบอกเราในเวทีนี้ แล้วมาคุยกันต่อในตอน2 นะค่ะ

 

                               ศรีวิภา

 

ขอขอบพระคุณทีม KM กรมที่มาเยี่ยมเยี่ยนและให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ 

ผลพวงจากการมาครั้งนี้ทำให้ทีม KM ของศูนย์คึกคักมาก โดยเฉพาะพี่ชูศรีหัวหน้าทีม วันนี้เรียกประชุมทีมเพื่อปรับแผนให้สอดคล้องกับ 7 องค์ประกอบ

ตอนนี้เราได้หัวปลาเรียบร้อยแล้ว คือการสร้างภาคีเครือข่าย พร้อมได้ 6 CoPs และทุก Cop เป็นประเด็นที่สานร้อยให้เกิดหัวปลา มีการกำหนดตารางเวลาของแต่ละ CoP เพื่อผู้สนใจจากฝ่ายอื่นๆ จะได้เข้าร่วม ลปรร. ตารางเวลาเรียบร้อยเมื่อไรจะส่งมาให้เผื่อคนจากกรมจะไปร่วมด้วย

มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนในทีมคณะกรรมการ ระบุว่าใครคือเจ้าภาพหลัก และใครคือเจ้าภาพร่วม

พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจเป็นกลยุทธ์หนึ่ง  เพราะแกนทำในช่วงบุกเบิกเหนื่อยและหนักใจกว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้คนเห็นประโยชน์ได้  ตรงนี้ต้องยกนิ้วให้ทีมจากห้องผ่าตัดและห้องคลอดที่บุกเบิกและยังคงทำอย่างต่อเนื่องสมำเสมอ เข้าทำนองมีท้อบ้างและกัดไม่ปล่อย

อยากจะส่งท้ายด้วยการส่งดอกไม้ในสวนที่บ้านมาขอบคุณแต่ส่งไม่เป็น เอาเป็นว่าขอส่งรูปดอกกระเทียมเถาสีม่วงเป็นพวงสวยมาก ออกดอกปีละครั้งช่วงหน้าหนาว มาให้ทีมจากกรมอนามัยคะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท