การจัดการความรู้ที่จ่านกร้อง 2


เครื่องมือการจัดการความรู้ 2

เครื่องมือการจัดการความรู้วิธีที่ 2 ที่ป้านางนำมาใช้ที่จ่านกร้อง คือ การสกัดวิธีปฏิบัติจากเรื่องเล่า (ขุมความรู้)  ความรู้จากการปฏิบัติเป็นความรู้ฝังลึกอยู่ในคน หรืออยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างคน ในหลายกรณีนำมาแบ่งปันหรือแลกเปลี่ยนกันได้ยาก บันทึกเป็นเอกสารยิ่งทำได้ยาก จึงต้องใช้วิธีการให้ความรู้ในการปฏิบัติออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือ โดยวิธีการเล่าเรื่อง (Storytelling)  การเล่าเรื่องทำให้ความรู้ในการปฏิบัติและความรู้เพื่อการปฏิบัติ ถูกเปล่งออกมาเป็นคำพูดในรูปของเรื่องราวที่มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมจำเพาะ สำหรับให้ผู้ฟังตีความได้โดยอิสระ คาดหวังว่าผลการตีความของผู้ฟังแต่ละคนจะมีทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่ไม่เหมือนกับการตีความของคนอื่น เมื่อนำผลการตีความนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนกันในกลุ่ม ก็สามารถบันทึกขุมความรู้ที่เป็นความรู้เพื่อการปฏิบัติ เพื่อบรรลุหัวปลาได้  ในขั้นตอนนี้ครูนักจัดการความรู้ประจำกลุ่มจะต้องใช้คำถามนำให้ผู้เล่าสรุปเรื่องเล่าของตนเองให้สั้น ๆ เพื่อให้ "คุณลิขิต" ของกลุ่มบันทึกได้ตรงประเด็นและคุณลิขิต ก็ต้องอ่านขุมความรู้ที่บันทึกไว้ให้ ผู้เล่าเรื่องได้ทบทวนด้วยเพื่อให้ขุมความรู้ที่บันทึกไว้ตรงประเด็นมากที่สุด

แล้ววันต่อไปป้านางจะเขียนต่อนะ

หมายเลขบันทึก: 121323เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท