ผลงานวิจัยมอนเตสซอรี่


มอนเตซอรี่

ชื่อวิจัย           ความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนปฐมวัย โดยใช้นวัตกรรมการสอนแบบมอนเตสซอรี่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1ผู้วิจัย                   นายกิตติ  กสิณธารา  ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ                             E – mail : [email protected] / [email protected]                 การวิจัย เรื่อง ความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนปฐมวัย โดยใช้นวัตกรรมการสอนแบบมอนเตสซอรี่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) ส่งเสริมให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนปฐมวัยโดยใช้นวัตกรรมการสอนแบบมอนเตสซอรี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ทำวิจัยควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงการ (2) รายงานผลการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโดยใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 (3) เสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่ในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  ใช้โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์  (Unit of Analysis)  โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับแผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัย (Research Program) ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 6 โครงการย่อย (Sub- Research Project) และผลจากการบริหารจัดการความรู้โดยใช้     การสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน ครูปฐมวัย และศึกษานิเทศก์  ที่รับผิดชอบโครงการ จำนวน 25 คน พบว่า                1. โรงเรียนต้นแบบทั้ง 6 โรงเรียนที่เป็นหน่วยวิเคราะห์สมัครเข้าโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนปฐมวัย โดยใช้นวัตกรรมการสอนแบบมอนเตสซอรี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ตามความสมัครใจและความพร้อมของโรงเรียน                2. กลุ่มนิเทศ  ติดตามและประเมนผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญการสอนแบบมอนเตสซอรี่ นางกรรณิการ์ บัท (Kannekar Rakkomkaew Butt) Consultant Thailand Associated Montessori International Schools, Principal Directerss, AMI 3-6 Sydney สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูปฐมวัยที่เข้าโครงการก่อนนำไปปฏิบัติ จัดอบรมปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี และการฝึกปฏิบัติการสอน การผลิตและการใช้สื่อ นอกจากนั้นยังนำผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอนปฐมวัยไปเยี่ยมชมโรงเรียนที่เปิดสอนมอนเตสซอรี่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้                3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ได้กำหนดให้มีการนิเทศ ติดตามผลการสอบแบบมอนเตสซอรี่อย่างสม่ำเสมอโดยนางกรรนิการ์ บัท ร่วมกับคณะศึกษานิเทศก์ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโครงการและศึกษาเทศก์ประจำโรงเรียน เพื่อช่วยให้การนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติตามหลักการ วัตถุประสงค์และเปิดโอกาสให้ครูได้ทบทวนความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ                4.     การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนควรมีครูปฏิบัติการสอนห้องเรียนละ 1 คน และ หากนำการจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่มาใช้ โดยการจัดคละชั้นเรียนในระดับอนุบาล 1-2  ช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2 รวม 8 ห้องเรียน จะสามารถลดครูได้ 5 คน ทำให้ลดงบประมาณหรือสามารถนำครูไปช่วยปฏิบัติงานอื่นได้ เช่นเป็นผู้ช่วยครูในการสอนเป็นทีม หรือปฏิบัติงานสนับสนุนการสอน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ขาดครูอยู่แล้ว ก็สามารถแก้ปัญหาการขาดครูเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ                5. พัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนต้นแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่ทั้ง 6 โรงเรียนตามพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ในการประเมินโรงเรียนได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน ครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 1 หรือปีที่ 2 เป็นกรรมการ โดยประเมินตามการบูรณาการด้านต่าง ๆ ของการพัฒนา 6 ชุด คือชุดภาวการณ์เจริญเติบโตและสุขนิสัย ชุดสัมพันธ์กล้ามเนื้อ ชุดการละเล่นไทย ชุดสนุกกับภาพ ชุดเรขาคณิตสร้างสรรค์ และชุดสนใจใฝ่รู้ที่กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษาเป็นผู้สร้างขึ้นพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์และสูงกว่าเกณฑ์                6.  ความคาดหวังเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ ตามการรับรู้ของผู้อำนวยการโรงเรียนต้นแบบและครูปฐมวัยในโรงเรียนดังกล่าวเห็นว่านักเรียนปฐมวัยควรมีคุณลักษณะที่ประสงค์ 12 คุณลักษณะดังนี้ (1)  มีความรับผิดชอบ (2) ความมีระเบียบวินัย (3) กล้าแสดงออก ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ (4) มีสมาธิอยู่กับงานที่ทำได้นานขึ้น (5) ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระดับปฐมวัย (6) รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (7) ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ (8) มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (9) มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ (10) สามารถวางแผนและตัดสินใจในการทำงานได้ด้วยตนเอง (11) มีความเชื่อมั่นในตนเอง และ (12) พัฒนากล้ามเนื้อเล็กใหญ่ไปสู่การเขียนและการอ่าน                7.   คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ พบว่าผู้อำนวยการโรงเรียนมีความเห็นว่าการสอนแบบมอนเตสซอรี่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริง ผู้เรียนได้รับประโยชน์เกิดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ทีสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงด้วยตนเองเต็มศักยภาพ จากสื่อและอุปกรณ์ นักเรียนมีระเบียบวินัยมากขึ้น รู้จักการรอคอยและมีสมาธินอกจากนั้นยังมีความเห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรนำวิธีการที่หลากหลายมาจัดเป็นองค์รวมโดยคำนึงถึงมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ประสบการณ์สำคัญ สาระสำคัญของหลักสูตร ทุกวิธีการสามารถนำมาใช้จัดประสบการณ์สำหรับเด็กโดยเลือกและจัดประสบการณ์ของแต่ละวิธีและเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมในแต่ละกิจกรรมผู้ปกครองมีความเห็นว่าผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ในขณะที่ผู้ปกครองบางท่านไม่ประสงค์ให้นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และ 2 เรียนร่วมกัน8. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง                8.1 จังหวัดนครปฐม (CEO) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาครูและจัดซื้อสื่อ                8.2  ชุมชน เอกชน วัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้ระดมทรัยากรเพื่อสนับสนุนในการปรับปรุงห้องเรียน จัดซื้อสื่ออุปกรณ์                 8.3 โรงเรียนได้รับกัลยาณมิตรนิเทศจากศึกษานิเทศก์และครูในโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนเครือข่ายทั้งด้านกำลังใจ คำแนะนำเอื้อเฟื้อสื่ออุปกรณ์                8.4  ผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้ให้ความรู้ ประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่9. จุดเด่นของการสอนแบบมอนเตสซอรี่                9.1 กระบวนการจัดการเรียนรู้ทำให้เด็กมีระเบียบวินัย มีขั้นมีตอนชัดเจนและในแต่ละขั้นตอนการสอนมีความหมายในการพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล                9.2 สื่อที่ใช้มีความหมายและจุดประสงค์กับนักเรียน 1 คนหรือการใช้สื่อนั้นกับนักเรียนเป็นกลุ่มได้ตามความประสงค์ ทำให้นักเรียนเรียนได้อย่างมีความสุข                9.3 นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจและศักยภาพอย่างไม่มีขีดจำกัด10 ปัญหาของการสอนแบบมอนเตสซอรี่                10.1ใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดหาและพัฒนาสื่อโดยเฉพาะสื่อที่ต้องซื้อและนำเข้าจากต่างประเทศ ในขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กมีงบประมาณจำกัด                10.2 ครูบางส่วน โดยเฉพาะโรงเรียนเครือข่ายขาดความรู้ เนื่องจากการใช้อุปกรณ์มีความลึกซึ้ง หากครูไม่ได้รับการอบรมหรือเรียนรู้จะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ                10.3 การจัดหาและผลิตสื่อไม่ทันกับความต้องการและพัฒนาสื่อโดยเฉพาะสื่อที่ต้องซื้อและนำเข้าจากต่างประเทศ ในขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กมีงบประมาณจำกัด                10.4  การพัฒนาครูใช้เวลามาก เมื่อครูไปเข้ารับการพัฒนาโรงเรียนต้องปิดห้องเรียนหรือฝากห้องเรียนไว้กับเพื่อนครูช่วยดูแลแทน11. ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูในโรงเรียนต้นแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่ทั้ง 6 โรงเรียนมีความมั่นใจและมีความพร้อมในการเผยแพร่และให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนที่จะจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่โดยให้เหตุผลที่สอดคล้องกันว่าทั้งผู้อำนวยการโรงเรียนและครูได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ด้วยการปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรมและทุกสื่ออุปกรณ์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ อาสาสมัครชาวต่างประเทศ และศึกษานิเทศก์เป็นวิทยากร นำการผลิตสื่อ และนิเทศก์อย่างใกล้ชิด นอกจากนั้นความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการที่ได้จากการไปร่วม 25th International Montessori Congress, Sydney Australia ก็ยิ่งทำให้ครูมีความมั่นใจยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 122719เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท