การประชุม UKM 6: at PSU


ตามที่สมาชิก UKMได้มอบหมายให้ มอ. เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม UKM 6 ในประมาณเดือน มีนาคม 2549 และกำหนดจะให้มีการประชุมคณะกก. UKM ในปลายเดือนมกราคม นี้ เพื่อกำหนดรายละเอียดนั้น

จากการที่ได้มีโอกาสร่วมการประชุม UKM มา 3 ครั้ง ใน 5 ครั้ง แม้มิได้เป็นกก. UKM แต่ขอเข้าไปแอบฟังการประชุมธุรกิจของ กก.UKM มาเกือบทุกครั้ง ขอเสนอความเห็นในแนวความคิดในการจัดการประชุม UKM ดังนี้ ครับ

1. คณะกก. UKM คงต้องมา Design รูปแบบของการจัดประชุม UKM ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ (กรุณาดูวัตถุปรัสงค์ของการสร้าง UKM ประกอบ) อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า Essences สำคัญของกระบวนการประชุม UKM คือให้เกิดการ "ลปรร" ภายใต้บรรยากาศที่เสรีและเป็นกันเอง คงจะต้องแตกต่างจากการประชุมสัมมนาอื่นๆที่ดูเป็นทางการ ดังนั้น การจัด Lay out  ของที่ประชุม ความพร้อมของอุปกรณ์ที่จำเป็น (โสตฯ เครื่องเสียง ฯลฯ) ผู้ดำเนินรายการใน Session ต่างๆ ฯลฯ  ก็เป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การประชุมบรรลุเป้าหมาย

2. การกำหนดหัวข้อหรือ Theme ในการประชุม ชอบที่คณะ กก.จะเป็นผู้กำหนด และเนื่องจากเราเน้นกันเสมอว่า เราใช้ KM เป็น Tools ในการทำงานและการพัฒนางาน มุ่งความสำเร็จของงานเป็นเป้าหมาย ดังนั้น การกำหนดTheme ในการประชุม จึงน่าจะเชื่อมโยงกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย คือ ผลิตบัณฑิต (การเรียนการสอน) สร้างองค์ความรู้ (วิจัย) รับใช้ชุมชน(บริการวิชาการ) และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตรงนี้จะช่วยในการ Identify กลุ่มผู้เข้าประชุมได้ชัดเจนมากขึ้น

3.การ Get exposure to KM นั้น ในระยะเริ่มต้นเราอาจมองว่า KM เป็น Process แต่ในระยะถัดไป เมื่อมีความรู้และความเข้าใจดีแล้ว ต้องมองและใช้ KM ให้เป็น Tools ให้ได้ (บางท่านบอกว่า KM เป็น Vitamin ในการทำงาน) และขั้นสูงสุดก็คือการมีแนวความคิดของ KM อยู่ในสามัญสำนักในการทำงาน  การกำหนดทิศทางในการ ลปรร. ที่เชื่อมโยงในงานประจำที่เป็นพันธกิจหลักตามแนวคิดในข้อ 2. เชื่อว่าน่าจะทำให้ KM เกิดประโยชน์และประสบความสำเร็จตามแนวทางที่ว่า

4. ผมเคยเข้าร่วมประชุมสัมมนาของที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) หลายครั้ง พบว่า ผู้ดำเนินการประชุมที่ทำหน้าที่ใน Session ต่างๆ (รวมทั้งพิธีกร) ของการประชุม เป็นสมาชิก ทปอ. เกือบทั้งสิ้น (ส่วนใหญ่จะเป็นอธิการบดี หรือผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ทปอ. หรือเป็น ฝ่ายเลขานุการของทปอ.) เพราะจะทราบดีว่า การประชุมสัมมนานั้น มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างไร ต้องการ Mood อย่างไร  ใครเป็นใครในการประชุมนั้น ฯลฯ  ผมจึงใคร่เสนอแนวความคิดนี้ ให้ผู้ดำเนินการประชุม UKM ของเรา เป็น กก. UKM หรือผู้ที่ได้เข้าประชุมกับ กก.UKM และได้รับทราบ Concept ของการประฃุมที่ชัดเจน  แต่จะต้องมีการประสานงานกับสถาบันเจ้าภาพให้ดีด้วย

5. ผมเห็นด้วยกับอาจารย์วิจารณ์ที่ว่า พิธีกร ในการประชุม UKM  คงไม่ต้องเน้นความเป็นทางการมากนัก (อาจารย์กล่าวถึงพิธีกรคู่) แต่จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจ Theme และ Nature ของการประชุม UKM และสามารถตัดสินปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว (on time)  ถ้าจะให้ฟันธง ก็หาจาก กก.UKM ที่เป็นสถาบันเจ้าภาพนั่นแหล่ะ  เหมาะที่สุด  

6. ในการนำเสนอ Session ต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็น Best practice นั้น  กก. UKM คงจะต้องมี "การ สร้างโครง หรือ Structuring" การนำเสนอ (ศ.นพ. พิเชษฐ์ อุดมรัตน์  เคยเสนอแนะในรูปแบบ IPU)   และผู้นำเสนอต้อง Serious และเคร่งครัดกับโครงสร้างและเวลาของการนำเสนอด้วย  (ก็น่าเห็นใจอยู่หรอก เขามีของดีมาก ก็อยากจะเล่าให้ฟังมากๆ) การนำเสนอให้สอดคล้องกับเวลาที่มีอยู่ สามารถทำได้ด้วยการเตรียมการที่ดี

Theme ของ UKM5 ที่มหาสารคาม นับได้ว่าสุดยอด  ที่เราบรรลุและที่ไม่บรรลุมีอะไรบ้าง ท่านลองทำ AAR ด้วยตัวของท่านดูก็คงจะทราบ

ที่นำเสนอข้างต้นมานั้น มีทั้งถูกและทั้งผิด คงต้อง ลปรร.กันละครับ

ปิติ มอ.

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #kminrm#ws
หมายเลขบันทึก: 12104เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2006 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท