PBL


PBL = Problem-based Learning

            ในสมัยที่ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานหรือPBLได้เข้ามาสู่คณะแพทย์ที่เชียงใหม่ มีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการสอนLectureแบบเดิม ทำให้รู้สึกว่าแค่อ่านเลคเชอร์ก็จะไม่ทันอยู่แล้ว จะเอาเวลาไปทำPBLได้อย่างไร ทำให้เกิดความเครียดและความรู้สึกที่ไม่ดี ตอนนั้นจำได้ว่าได้เขียนข้อเสนอแนะไปว่า ควรจะเลือกเอาอย่างเดียว ถ้าจะใช้ปัญหาเป้นตัวตั้งก็ใช้ให้เหมือนกันทั้งคณะ จะได้วางหลักสูตรอย่าสอดคล้องกัน และพอจบมาก็ทราบว่ามหาวิทยาลัยหลายๆแห่งใช้การเรียนแบบ PBLกันมากขึ้น แต่ก็ยังใช้ร่วมกับวิธีการเรียนแบบเดิม

              ผมเองไม่ใช่นักการศึกษา เวลาคิดจึงคิดเห็นตามประสบการณ์ที่ตนเองมี ซึ่งอาจผิดหรือถูกก็ได้ ผมเคยฟังอาจารย์ที่สอนเรื่องPBLแล้ว ก็รู้สึกงงหรือดูซับซ้อนมาก จนรู้สึกไม่เข้าใจ และก็คิดในใจขนาดวิธีการเรียนยังไม่เข้าใจ แล้วจะเรียนเข้าใจหรือ

               เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้เข้าร่วมฟังการประเมินหลักสูตรเพื่อเปลี่ยนหลักสูตรแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนเรศวรใหม่ ก็มีการพูดถึงกลยุทธ์การเรียนการสอนว่าจะใช้แบบใด ก็มีการพูดถึง PBL แต่มีอาจารยืท่านหนึ่งบอกว่าคงใช้ร่วมกันหลายวิธีเป็นTriอะไรซักอย่าง ผมจับคำไม่ได้ทั้งเลคเชอร์ PBL และกิจกรรมพิเศษของรายวิชาเช่นทำLAB เป็นต้น ผมก็นึกในใจว่าแล้วการทำLABกับPBLเป็นอันเดียวกันไม่ได้หรือ หรือทำให้เจ้าสามตัวนี้เป็นอันเดียวกัน แยกกันไม่ออกเป็นแบบPBLไปเลยได้ไหม

                PBL การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานนี่ ผมก็มีคำถามในใจอีกว่า ปัญหาที่ว่านี้ คือปัญหาของใคร ปัญหาจากผู้เรียน ปัญหาจากผู้สอนหรือปัญหาจากตำรา เอาใครเป็นศูนย์กลางกันแน่ ครูบอกว่าปัญหานี้สิ อันนี้สำคัญนะ แต่เด็กบอกว่าผมว่าอันนี้ดีกว่า สำคัญกว่า อาจารย์อย่าเอาตามที่อาจารย์ชอบสิ เอาไงดีละครับ...

                ในความเห็นของผม น่าจะเป็นปัญหาจริงในการดูแลผู้ป่วยหรือการดูแลสุขภาพเพราะเราจะเรียนเป็นแพทย์ ก็ให้ไปดูคนไข้บนหอผู้ป่วยเลย แล้วเอาปัญหาของผู้ป่วยมาวิเคราะห์ เป็นเรื่องของpatient-centerde Approach ไปเลย แล้วเอาปัญหาเหล่านั้นมาวิเคราะห์เชื่อมดยงกับวิชาที่มีอยู่จะเป็นกายวิภาค สรีรวิทยา ประสาทวิทยา พยาธิวิทยา กีฏวิทยา ก็ค้นคว้ากันไป แล้วนำมาอภิปรายกัน อย่างนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็น PBL ของจริงกว่า..ไหมครับ

                ผมก็คิดเอาเอง ตามประสาของผม แต่มีวันหนึ่งผมได้อ่านคำแปลของ PBL = Problem-based Learning ของ ดร.รุ่ง แก้วแดง ผมรู้สึกปิ๊งเลย โดยแปลเป็นไทยว่า การเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงเพื่อแก้ปัญหา ถ้าอย่างงี้มันก็เป็น Learning by Doing นั่นเอง ก็ใช้แนวทางของ KM ได้เลย และเป็นการมองจากปัญหาจริงเป็นหลักและต้องเป็นลักษณะของ Holistic Learning โดยไม่แยกออกเป็นวิชาๆ เป็นส่วนๆด้วย

                 ก่อนจบ ขอรบกวนผู้รู้ ช่วยแสดงความคิดเห็นเพื่อความกระจ่างด้วยครับ จะเป็นพระคุณมาก

หมายเลขบันทึก: 12183เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2006 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เอาปัญหาที่พบบ่อยๆในชีวิตจริง นำไปสู่การเรียนรู้ โดยพี่เลี้ยง กับ ผู้เรียน ช่วยกัน ตั้งข้อสงสัย ข้อสมมุติฐาน ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหานั้น แล้วนำไปสู่การค้นหาความจริง เพื่อแก้ปัญหาได้ถูกต้อง

ผู้ป่วยหอบเหนื่อย เป็นเรื้อรัง จะดูแลอย่างไร ( บางทีโจทย์อาจจะขยายความมาก ไปชี้นำ ประเด็น  นำไปสู่การเรียนรุ้ ) 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ จึงออกแบบให้เหมาะสมกับ ช่วงชั้นที่เรียน preclinic ก็ ไม่ควรซับซ้อน เหมือนชั้น คลินิค

เช่น  สาเหตุทำให้หอบ มีอะไรบ้าง  สถิติ หรือ ระบาดวิทยาเป็นอย่างไร  ปัจจัยเกี่ยวข้อง มีอะไร   กลไกสำคัญอะไรบ้างที่ทำให้หอบ  การป้องกันหอบชนิดต่างๆ เป็นอย่างไร เป็นต้น 

หากนศ.ได้พบผป.หอบ แบบต่างๆ เขาก็จะเห็นภาพได้ดีและ ค้นหาคำตอบ และจดจำได้ดี ค้นคว้าได้เป็นนิสัย

ที่ยากคือ พี่เลี้ยง ต้อง ช่วยแนะให้เข้าวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ที่ควรได้  มิฉะนั้น อาจออกนอกทางที่ควร หากมีกำลังของนศ.มาก จะค้นอ่านมากกว่าที่พึงประสงค์ของหลักสูตรก็ได้  แต่โดยรวมก็ไม่ค่อยพบ นศ.ที่เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ อ่านได้มาก ทำกิจกรรมนอกเวลา พอดี  สอบผ่าน   จึงทำให้เวลาที่ต้องอ่านค้นคว้าอย่างมีจำกัด  ตรงเป้า ตามมาตรฐานวิชา

การเรียนชั้นคลินิค จึงค่อนข้างเป็น PBL ที่มีชีวิตชีวา มากกว่า PBL ชั้นพรีคลินิค ซึ่งต้องทำใจบ้างในการบ่มเพาะน้องใหม่ นศพ.ปีน้อยๆ  เหมือนแนะนำลูกๆ  กับ แนะนำน้อง  น้องก็จะซักค้าน ซักหนุน สนุก  แต่ลูกเล็กก็คงตั้งคำถาม ตอบคำถาม เราไม่เก่งมาก   

ทั้งหมดย่อมจะสนุกกว่า มีอาจารย์บรรยายไป 2 -3 ชม.เกี่ยวกับเรื่องหอบทั้งหมด  นศ.หลับๆตื่นๆ จำอะไร ไม่ค่อยได้ สู้ค้นทำความเข้าใจเอง แล้วมาเล่าเรื่อง  จะจำได้ดี   ตรงนี้เหมือน KMจริงๆ คือ เป็นคุณกิจ

ผมว่าโดยรวม คุณหมอติ่ง ก็เข้าใจถูก

 

ขอบคุณอาจารย์วีรพัฒน์มากครับ สุขสันต์วันปีใหม่ครับ(ช้าไปหน่อยคงไม่เป็นไรนะครับ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท