สเต็มเซลล์กับการทำงานของคนแต่ละคน


สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด เกี่ยวข้องกับเรา ท่าน อย่างไร

stemcell 1

สวัสดีครับ วันนี้ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับ สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด  ทำให้นึกถึงว่า ทำไม คนโน้น เก่งจัง ให้ทำงานอะไร ก็สามารถเรียนรู้ได้ดี ทำงานดี แต่ทำไมคนนี้ทำงานไม่เก่ง สอนยาก ไม่เข้าใจเหมือนคนโน้น ...

ก่อนอื่นขอเสนอเรื่องเกี่ยวกับ สเต็มเซลล์ ดังนี้ครับ ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของสเต็มเซลล์ คือ เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่ไม่ได้มีโครงสร้างพิเศษที่จะเอื้ออำนวยให้สามารถทำหน้าที่อย่างเฉพาะเจาะจงได้ ดังนั้นสเต็มเซลล์จึงไม่สามารถทำหน้าที่สูบฉีดเลือดหล่อเลี้ยงร่างกายได้เหมือนเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ สเต็มเซลล์ไม่สามารถจับโมเลกุลของออกซิเจนในกระแสเลือดได้เหมือนเซลล์เม็ดเลือดแดง สเต็มเซลล์ไม่สามารถรับสัญญาณจากเซลล์หนึ่งสู่เซลล์หนึ่ง เพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้เหมือนเซลล์ประสาท แต่สเต็มเซลล์มีศักยภาพเปลี่ยนไปเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์เม็ดเลือด หรือแม้กระทั่งเซลล์ประสาทได้ ปัจจัยภายในควบคุมโดยยีนภายในเซลล์ ส่วนปัจจัยภายนอกควบคุมโดยสารเคมีที่หลั่งออกมาจากเซลล์อื่น ลักษณะทางกายภาพระหว่างสเต็มเซลล์และเซลล์ใกล้เคียง รวมทั้งโมเลกุลอื่นรอบๆ สเต็มเซลล์

กระบวนการที่สเต็มเซลล์เปลี่ยนไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง เรียกว่า ดิฟเฟอเรนชิเอชั่น (differentiation) เซลล์ตัวอ่อนนั้นสามารถพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อต่างๆ แทนเนื้อเยื่อเก่าที่เสียหายได้เกือบทุกชนิด ดังนั้นเซลล์อ่อนจึงสามารถนำไปพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคอื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากการอุดตันของหลอดเลือดอีกเกือบทุกโรค

ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน หลอดเลือดที่ขาอุดตัน ตีบเล็กลง เมื่อผู้ป่วยเหล่านี้อาจจะต้องตัดขาเพราะเลือดไม่ไปเลี้ยง นั่นอาจทำให้ผู้ป่วยถึงตายได้ แต่เมื่อฉีดเซลล์อ่อนเข้าไปโตเป็นหลอดเลือดก็ไม่จำเป็นต้องตัดขา ความสามารถในการรักษาโรคอื่นๆ ยังขึ้นอยู่กับขั้นตอนการแยก คัดเลือกเซลล์แล้วเพิ่มจำนวนแล้วถึงจะเปลี่ยนเป็นหลอดเลือดหรือเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นได้อีก ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่แค่เปลี่ยนเป็นหลอดเลือด อาจจะเป็นกล้ามเนื้อ ไขมัน ผิวหนัง เซลล์ประสาทหรืออื่นๆ อีก ซึ่งต้องมีการพัฒนาวิจัยโดยจะต้องมีการทดสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าปลอดภัย ซึ่งในขณะนี้การศึกษาวิจัยเป็นไปอย่างกว้างขวาง

นี่แหละครับประโยชน์ของ สเต็มเซลล์ ผมจะขอโยงเข้ากับการทำงานของคนแต่ละ คน ดังนี้ครับ

1.คนแต่ละคนมีพื้นฐาน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ รวมถึง พันธุ์กรรมที่แตกต่างกัน ทำให้มีพฤติกรรมแตกต่างกัน แต่เชื่อว่าสามารถแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้ ดังคำว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ขึ้นกับว่าจะแก้ไข ปรับปรุง ช่วงใด ตั้งใจ พยายาม หรือไม่? มากน้อยเพียงใด? 

2.คนแต่ละคนเรียนมาอย่างหนึ่ง สาขาหนึ่งแต่ได้รับการพัฒนา เรียนรู้ ได้รับมอบหมาย ให้ทำอีกหน้าที่หนึ่ง สามารถพัฒนาตนเองให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น 

คนสวน เปลี่ยนไปทำงาน ดูแลระบบคอมพิวเตอร์

แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรสายวิชาชีพเปลี่ยนไปทำงาน บริหาร เหมือน สเต็มเซลล์ ที่พัฒนาเป็นเนื้อเยื่อต่างๆแทนเนื้อเยื่อเก่าที่เสียหาย เป็นต้น

นี่เป็นเพียงบางส่วนที่ผมสามารถเปรียบเทียบให้เข้ากับการทำงานได้ แต่อาจจะไม่ใช่ที่ถูกที่สุด แต่ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า คนที่จะทำงานได้ดี ต้องตั้งใจ รักในงานนั้น มีความสุขในการทำงานนั้นๆ แล้วคุณละครับ คิดอย่างไร ช่วยเสริมด้วยครับ

หากสนใจ สเต็มเซลล์ หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/stem-cell/stem-cell1.htm

ที่มา  นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ   ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

คำสำคัญ (Tags): #การทำงาน
หมายเลขบันทึก: 117724เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

* น่าสนใจค่ะ เคยอ่านบทความเกี่ยวกับ Stem Cell กับวิวัฒนาการใหม่ ในการบำบัดโรคค่ะ

* ยิ่งมาอ่านที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม ก็ยิ่งเข้าใจมากขึ้นค่ะ ..

* เกี่ยวกับเรื่องงาน เห็นด้วยค่ะ ..  ทัศนคติ ต่องานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ค่ะ เพราะเนื้อแท้ในงาน สามารถเรียนรู้กันได้ 

* การเปิดใจ ความรัก ในการเรียนรู้ เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญ ต่อการเปลี่ยนแปลงศักยภาพบุคคล

* ขอบพระคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเพิมค่ะ

* มีความสุข กับทุกโมงยามนะคะ   

 

  • เคยได้ยินว่าเราสามารถเก็บเสต็มเซลล์จากทารกที่เกิดใหม่แล้วนำมาเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ใช่มั๊ยคะ
  •  แล้วผู้ใหญ่อย่างเราๆ สามารถเก็บเสต็มเซลล์จากตัวเราได้มั๊ยคะ

 

เรียน คุณ poo และ คุณ Chopper

ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยม 

มนุษย์มีสเตมเซลล์แฝงอยู่ในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ  เซลล์เหล่านี้จะตื่นตัวขึ้นเมื่อเกิดโรคภัยหรือการบาดเจ็บ  ขณะที่สเตมเซลล์จากเอ็มบริโอสามารถพัฒนาเป็นเซลล์ได้ทุกชนิด 

สเตมเซลล์ของผู้ใหญ่กับมีพัฒนาการไปตามเนื้อเยื่อตันกำเนิด  เช่น  สเตมเซลล์จากสมองพัฒนาเป็นเซลล์ประสาทได้  แต่ไม่อาจเปลี่ยนเป็นเซลล์ตับ หรือเซลล์กระดูก  สเตมเซลล์จากเลือดสายสะดือของทารกแรกเกิดก็จะสร้างเฉพาะเซลล์เม็ดเลือด  แต่ล่าสุดพบว่าเนื้อเยื่อสายสะดือมีเซลล์เมเซนไคมาที่สร้างกระดูกได้ด้วย  โดยทั่วไปสเตมเซลล์ของผู้ใหญ่ที่อยู่ในร่างกายจะมีจำนวนเล็กน้อยและเพาะเลี้ยงยาก  แต่การบำบัดโรคต้องอาศัยเซลล์ประเภทนี้เป็นจำนวนมาก 

สวัสดีค่ะ อ.ต้อม

เปิดเทอมแล้วยุ่งๆ ไม่ค่อยได้แวะเวียนมา วันนี้ได้อ่านเรื่อง stem cell ทำให้เข้าใจเรื่องนี้มาขึ้น ...การพัฒนา แell ก็คงเหมือนกันกับการพัฒนาตนใช่มั้ยค่ะ จะพัฒนาไปเป็นอย่างไรก็ต้องขึ้นกับปัจจัยภายในตน และปัจจัยภาคนอกตนด้วย ... แต่สิ่งหนึ่งที่มีพลังและเชื่อเสมอคือ ใจของตนเอง หากใจพร้อม กายก็พร้อม หากปัจจัยภายนอกไม่เอื้อ แต่ใจพร้อมก็จะสามารถฟันผ่าไปได้

ชอบตัวการ์ตูน อ.ต้อมจัง วาดตัวการตูน ที่เป็น animate ตัวพี่ให้สักตัวได้มั้ยค่ะ แบบน่ารักๆ นะค่ะ...ขอบคุณค่ะ อิอิอิ

 

ผมป่วยเป็นสโตรกจึงอยากทราบว่ามันต้องเป็นเอมบิโอเท่านั้นจึงจะรักษาได้นอกนั้นไม่มีทางเลยใช่ไหมกรุณาตอบให้สงสัยด้วยผมไปรักษาตัวที่ยูเครนมาแต่ไม่ดีขึ้นหมอที่พาไปบอกไปฉีดเอมบิโอแล้วรอ2เดือนจะดีขึ้นแต่ไม่เห็นผลผมไปกลับ รศ ดร กำพล มา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท