Who should verify information?


ผู้ที่ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้นควรเป็นหน้าที่ทุกฝ่ายทั้งผู้สาร ผู้รับสาร และผู้ได้รับผลกระทบทางสังคม

ในยุคของ Information Age ที่ข้อมูลข่าวสารแต่ละชนิดถูกผลิตขึ้นและส่งต่อ ถ่ายโอนจากผู้ผลิตข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายของการได้รับข้อมูลชุดหนึ่งๆในแต่ละวินาที
ถูกผลิตขึ้นมาในปริมาณที่นับไม่ถ้วน และลักษณะข้อมูลที่ถูกผลิตขึ้นมานั้น ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการสื่อสารกันเองภายในองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เช่น ข้อมูลที่บริษัทผลิตออกมาเพื่อวางแผนงานประจำปี หรือแม้แต่การจัดทำ Organization Chart เพื่อให้เข้าใจบทบาทหน้าที่และการติดต่อกันภายใน เป็นต้น หรือ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่องค์กรต่างๆผลิตข้อมูลเพื่อสื่อสารให้บุคคลภายนอกได้รับข้อมูลชุดนั้นโดยตรง
เช่น หน่วยงานของรัฐบาลที่ต้องการเผยแพร่ความรู้ ข่าวสารแก่ประชาชนในเรื่องต่างๆ เช่น ข้อกฎหมาย พระราชบัญญัติ ภาษีอากร ฯลฯ

โดยที่ลักษณะของการผลิตข้อมูลนั้น ผู้สร้างข้อมูล(Inventor) นำสิ่งที่ไม่มีตัวตน ถ่ายทอดออกมาเป็นข้อความส่งผ่านให้แก่ผู้รับสาร (Receiver) โดยที่ข้อมูลชุดดังกล่าว อาจสร้างผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบให้แก่กลุ่มของสังคม (Society) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ ดังนั้นการสร้างข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้อง ชัดเจนของข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจสารที่ตรงกัน และโดยหน้าที่และความรับผิดชอบแล้ว การที่จะตรวจสอบข้อมูลชุดหนึ่งๆว่าถูกต้องหรือไม่ เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้สร้างข้อมูลชุดนั้น แต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการเข้ามารับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าว เป็นการเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายที่ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย โดยเรียงลำดับตามความระดับความรับผิดชอบ กล่าวคือจากทั้งในส่วนของผู้สร้างข้อมูล ผู้รับข้อมูล และกลุ่มของสังคมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้องและสมบรูณ์ที่สุด

เริ่มจากในกลุ่มของผู้ผลิตข้อมูล (Inventor) ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อความถูกต้องของข้อมูลที่ต้องเผยแพร่ออกไป ดังนั้นภาระความรับผิดชอบโดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้สร้าง แต่อย่างไรก็ดีผู้สร้างข้อมูลก็เป็นเพียงผู้ที่ต้องรับข้อมูลจากหัวหน้า หรือผู้บังคับบัญชาในองค์กรให้ผลิตข้อมูลดังกล่าวออกมาตามคำสั่งที่ได้รับ ดังนั้นข้อมูลที่ถูกส่งผ่านออกมา อาจเป็นข้อมูลที่สามารถมีความตั้งใจให้เสนอข้อมูลที่บิดเบือนได้ โดยที่ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการนำเสนอข้อมูลชุดนั้นๆ ว่ามีเจตนาที่จะส่งสารเพื่ออะไรบ้าง ในแถบทุกองค์กรที่แสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจนั้น ย่อมจะต้องคำนึงถึงตัวเลขทางการเงินและภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นหลัก ดังนั้นการเสนอข้อมูลที่ต้องเผยแพร่แก่สาธารณชนนั้นจำเป็นต้องมีการเปิดเผย หลีกเหลี่ยง บิดเบือนและปกปิดข้อมูลที่มีจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธุรกิจโดยตรง

และในกลุ่มก้อนขององค์กรหนึ่งที่เป็นประเด็นต่อการวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ล้วนแต่ต้องรับข้อมูลโดยตรงจากรัฐบาล หรือองค์กรต่างๆเพื่อนำประเด็นที่ได้นำเสนอต่อไป ดังนั้นข้อมูลอะไรก็ตามที่ได้รับมา ฝ่ายสื่อมวลชนจะนำไปเผยแพร่เช่นดังนั้น แหล่งให้ข้อมูลหลักจึงเป็นจุดที่ต้องส่งผ่านข้อมูลที่เป็นจริงเช่นกัน และภายใต้อำนาจที่รัฐสามารถครอบงำสื่อได้ จึงไม่เป็นการยากนักนักที่จะไม่เสนอความจริงแก่ประชาชนและนำผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มที่มีผล
ประโยชน์ในลักษณะที่ผู้ผลิตข้อมูลทำงานภายใต้องค์กรหนึ่งๆที่ต้องประกอบไปด้วยการทำงานร่วมกัน
ในหลายๆแผนก เช่น บริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ นอกเหนือจากความรับผิดชอบของผู้ผลิตข้อมูลในเรื่องความถูกต้องของเนื้อหา จำเป็นต้องมีผู้ตรวจสอบเนื้อหาของแต่ละฝ่ายร่วมตรวจสอบความถูกต้องก่อนตีพิมพ์เสมอ เช่น บรรณาธิการฝ่ายข่าว บรรณาธิการฝ่ายบันเทิง บรรณาธิการฝ่ายโฆษณา รวมไปถึงเจ้าของสำนักพิมพ์ และฝ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นข้อมูลชุดหนึ่งๆที่ถูกผลิตในองค์กรจึงต้องประกอบไปด้วยหลายฝ่ายที่ต้องร่วมกันตรวจสอบ
ความถูกต้องก่อนจะส่งผ่านข้อมูลสู่สาธารณะเป็นสิ่งที่พึ่งกระทำ เพื่อเป็นการรักษาภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือขององค์กรที่ต้องนำเสนอความจริงแก่ประชาชน
ให้รับทราบร่วมกัน จุดประสงค์หลักของผู้ส่งสารคือ การสื่อข้อความไปยังผู้รับสารให้ได้รับสิ่งที่ตนต้องการถ่ายทอด ดังนั้นนอกจากในส่วนของผู้สร้างสรรค์ข้อมูลแล้ว ผู้รับข้อมูล
( Receiver) จึงเป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหาเช่นกัน ผู้อ่านควรมีวิจารณญาณส่วนบุคคลที่ต้องไตร่ตรองถึงข้อมูลด้วยตนเองว่า จะเชื่อในเนื้อหาที่กล่าวมาหรือไม่ เนื่องจากข้อมูลในปัจจุบันล้วนแล้วแต่สามารถบิดเบือนความจริงได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราเองควรพิจารณาด้วยความคิดที่รอบครอบก่อนตัดสินใจเชื่อข้อมูลชุดนั้นๆ ดังเช่นข้อมูลขยะมากมายที่ส่งผ่านมาทางอินเตอร์เน็ตที่ผู้ใช้จะต้องกรองความถูกต้องเอง ดังเช่นหลายๆกรณีที่มีการส่งข่าวในแง่ลบกับดารา นักแสดงต่างๆ หรือแม้กระทั่งนักการเมือง เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความเสื่อมเสีย ทำลายภาพลักษณ์ของบุคคลผู้นั้นโดยสร้างเรื่องราวขึ้นมาเอง
ทั้งหมด ซึ่งเป็นเจตนาในทางลบที่ผู้ส่งหวังผลในวงกว้าง ดังนั้นผู้รับสารเองควรกลั่นกรองและแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากข้อมูลดังกล่าวด้วยตัวเอง

และในส่วนที่กว้างออกมา ผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลควรจะเป็นส่วนของสังคม (Society) หรือองค์กรอื่นๆที่ข้อมูลนั้นได้อ้าง พาดพิงถึง หรือได้รับผลกระทบโดยทางตรงและทางอ้อม หลังจากที่ได้มีการส่งผ่านข้อมูลชุดหนึ่งไปถึงกลุ่มก้อนขององค์กรหรือบุคคลหนึ่งๆ ย่อมมีข้อมูล
ที่ถูกต้อง ผิดพลาด และถูกบิดเบือนจากการนำเสนอ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่องค์กร ผู้ที่มีผลกระทบโดยตรงควรเป็นผู้ที่ต้องออกมาตรวจสอบ ชี้แจง แก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเอง อาทิเช่นการสร้างสรรค์งานโฆษณาที่มักจะทำให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่มบุคคล หรือสังคมหมู่มากขึ้นได้ เช่น โฆษณายาสีฟันที่นำเอาคนผิวสีมาเป็นการให้ความหมายในเชิงลบ หรือการตั้งกระทู้โจมตีกันผ่านทางเว็บไซด์ เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ต้องมีผู้ตรวจสอบจากสังคมภายนอกเป็นผู้จัดการ เช่น ตำรวจcyber เป็นต้น หรือในกรณีในประเทศจีน ทางการจีนเองเป็นผู้กัดกันการเข้าชมเว็บไซด์ที่ไม่เหมาะสม โดยทำการบล็อกเว็บไซด์หลายประเภทที่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อการบริหาร บ้านเมือง
กล่าวโดยสรุปคือ ผู้ที่ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้นควรเป็นหน้าที่ทุกฝ่ายทั้งผู้สาร ผู้รับสาร และผู้ได้รับผลกระทบทางสังคมควรเป็นผู้พิจารณาโดยใช้หลักความถูกต้องทางจริยธรรมมา
เป็นเครื่องตัดสินที่จะรับและส่งผ่านความถูกต้องนั้นๆโดยที่ผู้ส่งสารเองควรระมัดระวังคำนึงถึง
ผลกระทบที่ตามมามากที่สุดและเพราะถ้าไม่มีผู้สร้างก็จะเป็นการตัดวงจรการรับรู้ข่าวสารที่ผิดพลาด
ไม่ให้กระจายออกไปสู่ผู้รับและสังคมได้ในที่สุด

4 กรกฎาคม 2548

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11650เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2006 00:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท