จิต : ความคิดเกี่ยวกับจิตของคนในสมัยอดีต


คนในสมัยอดีตนับเป็นพันๆปีมาแล้ว  เขาก็คิดเกี่ยวจิต เหมือนพวกเราในสมัยปัจจุบันนี่แหละ  ยิ่งกว่านั้น  คนในสมัยปัจจุบัน ยังคิด "ตาม" พวกเขาเหล่านั้นตัวย  อย่างลืมหูลืมตาอีกด้วย  มันช่างประหลาดสิ้นดี

ที่ว่าคนในสมัยอดีตคิดเหมือนพวกเราก็คือ  คิดว่า จิต นั้นก็คือ ความรู้สึกต่างๆของเรา  การรู้สึกว่าเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้  การรู้สึกรับรู้  รู้ความหมายของสิ่งต่างๆ    การรู้สึกเกี่ยวการจำ  การรู้สึกเกี่ยวกับการคิดแบบต่างๆ การรู้สึกโกรธ  การรู้สึกรัก   รู้สึกชอบ ฯลฯ  ซึ่งความรู้สึกต่างๆเหล่านี้ ในสัตว์บางประเภทก็มีบ้าง  บางประเภทไม่มีเลย   แต่เมื่อดูก้อนหิน  น้ำ เหล็ก  มันไม่มีความรู้สึกเหล่านี้   คนจึงเรียก"ปรากฏการณ์"เหล่านั้นว่า "วิญาณ"บ้าง  "จิต" บ้าง  เหล่านี้คือสิ่งท่คนในสมัยโบราณคิดเหมือนกัน  และยิ่งกว่านั้น  คนบางคน  บางพวก ยังคิดวา  ตัวเราและสมองนั้น"  เป็น "วัตถุ"  ในขณะที่  "จิต" เป็น "อวัตถุ"  ฉะนั้น  ในตัวเรานี้ มีอยู่ "สองอย่าง" คือ "กาย(สมอง)" ซึ่งเป็นวัตถุ กับ "จิต" ซึ่งเป็น อวัตถุและเรียกความคิดแบบนี้ว่า "ทวินิยม" หรือ Dualism  คือเชื่อว่า  ในโลกนี้มีความจริงแท้อยู่สองอย่าง คือ "กาย(สมอง)" กับ "จิต" เมื่อเชื่อเช่นนี้  ก็เกิดปัญหาขึ้นมาว่า "วัตถุ((สมอง)" กับ"จิต" สัมพันธฺกันอย่างไร?  จึงได้เกิด "คำอธิบาย" ขึ้นมามากมาย  และเรียกกันในปัจจุบันนี้ว่า "ทฤษฎี" เช่น ทฤษฎี Psychophysical Parallellism, Interactionism, Epiphynominalism, เป็นต้น

Psychophysical Parallellism  หรือ ทฤษฎีคู่ขนาน  อธิบายว่า  กายก็มีจริง  จิตก็มีจริง  จิตและกายสัมพันธ์กันแบบคู่ขนานกัน  ทุกครั้งที่มีกระบวนการทางกาย  จะมีกระบวนการทางจิตเกิดควบคู่กันเสมอ  โดยที่  กายก็ไม่เป็นสาเหตุของจิต  และจิตก็ไม่เป็นสาเหตุของกาย 

ตามคำกล่าวของทฤษฎีนี้  เมื่อเกิดสดุดหินเท้าเป็นแผล(เหตุการณ์ทางกาย)   ก็จะเกิดการรู้สึกเจ็บที่จิต(เหตุการณ์ทางจิต) คู่ขนานกัน  บาดแผลไม่ได้ทำให้เกิดรู้สึกเจ็บ  และการรู้สึกเจ็บ ก็ไม่ได้ทำให้นิ้วเท้าเป็นแผล

ถ้าถามว่า  จิตเกิดขึ้นได้อย่างไร บางคนใน กลุมความเชื่อนี้ก็จะตอบว่าก็" พรเจ้าประทานให้ไงละ" 

คนเป็นจำนวนมากในโลกนี้  ที่มีความเชื่อว่า  จิต หรือวิญญาณ สามารถ "ออกจากร่างกายได้"  เช่น เมื่อตายไปแล้ว  จิตก็จะล่องลอยออกจากร่างกาย จะไปอยู่บนสวรรค์  หรือในนรก ก็แล้วแต่กรรม

ท่านละ  เชื่อแบบนี้ไหม?

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีจิต
หมายเลขบันทึก: 120216เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว  

รู้สึกว่าอาจารย์ใช้คำว่า  คนในสมัยอดีตนับเป็นพันๆปีมาแล้ว กว้างเกินไป...

เคยฟังจากอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า ความเชื่อมโยมระหว่างกายและใจ ยังไม่มีผู้อธิบายได้อย่างชัดเจน...

อีกอย่าง รู้สึกว่า ทฤษฎีคู่ขนาน เป็นสุดยอดของทฤษฎี เพราะเถียงกันไปเถียงกันมา ก็มักจะมาจบที่นี้ ในหลายๆ สาขา...

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

ในสมัยของพลาโต  อริสโตเติล ซึ่งเขาอภิปรายเรื่องของจิตกันมากนั้น ก็นับเวลา ๒๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว  และถ้าถอยหลังไปอีกสัก ๑๐๐๐ ปี  ก็"คงจะ"มีผู้พูดถึงเรื่องจิตกันบ้าง ?!

การถกเถียงกันเกี่ยวปัญหากายและจิตในสมัยอดีตนั้น  ใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือ   และถ้าสมมุติว่า "เชื่อ" ว่า "จิต"  มีอยู่จริง  เหมือนการมีอยู่จริงของวัตถุ  แล้ว  เหตุผลก็มักจะจูงไปลงเอยว่า สนับสนุน ทฤษฎีคู่ขนาน อยู่บ่อยๆ  แต่ หลายคนไม่เห็นด้วย  แต่งยังหาเหตุผลมาลบล้างไม่ได้  จึงหาทางออกด้วยการเสนอทฤษฎีอื่นขึ้นมาแทน  แล้วนักจิตวิทยาวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์  โดยนั่งคอยดูว่า  ผลการวิจัยสนับสนุนทษฎีใดมาก  ก็จะยอมรับทฤษฎีนั้น  ทฤษฎีอื่นก็ถูกลืมไปเอง

ถ้าสังเกตให้ดีก็จะพบว่า ทฤษฎีคู่ขนาน  สอดคล้องกับ Idealism  หรือ Universal Theory  ของพลาโต  หรือความเชื่อทางศาสนาบางศาสนา  จึงมีแนวร่วมทางความคิดมากกว่าทฤษฎีอื่นๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท