จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

วันนี้หูผึ่ง กับความรู้ัใหม่


เช้าวันนี้ ได้นั่นแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อาวุโสของบ้านโสร่งครับ เป็นกระบวนการหนึ่งในการทำวิจัยเกี่ยวกับอาหารละศิลอดในเดือนรอมฏอน เริ่มต้นด้วยการให้อีหมามของหมู่บ้านซึ่งท่านอาวุโสสุดเล่าประวัติหมู่บ้านให้ฟัง ข้อมูลหน้าสนใจมาก จนผมต้องตั้งหัวข้อว่า "วันนี้ผมหูผึ่ง"

ผมตั้งคำถามท่านว่า คนที่มาตั้งรกรากอยู่ที่นี้มาจากไหน เพราะผมทราบคร่าวๆ มาว่า ไม่ได้ดั่งเดิมที่นี้เลย

ท่านตอบว่า คนที่นี้มาจากสองแหล่ง คือ มาจากบ้านลือแบซา คิดว่า น่าจะเป็น อำเภอยี่งอในปัจจุบัน ซึ่งอันนี้ก็มีประวัติครับ คือ เป็นหัวเมืองหนึ่งในอดีตของฟาตอนี อีกแหล่งหนึ่ง คือ มาจาก มะละกา (รัฐหนึ่งของมาเลเซีย ไกลจากประเทศไทยมากครับ มาได้งัยก็ไม่รู้)

โอ้โห เพิ่งรู้ว่า คนแถวนี้เป็นลูกครึ่ง (ฮิฮิ น่าจะสงเสริมไปเป็นดารากับเขาบ้าง คนไทยชอบเอาลูกครึ่งเป็นดารา ฮิฮิ)

แถบที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เป็นป่าทั้งหมดครับ การขยายตัวของบ้าน เริ่มขยายออกทีละนิด ทีละนิดครับ

จากนั้นก็เล่ายาวไปจนถึงประเด็นของการศึกษา ผมตั้งคำถามว่า โรงเรียนของรัฐกับตาดีกาของชุมชนมีปัญหาหรือเปล่า

ภรรยาของกำนัน ตอบทันทีเลยครับว่า ไม่เคยมีปัญหามาเลยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ) ผมเลยต้องถามต่อว่า แล้วในอดีตเรียนกันยังงัย ท่านตอบว่า ก็กลางวันเรียนที่โรงเรียนรัฐ และกลางคืนเรียนตาดีกา

คนที่เป็นดอกเตอร์หรือเรียนสูงๆ เกือบทุกคนในตำบลนี้ ต้องผ่านการเป็นศิษย์ของอีหมามคนนี้มาก่อนทั้งนั้น เพราะท่านเป็นครูคนเดียวของชุมชน ท่านบอกว่า ท่านไม่ไ้ด้รู้อะไรมากหรอก สิ่งที่มีการสอนกันในอดีตคือ การอ่านอัลกุรอานเท่านั้นเอง 

และจะมีน้องชายของท่านอีกคนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันใช้ชีวิตที่มาเลเซีย เป็นคนสอนชาวบ้านเกี่ยวกับภาษามลายู ด้วยอักษรรูมาไนซ์ (โอ้ อันนี้ความรู้ใหม่สำหรับผมอีกเหมือนกัน เพราะที่ทราบมา ก็รู้แค่ว่า เรียนมลายูด้วยอักษรยาวีเท่านั้น ไม่นึกเลยหมู่บ้านนี้ตั้งแต่อดีตเรียนด้วยอักษรโรมัน เท่ไม่หยอกเลยครับ)

 

 อาหารเมื่อในอดีต เป็นอาหารที่ประกอบขึ้นจากสิ่งที่มีในชุมชน ดังนั้นข้าวยำ จึงไม่ได้ใส่บูดู (โอ้ อันนี้แสดงว่า เหมือนบ้านผมที่สตูล เพราะที่บ้านผมไม่มีบูดู บางทีย่าผมจะทำข้าวยำ ไม่ใส่น้ำอะไรเลย แต่สำหรับแม่ผม จะต้องเติมน้ำเคย (น้ำกะปิ))

ในสมัยก่อนไม่มีน้ำปลาครับ อาหารส่วนใหญ่จึงไม่ได้เติมน้ำปลา ผมก็เลยเกิดข้อสงสัยว่า แล้วใช้อะไรทำให้เกิดความเค็ม เหล่าแม่ครัวของชาวโสร่งก็ตอบว่า เกลือ ครับ

ผมจึงต้องถามต่อว่า แล้เอาเกลือจากที่ไหน จึงได้ข้อมูลว่า เกลือจะซื้อมาจากบ้านบานา ที่ปัตตานี (ที่นี้คือแหล่งนาเกลือของปัตตานี จนถึงปัจจุบัน)

 มีความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับชุมชนอีกเยอะครับ ที่คนปัจจุบันของชุมชนเองก็ไม่รู้ อยากนำเสนอเหมือนกันครับ แต่วันนี้เวลาไม่พอ มีโอกาสจะนำเสนอเพิ่มเติมครับ

คำสำคัญ (Tags): #บ้านโสร่ง
หมายเลขบันทึก: 121311เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนท่านอาจารย์ จารุวัจน์

  • เกลือช่วยให้อาหารเค็ม
  • เหมือนเติมเต็ม KM ด้วย G2K

ข้อมูลบ้านเรา น่าสนใจมีเยอะ แต่ไม่ค่อยมีคนเก็บรวบรวม

ขอบคุณครับ

P
JJ
สโลแกนนี้น่าฟังมากครับ "เกลือช่วยให้อาหารเค็ม เหมือนเติมเต็ม km ด้วย g2k
ขอบคุณ
P
Ibm ครูปอเนาะ ประเด็นนี้เห็นด้วยมากๆ เลยครับ และนั่นแหละที่ผมอยากให้อาจารย์ช่วยกันทำวิจัยชุมชน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท