แผนยุทธศาสตร์ ไอซีที ห้องสมุด


                เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมให้สัมภาษณ์ กับนิสิตปริญญาเอก สาวคนหนึ่งจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เกี่ยวกับเรื่อง แนวทางการนำ ไอซีทีมาใช้ในงานห้องสมุด

                ความจริงแล้วต้องบอกว่า ค่อนข้างจะคุ้นเคยกับนิสิตคนนี้เป็นอย่างดี เพราะไม่ใช่ใครอื่น เดิม เธอเคยทำงานเป็นหัวหน้าฝ่าย วิเคราะห์และพัฒนาห้องสมุด โดย บุคลากรห้องสมุดในฝ่ายนี้สองคน ไปเรียนต่อปริญญาเอก ทางด้านสารสนเทศศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น [ข้อมูลเพิ่มเติม] คนแรกคือพรนภา ส่วนคนที่สองคือ ปุ๊ก ศศิธร ซึ่ง ทั้งสองคนเคยทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนา เคยดูและระบบห้องสมุดมาก่อน และก็ไปเรียน ปริญญาเอกที่เดียวกัน

             ซึ่งการที่ปุ๊ก มาสัมภาษณ์ขอข้อมูลผมนั้นก็ได้ประโยชน์กันทั้สองฝ่าย คือปุ๊กได้ข้อมูลประกอบการวิจัย การเรียน ส่วนผมก็ได้ทบทวน และกระตุกความคิกจากคำถามของปุ๊ก ว่าที่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร มีการวางแผนยุทธศาสตร์ในการนำไอซีทีมาใช้ในห้องสมุดอย่างไร

            ซึ่งจากคำถามนี้นี่เองทำให้ผมต้องฝาก ชัยพร ไปคุยกับเกดิษฐ ว่า ปีหน้าเราหน้าจะให้ฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุดเป็นเจ้าภาพในการทำแผนยุทธศาสตร์ของห้องสมุดกัน

           แต่การทำแผนไม่ใช่การทำเฉพาะฝ่ายเทคโนฯ เท่านั้นนะ แต่เราจะทำในภาพรวมของทั้งห้องสมุด ซึ่งผมว่าน่าจะสอดคล้องกับเรื่องที่ผมจะไปสัมมนา วันที่ 28-29 สิงหาคมนี้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่ง ผอ.มอบหมายให้ผมไปทาบทามเรียนเชิญ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ซึ่งเป็นวิทยากรในงานนี้มา ช่วยเรา ซึ่งผมว่า รศ.ยืน เป็นคนที่ค่อนข้างมีวิสัยทัศน์ และมองอนาคตทางด้านไอซีทีได้อย่างน่าสนใจ

         ซึ่งการทำแผนไอซีทีนั้น คนที่จะทำแผนเชิงรุกต้องมองไปข้างหน้า รู้ตัวเรา รู้บริบทและวัฒนธรรมขององค์กรเราเป็นอย่างดี และต้องสวมบทบาทเป็นนกอินทรี มองมุมสูงขององค์กรพอสมควร และก็ต้องสวมบทบาทความเป็นกระทิง ในการที่จะลุยนำพาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ย้ำว่าต้องเหมาะสม มาใช้ในองค์กรของเรา

        และต้องมาจากหลากหลายความคิด ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ ผู้ให้บริการ ผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ผู้บริหาร  ผู้ขายสินค้า และผู้มีประสบการณ์มาช่วยกันวางแผนอย่างมีทิศทาง ในการนำไอซีทีมาใช้ในงานห้องสมุดอย่างเหมาะสม

        อย่างปีนี้ เราเริ่ม มีการใช้ระบบป้องกันหนังสือหาย ทั้งๆ ที่ที่ห้องสมุดอื่น เค้ามีกันจนเป็นเรื่องธรรมดาไปซะแล้ว และปีนี้อีกเช่นกัน ที่เราจะมีเครื่องยืม ด้วยตนเอง ไม่ใช่ยืม-คืน นะครับ ยืมอย่างเดียว มาให้บริการกับผู้ใช้บริการ

           ซึ่งผมว่าถ้าเทคโนโลยีบางอย่างสามารถมาทดแทนคน แต่ไม่ได้หมายความว่ามาทำแทนคนนะ แต่หมายความว่า นำมาใช้ในสิ่งที่มนุษย์น่าจะไปทำเรื่องอื่นได้ดีกว่า แล้วให้เจ้าเครื่องกล ทำหน้าที่แทนในภาระกิจนี้ เราก็จะได้คนไปคิดไปทำในเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องการส่งเสริมบริการ เป็นต้น

           ดังนั้นผมว่า ถ้าเราวางแผนยุทธศาสตร์ด้านไอซีทีของห้องสมุดได้สำเร็จ และสร้าง KPI เพื่อเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ เราก็น่าจะได้มีทิศทางสำหรับการดำเนินงานทางด้านไอซีทีห้องสมุดดีขึ้น

          ต้องขอขอบคุณปุ๊ก ที่มาสัมภาษณ์เพื่อกระตุกต่อมความคิดนี้

หมายเลขบันทึก: 121300เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

22 สิงหาคม 2550

          จากการเป็นผู้ชอบอ่านศึกษานวตกรรมด้านห้องสมุด ทำให้เกิดความเข้าใจว่า

ที่เรียกว่า ทรัพยากรสารสนเทศ ในห้องสมุดนั้น เมื่อก่อนปี คศ.2000 ในประเทศไทย

อาจจะมีหลากหลาย collections หลายรูปแบบ หรือที่เรียกกันภาษาง่ายๆว่า วัสดุตีพิมพ์

และวัสดุไม่ตีพิมพ์ ทุกวันนี้หลายๆห้องสมุด ยังเคลิ้ม หลงกับ ทรัพยากรเหล่านั้น เวลาจัดงบประมาณ ทีไร ก็ยัง มีงบประมาณสำหรับบริการวัสดุเหล่านี้เหมือนเดิม โลกของห้องสมุด ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นไป จะมี ทรัพยากรสารสนเทศ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ประมาณ ว่า สัก 3 ประเภทได้ คือ

1.วัสดุสิ่งพิมพ์ หนังสือตำรา เท่าที่ยังมีผู้ต้องการใช้ หรือผลิตออกมา

2.วัสดุ Digital คือ แผ่น CD ที่บันทึกข้อมูลเหมือน หนังสือกระดาษนั่นเอง ที่เมื่อจะอ่าน

ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวอ่าน ซึ่งสามารถพิมพ์เป็นกระดาษออกมาได้ ดังนั้น 

ภาระงานของ ห้องสมุด คือ ต้องจัดหามา/ซื้อมา/ผลิตออกมา  ให้บริการการอ่านค้นคว้าเหมือนกับหนังสือกระดาษ

3.Digital Online ที่เก็บ files จากแผ่น CD ส่งมาทาง InterNETs  ซึ่งในทุกวันนี้เราก็ ใช้กันแล้ว และการส่งข้อมูลนั้น ก็ส่งโดยคอมพิวเตอร์ สืบค้นและอ่านด้วยคอมพิวเตอร์ บริาัทผู้ผลิต ที่ส่งมาจากที่ไกลโพ้น หรือ ห้องสมุดจะส่งเอง ก็สุดแล้วแต่

       เหล่านี้จะพบว่า ทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ รุปอื่นๆ แทบจะไม่มีผลิต จำหน่าย หรือ 

หรือจัดหามาได้ บริการของห้องสมุด ก็จะมีทรัพยากรเหลือเพียงเท่านี้จริงๆ

        และข้อที่น่าคิดอีกประการหนึ่ง ในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้ามีการส่งผ่าน สืบค้น บริการ

ผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่มีประสิทธิภาพ หรือ ระบบอินเตอรืเน็ต แบบ wireless  จากโน้ตบุ้ค มีคุณภาพสูงยิ่งเรื่อยๆ การสืบค้นข้อมูล Encyclopedia, Dictionary, การข้อสืบค้น e-books ผ่าน Online สามารถทำได้แทบทุกหนทุกแห่ง ห้องสมุดแบบนี้จะมีการให้บริการ ที่มากขึ้นทุกหนทุกแห่ง ไม่จำเป็นต้องไปห้องสมุดก็ได้ ปัจจุบันเราก็ใช้โทรศัพท์มือถือ กันอย่างดีเยี่ยมแล้ว เช่น ถ้าไม่ขอโหลดเพลง เปลี่ยนมาเป็น ขอโหลดข้อความจากหนังสือได้ไหม  หรือขอโหลด บทความจากสารานุกรมแทน ซึ่งทุกอย่างทำได้ดีพอสมควรในปัจจุบัน

หน้าที่ของห้องสมุดปัจจุบันและอนาคต จะต้องจัดทำ หรือ แปลงข้อมูล

จาก paper to digital มากขึ้นทุกที่ เพื่อจัดเก็บไว้ใน database ของห้องสมุด

ให้ผู้เป็นสมาชิกเข้ามาใช้งานบริการได้ น่าตื่นเต้นไหม?

              ตัวอย่าง สิ่งที่กำลังมาแรง ให้เห็นในระบบการแสวงหาข้อมูล คือ การเรียกใช้ข้อมูล

จากสารานุกรม WIKIPEDIA ที่ค่อนข้างจะเริ่มมีอิทธิพลสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้ว

ข้อมูลอย่างอื่นๆ ทำไมจะทำไม่ได้ ข้อมูลจากดาวพระเสาร์อันไกลโพ้นสุด

ขอบสุริยะจักวาล ยังส่งกันมาได้ ทำไมกับโลกใบกระจึ๋งนี้ จะทำไม่ได้

            โลกของห้องสมุด โลกทัศน์ของบรรณารักษ์ และ พัฒนาการของเทคโนโลยี

กำลัง บีบคั้นการทำงานของบรรณารักษ์ ให้มีประสิทธิภาพ เหนือและควบคุม ใช้

เทคโนโลยีให้มีคุณภาพสูงยิ่ง ทำให้ได้ หัวใจของการสืบค้น จะอยู่ที่ OPAC ที่มีคุณภาพ

มีประสิทธิภาพ มีรายละเอียดสมบูรณ์แบบ เหมือน e-learning , OPAC ที่จะต้องเชื่อมเข้าหา fulltexts ให้ได้ OPAC จะต้องมี Keywords ที่

ช่วยในการสืบค้นอย่างมากมายมหาศาล ไม่รู้จบ บริการของห้องสมุด ก็จะผงาดขึ้นมา

อย่างทรงคุณค่า ท่ามกลางกระแสโถมของ เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์

        วันนี้ ข้อมูลข้างต้น ยังมาไม่สมบูรณ์ ยังมาไม่ถึง แต่มันกำลังมาอย่างท่วมท้น ทวีคูณ

ไม่ต้องรอนานนัก เราได้พบแน่ ตัวอย่าง จาก Amazon .com เมื่อต้องการสืบค้น ซื้อหนังสือ

เขาจะให้ดูรายละเอียดภายในได้ตั้ง 15 หน้า อ่านเล่นไปก่อน ยังทำได้ แล้วพวกชาวห้องสมุด

มหาวิทยาลัย ทำไมจะทำไม่ได้ งานบริการส่วนนี้ ไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก

           หรือ การสั่งซื้อหนังสือ ทาง อินเตอร์ แบบส่งเป็นไฟลล์มา ผู้ซื้อไปพิมพ์เอาเอง 

ก็มีแล้วทุกวันนี้  ถ้าห้องสมุดจะเดินไป ด้วยวิทยาการแบบนั้น ก็ไม่น่าจะทำไม่ได้

โลกเทคโนโลยีก้าวไปแล้ว ห้องสมุดหลายๆแห่งเดินหน้าไปแล้ว เรายังคงอยู่อย่างถาวร เหมือน

เดิมๆ เมื่อ 25 ปีก่อน ขอจบเท่านี้ก่อน โอกาสหน้าจะเขียนมาแลกเปลี่ยนกันใหม่

                        ้

  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะอจ.หนึ่ง
  • ขอแลกเปลี่ยนกับคุณ sc21mc เรื่องแนวคิดของ Amazon กับ Wikipedia พอดีได้เคยเข้าฟัง การนำเสนอเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่เกี่ยวกับห้องสมุดยุคใหม่ชื่อ library 2.0 โดยคุณทรงพันธ์ เจิมประยงค์ นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย North Carolina at Chapel Hill ที่สถาบันวิทยบริการ มข. แนวคิดเขาได้นำมาพัฒนาระบบสืบค้นของห้องสมุดที่ TCDC หรือ ห้องสมุดศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เน้นแนวคิดให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างระบบสืบค้น เพื่อสนองความต้องการผู้ใช้เอง คล้ายกับมีหน้าสืบค้นส่วนตัวของตัวเอง รวมทั้งนำเอาเทคโนโลยีของ Amazon , Wikipedia และเทคโนโลยี web 2.0  มาพัฒนา คิดว่าน่าสนใจทีเดียวค่ะ ได้ทำ link ไว้ให้ด้วยนะคะ
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดคุณ sc21mc
  • ขอเสนอแนะ  หากสำนักหอสมุดจะมีแผน ICT อย่างจริงจัง ได้โปรดพิจารณาให้ความสำคัญกับ ITของสำนักที่มีให้บริการ ณ ปัจจุบันนี้ ได้แก่ ระบบ INNOPAC, ฐานข้อมูล DCMS, Homepage ซึ่ง IT เหล่านี้น่าจะเป็นระบบหลักที่สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้อีกมาก
  • ควรสนับสนุนลงทุน Server เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่หลากหลาย ที่เราพัฒนาเป็น Full texts โดยมีระบบ INNOPAC เป็นระบบหลัก
  • บุคลากรควรได้รับการพัฒนาด้วยเช่นกัน น่าจะมี 3 ส่วน 1. ส่วนนำข้อมูลลงระบบ (บรรณารักษ์, จ. บันทึกข้อมูล) 2. ส่วนบริการ (บรรณารักษ์, เจ้าหน้าที่ให้บริการ)  3.  ส่วนสนับสนุน IT ให้กับ 2 ส่วนแรก (นักคอมพิวเตอร์, เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรณารักษ์กับนักวิชาการคอมพิวเตอร์ควรจะต้องร่วมมือกันให้มากขึ้นกว่าเดิม
  • สุดท้าย ICT ของ หส. ควรมุ่งเน้นที่ระบบฐานข้อมูล INNOPAC 

          

 

 

  • ไอที กับ ห้องสมุด น้อยว่ามันเดินไปด้วยกันอยู่แล้ว เพียงแต่ จะเดินช้า เดินเร็ว  คงขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมด้วย ?
  • เพราะต้องไล่ตามเทคโนโลยี  และถูกบีบคั้นจากสภาพการทำงาน (อย่างที่ คุณ sc21mc กล่าว)   ทำให้บรรณารักษ์ต้องศึกษาเพิ่มเติม ด้านไอที  เพื่อให้รู้เท่าทันงานของตัวเอง
  • หัวใจของห้องสมุดคือ การให้บริการสารสนเทศ   ถ้าจะนำ ICT มาใช้  ก็ควรสนับสนุน  หัวใจของห้องสมุดค่ะ
  • ชอบความคิดเห็นแรก(บางอย่าง) วิเคราะห์ได้เข้าใจตรงจุดดี
  • ตอนนี้ไอทีกับงานห้องสมุดแทบจะแยกกันไม่ออกเลย น่าจะดีถ้าทำความเข้าใจกับคนในองค์กรให้ตรงกัน (เผื่อต้องตอบคำถามกับผู้ใช้บริการได้ทุกคน)
  • แต่การจะรับเอาเทคโนโลยีอะไรมาใช้ในงานห้องสมุดก็ค่อยๆศึกษา แบบค่อยเป็นค่อยไปผลได้จะได้มากกว่าเสีย!

                               

  • ขอบคุณความเห็นทั้งของน้อง P   และน้อง P คนเก่งของหอสมุดค่ะ
  • พี่คิดว่าหอสมุดมีคนเก่งเยอะ แต่ขาดแผน  IT และพัฒนาคน IT โดยเฉพาะ
  • น่าจะนำ KM มาช่วยพัฒนาในเรื่อง IT กับคนหอสมุดนะคะ

 

เรามีจุดหมาย เรามีทีมงาน เรามีพลัง

และถ้าเรามีงบประมาณ ต้องไปได้แน่เลย

แต่(เกี่ยวข้องไหมครับเนี้ย)

ชอบหัวข้อนี้มากๆ ชอบทุกความคิดเลย

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท