แผนการดูแล..ผู้ป่วยระยะสุดท้าย


End of life care

วันที่ 30-31 สิงหาคม  ดิฉันมีโอกาสไปเข้าร่วมสัมมนาภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ราชาวดีรีสอร์ท ขอนแก่น

 

ดิฉันได้เข้ากลุ่ม..การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ผู้ร่วมทีมมีหลายคน  แต่คนที่มาร่วมสัมมนา

มี รศ สุวรรณา อาจารย์ประจำภาควิชาฯ จิตเวช  คุณหมู หัวหน้าตึกสงฆ์ 

ดิฉัน อุบล จ๋วงพานิช หอผู้ป่วยมะเร็ง  

และน้องพยาบาลที่อยู่หอผู้ป่วย 4ข อายุรศาสตร์

 

สัมมนา end of life care

 

 น้องพยาบาลนำเสนอแผนการดำเนินงาน end of life care

ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์  ขอนแก่น

เราก็เริ่มวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางดำเนินการ

1. end of life care เป็นผู้ป่วยกลุ่มใดบ้าง 

2. Identify group บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์  นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด พระ นักบวชฯลฯ

3. เราจะประเมินผู้ป่วยอย่างไร เช่น ประเมินปวด ประเมินความต้องการของผู้ป่วยและญาติ ประเมินด้านจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า การปรับตัว

4. ตอนนี้เรามีกิจกรรมอไรบ้าง กรณีผู้ป่วยเข้าสู่ end of life

การแจ้งข่าวร้าย ใครบอก  บอกใคร บอกอะไร มีคู่มืออะไรบ้าง

กิจกรรมมีอะไรบ้าง

การดูแลความสุขสบายทางกาย สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย

การดูแลกรณีฉุกเฉิน 

การดูแลก่อนเสียชีวิต (good dead)

กลุ่มญาติ

กลุ่มครอบครัวสัมพันธ์

กลุ่มสานฝัน (fullfill wish)

กลุ่มศาสนา

กลุ่มสอนญาติให้ดูแลในระยะสุดท้าย

การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์  กรณีนำผู้ป่วยกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน (Hotline)

การติดตามเยี่ยมบ้าน กรณีผู้ป่วยอยู่บ้าน

การดูแลหลังเสียชีวิตในโรงพยาบาล เช่น การจัดการศพ ฉีดศพ autopsy การส่งศพ เอกสารรับรองการตาย การแนะนำและปลอบโยนญาติ การแสดงความเสียใจ การไปร่วมงานศพ

การติดตามญาติภายหลังผู้ป่วยเสียชีวิต การปรับตัว ปรับใจและความพึงพอใจของญาติต่อบริการที่ได้รับจากดรงพยาบาล

เป้าหมายการดูแล

1. ลดความทุกข์ทรมาน

2. ให้ใช้ช่วงเวลาที่มีชีวิตเหลืออยู่ให้มีคุณภาพ

3. ให้ตายอย่างสงบและสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ดัชนีชี้วัดที่ต้องการติดตาม

1 การรับรู้ข้อมูลการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

2. การยอมรับของผู้ป่วยและญาติต่อสภาพที่เป็นจริง

3. ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติระหว่างการรักษา

4. จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลหลังจากที่แพทย์แจ้งข่าวและมีการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติแล้ว

5. อัตราการรับปรึกษายามฉุกเฉิน (Hotline)

การพัฒนาบุคลากรที่เราควรทำ

1. ความรู้และการดูแลรักษาพยาบาล เช่น end stage process, palliative care, Philosophy and ethics of hospice,sign of impending death, การให้คำปรึกษาผู้ป่วยและครอบครัว

2. ทักษะ การประเมิน การสื่อสาร การดูแลและการบริหารจัดการ

3. สอนให้มีทัศนคติที่ดี ให้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ความจริงของชีวิต การยอมรับกับความตายและการเตรียมความพร้อมจิตใจในการเผชิญกับความตาย

เราวางแผนระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อให้การดำเนินการเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อหวังว่า

1. ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเผชิญกับโรคและปรับตัวได้

2. ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการดูแลแบบองค์รวม โดยสหสาขาวิชาชีพ

3. ผู้ป่วยและครอบครัวได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

4. ผู้ป่วยและครอบครัว ได้มีโอกาสเตรียมตัวในการต้องพลัดพราก

สุดท้ายจริงๆ

เราหวังว่า..ผู้ป่วยจะได้ตายอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

คำสำคัญ (Tags): #end of life care#พัฒนางาน
หมายเลขบันทึก: 123946เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2007 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ตอนนี้อยู่กับ พ่ออายุ 81 ค่ะ พยายามจะดูแลท่านตามทฤษฎี แต่ด้วยความที่ไม่ค่อยสนิทกับพ่อ และบางครั้งก็ทำใจกับความดื้อของพ่อไม่ค่อยจะได้เลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะป้าแดง

คุณพ่อป้าแดงอายุ 81 ปี ถือว่าอยู่ในวัยผู้สูงอายุ

เราก็ต้องเข้าใจผู้สูงอายุว่ามีความต้องการอย่างไร เราก็ต้องดูแลให้มีความสุขเท่าที่จะมีได้

เพราะดิฉันก็มีแม่อายุ 80 ปี เราก็คิดว่าเราต้องดูแลแม่ให้ดีที่สุดในช่วงที่ท่านอยู่กับเรา ดีกว่าไม่มีแม่ให้ดูแล

เพราะตอนพ่อจะเสีย พ่อรู้ว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย

ท่านได้เตรียมความพร้อมก่อนเสียชีวิต โดยเขียนประวัติ จัดเตรียมหนังสืองานศพท่านเอง เขียนคำนำเอง อัดเทปคำอำลาในงานศพ  ให้ลูกมาเปิดอำลาแขกที่มาในงาน ได้จัดเตรียมทุกอย่าง

มาถึงวันนี้เราภาคภูมิใจที่พ่อรู้ว่าพ่อเป็นโรคอะไร จะมีชีวิตอีกนานเท่าไหร่ ทำให้พ่อเตรียมพร้อมก่อนตายได้อย่างดี

มีประโยชน์มากครับ เป็นข้อสรุปที่ช่วยในการพัฒนางานได้เป็นอย่างดีครับ ผมขอนำบางส่วนไปใช้นะครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอโรจน์

ถ้าความรู้นี้...สามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยและญาติแล้วในองค์กรอื่นๆ

ก็ยินดีค่ะ ..ที่คุณหมอจะได้นำไปใช้ในการพัฒนางานค่ะ

ขอบคุณคุณพี่อุบลมากๆเลยนะคะ ที่ช่วยสรุปประเด็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้อย่างชัดเจน  คงจะขอนำกลับไปเป็นกรอบเพื่อทบทวนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ทำอยู่ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ค่ะ...ไพรินทร์... 

สวัสดีค่ะ พี่แก้ว

  • เห็นภาพการดูแลผู้ป่วยที่เป็นรูปธรรมชัดเจนค่ะ  และการทำงานเป็นทีมจะช่วยให้งานสำเร็จลงง่ายขึ้น
  • ตามมาให้กำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะคุณไพรินทร์

ขอให้นำไปใช้ได้และประสบผลสำเร็จนะคะ

สวัสดีค่ะคุณติ๋ว

ขอบคุณที่เข้ามาให้กำลังใจค่ะ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

เราทุกคนต้องช่วยกัน เผื่อวันสุดท้ายของเราๆ ก็อยาก

มี good death เช่นกัน

รักค่ะ

 

P สวัสดีค่ะ

 

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

เราทุกคนต้องช่วยกัน

เผื่อวันสุดท้ายของเราๆ ..ก็อยากมี good death

เป็นความจริงค่ะ

สวัสดีค่ะน้องพยาบาล

สัปดาห์ที่แล้วได้รับโทรศัพท์จากน้องพยาบาลจากอุตรดิตต์ มาถามเรื่อง..การดูแลผู้ป่วย end of life อย่างไร

การดูแลผู้ป่วย end of life ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เราทำงานเป็นทีม เช่นทีมอายุรกรรม เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ดิฉันในฐานะพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง(ผู้ป่วยมะเร็ง) จะเตรียมผู้ป่วยและญาติเพื่อให้พร้อมทั้งด้านร่างกาย ดูแลให้สุขสบาย มีการดูแลด้านจิตใจและจิตวิญาณ มีพระสงฆ์มาเยี่ยมข้างเตียง มีการประสานกับ PCU  มีอื่นๆอีก แต่พวกเรากำลังพัฒนาให่ดียิ่งขึ้นค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณแก้ว

อยากจะเป็นผู้ให้การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายได้ดีเช่นคุณแก้วจังเลยค่ะ ไม่ทราบว่าที่ รพ.ศรีนคริทร์ มีการประเมินความพึงพอใจของการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายหรือเปล่าค่ะ และพอจะมีตัวอย่างแบบประเมินความพึงพอใจหรือเปล่าค่ะ

คุณนาตยา

การประเมินเราสามารถถามและเขียนเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพค่ะ การมา Chect list อาจไม่เหมาะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนู(ขอแทนตัวด้วยคำนี้เพื่อความน่าเอ็นดูค่ะ)สนใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่โรงพยาบาลกำลังจะทำเรื่องนี้ค่ะ ซึ่งหนูต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ หูเป็นพยาบาลจบมา 5 ปี ประสบการอาจจะน้อย เคยอบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแล้ว 1 ครั้ง แต่ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง จึงอยากขอคำแนะนำจากอาจารย์ค่ะว่าควรทำอย่างไรบ้าง แล้วเริ่มต้นยังงัย ขอคำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่แก้ว ได้ความรู้เรื่องการดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ค่ะ ขอชื่นชมด้วยคนนะคะ แต่ว่าที่ราชาวดีรีสอร์ต สวยมากๆเลยค่ะ บรรยากาศดีมาก อาหารก็อร่อยค่ะ เป็นบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณปฏิณญาภรณ์

ก่อนอื่นต้องศึกษาปัญหาผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้เข้าใจ

แล้วหาวิธีการดูแลแล้วจดบันทึกไว้ก่อน

ติดตามประเมิน โดยการสังเกตและพูดคุยซักถาม

จัดทำโครงการที่เหมาะสมสำหรับหน่วยงานตัวเองค่ะ

P

น้องพอลล่า แสดงว่าเคยมาแล้วใช่ไหมคะ

ขอบคุณที่ติดตามผลงานค่ะ

สวัสดีค่ะ

ธาอยู่โรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสงขลา ที่เริ่มทำโครงการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทำแล้วมีความสุขค่ะ แต่ไม่มั่นใจว่าจะทำให้มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไร ขอกำลังใจจากพี่ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอ copy ไปเป็นแนวทางในการพัฒนา Palliative ของโรงพยาบาล

ดำเนินสะดวกหน่อยนะคะ จะรบกวนมากไปมั้ยคะ ถ้าจะขอเบอร์โทรติดต่อปรึกษา

ขอข้อมูลบางอย่าง งานนี้สำคัญกับชีวิตมากๆ เพราะมีความเชื่อว่าพวกเรากำลังจะ

เปลี่ยนโลกได้ จริงๆนะคะ

ขอบคุณโลกที่ทำให้เรามาเจอกัน

แก้ว

สวัสดีค่ะคุณศรัทธา เพชรชาต

การพัฒนาเริ่มที่พยาบาลก่อนก็ได้ค่ะ  ถ้าจะดีก้ทำเป็นทีมร่วมกับแพทย์และคนอื่นๆ

รพ เอกชน การดูแลและให้บริการ ผู้ใช้บริการมาที่หนึ่งอยู่แล้ว ดังนั้นการจะพัฒนาอะไร ถ้าทำให้ถูกใจและถูกต้อง ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรค่ะ

สวัสดีค่ะคุณดวงแก้ว ศรีพรหมมา

ยินดีที่ได้รู้จัก

สิ่งใดที่สามารถนำไปทำได้เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับการดูแลที่ดี ยินดีค่ะ

การแลกเปลี่ยนใน blog จะเป็นวิทยาทานให้กับคนอื่นได้ด้วย สงสัยอะไรถามกันได้ใน บันทึกนี้ได้เลยค่ะ

กำลังสนใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอยู่ค่ะ อยากมีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยและที่สำคัญอยากทราบแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการน่ะค่ะ หากอาจารย์มีขอเป็นวิทยาทานด้วยนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

คุณบุษ

พี่ไม่ได้ใช้แบบประเมินค่ะ ลองสร้างเองก็ได้นะคะ

พี่คะหนูทำงานรพ.ชุมชนอยู่ตึกผู้ป่วยในมีโอกาสดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้รู้สึกยากตรงต้องดูแลกลุ่มผู้ป่วยอื่นด้วย

ผู้ป่วยอื่นด้วย ความเชี่ยวชาญจึงน้อย

คุณอ้อม

ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าเราประสบปัญหานั้น ถ้าเป็นเราหรือญาติเรา แล้วเราอยากให้พยาบาลทำอะไรให้ เราก็ทำเหมือนที่เราอยากได้ เพียงเท่านี้ก็ดีมากแล้วค่ะ

นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์

ที่บอกว่ามีงานให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ อยากทราบว่าได้ทำหรือยังค่ะ และให้บริการอย่างไร ผลเป็นอย่างไรบ้างค่ะ ที่เขียนมาเพราะสนใจรวมตัวอาสาสมัครทำในเรื่องดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายค่ะ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร

คุณนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์

ทำได้ค่ะ

การให้คำปรึกษาทาง tel เราทำทุกกรณีที่ผู้ป่วยต้องการขอคำปรึกษา

ทั้งการขอเลื่อนนัด ปัญหาที่ผู้ป่วยพบ

เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต ญาติจะโทรมาแจ้ง

รวมทั้งกรณีไม่มีเตียง เราจะโทรขอเลื่อนผู้ป่วยด้วยค่ะ

ผลลัพธ์

ดูว่าผู้ป่วยมาตามนัดกี่ % ไม่มาตามนัดกี่% ขอเลื่อนนัดกี่%

มีปัญหา complication กี่ %

สวัสดีค่ะ..คุณแก้ว

ขณะนี้กำลังเริ่มทำPalliative care อยากทราบว่าการประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีแบบประเมินเฉพาะไหมคะ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท