ด้วงเจาะฝักโสน(Acanthoscelides )


โสนมีฝักเยอะแต่ถูกด้วงเจาะเกือบหมด

ด้วงเจาะเมล็ดชนิดนี้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthoscelides obtectus ตัวเต็มวัยมีความยาวเพียง 3.2-4 มม.เท่านั้น อกปล้องแรกเป็นรูปกรวย(conicle) ส่วนต้นขา(femur)) มีลักษณะแข็งแรง ขาโก่ง แสดงว่าสามารถมุดแทรก ดันตัวเข้าไปด้วยกำลังที่มาก และมีฟักเป็นหยัก ๆ ด้วย ขาสีแดง ส่วนท้องสีชมพู และเป็นรูปป้าน ปีกคลุมส่วนท้องไม่หมด ปลายท้องโผล่ออกมา ปีกคู่หน้ามีสีน้ำตาล แดง หรือเทาเขียวและแข็งเหมือนเขาสัตว์  ยกเว้นที่เป็นขอบของส่วนปลายมีสีค่อนข้างแดง ไข่สีขาวน้ำนม  มีขนาดเพียง 0.25-0.6 มิลลิเมตร ตัวอ่อนระยะแรกมีส่วนหัวเป็นสีเหลือง มองเห็นกระโหลกได้ชัดเจน ตัวงอหนอนแบบ  scarabaei form ตัวอ่อนระยะที่สอง ตัวมันจะโก่งแบบ apodus ตัวอ่อนสีขาว หัว สีน้ำตาล แมลงชนิดนี้ทำลายเมล็ดพวกถั่วได้ทุกชนิด(bean) ส่วนน้อยที่ทำลายพวก sojac และ lentil การเข้าทำลาย 1 ตัว ต่อ 1 เมล็ด ระยะไข่ 3-15 วัน ระยะตัวอ่อนประมาณ 3 สัปดาห์ ระยะดักแด้ 12-35 วัน วงจรชีวิตจะวนเวียนปีละหลายรอบ(1รอบจะมีครบทุกระยะตั้งแต่ไข่ตัวอ่อนดักแด้และมาเป็นตัวเต็มวัย)( life cycle) การศึกษาชีวิทยาของด้วงเจาะฝักโสนยังมีคนศึกษาน้อย ถ้าศึกษาจนรู้วิธีป้องกันกำจัดแล้วจะสามารถเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร มีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยให้ โสนงอกได้มากขึ้น ทราบไหมครับว่า ใน 1 ฝักของโสน มีเมล็ดอยู่ประมาณ 40 เมล็ด แต่จะถูกด้วงชนิดนี้เจาะไปเหลือความงอกเพียง20-30%เท่านั้น  เอกสารอ้างอิง : http://www.inra.fr/hyppz/RAVAGEUR/6acaobt.htm

http://www.ento.csiro.au/aicn/name_s/b_16.htm

ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ ใครอยากทำวิจัยทำได้เลยมีงานให้ทำเยอะ

บ้านสมุนไพร-odd

หมายเลขบันทึก: 117568เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท