การเมืองแบบอีสาน (1) การเมืองแบบบุญคุณและการตอบแทน ด้วยความบริสุทธิ์


เท่าที่ผมเกิดมา  จำความได้มากมายเกี่ยวกับการเมือง  แบบชาวบ้านๆ

 

ที่อยากเล่าเรื่องนี้  เพราะว่าจากผลการลงประชามติ  ที่คนบ้านผม  คนภาคผมส่วนมากลงมติ  ไม่รับร่างฯนี้... 

 

 เกิดคำถามขึ้นมามากมายในใจผมเองว่าทำไม  และทำไมนะ ??

เมื่อมองลงไปตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้  โดยใช้ความทรงจำ  ใช้จิตวิญญาณความเป็นลูกคนอิสานที่เติบโตมาจากท้องทุ่ง  ไร่นา  แต่สามารถเดินขึ้นมาถึงจุดที่ความคิดเป็นอิสระ  ทั้งการเงินและความคิด

   เริ่มต้นที่เรื่องเล่าจากขนบท  แบบบ้านของผมก่อนก็แล้วกันครับ

   เมื่อ 20 ปีก่อนผมชอบเดินตามพ่อ  ไปบ้านนั้นบ้านนี้ขณะเลือกตั้งและก่อนเลือกตั้ง   พ่อจะมีบัญชี  รายชื่อคนที่มิสิทธิ์ทุกๆคนในหมู่บ้าน  เราเดินไปสำรวจ  และจดชื่อ  และพ่อก็จะแนะนำว่ากาแบบนี้ๆ  คนนี้

  

 และเราก็เอาบัตรประชาชนเขามา   เมื่อถึงวันเลือกตั้งหรือก่อนเลือกตั้งนั้นก็จะมีการจ่ายเงิน  สมัยนั้นเริ่มที่10-20 บาท  ต่อมาเป็น 50 บาท  เป็น100   200  300  500  บาทเป็นลำดับ

  

 ไม่ว่าจะมีการเลือก  สส  หรือสจ  ก็จะได้เดินตามพ่อไปเช่นนี้  ผมเป็นลูกพ่อ  ผมสนุก  ผมสนใจการเมือง  เพราะผมเคยช่วยพ่อแจกเงิน  จดชื่อทุกๆครั้ง

  

ก่อนจะมีการเลือกตั้งก็จะมีการมาหาพ่อ  มาบอกให้ช่วย  หรือที่เราเรียกว่าหัวคะแนน  ก็จะมีค่าตอบแทน  หรือการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆมากมาย  เช่นงานบุญ  ของใช้  ถนน  สะพาน  ประปา ฯลฯ 

   

 สภาพเช่นนนี้เป็นอยู่ตั้งแต่ผมจำความได้จนกระทั้งครั้งสุดท้ายที่ผมเห็นเมื่อตอนอยู่ปี1  

  

  เมื่อผมมองพัฒนาการทางการเมือง  มองการเติบโตทางความคิดเกี่ยวกับระบอบการปกครอง  การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบบ้านผม  มันมาสุกงอมที่การออกประชามติ  ผมเห็นชัดที่สุดก็ตอนนี้

  

  ผมสามารถสรุปประเด็นสำคัญๆได้ดังนี้(น่าจะเป็นเช่นนี้)

       - คนบ้านผมเป็นคนดี  ใครบอกไม่ดีผมจะเยงเด้อครับ  ดีมากๆ  ดีจริงๆ  ดีจนเกรงใจคนไม่ดี  ดีจนตามไม่ทัน  ดีจนถูกใช้ประโยชน์จากความดีมาเป็นฐานแห่งอำนาจ  ฐานแห่งการกระทำที่ไม่มีจริยธรรมที่พอเพียง  จนกลายเป็นเปลี่ยนแปลงมาตรฐานทางจริยธรรม  มาตรฐานทางความเชื่อที่ผิดเพี้ยน....

    

 - ด้วยวัฒนธรรมประชาธิบไตยแบบการเลือกตั้ง  การตอบแทน  และการให้  อันเนิ่นนาน  ผ่านระบบตัวแทน  ระบบหัวคะแนนที่เข้มแข็ง  ยาวนานเป็นหลายสิบปี  ยาวนาน  ผ่านคนเป็นรุ่นๆ  กลายเป็นปรัชญา  เป็นอุดมการณ์และความเชื่อไปแล้วว่าประชาธิปไตยต้องเป็นแบบที่เขาคุ้นชิน

  

  -วัฒนธรรม  ความเชื่อแบบนี้  ประชาธิปไตยแบบบ้านผมถูกย้ำว่าต้องเป็นแบบนี้ แบบตอกฝาโลงความเชื่อไปเลย  ต้องเป็นการเลือกตั้งและเลือก สส  ตามที่หัวคะแนนแนะนำและบอกเท่านั้น  คือระบบอำนาจแบบประชานิยม  เนื่องจากความไม่รู้เท่าทัน  ความพร่องเดิมทางฐานะ  ทางทุนสังคมที่ร่อยหรอ  ทางวัฒนธรรมแบบเปิดกว้างและเปิดรับ คนบ้านผม  เมื่อเขาให้เขาก็เป็นนาย  เงินล้าน  30 บาท ยาง  โคล้านตัว    เขาเหล่านั้นไม่ค่อได้สนใจหรอกว่ามันมีที่มาอย่างไร  มันดีไม่ดี  แต่มันมาถึงเขา  เขารอด  เขาสบาย  เขาได้โอกาสและประโยชน์  ที่เขาไม่เคยได้  ความไม่เท่าเทียมทีเกิดขึ้นตลอดการพัฒนาประเทศหลายสิบปี  โอกาสมาถึงเขาแล้ว   ดังนั้นการเมือง  ประชาธิปไตยในนิยามของพี่น้อง  พ่อเฒ่า คนทั้งหลาย  คือการให้  คือการช่วยเหลือ.....

  

 -การแถมความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง  การแถมจริยธรรมที่ผิดเพี้ยน  การให้เพือให้ได้มาซึ่งอำนาจ  ได้พรากจิตวิญญาณแห่งความดีงาม  และจิตที่รักความถ฿กต้อง  ไปจากพี่น้องชาวอีสาน  หลายๆปี  จนยากที่จะเข้าใจ  ยากที่จะมาคุยกันอีกว่าอะไรคือโกง  ไม่โกง  อะไรคือพอเพียง  อะไรคือจริยธรรม  อะไรคือผลประโยชน์ทับซ้อน  อะไรคือชาติ  ศาสนและกษัติรย์   โดยเฉพาะวันนี้ผมฟังว่าผอ พี่เทขอนแก่นไปสัมภาษณ์ชาวบ้านทางช่อง11    เหตุผลหนึ่งที่เขาไม่รับร่างนี้คือ  การไม่ต้องการให้มีอะไรที่เหนือกว่าคำว่าประชาธิปไตย  ที่ว่าเหนือกว่านันคืออะไร...

      มีมุมมองอีกหลายอย่าง  มันมีเหตุผล  มันมีความจำเป็นที่พี่นน้องชาวอีสานบ้านของผมต้องเลือกแบบที่  มีที่มา  มี่ที่ไป  ยาวนานและยาวนาน  เป็นเพราะระบบ  เป็นเพราะคนที่ยึดโยงเอาผลประโยชน์ตนเองเป็นที่ตั้งมากกว่าประโยชน์ชาติและ....

 

      เรื่องพี่น้องชาวบ้านผม  เป็นการแสดงให้เห็นถึงปมที่เราต้องเรียนรู้  เข้าไปแก้ไข  เข้าไปรับฟัง  แลกเปลี่ยนและเยียวยาแบบค่อยเป็นค่อยไป  เพราะว่าคนที่ทำให้เกิดปัญหา  ไม่ใช้กลุ่มคนที่เข้าไปก่อนหน้านี้เท่านั้น  แต่เป็นเพราะสังคมไทยเราที่มีความไม่เท่าเทียมมายาวนาน

  

 เมื่อเราเรียนรู้ที่ไปที่มาของปัญหาเราก็อาจจะเข้าใจ  ไม่โทษใครๆ  แต่พร้อมที่จะคิดหาทางช่วยกันเยี่ยวยาและสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมต่อไป

 

 แบบค่อยๆเป็นไป  มันต้องใช้เวลาอีกนาน  หรืออาจจะมิอาจเปลี่ยนแปลงก็เป็นได้

   เรื่องเล่าจากเด็กสุรินทร์ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 120728เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2007 01:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นคำถามและความคิดเห็นที่ต้องหาคำตอบให้กับสังคมไทยโดยเร็วที่สุด ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนไทย ??? เขากำลังนับถืออำนาจของอะไร  ต้องการให้มีอะไรที่เหนือกว่าคำว่าประชาธิปไตย  ที่ว่าเหนือกว่านั่นคืออะไร...

ตอนลุ้นผล เราก็คิดว่าอิสาน no มากกว่า yes

พวกเราก็ช่วยกันวิเคราะห์ว่า

ก็เพราะชาวบ้านของเราไม่คิดมาก

ถ้ารู้สึกว่าใครให้เรามากกว่า

เราก็รู้สึกว่าเขาดีกับเรา

คนอื่นก็ไม่ได้ดีไปกว่ากัน

ชาวบ้านของเราคิดแค่ชั้นเดียว ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม

ถ้าเปลี่ยนวัฒนธรรมและความเชื่อ เรื่องประชาธิปไตยของชาวบ้านอิสาน

ต้องรออีกพอสมควรค่ะ

เข้ามาเห็นด้วยกับประโยคนี้ค่ะ

เนื่องจากความไม่รู้เท่าทัน  ความพร่องเดิมทางฐานะ  ทางทุนสังคมที่ร่อยหรอ  ทางวัฒนธรรมแบบเปิดกว้างและเปิดรับ คนบ้านผม  เมื่อเขาให้เขาก็เป็นนาย  เงินล้าน  30 บาท ยาง  โคล้านตัว    เขาเหล่านั้นไม่ค่อยได้สนใจหรอกว่ามันมีที่มาอย่างไร  มันดีไม่ดี  แต่มันมาถึงเขา  เขารอด  เขาสบาย  เขาได้โอกาสและประโยชน์ที่เขาไม่เคยได้  ความไม่เท่าเทียมทีเกิดขึ้นตลอดการพัฒนาประเทศหลายสิบปี  โอกาสมาถึงเขาแล้ว  

ฉันคุยกับ"ผู้รับ" หลายคนเขาก็เทิดทูนคนที่(เสมือน)ให้อะไรๆกับเขาไว้สูงมาก ในขณะเดียวกันก็บอกว่า ใครคนอื่นไม่เคยให้อย่างนี้ เฉพาะฉนั้นนี่แหละคือสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตเขา

ร่วมแลกเปลี่ยนค่ะ

    เมื่อวานกลับบ้านเขาเลือกผู้ใหญ่บ้านกันและกำลังเลือก  อบต.   ใครให้อะไรรับไว้ก่อนเลือกใครเป็นเรื่องของเรา    คนที่เราเลือกที่ผ่านมาไม่ได้เรื่อง  ลองเลือกคนใหม่ดู  หากดูแล้วไม่ได้เรื่องต่อไปก็ไม่ต้องเลือกใคร  เพราะในที่สุดเราต้องพึ่งตนเองแต่คนบานเดียวกันมันเห็นกันอยู่มีอะไรก็พอคุยกันได้  คนต่างถิ่นมาแล้วก็ไป   ดังนั้นการลงประชามติที่ผ่านมา    รับไว้ก่อนมีอะไรค่อยว่ากัน   นี้คือเสียงจากทางใต้ก็ค่อยเรียนรู้กันไป  

      การเมืองกับคนไทยก็มีหลายแบบแต่ที่สำคัญเกิดการแบ่งเขาแบ่งเรากันมากเหลือเกิน

        ขอบคุณมากที่ช่วยให้คิดต่อ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท