สืบเนื่องจาก "ภาษาของความคิด"


ขยายความ เรื่องภาษากับความคิด อ้างจากหนังสือ ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ

อ่านพบในงานเขียนของท่านเขมานันทะ คิดว่าสอดคล้องกับงานที่ผมเคยเขียนไว้เรื่อง ภาษาของความคิด

http://gotoknow.org/blog/phd-life/55788

จึงคัดลอกมาเก็บไว้กันลืมครับ

จาก "ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ (หลวงพ่อเทียนที่ข้าพเจ้ารู้จัก)" โดยเขมานันทะ สำนักพิมพ์อมรินทร์ 2550

"ประดิษฐกรรมซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงที่สุดในปัจจุบันนี้เท่าที่มนุษย์เคยประดิษฐ์คิดใช้ ไม่ใช่อะตอมมิกบอมบ์ ไม่ใช่อะไร สิ่งนั้นคือภาษา ภาษานี่ทำให้คนร้องไห้ก็ได้ หัวเราะก็ได้ เจ็บปวดทรมานอย่างไรก็ได้ และไม่เพียงภาษาพูดกันตามธรรมดาเท่านั้น แต่รวมถึงภาษาที่คิดอยู่ข้างในด้วย กล่าวง่ายๆ เช่นนี้ว่า คนที่เดินอยู่ในถนนนั้นไม่เดินเปล่า หากแต่คิดอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่เข้าใจ ไม่รู้ไม่เห็นกับอาการคิดนั้นๆ ส่วนใหญ่ถูกล้อมจับอยู่ภายใต้ภพของความคิด..."

ท่านอาจารย์เขมานันทะ ช่วยขยายความจากเรื่องที่ผมเข้าใจว่า ความคิดถูกจำกัดด้วยกรงขังทางภาษา ให้ลึกซึ้งชัดเจนยิ่งขึ้นเชื่อมโยงมาถึงการเจริญสติ เพราะการมีสติคือขั้นที่สูงกว่า "การรู้เรื่องที่ตัวเองคิด" (อันนี้ต้องใช้ภาษา) แต่การมีสติคือ "การรู้ว่าตัวเองกำลังคิด" (อันนี้ไม่ต้องใช้ภาษา) 

หมายเลขบันทึก: 122078เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2007 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การรู้ว่าตัวเองกำลังคิด คือสติ น่ะถูกครับ แต่ไม่ใช่สติตัวที่ท่านเขมาฯหมายความ

การรู้ว่าตัวเองกำลังคิด ก็ยังอยู่ในขอบวงของความคิดอยู่นั่นเอง  ไม่ใช้ีภาษาก็จริง แต่เป็นการซ้อนทับของชั้นความคิดที่ละเอียดขึ้นไปอีก

ปัญหาคือ ภาษาผุดขึ้นมาจากสภาวะอะไร และก่อนเกิดความคิดที่จะแปรเป็นภาษาคือสภาวะอะไร

ทำอย่างไรจึงจะสัมผัสสภาวะก่อนความคิดเกิดได้ โดยไม่ได้สูญเสียความคิดไป 

 

อัศจรรย์แห่งชีวิตอยู่ที่นั่น 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท