พละ5


หลักการทำงานของในหลวง

พละ 5 คือ พลัง 5ประการ ได้แก่ ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความพากเพียร) สติ (ความไม่ประมาท) สมาธิ (ความตั้งใจแน่วแน่) และปัญญา (เห็นแจ้งด้วยปัญญา) การปฏิบัติตามหลักธรรม ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการนั้น คือหลักแห่งความสำเร็จ เรียกว่าอิทธิบาท (ธรรมให้ถึงความสำเร็จ) มี 4 ข้อ คือ                    ฉันทะ มีใจรัก คือ พอใจจะทำสิ่งนั้น และทำด้วยใจรัก ต้องทำให้เป็นผลสำเร็จอย่างดีแห่งกิจ หรืองานที่ทำ มิใช่สักว่าทำพอให้เสร็จๆ หรือเพียงเพราะอยากได้รางวัลหรือผลกำไร                    ฉันทะ ให้พอใจในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จะทำกิจการใดๆ ก็ได้ แปลว่า รักที่จะทำ พอใจที่จะทำ หรืออยากจะทำก็ได้ ซึ่งเป็นการอยากจะทำความดี ความอยากจึงมี 2 แบบ อย่างแรก คือ อยากในสิ่งที่ดี เช่น มีจิตใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่ทำ ใฝ่สร้างสรรค์ ใฝ่สัมฤทธิ์ อยากทำเพี่อให้ได้ผล หรืออยากจะฝึกให้เก่งเหมือนคนอื่นเขา เรียกว่า ฉันทะ ฉันทะเป็นของดีและเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้า สรรเสริญ อย่างที่สอง คือ อยากในสิ่งที่ไม่ดี คือ อยากมี อยากเป็นในบางอย่าง ไม่อยากมีไม่อยากเป็นในบางอย่าง หรืออยากได้ผลไปเลย เช่น ฉันอยากเก่ง อยากรวย อยากได้ของคนอื่น เรียกว่า ตัณหา                    วิริยะ พากเพียรทำ คือ ขยันหมั่นประกอบ หมั่นกระทำสิ่งนั้นด้วยความพยายามเข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ทอดทิ้ง ไมท้อถอย ก้าวไปข้างหน้าจนกว่าจะสำเร็จ                    วิริยะ คือ ให้เพียรพยายามปฏิบัติหน้าที่ ขยัน หมั่นกระทำไม่ท้อถอยมีความเพียรที่จะทำ ตัวอย่างชัด และทุกคนทราบ เช่น การฝึกอบรมหลักสูตร ภาษาอังกฤษและภาษาจีน เป็นภาษาที่สอง ทุกคนก็ไปเรียน ที่ไม่รู้ก็เพียรพยายามค้นคว้าหาศัพท์ ฝึกการอ่าน การพูด การเขียน การท่อง ฝึกทำการบ้าน เพื่อจะได้สอบผ่าน หรือ เจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งไปฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ใช้ใน สำนักงาน จากสิ่งที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ หมั่นเพียรฝึกฝน เพื่อนำความรู้ที่ได้ที่เข้าใจ นำไปปฏิบัติงานในหน่วยงานของตนเอง ให้เจริญก้าวหน้าจนสำเร็จเป็นต้น ความเพียรเป็นธรรมที่ยิ่งใหญ่แม้ศัตรูก็ยอมพ่ายแพ้ในกำลังใจของผู้ที่มีความเพียร                     จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด ไม่ปล่อยจิตใจให้ฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยใช้ความคิด ในเรื่องนั้นบ่อยๆ เสมอๆ ทำกิจนั้นงานนั้นอย่างอุทิศใจ                    จิตตะ คือ มีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในการงานพัฒนาให้เจริญอย่าเพิกเฉย ไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย มีการคิดบ่อยๆ ทำการตรวจสอบและคอยติดตามผล ตัวอย่างเช่น ครูต้องคิดว่าสอนด้วยความรู้จริง ทำได้จริง จึงสอนเขา สอนอย่างมีเหตุผล ให้เขาพิจารณาเข้าใจแจ้งด้วยปัญญาของเขาเองสอนให้ได้ผลจริง สำเร็จความมุ่งหมายของเรื่องที่สอนนั้นๆ เช่น ให้เข้าใจได้จริง เห็นความจริง ทำได้จริง นำไปปฏิบัติได้ผลจริง เป็นต้น            วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อน ข้อบกพร่องและขัดข้องในสิ่งที่ทำนั้นโดย รู้จักทดลองวางแผน วัดผลคิดค้นวิธีแก้ไข ปรับปรุงเป็นต้น เพื่อจัดการและดำเนินงานนั้นให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป                    วิมังสา พิจารณาเหตุผลในการทำงาน วิมังสาจึงมักจะใช้คู่กับจิตตะ คือ การใช้ปัญญาหาเหตุผลเพื่อพัฒนาปัญญาอยู่เรื่อยๆ ตรวจสอบหาทางแก้ไขในจุดที่งานติดขัด ตัวอย่างเช่นการทำวิจัย ผู้ทำจะต้องรู้จักวางแผน คิดค้น ค้นคว้า ทำการ ทดลอง วัดผล และปรับปรุงแก้ไข เมื่อพบข้อบกพร่อง ใช้สติทำใจให้สงบ คิดช้าๆ และทบทวนไตร่ตรองหาเหตุผลก็มักจะแก้ปัญหาออกได้เสมอ คือ มีปัญหาเกิดขึ้นมา และแก้ไขงานที่ทำได้เป็นผลสำเร็จดียิ่งๆ ขึ้นไป                    ดังจะเห็นได้ว่า การงาน ทำกิจการใดๆ ล้วนใช้ธรรมะคือ พละ 5 และอิทธิบาท 4 รวมเป็น 9 ประการ เป็นฐานธรรมที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้ และจะสำเร็จได้ดีมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของพละ 5 และอิทธิบาท 4

คำสำคัญ (Tags): #ในหลวง
หมายเลขบันทึก: 116661เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2007 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มี สา ระ มา มาย เรย คร๊า

จัดทำแบบนี้เยอะๆๆ นะข๊ะ//

ได้ความรุ เรื่อง นี้ อย่างมากค่ะ

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา นี้มัน อิทบาท 4 ไม่ใช่หร่อคุณณณณณ

ขอชมความตั้งใจดีนะครับ

แต่รู้สึกว่า ข้อมูลจะผิดพลาดนะครับ

พละ 5 ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

โดย

- ศรัทธาพละ ความเชื่อ เชื่อแน่วแน่ในคุณงามความดี ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่มีใครคนอื่นรับแทนได้ ตนทำตนต้องได้รับผลประโยชน์อันนั้นแน่นอน ตั้งต้นตั้งแต่ทำทาน ศรัทธาในการรักษาศีล และเจริญภาวนาสมาธิ

- วิริยะพละ ความเพียรนั้น เพียรพยายามอยู่ตลอดเวลา

- สติพละ สติ จดจ่อตั้งมั่นอยู่ในเรื่องนั้น ๆ มีศรัทธาวิริยะแล้วอายที่จะหลงเหลวไปได้ เชื่อไปในสิ่งที่ไม่ถูกก็มีเพียรพยายามในสิ่งที่ผิดก็มี เชื่องมงายไปในสิ่งที่ผิดๆ ถ้าหากสติไม่ควบคุมไว้ได้

- สมาธิพละ เป็นพลังใหญ่ที่สุด ศรัทธา วิริยะ สติ มันต้องรวมมาเป็นสมาธิเสียก่อน

- ปัญญาพละ ปัญญาพิจารณาเห็นสังขารร่างกายของตนเห็นอะไร เอากระจกมาส่องดูก็ได้หรอก หน้าตาของเรานี่ละไม่ต้องไปส่องคนอื่น มันเห็นของแก่ ของเฒ่า ของชำรุดทรุดโทรม เหี่ยวแห้ง อันนี้มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

พละ ๕ นี้แหละบำรุงให้ใจมีกำลังเข้มแข็งกล้าหาญสามารถที่จะทำสมาธิ สามารถที่จะให้เกิดปัญญาอุบายอันยิ่งใหญ่และสามารถทำให้ลุล่วงมรรคผลนิพพานได้

ทิพวรรณพร นัดทะยาย

มีสาระมากได้ประโยชน์มากมายในการเรียนการทำรายงาน

และขอขอบคุณ ณัฐพฤกษ์ วิชัยดิษฐ์

จาก คนรักd2b

คนรัก เต้ย ต่าย เป็ก

ขอแสดง ข้อความ ที่ คัดลอกมาจาก บทความ ธรรมะ เผื่อเอาไป เทียบเคียง ศึกษา

พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง — power)

1. สัทธา (ความเชื่อ — confidence)

2. วิริยะ (ความเพียร — energy; effort)

3. สติ (ความระลึกได้ — mindfulness)

4. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น — concentration)

5. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด — wisdom; understanding)

ธรรม 5 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ 5 (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน — controlling faculty) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้

พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง

D.III.239;

A.III.10;

Vbh.342. ที.ปา. 11/300/252;

องฺ.ปญฺจก. 22/13/11;

อภิ.วิ. 35/844/462

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท