After Action Review (AAR) ครั้งที่ 1 : การพัฒนาทักษะการนำเสนองานในที่สาธารณะ


เคยมั๊ยเวลาที่ต้องนำเสนองานหน้าชั้นเรียนแล้วรู้สึกสั่นๆ ไม่มั่นใจ พูดถูกพูดผิด ลิ้นพันกัน ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่เป็นบ่อยเหมือนกัน อยากจะนำเสนองานเก่งๆ เหมือนคนอื่นๆ เค้ามีเคล็ดลับอะไรกันนะ อยากรู้จัง

     เทอมนี้ดิฉันลงทะเบียนเรียนวิชา Knowledge Management การจัดการความรู้ ซึ่งมี อาจารย์ ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ เป็นอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ใจดีและน่ารักมากๆ วิชานี้ไม่มีสอบแต่......... ต้องทำโปรเจคการจัดการความรู้หนึ่งเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องอะไรก็ได้ที่สามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้  กลุ่มของดิฉันมีทีมงานด้วยกัน 6 คน และเรื่องที่เราสนใจก็คือ การพัฒนาทักษะการนำเสนองานในที่สาธารณะ เราจะสังเกตได้ว่านักศึกษาปริญญาโทจะต้องนำเสนองานหน้าชั้นเรียนแทบทุกวิชา กลุ่มของดิฉันจึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ เพราะเราสามารถนำเอาความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้มาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานในการเรียน หรือการนำเสนองานในที่ประชุมที่บริษัท               

     คุณกิจ ที่จะมาร่วมกิจกรรมการพัฒนาทักษะการนำเสนองานในที่สาธารณะ คือ นักศึกษาระดับปริญญาโททุกคณะ(หรือบางคณะ)ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนี่ก็คือปัญหาใหญ่ของทางกลุ่ม เราจะทำอย่างไรที่จะชักชวนให้พวกเขามาร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพราะเราต่างก็ไม่รู้จักกัน ทุกคนก็ต่างมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำ  และที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องเวลา การที่จะหาเวลาสะดวกในการรวมกลุ่มเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ยังไงก็ต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฮือๆๆๆ @_@!!!!                

     ทางกลุ่มของดิฉันก็ได้ติดต่อพูดคุยกับเพื่อนๆ กลุ่มอื่นในชั้นเรียนว่าจะจัดกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเพื่อนๆ บางกลุ่มก็เห็นด้วย และสิ่งที่จะต้องทำต่อไปก็คือเป็นการระดมสมองคิดกิจกรรมว่าจะจัดในลักษณะไหนที่จะสามารถดึงดูดใจให้ คุณกิจ ทั้งหลายมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กับทางเรา  เพื่อนๆ ท่านใดมีไอเดียเจ๋งๆ ที่จะแนะนำเราบ้างหรือเปล่าคะ??????

หมายเลขบันทึก: 116228เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 00:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีครับ
  • แวะมาทักทายและให้กำลังใจ ...
  • ผมเองก็ถกคิดอยู่เรื่อยมาว่า ปัจจุบันนิสิตนักศึกษาจำนวนไม่น้อย  ซึ่งหมายถึงมากอสมควรที่ประสบปัญหากับการนำเสนอความคิดต่อที่สาธารณะ
  • ปรากฏการณ์เช่นนี้  สะท้อนให้เห็นถึง  ภาวะความไม่ตกผลึกทางความคิดที่เกิดจากการเรียนรู้, สั่งสม, และสังเคราะห์
  • ....
  • ขอบคุณครับ
  • คุณแผ่นดิน ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจเช้านี้ ดิฉันคิดว่า "การตกผลึกทางความคิด" เป็นเรื่องที่ยากนะคะ เพราะว่าการที่จะตกผลึกได้นั้นมันก็ต้องมีความเข้มข้นพอ แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลย ถ้าเรามีความมุ่งมั่นและพยายามนะคะ

การตกผลึก นั้นในทัศนะผม ผู้นั้นจะต้องรู้ลึก และไม่ละเลยที่จะรู้กว้างโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวพันกับสาระที่ลึก  และต้องทำซ้ำๆ ผลึกมันเกิดขึ้นมาได้เพราะการมั่นใจจากการกระทำ มิใช่มั่นใจจากการรู้จากการอ่าน ความรู้จากการอ่านเป็นเพียงแรงกระตุ้นให้ลงมือทำ ..เรามาหาผลึกความรู้กันเถอะ..

เห็นด้วยกับคุณบางทรายค่ะ

  • เห็นด้วยกับคุณบางทรายเหมือนกันค่ะ พอพูดถึงคำว่า "ตกผลึก" ดิฉันจะคิดถึงเรื่องผลึกน้ำตาล สมัยเด็กๆ ตอนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ อาจารย์จะให้เราทำผลึกน้ำตาลทรายส่ง เราก็จะต้องเคี่ยวน้ำตาลทรายให้เป็นน้ำหวานเข้มข้น ใส่น้ำตาลทรายไปจนถึงจุดอิ่มตัว แล้วตั้งทิ้งไว้ข้ามคืน จากน้ำหวานเหนียวๆ ข้นๆ ก็จะกลายเป็นผลึกน้ำตาล ปรากฎการณ์นี้น่าจะนำมาเปรียบเทียบเรื่อง "การตกผลึกทางความคิด" ได้นะคะ

คนเราแต่ละคนมีจุดเด่นอยู่แล้วในตัว หาให้เจอน่ะครับ แล้วเราจะรู้ว่า การนำเสนอในรูปแบบที่ตัวเองถนัด เป็นอย่างไร

แล้วหลังจากนั้น การปรับใช้ให้กลมกลืนกับสถานการณ์ คงไม่ยากเกินไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท