นมแม่


นมแม่ คือหยดแรกของสายใยรัก
นมแม่      คือ  หยดแรกของสายใยรัก การได้โอบกอดลูก  เนื้อแนบเนื้อ  การให้ลูกดูดนมแม่  ทันทีหลังเกิดนำไปสู่น้ำนมหยดแรก  ซึ่งมีคุณค่า  ในการสร้างสายใยรัก  และภูมิคุ้มกันโรคกระตุ้นให้เกิด  พลังรัก  พลังความผูกพัน  และความเอื้ออาทรต่อลูก 

  พบว่าการโอบกอดลูกดังกล่าวจะมีผลให้

  กระตุ้นให้น้ำนมแม่มาเร็ว

  แม่มีระดับฮอร์โมนแห่งความรักโดยธรรมชาติ  (Oxytocin)  เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด 

และไปกระตุ้นสมองของแม่  รวมทั้งจะถูกส่งผ่าน  มาทางน้ำนมแม่ไปกระตุ้นสมองของลูกเช่นกัน

  ฮอร์โมนแห่งความรักที่เกิดโดยธรรมชาตินี้  แตกต่างจากฮอร์โมนสังเคราะห์

ที่แม่ได้รับการฉีดในระยะหลังคลอด  ซึ่งจะมีผลให้มดลูกมีการบีบตัวเท่านั้น 

  ฮอร์โมนแห่งความรักที่เกิดโดยธรรมชาติก่อให้เกิดผลดีต่อแม่และลูกดังนี้

 

สำหรับแม่

  • ความรู้สึกเป็นสุข  สงบ  ในตัวแม่
  • ความเจ็บปวดหลังคลอดลดลง
  • ความรู้สึกรักลูกมากขึ้น
  • ความตั้งใจในการเลี้ยงลูก  สูงขึ้น  ไม่อยากทิ้งลูกไปไหน
  • สัญชาตญาณความเป็นแม่สูงขึ้น

สำหรับลูก

  • ลูกร้องกวนน้อยลง
  • ลูกดูดนมเป็นเร็วขึ้น
  • ลูกมีความอบอุ่น  มั่นใจ
  • กระตุ้นให้มีการหลั่งสารภูมิคุ้มกันต่างๆ  ในร่างกายลูก  เช่น

สารช่วยปกป้องลำไส้   พบว่ามีถึง  19  ชนิด

 พบว่า  จะช่วยให้แม่ลูกคุ้นเคยกันมากขึ้น  โดยใช้เวลาเพียง  3  วัน  เมื่อเทียบกับถ้าไม่ได้ให้มีการโอบกอดตั้งแต่เริ่มแรกจะใช้เวลาถึง  10  วัน        ภูมิคุ้มกันครบด้าน  เริ่มตั้งแต่หยดแรก 

น้ำนมแม่  มีภูมิคุ้มกันทุกหยด

มีระดับสูงสุดในสัปดาห์แรก  และ

ยังคงมีตลอดจนหยดสุดท้าย

 

เพื่อให้ลูกจะได้ดูดกระตุ้นนมแม่  และได้รับหัวน้ำนม

 

น้ำนมในสัปดาห์แรก  (นมโคลอสตรัม)  เป็นหัวน้ำนมที่มี

สารภูมิคุ้มกันครบด้าน  เช่น  ระบบเม็ดเลือดขาว  ระบบภูมิคุ้มกันทีเซลล์ 

บีเซลล์  ระบบจุลินทรีย์สุขภาพ  ฯลฯ  นอกจากนั้นยังมี  วิตามิน  เกลือแร่

สำคัญ  และสารช่วยการเจริญเติบโตอีกมาก  ธรรมชาติให้มาเพื่อปกป้องลูก

ในระยะแรกเกิด  ซึ่งลูกยังบอบบาง  ติดเชื้อได้ง่าย

 

ดังนั้น...พยายามให้ลูกได้รับหัวน้ำนม  (นมโคลอสตรัม)

หลังคลอดลูก

  • ถ้าลูกปกติ  ไม่มีปัญหาใดๆ  ควรขอให้นำลูกมาอยู่ด้วยทันทีหลังเกิด
  • ถ้าคลอดแบบผ่าตัดหรือได้รับยาสลบ  ก็ให้นำลูกมาให้แม่ทันที  เมื่อแม่รู้สึกตัว

นอกจากนี้  พบว่าภูมิคุ้มกันในนมแม่

  • มีความจำเพาะสำหรับลูกคน
  • มีครบด้าน  และมีระบบการทำงานเชื่อมโยงที่นมอื่นไม่สามารถทำได้  เช่น 

สารภูมิคุ้มกัน  S-IgA ในนมแม่  นอกจากจะปกป้องทางเดินอาหาร  เมื่อถูกดูดซึม

จะไปกระตุ้นอวัยวะต่างๆ  เช่น  ทางเดินอาหาร  ทางเดินหายใจ  ทางเดินปัสสาวะ

ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ปกป้องสุขภาพลูก

  • ระบบจุลินทรีย์สุขภาพในนมแม่มีมาก  และพิสูจน์ได้ว่า  ช่วยปกป้องการติดเชื้อ

และเสริมสร้างภูมิคุมกันได้จริง  และดีที่สุด     

ระยะหลังคลอด....

อย่า  แยกแม่ลูก  หรือ  บีบน้ำนมทิ้ง

 นมแม่  ให้ภูมิคุ้มกันที่ครบด้าน  และเหมาะสมกับลูกคน  ที่ยังไม่มีนมใด  สามารถเลียนแบบได้ สมองเด็ก  กินนมแม่จะไวต่อการเรียนรู้พบว่า   พัฒนาการทางสมองจะดีกว่า  2-11  จุด  ยิ่งถ้าได้รับการเลี้ยงดู ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ก็จะยิ่งดี   วัยทารกสมองโตเร็วนมแม่  อาหารที่ดีและครบถ้วน  ที่สมองสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ     นมแม่สารอาหารที่ดี  และครบถ้วนต่อสมองเช่น  ไขมัน  DHA  AA  กรดไซอาลิค  ทอรีน  คาร์นิทีน  นิวคลีโอไทด์  กาแลคโตไซด์ธาตุเหล็ก  สารช่วยการเติบโตของสมอง  ฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของสมองต่างๆ    ไขมันในนมแม่ถูกย่อย  และนำไปใช้ได้เต็มที่  ในทารกระยะ  6  เดือนแรก  ยังมีน้ำย่อยไขมันไม่เพียงพอนมแม่ก็จะมีน้ำย่อยไขมันมาพร้อมด้วยธาตุเหล็กในน้ำนมแม่มีการดูดซึมได้ดีถึงร้อยละ  50-70  ในขณะที่ในนมผสมสามารถดูดซึมได้เพียง  ร้อยละ10สารชีวภาพเช่น  สารช่วยการเติบโตของสมอง  ฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของสมองต่างๆแม่ต้องเป็นผู้ผลิตเอง  รวมทั้งสารในระบบภูมิคุ้มกัน  ฯลฯ    สารต่างๆ  เหล่านี้ทำงานประสานกันเหมือนวงดนตรีส่งผลให้  เส้นใยสมองมีการเชื่อมโยงที่ดี  มีเปลือกหุ้มหนา...  ทำให้ส่งต่อข้อมูลได้เร็วจอประสาทตาแข็งแรง...  ทำให้สายตามีความเฉียบคมสายตามีความเฉียบคม...  ทำให้  ลูกเรียนรู้ได้เร็ว    การได้อุ้มกอด  สัมผัส  กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้  ระหว่างแม่ลูก  อย่างต่อเนื่องให้ลูกกินนมแม่  แม่ก็ต้องอุ้ม  ต้องกอดลูก  ไม่ต่ำกว่าวันละ  7-8  ครั้ง  กระตุ้นให้เกิดจุดเชื่อมโยงของเส้นใยประสาท  กระตุ้นให้เกิดวงจรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  อย่างสม่ำเสมอ สารภูมิคุ้มกันในนมแม่  ช่วยทำให้ลูกไม่ป่วยบ่อย  ทำให้สมองไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโต  สารเหล่านี้  มีขบวนการสร้างและสังเคราะห์ในร่างกายของแม่    สด  และใหม่  พร้อมใช้ทันท่วงที  ต่างจากนมที่มีการปรุงแต่ง  กินนมแม่  ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้  โดยเฉพาะโรคแพ้โปรตีนนมวัว ในวัยทารก  โรคภูมิแพ้ที่พบบ่อย  คือ  โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้  (Atopic  dermatitis)  และ  โรคแพ้โปรตีนนมวัว  (Cow’s  milk  protein  allergy)  วัยทารก  โดยเฉพาะระยะ  6  เดือน  เป็นระยะที่ทารก  ยังอยู่ในระยะอ่อนแอ  เยื่อบุทางเดินอาหารทางเดินหายใจไม่แข็งแรง  ระบบภูมิคุ้มกัน  ยังสร้างได้ไม่เต็มที่  และระบบน้ำย่อยอาหาร  ก็ยังไม่แข็งแรง...จึงง่ายต่อการติดเชื้อ  สารแปลกปลอมเล็ดลอดเข้าไปกระตุ้นให้แพ้ได้ง่าย ¥  รู้จัก  โรคแพ้โปรตีนนมวัว  เกิดจากโปรตีนนมวัว  เล็ดลอดผนังลำไส้ที่ยังไม่แข็งแรง  กระตุ้นให้เกิดการแพ้ขึ้น  ¥  โรคแพ้โปรตีนนมวัว  ปัจจุบันพบได้มากจากรายงานพบได้ถึงร้อยละ  2-5  และมีแนวโน้มสูงขึ้น  เด็กไทยเกิดปีละประมาณ  800,000  คนถ้าคิดประมาณว่า  มีอัตราเกิดโรคนี้  ร้อยละ  3  ของทารกในแต่ละปี  ประเทศไทยจะมีทารกเป็นโรคนี้ประมาณ  24,000  คน¥  ให้ทารกกินนมผสม  เสี่ยงสูง   ต่อการเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว 
  • ถ้ามีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ในครอบครัว  ทารกที่กินนมผสมจะมีโอกาสเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว  ร้อยละ  20  ในขวบปีแรกทารกกินนมแม่มีโอกาสเกิดเพียง  ร้อยละ  0.5-1.5
  • ทารกกินนมแม่ยังอาจพบโรคนี้ได้  เป็นเพราะแม่ดื่มนมวัวมากเกินไปในระยะตั้งท้อง
และในระหว่างให้นมลูก¥  โรคแพ้โปรตีนนมวัว  เป็นโรคที่ควรป้องกันไม่ให้เกิดกับลูก  เนื่องจาก
  • วินิจฉัยยาก  ต้องมีการทดสอบ  ทดลองหลายครั้งจึงจะบอกได้
  • อาการเหมือนเด็กป่วย  เป็นโรคทั่วไป  ทำให้หลงทางในการให้การวินิจฉัยได้
-          มีผื่นตามใบหน้า  แขน  ขา  ลำตัว-          มีอาการท้องเสีย  ปวดท้อง  อาเจียน  ถ่ายเหลว  ถ่ายมีเลือดปน-          มีอาการ  น้ำมูกไหลไม่หาย  คัดจมูก  ไอไม่หาย  ฯลฯ
  • เป็นโรคเรื้อรัง  ลูกเสียเวลาเติบโต  เวลาป่วยก็อารมณ์ไม่ดี
  • ค่ารักษาแพงมาก
  • เด็กที่เป็นโรคแพ้โปรตีนนมวัวในวัยทารก  จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นในอนาคต 
¥  ให้ลูกกินนมแม่  ช่วยป้องกัน โรคแพ้โปรตีนนมวัวได้  เพราะ
  • ลูกไม่แพ้โปรตีนในนมแม่
  • ในนมแม่มี  ภูมิคุ้มกัน  ช่วยจับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร  ทำให้สารเหล่านั้นไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
  • กินนมแม่ช่วยลดการติดเชื้อในลำไส้  พบว่าถ้าลูกมีการติดเชื้อ  หรือลำไส้อักเสบ  จะทำให้รับสารก่อภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้น
คำสำคัญ (Tags): #สายใยรัก
หมายเลขบันทึก: 116522เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2007 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีคะ
  • แวะเข้ามาซึ้งๆ กับบทความดีๆ
  • และ เรียนรู คุณค่าที่มีมากมาย ของ น้ำนมแม่คะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท