บ/ท/แ/ส/ด/ง/ว/ัต/ร/ข/อ/ง/ก/ัล/ย/า/ณ/ช/น


ฉันนุ่งพระวินัย ห่มพระสูตร พาดพระธรรม จิตใจของฉันขลัง มีพลังยึดเหนี่ยว ด้วยความศักดิ์สิทธิ์แห่งพุทธรังษีทฤษฎีญาณ

                        ปฐโม  อรุโณ  เสโตฯ 

อิทานิ  อรุโณทยํ  อาปุจฺฉามิฯ

บัดนี้ ฉันบอกกล่าว  อรุโณทัย

อรุโณทัย  อรุโณทัย  แจ้งสว่างแล้วโว้ย...

ฉันนุ่งสบงพระวินัย  ( อา. ปา. มะ. จุ. ปะ. )

คาดประคตเอว ทำใจให้มั่นแน่น  อิมํ  กายพนฺธนํ  อธิฏฺฐามิฯ

ห่มจีวรพระสูตร ( ที. มะ. สัง. อัง. . )

แล้วหยิบสังฆาฏิพระอภิธรรมขึ้นพาดบ่า  ( สัง. วิ. ธา. ปุ. กะ. ยะ. ปะ. )เพื่อให้ดูสง่างามพร้อมใจที่รู้  ธรรมธาตุทั้งปวง 

                      ทุติโย  ตามฺพมํ  เจวฯ 

อยํ  อตฺตภาโว 

อสุจิ  อสุภํมรณปริโยสานํกมฺมฏฺฐานํ  ภาเวติฯ

ฉันห่มครองเรียบร้อยแล้วนั่งลงพิจารณาอัตตภาพเจริญกรรมฐาน 

ไม่สะอาด  ไม่งาม มีความตายเป็นที่สุดรอบฯ

ถวายเครื่องสักการะแด่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า

พุทฺธํ  ให้แจ้ง  ธมฺมํ  ให้สว่าง  สงฺฆํ  เบิกทางให้สว่างคือดวงแก้วฯ

แล้วสวดมนต์บทสรรเสริญพระพุทธคุณ

อิติปิโส  ภควาอรหํ  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  ฯเปฯ

และบทพาหุงฯ อันแสดงความเชิดชู

เทิดทูน-สรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง...

จบลงด้วยการกรวดนํ้าให้แด่สัตว์โลก

จากนั้นฉันก็พิจารณาขณะของปัจจัยทั้งสี่ เพื่อกำหนดรู้และใช้อย่างถูกต้อง 

                      ตติโย  โอทาโตฯ 

ก่อนยามแห่งอรุณที่สี่จะย่างถึงฉันจักไม่นอนลงให้กิเลสมันขี่คออีก

จักใช้เวลาที่เหลือตริตรองธรรมท่องบ่นพระคัมภีร์

แสดงความผิดกับสหธรรมิกเพื่อไม่ให้อาบัติข้ามวันคืน

และฉันจักบอกกล่าวแก่ตนเองว่า-

วันหนึ่งผ่านไปแล้วโว้ย  วันหนึ่งผ่านไปแล้วโว้ย

จักได้ทำอะไรให้มันถูกต้องตามกิจและกาลกำหนดของวัน 

                       จตุตฺโถ  นนฺทิมุโขฯ 

วันใหม่ขณะแห่งอรุณที่สี่ฉันเปลื้องจีวรครอง

นุ่งห่มจีวรเก่าหยิบบาตรขึ้นมาดู

แล้วควานมือลงไปด้วยคำภาวนา-

จตฺตาโร  สติปฏฺฐานา,

กายานุปสฺสนา สติปฏฺฐานํ    เวทนานุปสฺสนา สติปฏฺฐานํ

จิตฺตานุปสฺสนา สติปฏฺฐานํ   ธมฺมานุปสฺสนา สติปฏฺฐานํ ฯ

ตั้งตนไว้ในที่อยู่ไม่ไปปราศจากสติ   สติอวิปฺปวาโสฯ

แล้วถือบาตรเดินไปตามย่านบ้านด้วยคำภาวนา-

สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุอพฺยาปชฺฌา-อนีฆา-สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุฯ

หยุดยืนสงบนิ่งหน้าบ้านทายก-ทายิกาผู้ศรัทธาในพระไตรรัตน์

นามรูปํ อนิจฺจํ   นามรูปํ ทุกฺขํ   นามรูปํ อนตฺตาฯ

ก้อนข้าว ตกลงในบาตรแสดงความร้อนผ่านบาตรเหล็ก

นิสฺสตฺโต  นิชฺชีโว  สุญฺโญฯ

ฉันขอบคุณผู้ศรัทธา ด้วยพระบาลีในใจว่า-

จตฺตาโร  ธมฺมา  วฑฺฒนฺติอายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ฯ

และ เอวํ โหตุฯ  ขอความปรารถนาของท่านจงสำเร็จ...

ฉันกลับมาถึงอารามวางบาตรลงด้วยพระคาถาว่า-

อิทานิ  อาหารคเวสิทุกฺขํ  สํเวควตฺถูติ  วุจฺจติฯ

ความทุกข์อันเนื่องด้วยการแสวงหาอาหาร

ในกาลนี้อันท่านกล่าวว่า เป็นวัตถุแห่งความสังเวค... 

ฉันนุ่งพระวินัย  ห่มพระสูตร  พาดพระธรรม

จิตใจของฉันขลังมีพลังยึดเหนี่ยว

ด้วยความศักดิ์สิทธิ์แห่งพุทธรังษีทฤษฎีญาณ

ฉันขอกราบขอบพระคุณพระอุปัชฌาย์

แลพระอาจารย์ที่ได้สอนสั่งให้มั่งคงดำรงตนอยู่ได้ในร่มกาสาวพัสตร์

โดยไม่ปล่อยไปตามบุญ ยถากรรม

ฉันจักขอน้อมนำพระธรรมวินัยมาปฏิบัติขัดเกลาตนเองทุกเมื่อ

เพื่อไม่ให้ร้อนฯ           

นุ่งพระวินัย ห่มพระสูตร พาดพระอภิธรรม  เป็นเหมือนคำอุปมา  พระวินัยป้องกันไม่ให้ทำชั่ว ทำผิด, พระสูตรแสดงซึ่งความดับทุกข์,  พระอภิธรรมให้สง่าราศีสูงสุด เพราะทำให้เรามีความรู้ธรรมะขั้นละเอียด ลึกซึ้ง 

               ขอให้เราได้นุ่งพระวินัย ห่มพระสูตร พาดพระอภิธรรมได้อย่างถูกต้องกันทุกคน   สาธุ ฯ                

หมายเหตุกถา   เขียนขึ้นมาจาก  การทำวัตรแบบโบราณท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุใน เสขิยธรรม  ฉบับที่ ๒๓ ปีที่ ๔  กรกฎาคม-กันยายน พ.. ๒๕๓๗                                                

พระมหาศุภกร  ธมฺมสาโร                                    

..เอก, .., ศศ.. (การพัฒนาชุมชน)  

                                    

เรียบเรียงกถาไว้เมื่อ  พุธที่ ๑๖  สิงหาคม  พุทธศักราช ๒๕๓๘            

   

หมายเลขบันทึก: 116297เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท