การใช้แรงงานทั่วไป


 การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

1.งานที่ต้องทำติดต่อกันไป  ถ้าหยุดงานจะเสียหายหรืองานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้

2.  กิจการโรงแรม  สถานมหรสพ  งานขนส่ง  ร้านขายอาหาร  ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล  และกิจการอื่นตามที่กระทรวงกำหนด  นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป

เวลาพักระหว่างการทำงาน  

1.  ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงานให้พักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หรือ  นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันล่วงหน้าให้พักไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาที  รวมกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง

2.  ก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาที่ต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2  ชั่วโมง  ให้พักไม่น้อยกว่า 20  นาที

3.  งานในหน้าที่ที่ต้องทำติดต่อกันหรืองานฉุกเฉินหยุดไม่ได้  นายจ้างจะไม่ให้ลูกจ้างพักก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

 

 

 

วันหยุด

วันหยุดประจำสัปดาห์

1.  ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วันและลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้าง (ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย)

2.  นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

3.  งานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร (งานประมง  งานดับเพลิง) งานอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนด  นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อใดก็ได้  ในระยะเวลาไม่เกิน 4  สัปดาห์ติดต่อกัน

4.  กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่แน่นอน ให้นายจ้างประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน  และแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ประกาศกำหนด

วันหยุดตามประเพณี

ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน ถ้าตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป  โดยลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้าง

วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี หยุดได้ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง  ถ้าทำงานไม่ครบ 1 ปี ให้หยุดตามส่วนได้

ให้นายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี และแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหรือกำหนดตามที่ตกลงกัน

นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้

 การลา

การลาคลอด

ลูกจ้างหญิงมีสิทธิ์ลาก่อนและหลังคลอด ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยให้นับรวมวันหยุดระหว่างวันลา  และได้รับค่าจ้างในวันลาไม่เกิน 45 วัน

การลาเพื่อทำหมัน

ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อทำหมันและเนื่องจากการทำหมันได้  โดยได้รับค่าจ้างตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดและออกใบรับรองให้

การลากิจ

ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

การลาเพื่อรับราชการทหาร

ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียกพลเพื่อตรวจสอบ  ฝึกวิชาทหาร หรือทดสอบความพรั่งพร้อม  และได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี

การลาเพื่อฝึกอบรม

ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง  โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลานั้น

คำสำคัญ (Tags): #การใช้แรงงาน
หมายเลขบันทึก: 119185เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2007 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากทราบการลาพักผ่อนประจำปีถ้าหากเราลา พักผ่อน วันศุกร์ - วันเสาร์ มาทำงาน วันจันทร์ แสดงว่าเราลาพักผ่อน 2 วัน ใช่ไหมค่ะ ...แต่ทางบริษัท นับรวมวันอาทิตย์ เป็นว่าเราลา 3 วัน ถูกต้องไหมค่ะ

อยากทราบการลาพักผ่อนประจำปีถ้าหากเราลา พักผ่อน วันศุกร์ - วันเสาร์ มาทำงาน วันจันทร์ แสดงว่าเราลาพักผ่อน 2 วัน ใช่ไหมค่ะ ...แต่ทางบริษัท นับรวมวันอาทิตย์ เป็นว่าเราลา 3 วัน ถูกต้องไหมค่ะ

... เก่งจริงคับ

...เก่งอีกแล้วคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท