ปฏิบัติการเยี่ยมติดตามโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด 1


ผมพยามยามจับประเด็นเรื่องที่พูดคุยว่าผู้นำเขาคิดอย่างไร และเขาเข้าใจคำว่าแผนชุมชนมากแค่ไหน เพราะจะเกี่ยวโยงถึงความ "อยู่ดีมีสุข" ซึ่งจะพยามยามเชื่อมโยงให้ผู้นำเห็นภาพการเชื่อมโยงข้อมูล ภายในชุมชน และสิ่งที่มีผลกระทบกับชุมชนที่อยู่ภายนอก

          13 ส.ค.50 เช้ารีบออกเดินทางไปขึ้นรถหน้าศาลากลางจังหวัด ตามนัดหมายทีมคณะทำงานชุดปฏิบัติการโซนพื้นที่  ซึ่งมี  5  โซนปฏิบัติการ   แบ่งออกเป็นสายโซนพื้นที่อำเภอที่กำหนดตามพื้นที่ลุ่มน้ำ  ส่วนชุดใหญ่มีหนึ่งชุด  เป็นส่วนของคณะทำงานฝ่ายบริหารโครงการ  ภายใต้ยุทธศาตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช

          ทีมที่ผมร่วมปฏิบัติการ  มีพัฒนาการจังหวัดเป็นหัวหน้าทีม  ผู้แทนส่วนราชการจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด (ผม) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด  13 ส.ค.50 เป็นวันนัดวันแรกในการเริ่มออกปฏิบัติการ  กำหนดรถตู้ออกเดินทางจากศาลากลาง 07.30 น.  เป้าหมายเดินทางไปอำเภอชะอวดซึ่งระยะทางไกล  เนื่องจากเป็นวันแรกของการปฏิบัติออกเยี่ยมติดตาม  จึงมีความกังวลเรื่องเวลากันบ้างเพราะต้องเดินทางทั้งหมด 21 ที่ตั้งโครงการ  ออกเดินทางถึงที่ว่าการอำเภอชะอวด  ท่านปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบโครงการใหการต้อนรับ  และอธิบายการเดินทางคร่าว ๆ และพาไปพบผู้นำของหมู่บ้านที่มีโครงการดำเนินการอยู่   ณ  ศาลาประชาคม  ซึ่งดู ๆ แล้วก็น่าจะมากันทุกโครงการ   จึงทำการสุ่ม จำนวน ร้อยละ 50 เพื่อพูดคุยเพราะถ้าดำเนินการทั้งหมดไม่สามารถทำได้ด้วยเวลาวันเดียว

           ในการพบปะพูดคุย   ได้แบ่งทีมกันคุย  คือ ผู้นำชุมชน  และราษฎร  วันแรกจุดนัดหมายแรกนี้ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้นำชุมชน  โดยสาระจะพยามคุยในเรื่องที่มาของโครงการ  ว่าทำไมในชุมชนหมู่บ้านนี้จึงมีโครงการแบบนี้ออกมา  เพื่อย้อนกลับไปดูที่มาปัญหาและสาเหตุที่ตรงกับความต้องการของชุมชน  โดยเฉพาะเรื่องของแผนชุมชนส่วนหนึ่งได้ข้อมูลกระบวนการที่มาของแผน  ที่มาของโครงการ  ความคาดหวังของชุมชน  สิ่งที่ชุมชนอยากให้มันเกิด  เอื้อศักยภาพที่มีของชุมชนหรือไม่  และเชื่อมโยงกับปัญหาสาเหตุและความเป็นไปได้อย่างไร 

           ในชื่อของกิจกรรมที่เราทีมงานออกดำเนินการนั้นเขียนไว้เป็นตัวอักษรว่า "ติดตาม"  แต่ผมติดตามส่วนหนึ่งหลัก ๆ ในส่วนของความต้องการก็คือต้องการเรียนรู้ชุมชนแต่ละที่  เรียนรู้ผู้นำชุมชนเสียมากกว่า   ซึ่งผมพยามยามจับประเด็นเรื่องที่พูดคุยว่าผู้นำเขาคิดอย่างไร  และเขาเข้าใจคำว่าแผนชุมชนมากแค่ไหน  เพราะจะเกี่ยวโยงถึงความ "อยู่ดีมีสุข"  ซึ่งจะพยามยามเชื่อมโยงให้ผู้นำเห็นภาพการเชื่อมโยงข้อมูล ภายในชุมชน  และสิ่งที่มีผลกระทบกับชุมชนที่อยู่ภายนอก  และอยากกระตุ้นให้ผู้นำเรียนรู้การทำหน้าที่ "คุณอำนวยในการจัดการความรู้ชุมชน"

          

หมายเลขบันทึก: 120293เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท