ระบบการศึกษา ปัญหาส่วนตัว หรือปัญหาของชาติ


ปัจจุบัน การศึกษาของไทย อยู่ในภาวะ เฉยเมย

ท่านที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการศึกษา จะเชื่อหรือไม่ว่า "ปัจจุบัน การศึกษาของไทย อยู่ในสภาวะ เฉยเมย"

"เฉยเมย"  จากพจนานุกรฉบับบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า ละเลย  เพิกเฉย ไม่นำพา

ดังนั้นที่จั่วหัวไว้ว่า  "ปัจจุบัน การศึกษาของไทย อยู่ในภาวะ เฉยเมย" จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้กล่าวเกินความจริงมากนัก เพราะว่า ปัญหาการศึกษาของไทย มีมากมายและอยู่ในขั้นวิกฤต หลายเรื่อง แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

ขออนุญาตอ้างเหตุผลประกอบดังนี้

1.  ปัญหาโครงสร้างการบริหารงาน ที่มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานจากเดิม แบ่งความรับผิดชอบออกเป็นระดับการศึกษา คือ ระดับประถมศึกษา จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ระดับมัธยมศึกษา ก็มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมสามัญศึกษา ระดับอุดมศึกษา ก็มีทบวงมหาวิทยาลัย ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชีพ ก็จะมีกรมอาชีวศึกษา รับผิดชอบดูแลอยู่ ซึ่งก็ดีอยู่แล้ว เพราะต่างก็มีความเชี่ยวชาญในแต่ละระดับ แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างไป นัยว่าเพื่อแก้ปัญหาการบริหารงานให้เป็นเอกภาพ โดยให้แบ่งหน่วยงานเป็นเขตพื้นที่ เขียนให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เอาแต่ละจังหวัดมาตัดแบ่งออกเป็นเขต ๆ ขึ้นอยู่กับว่าจังหวัดไหนใหญ่ จังหวัดไหนเล็ก ถ้าใหญ่ก็แบ่งเป็นหลายเขต แต่ละเขตก็รับผิดชอบดูแล ทั้ง ประถม และ มัธยม 

ถ้าดูผิวเผินก็น่าจะดี แต่โครงสร้างนี้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เกิดการแก่งแย่งตำแหน่งผู้บริหารกันอุตลุด ผู้บริหารประถม ก็อยากเข้าไปบริหารโรงเรียนมัธยม ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมก็ไม่อยากให้เข้า เป็นบ่อเกิดแห่งความแตกแยกและร้าวลึกลงไปทุกที 

ปัญหาการย้ายครู ก็เหมือนกัน มีการย้ายครูโดยไม่คำนึงถึง วุฒิ และความสามารถ ไม่สามารถสอนในวิชาที่โรงเรียนที่ย้ายไปขาดแคลนอยู่ ก็เป็นปัญหากับโรงเรียนที่ไม่มีบุคลากรที่ตรงสาขาวิชามาสอน

ปัญหานี้คาดว่าผู้บริหารระดับสูงก็คงทราบ แต่ก็ยัง ...เฉยเมย...หรือแก้ปัญหาแบบไม่ตรงจุด เหมือนกับ คนที่เป็นโรคเมร็งร้าย แต่ หมอให้ยา พาราเซตามอล เพื่อแก้ปวดไปวัน ๆ

2. ปัญหาขาดแคลนครู นี่ยิ่งเป็นปัญหาขั้นวิกฤตที่น่ากลัวอีกปัญหาหนึ่ง ท่านอาจไม่เชื่อว่าปัญหานี้หนักหนาสาหัสมากจนไม่อยากพูดถึงเลยทีเดียว เดี๋ยวนี้ครูตามโรงเรียนต่าง ๆ มีภาระมากมายเสียจนต้องถามถึง โปรโมชั่น เออรี่ กันเป็นแถว  รัฐพยายามแก้ปัญหาโดยเพิ่มเงินเดือนให้ แล้วบอกว่า ต้องทำงานหนักขึ้น (คนนะ ไม่ใช่......จะได้ทำงานแบบไร้ขีดจำกัด) งานที่ทำก็เต็มที่อยู่แล้ว ถึงจะเพิ่มเงินอีกสักเท่าไหร่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำงานได้เพิ่มขึ้น จะได้ก็แต่ขวัญและกำลังใจเพิ่มขึ้นบ้างเท่านั้น

ปัญหานี้ผู้รับผิดชอบก็รู้อยู่เต็มอก รู้อยู่ในใจ แต่แก้ไม่ได้ เลยทำเฉยซะงั้น  ทีปัญหาที่กระทบต่อตำแหน่งระดับบริหารละก็ แก้ได้เนียนมาก เช่น แก้ปัญหาผู้บริหารที่ไม่มีตำแหน่ง หรือตำแหน่งถูกยุบจากการปรับโครงสร้าง ไม่รู้คิดได้ไง แต่ละเขตพื้นที่มีตำแหน่งรองรองเขตละตั้ง 10 คน  178 เขต ทั่วประเทศ จะมีรอง ผอ.เขต รวม 1780 คน (ไม่ได้โทษท่านรองนะครับ แต่อยากโทษคนที่คิดไปยุบตำแหน่งเดิมของท่าน ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น)

แต่ 2 ปัญหานี่ก็นับว่าขั้นวิกฤตแล้ว ผู้เขียนเองไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะไปยุ่มย่ามในเรื่องการบริหารอะไรกับเค้า แต่สิ่งที่พบเห็นจากการไปเยี่ยมเยียนโรงเรียน ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า การศึกษาไทย อยู่ในสภาวะ เฉยเมย จริง ๆ

ใครหนอ จะเป็น อัศวิน ม้าทอง มาแก้ไขปัญหานี้ให้ชาติได้บ้าง..... แต่เอ๊ะ.... หรือว่ามันไม่ใช่ปัญหาอย่างที่เราคิด

เฮ้อ.........

 

หมายเลขบันทึก: 118780เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เพิ่งมาอ่านเจอ ขอชมว่าวิเคราะห์ได้เข้าประเด็นดีมาก แต่เฉย ๆ ไว้ดีกว่า เค้าเรียกว่าตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด

สวัสดีค่ะอาจารย์...

  • การเฉยเมย  มีทุกหย่อมหญ้านะคะ  จนทำให้โรงเรียนต้องช่วยตัวเอง  เป็นภาระที่ครูจะต้องมาคิด มาทำ นอกเหนือจากการสอน
  • แล้วก็จะมีเสียง ว่า ครู  ไม่สอนอย่างเต็มที่ เพราะ อย่างนี้ล่ะค่ะ  ที่ครูจะต้องมาคิด มาทำ ช่วยผู้บริหาร เพื่อความอยู่รอดของโรงเรียน
  • มันไม่ใช่หน้าที่ แต่เราก็ต้องทำ  บางทีผู้บริหาร ก็แจกงานให้พวกเราทำ  ครูน้อยต้องทำ ทำงานนอกเหนือจากหน้าที่ที่รับผิดชอบจริงๆ  เสมอ ๆ

ชอบค่ะ  จริงใจ ตรงไปตรงมา 

ความจริงก็คือความจริง

  • ขอบคุณครูอ้อย ครูที่แสนดีของนักเรียน เข้าไปอ่านบทความของครูอ้อยเป็นประจำ
  • ชอบที่มีคุณครูที่ทุ่มเทด้านการสอนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

ขอบคุณมากครับ

กรองจิตต์ สมบัติมี

ครูผู้สอน โดยเฉพาะครูเก่า ก็หวั่นเกรง และห่วงใยในอนาคตของการศึกษาไทย แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยได้อย่างมาก คือ การระดมพลังสมองระหว่างผู้บริหารกับครูผู้ปฏิบัติ พวกเราเร่งทำงาน แต่ไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริหารก็เปล่าประโยชน์ อยากให้เข้าใจพวกเราบ้าง โดยเฉพาะการให้ขวัญและกำลังใจ

กรองจิตต์ สมบัติมี

รู้สึกว่า บุคลากรไทย เพิกเฉย ไม่นำพา ใช่ไหม น่าจะจริง ถ้าทุกคน เอาจริงเอาจัง และเดินพากันไปในแนวระนาบ โดยมีความสัมพันธ์กันที่เริ่มต้นจากการวางแผน ความใส่ใจของแต่ละคนที่มีบทบาทและมีอำนาจ ไม่ถูกอำนาจของความใฝ่ต่ำทั้งมวลครอบงำ ประเทศไทย จึงจะไปรอด การบริหารจัดการที่ดี ทั้งในด้าน Money Man Material Management etc. ต้อง ต้อง ต้องเริ่มอย่างเร่งด่วน ตื่นเถิด ผู้มีความรู้สูง ๆ ทั้งหลายแหล่ ช่วยไทยด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท