นอนไม่พอ เสี่ยงอ้วน+สมองไม่ดี


การนอนกลางวัน (nap) 40 นาทีช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงาน (performance) ได้ 34% และช่วยเพิ่มระดับความตื่นตัว (alertness) 100% (ในคนที่อดนอน)

พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องการอดนอนมาแล้วไม่มากก็น้อย... วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการนอนมาฝากครับ... การศึกษาข้อมูลจากพยาบาลอเมริกา (Nurses Health Study) ซึ่งเก็บข้อมูลทุกๆ 2 ปี ติดต่อกัน 16 ปีพบว่า <ol style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt left 45.0pt"> คนที่นอนวันละ 5 ชั่วโมงมีความเสี่ยงที่จะอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 33 ปอนด์ (14.98 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบกับคนที่นอนคืนละ 7 ชั่วโมง </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt left 45.0pt"> คนที่นอนวันละ 6 ชั่วโมงมีความเสี่ยงที่จะอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 33 ปอนด์ (14.98 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับคนที่นอนคืนละ 7 ชั่วโมง </li> </ol> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> กลไกที่ทำให้คนที่นอนน้อยอ้วนง่ายขึ้นมีหลายกลไกได้แก่ <ol style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ภาวะอดนอนทำให้การเผาผลาญอาหารน้อยลง ถ้าเปรียบเป็นเครื่องยนต์จะคล้ายเครื่องยนต์ที่เดินรอบต่ำลง หรือผ่อนคันเร่งให้เบาลง </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> นอนทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนเพลีย คนที่อ่อนเพลียมีแนวโน้มจะออกแรง-ออกกำลังน้อยลง </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ภาวะอดนอนทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาหารประเภท หวาน-มัน-เค็ม และอาหารพวกแป้ง เช่น ขนมปัง พาสตา ฯลฯ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วน อ้วนลงพุง และความดันเลือดสูง </li> </ol> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐฯ ทำการทดลองในอาสาสมัครผู้ชายสุขภาพดี และอายุน้อย ให้นอนคืนละ 4 ชั่วโมง 2 คืน <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครมีระดับฮอร์โมนเลพทิน (leptin) ลดลง และเกรห์ลิน (ghrelin) เพิ่มขึ้น</p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

ฮอร์โมนเลพทินทำหน้าที่ลดความอยากอาหาร เมื่อฮอร์โมนนี้ลดลงจะทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น

ฮอร์โมนเกรห์ลินทำหน้าที่เพิ่มความอยากอาหาร เมื่อฮอร์โมนนี้เพิ่มขึ้นจะทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น

<p> </p>

เมื่อฮอร์โมน 2 ชนิดนี้เปลี่ยนแปลงจะส่งผลให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น 24%

ภาวะอดนอนส่งผลต่อสมองหลายอย่าง เช่น ทำให้ความจำลดลง สมาธิลดลง ความสามารถในการแก้ไขปัญหาลดลง ควบคุมอารมณ์ได้น้อยลง ฯลฯ

<p> </p>

นอกจากนั้นยังส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลงไปด้วย

คนส่วนใหญ่ต้องการเวลานอนดังตาราง (ตารางที่ 1) ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ต้องการนอนวันละ 7-9 ชั่วโมง แต่ธรรมดากฎเกณฑ์ย่อมมีข้อยกเว้น เนื่องจากผู้ใหญ่บางท่านนอนน้อยกว่านี้ก็มีชีวิตอยู่ได้อย่างดี

 

ตารางที่ 1: แสดงความต้องการเวลานอน (ชั่วโมง)

ช่วงอายุ (ปี) ชั่วโมง
3-5 11-13
5-12 9-11
วัยรุ่น 8.5-9.5
ผู้ใหญ่ 7-9

การนอนกลางวันช่วยหรือไม่… เรื่องนี้องค์การนาซ่า สหรัฐฯ ทำการทดลองในนักบินและนักบินอวกาศที่อดนอนพบว่า <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal">การนอนกลางวัน (nap) 40 นาทีช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงาน (performance) ได้ 34% และช่วยเพิ่มระดับความตื่นตัว (alertness) 100% (ในคนที่อดนอน)</p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

 

ข้อควรระวังในเรื่องการนอนกลางวันได้แก่

  1. การนอนกลางวันนานเกินไป หรือใกล้เวลานอนเกินไปมีส่วนทำให้คุณภาพของการนอนกลางคืนลดลง
  2. การนอนกลางวันคราวละ 20-30 นาทีให้ผลดีต่อสุขภาพ

ถึงตรงนี้… ขอให้พวกเรามีโอกาสนอนหลับอย่างมีคุณภาพให้เพียงพอทุกคืน และทุกวัน(สำหรับท่านที่นอนกลางวัน)ครับ <p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

ข่าวประกาศ...                                                  

  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย และใช้เวลาเตรียมเขียนเรื่องใหม่+แก้ไขคำหลัก (keywords) ย้อนหลัง

ขอแนะนำ...                                                    

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "สุขภาพสมอง"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "นอน"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "
  • ขอแนะนำบล็อก > "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                      

</span><ul><li><div class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt 35.7pt; text-indent: -17.85pt; tab-stops: list 36.0pt">  Many thanks to Intelihealth > Study finds a link between lack of sleep, weight gain > [ Click ] > August 7, 2007.        <li> ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค </li>

  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ และทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 9 สิงหาคม 2550.
  • </span> </div></li></ul></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span>

    หมายเลขบันทึก: 118422เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท