เวชศาสตร์การบิน (Aviation Medicine)


ศาสตร์ที่ใช้ดูแลรักษา นักบิน และผู้ทำการในอากาศนั้น เขาเรียกว่า "เวชศาสตร์การบิน" ซึ่งมีสถานที่อบรมในประเทศไทยที่เดียวคือ สถาบันเวชศาสตร์การบิน ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมแพทย์ทหารอากาศ แถว ๆ รพ.ภูมิพลนั่นแหละ

สวัสดีครับ กระผม  หมอแช้มป์ วันนี้มีเรื่องมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังกัน..น่านก้อคือ  เรื่อง "แพทย์เวชศาสตร์การบิน"
 
บางคนอาจงงว่า  ไอ้แพทย์เวชศาสตร์การบินนั้น มันคืออะไร
จะอธิบายให้ฟังคร่าว ๆ เนื่องด้วยกระผม  เกิดเป็นแพทย์ของกองทัพอากาศไทย
ดังนั้นกองทัพเรา  มีดีที่เครื่องบิน  แต่เครื่องบินก้อมีดีที่ซุป  ไม่ใช่  เครื่องบินก้อต้องมีดีที่นักบินสิ
ซึ่งนักบินนั้น  จะทำการตรวจรักษา เหมือนอย่างคนทั่วไปธรรมดาเดินดินไม่ได้
เนื่องจากพวกเขาบินได้  จึงต้องรักษาพวกเขาเหมือนเป็นเทวดา  น้าน  ไม่ใช่
ต้องรักษาด้วยศาสตร์ที่ล้ำลึกกว่า   น่าน  ฟังดูเวอร์จิง ๆ
 
เอาเข้าเรื่องเข้าราวหน่อย
ศาสตร์ที่ใช้ดูแลรักษา  นักบิน  และผู้ทำการในอากาศนั้น
เขาเรียกว่า "เวชศาสตร์การบิน" ซึ่งมีสถานที่อบรมในประเทศไทยที่เดียว
คือ  สถาบันเวชศาสตร์การบิน ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมแพทย์ทหารอากาศ  แถว ๆ รพ.ภูมิพลนั่นแหละ
(แถมอีกนิด  ในทหารเรือ  ก้อมีศาสตร์เฉพาะเหมือนกัน
เรียกว่า  "เวชศาสตร์ใต้น้ำ"  แต่ประเทศเรายังไม่มีเปิดสอนเอง
ต้องส่งแพทย์ไปเรียนที่ออสเตรเลียโน่นแน่ะ  ดีจังได้เที่ยว
สาเหตุที่ไทยยังเปิดสอนเองไม่ได้นั้น  คาดว่า  เพราะประเทศเรายังไม่มีเรือดำน้ำ
จึงไม่มีความจำเป็นอะไรมาที่จะต้องมีแขนงนี้เท่าใด  ใช้แค่ไว้ดูแลนักประดาน้ำเท่านั้นแหละ 
แต่ผมอาจเข้าใจผิดก้อได้นะ  ความเห็นหลังนี้ผมเดาเอาน่ะ)
 
อ่ะต่อ  ผู้ทำการในอากาศ  นั้นหมายถึง  นักบิน  แอร์โฮสเตส  สจ๊วต  ช่างเครื่อง ฯลฯ 
ที่มันต้องบินไปมาบ่อย ๆ น่ะ  ยกเว้นผู้โดยสารนะ
ศาสตร์นี้มีหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือนและระยะยาว 3 ปี
ซึ่งกระผมก้อแน่นอน  ต้องเรียนระยะสั้นอยู่แล้น  หุหุ  ด้วยความขี้เกียจ
 
ซึ่งก่อนเรียนนั้นกระผมเคยสงสัยในใจว่า  เอ๋...ทำไมการตรวจนักบินมันต้องแยกออกมาเป็นวิชาด้วย
งง....ไม่คิดว่าจะมีอะไรมากมายให้เรียน  เพราะคิดว่าการตรวจมนุษย์มันก้อต้องตรวจเหมือน ๆ กันแหละ
แต่พอมาเรียนแล้ว  ศาสตร์นี้มีอะไรมากกว่าที่คิด
สิ่งที่ได้เรียนเพิ่มเติม  เป็นสิ่งที่แพทย์ทั่วไปรู้อยู่แล้ว  แต่คาดไม่ถึง  ว่าจะเกิดอาการ,โรคเหล่านี้กับนักบิน
เพราะเมื่อคนเรา  ขึ้นไปอยู่ที่สูง ๆ ๆ ๆ ๆ มาก  จะมีลักษณะสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนบนพื้นดิน
ไม่ใช่แค่อากาศที่บางเบาเท่านั้น  ยังมีเรื่องของความกดอากาศที่ลดลง 
ซึ่งจะส่งผลให้ก๊าซออกซิเจนไม่สามารถมีความกดที่จะแลกเปลี่ยนที่ปอดได้
เกิดภาวะขาดอากาศ 
หรือเรื่องของแรงดึงดูด,แรงเหวี่ยง  ที่มีมากในเครื่องบินขับไล่  อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้
หรือเรื่องของภาวะหลงสภาพการบิน  ทั้ง ๆ ที่มองเห็นและได้ยินชัดเจน  แต่บินหลงทิศ,หลงท่าทางได้
 
ฟังดูแล้วก้อแปลก ๆ ไม่คิดว่าจะเกิดได้จริง  แต่ก้อเกิด 
สนุกดี  เหมือนอยู่ในโลกความคิดอีกแบบหนึ่ง  ที่เราคาดไม่ถึง
 
โดยกระผมเรียนในรุ่นที่ 23 มีเพื่อนร่วมชั้นทั้งหมดยี่สิบคน
ทุกคนเป็นแพทย์หมด  (พยาบาลเวชศาสตร์การบิน  เรียนอีกหลักสูตรนึงน่ะ)
แต่มาจากคนละต้นสังกัดกัน  เช่น  บางคนมาจากทหารบก  ,  ทหารเรือ  , ตำรวจ
ที่แปลกสุดในหลาย ๆ รุ่นคือ  รุ่นผมมีแพทย์ทหารอากาศจากกรุงพนมเปญ  ประเทศกัมพูชามาเรียนด้วย
ชื่อ นาวาอากาศเอก Som  Sorn (อ่านว่า  "ซอมซอน"  ห้ามอ่านอย่างอื่น !!)
อายุประมาณห้าสิบปี  เป็นแพทย์ GP นิสัยดี  ยิ้มแย้ม
มีคลินิกตัวเองสองแห่งในกัมพูชา  มีลูกสาวสองคนเรียนต่างประเทศอยู่  (สุดยอด!!)
หลายคนอาจสงสัยว่า  อ่าวแล้วแกจะเรียนรู้เรื่องเรอะ
คำตอบคือ ผมก้อไม่รู้เหมือนกัน
เพราะภาษาไทยแกก้อไม่ค่อยดี  (แกอยู่ไทยมาสี่เดือนแล้วก่อนเรียน)
ส่วนภาษาอังกฤษนั้น  แกยิ่งอาการหนักกว่าภาษาอังกฤษของผมอีก  สรุปแล้วสื่อสารลำบากมาก
เพราะอาจารย์เองก้อสอนเป็นภาษาไทย  (ถ้าสอนอังกฤษ  สงสัยเรียนกันไม่รู้เรื่องทั้ง class อ่ะ)
ตำราก้อมีให้เลือกทั้งไทย  และอังกฤษ  (น่าน..หรูมะ  เพราะสถาบันแห่งนี้เปิดสอนคนต่างชาติด้วยนะ)
สรุป  สำหรับพี่ซอมซอนแล้ว  ไม่รู้ว่าแกจะเรียนรู้เรื่องป่าว  แต่คงรู้ผลตอนสอบแหละ  หุหุ
ปล. เวชศาสตร์การบิน  มีเรียนการเอาตัวรอดในป่าด้วยนะ
คือ  เขาสมมติสถานการณ์เครื่องบินตก  แล้วต้องเอาตัวรอดให้ได้จากการอยู่ในป่า
ซึ่งต้องไปฝึกอยู่ป่าที่ อ.บ่อพลอย  จังหวัดกาญจนบุรี  สิบวันแน่ะ  ฮือ ๆ (ช่วงกลางเดือน มิ.ย.น่ะ)
ที่สงสัยคือ  พี่ซอมซอน  แกจะไหวป่าวเนี่ย ??
 
ที่จะเม้าท์ก้อคือ  สถาบันนี้น่ะ  เขาสอนทุกคนที่จะทำการในอากาศของประเทศไทยเชียวนะ
หมายถึง  ทุกคนที่จะบินเหนือน่านฟ้าไทย  ต้องมาเรียนที่นี่ด้วยอ่ะ
เช่น  นักบินทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นเอื้ออาทรหรือไม่  ,  แอร์โฮสเตส  ฯลฯ
ดังนั้น  ขณะที่ผมเรียนเนี่ย  ห้องข้าง ๆ กระผมนั้น  เป็นแอร์โฮสเตส  จากประเทศเกาหลีแหละ
ว้าว  สวย ๆ ทั้งน้าน  ยี่สิบคนทีเดียว
หน้าตาเกาหลีมาก ๆ ขาว  สวย  หมวย  หุ่นดี  ท่าทางเยี่ยมมาก  (หน้าตาเหมือนในแผ่นเลย หุหุ)
น่าร้ากทุกราย 
ฝ่ายทางห้องเราบ้าง  แพทย์ชายสิบเจ็ดคน  เรียนไม่มีสมาธิเลย  อยากจะไปเรียนร่วมกะเขาจัง
แม้กระทั่งพี่ซอมซอน  ก้อไม่เว้นนะเนี่ย  เหอ ๆ
ในที่สุด  เพื่อนกระผม  ชื่อ บิ๊ก เป็นทหารบก  ก้อใจกล้าสุด  ไปทำความรู้จักกะเขาได้
แล้วจากนั้นก้อพยายาม  เปิด google หาโปรแกรมแปลอังกฤษเป็นภาษาเกาหลี
แล้วเขียนจดหมายรักภาษาเกาหลีไปหาเขา  น่าน  ชวนเขาไปเที่ยวด้วย
สุดยอด  โดยสืบทราบมาว่าสาว ๆ ทั้งหลายพักโรงแรมมิราเคิล  เดินทางด้วยรถตู้มาเรียน
จึงไม่มีใครพาไปเที่ยว  น่าน  พี่บิ๊กแกเลยอยากจะอาสา  ว่าง้าน
เฮ้อ  ก้อไม่รู้สำเร็จหรือป่าวเหมือนกัน  ไว้ได้ผลอย่างไร  กระผมจะมารายงานให้ทราบละกัน
 
เรื่องสุดท้ายที่จะเล่า  คือ  การเรียนเวชศาสตร์การบิน  เขาจะมีให้เข้าห้องปรับความดันอากาศ
เพื่อให้เราได้เรียนรู้ว่า  เวลาอยู่ในที่สูง ๆ และมีความกดดันน้อย ๆ ออกซิเจนน้อย ๆ นั้น  เราจะรู้สึกอย่างไร
เนื่องจากเคยมีกรณีเครื่องบินตก  เนื่องจากระบบออกซิเจนในเครื่องบินเสีย 
แต่ไม่มีใคร detect ได้  จนทุกคนต่างหมดสติไป  แม้กระทั่งนักบิน  เครื่องจึงตกที่กรีซ
โดยไอ้การที่สมองมีออกซิเจนไม่เพียงพอนั้น  เรียกว่า  Hypoxia 
ซึ่งเราจะไม่มีเครื่อง detect Hypoxia แต่ต้องใช้ร่างกายของนักบินและลูกเรือที่เคยผ่านการฝึกมา
เป็นตัว detect ว่าเกิดภาวะ hypoxia หรือยัง
งงมะ.....กล่าวคือ  ผู้ทำการในอากาศทุกคน  จะต้องฝึกให้ร่างกายตัวเองเกิดภาวะ hypoxia
แล้วจำไว้ให้ได้ว่า  ร่างกายของแต่ละคนมีอาการอย่างไร  แตกต่างกันไป
ซึ่งเมื่อวันนึง ที่ตัวเองขึ้นเครื่องบิน  แล้วเกิดภาวะ hypoxia นั้น  จะได้ระลึกถึงตอนฝึก และหาทางแก้ได้ทัน
 
ซึ่งไอ้การที่จะฝึกให้เกิด hypoxia นั้น  ก้อต้องเข้าฝึกในห้องปรับความดันอากาศเนี่ยแหละ
ห้องนี้ก้อราคาไม่แพง  แค่เจ็ดสิบสองล้านบาทเอง  หุหุ 
ซึ่งก่อนเข้าเครื่อง  เขาจะให้เราสวมหมวกและหน้ากากนักบินก่อน  (เหมือนในหนังเครื่องบินรบอ่ะ)
จากนั้นก้อพอเราเข้าเครื่อง  แล้วก้อเริ่มฝึก  บินสูงขึ้นเรื่อย ๆ
แต่ละคนก้อจะเริ่มปวดหู  ต้องอ้าปาก  หาว  กลืนน้ำลาย  แล้วแต่กันไป
และเนื่องจากที่สูงจะมีความกดดันอากาศน้อย  เพราะงั้นอากาศในตัวจะขยายตัว
พวกอากาศในท้อง  จึงเริ่มขยาย  จึงปวดท้องได้  จึงอาจมีบางคน  "แอบ" ผายลมไปในตัวด้วย
แต่คนอื่นไม่ได้กลิ่นหรอกนะ  เพราะเราดมออกซิเจนจากหน้ากากอยู่
(แต่ถึงไม่ได้กลิ่น  แต่หูยังได้ยินนิ  เพราะงั้นอาจมีเสียงดัง "ปุ๋ง" ออกมาก้อได้)
พอถึงระยะความสูงพอเหมาะ  ครูฝึกจะให้พวกเราถอดหน้ากากออกซิเจน 
แล้วให้การบ้านไปทำ  คือ  ฝึกคิดเลขตามโจทย์  โอ้โห  จุดนี้สนุกมาก
เพราะขนาดสติดีดี  ยังทำไม่ได้เลย  โจทย์บ้า  ยากมาก
ทำ ๆ ไป  ในที่สุดก้อจะเกิดอาการ hypoxia กันทุกคน  แต่อาการแตกต่างกันไป
แล้วครูเขาก้อจะให้ดมออกซิเจนถ้าไม่ไหว
โดยบางคนก้อปากเขียว  แต่เขียนปรกติ
บางคนหน้าซีด  บางคนมือสั่น (สั่นมากจนนึกว่าแกล้งแน่ะ)
บางคนซึม  คือ  เขียนไม่ออก  ดินสอจิ้มโจทย์เลขแช่ไว้ง้านอ่ะ 
แปลกมะ  สนุกดีเนอะ
 
ส่วนตัวกระผมน้าน  มีอาการอะไรเอ่ย  ทายซิ
กระผมก้อเขียนไปเรื่อย ๆ ช่วงแรกโจทย์ให้เขียนข้อมูลตัวเอง
เช่น  ชื่อ  นามสกุล  บ้าน  ที่ทำงาน
กระผมก้อหรู  เขียนภาษาอังกฤษไปเลย  ทำเท่ห์  กะว่ากรูเท่ห์
จากนั้นพอเจอโจทย์เลข  ชักเริ่มงง  ยาก  ทำไม่ได้  ข้ามไปข้อต่อไป 
กว่าจะทำเลขได้  ปาไปข้อสี่โน่น  (เก่งมะ)
พอตอนหลังโจทย์จะถามว่า  ตอนนี้ท่านรู้สึกอย่างไร
ผมก้อเขียนว่า  มึน  หายใจไม่ออก ประมาณนี้
แล้วก้อเซ็นชื่อไป  จากนั้นก้อหลับไปเลย!!
หลับผล็อย  คอพับไปซะดื้อ ๆ นั่นแหละ 
อาจารย์ที่ควบคุมตะโกนกันใหญ่  บอกให้ช่วยกันสวมออกซิเจนให้หน่อย
เพราะหลับไปแล้ว !!  น่าน  
พอฟื้นขึ้นมาก้อเห็นเพื่อน ๆ ต่างก้อมีอาการต่างกันไปตามข้างต้น
 
สรุป ๆ นี่ถ้าอยู่บนเครื่องบินจริง ๆ แล้วเกิดภาวะ hypoxia นั้น
กระผมคงลาโลกไปได้เลย  เนื่องจากไม่สามารถไปเตือนคนอื่นได้
เพราะอาการเดียวที่กระผมมีจาก hypoxia นั้นก้อคือ  หลับ !!
เฮ้อ...คิดไม่ถึงจิง ๆ ทำไมต้องเป็นหลับด้วยน้อ...
ดีนะเนี่ย  ไม่เข้าฝึกพร้อม  แอร์โฮสเตส  ไม่ง้าน  อายเขาตาย
หลับไปซบเขาแน่ ๆ อ่ะ 
 

หมายเลขบันทึก: 115965เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 01:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
คุณหมอแชมป์ครับน่าสนใจดีออกครับ เป็นเรื่องที่ไม่เคยได้รู้มาก่อน ขออนุญาตแนะนำนิดนะครับหากจะกรุณา นำเรื่องที่โปรยไว้หนาแน่นมาเขียนเป็นตอนๆ ให้ละเอียดขึ้น (ด้วยลีลาอย่างเดิมนี่แหละ) คงมีคนติดตามอ่านแน่นอนที่ไม่แน่ใจคงในประเด็นที่คุณหมอว่าไว้ ทุกคนที่จะบินเหนือน่านฟ้าไทย ต้องมาเรียนที่นี่ด้วยอ่ะ มันดูแปลกๆอยู่ ไม่น่าจะต้องขนาดนั้น ช่วยขยายความนิดนะครับอ้อ แล้วอย่าลืมบอกล่ะว่า ตกลงแอร์เกาหลี บินกลับไปหมดหรือยัง

ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะครับ จริง ๆ ยังมีเรื่องราวมากที่อยากถ่ายทอดให้ทราบแล้วจะเล่าใหม่นะครับ

แอร์เกาหลีนี่กลับไปหมดแล้วครับ ตอนนี้กะลังใจเต้นตึ๊กตั๊ก กับแอร์สาว ๆ จาก แอร์เอเชีย ไปเรียนด้วยกันไม๊ครับ

คุณหมอครับ ผมอยากทราบว่า ออกซิเจนที่ใช้ในการเชื่อม กับที่ใช้ในโรงพยาบาลและการบินเหมือนกันหรือเปล่าครับ และถ้าต่างกันต่างกันอย่างไรสามารถใช้แทนกันได้ไหมครับ

คือว่า อยากทราบว่าถ้าไม่ได้เป็นแพทย์ทหารมาก่อน จบ GP ธรรมดา ไปเรียนได้ไหมคะ

คืออยากทราบว่ามันเหมาะกับผู้หญิงหรือไม่คะ

ชอบงานด้านการบิน เพราะกลัวเครื่องบินค่ะ

เลยศึกษาเกี่ยวกับเครื่องบินต่างๆ

แต่ไม่รู้ว่าเขารับผู้หญิงหรือเปล่าคะ และ จำเป็นต้องบินบ่อยๆด้วยหรือเปล่าคะ

ถ้าต้องบินบ่อยๆ ก็คงไปเรียนไม่ด๊ายยส์ค่ะ แหะๆ เพราะกัวอ่ะคะ

สวัสดีค่ะ อ่านบทความนี้แล้วชอบมากเลย ทำให้รู้สึกว่าเรียนสนุกดี

สงสัยเหมือนกันว่าถ้าไม่ได้เป็นแพทย์ทหาร เป็น GP เข้าไปเรียนได้ไหมค่ะ แล้วเวลาทำงานต้องบิน หรืออยู่ที่ภาคพื้นดิน

ถ้าไม่ค่อยเก่งพูดอังกฤษเรียนได้ไหมค่ะ อ่าน text book ได้อย่างเดียว

หน้าที่แพทย์เวชศาสตร์การบิน คือ ดูแลผู้ทำการในอากาศครับ

โดยเรามีหน้าที่ทั้งภาคพื้นดิน และในอากาศ

แต่เราไม่ได้ไปบิน หรือขับเครื่องบินเองหรอกนะครับ

แต่อาจจะพอมีบ้าง ที่ต้องไปทำการขนส่งผู้ป่วยทางอากาศ หรืออาจไปนั่งหลังที่นั่งนักบิน (สนุกดี)

ผมไม่แน่ใจว่าปัจจุบัน เขารับแพทย์ GP จากสาธารณสุขเข้าเรียนหรือยัง

แต่ตอนสมัยผม เมื่อสักห้าปีที่แล้ว มีแต่แพทย์จากทหารและตำรวจเท่านั้นครับ

ยังไง หากสนใจในรายละเอียด

ติดต่อสอบถามที่สถาบันเวชศาตร์การบินได้เลยครับ 02-534-2634

ปล.เรื่อง Oxygen ที่ใช้นั้น ผมเรียนตามตรงว่าไม่ทราบข้อมูลที่แน่นอน

แต่ Oxygen ที่ใช้ในโรงพยาบาลนั้น ไม่ใช่ Oxygen 100% ครับ

หากแต่ได้ทำการผสมกับอากาศมาในอัตราส่วนที่พอเหมาะต่อการหายใจเรียบร้อยแล้วครับ

จะได้ไม่เกิด Oxygen toxicity ครับ

ขอบคุณครับ

(ขอโทษที่ตอบช้ามาก ๆ ครับ)

อ่านแล้วได้ความรู้ดีมากค่ะ แหม..คนเป็นแม่ก็ต้องห่วงสวัสดิภาพของลูกนักบินน่ะสิ

แต่ทำไงได้ ในเมื่อลูกอยากเป็นนักบินมาก แม่ก็ได้แต่ให้กำลังใจ แต่พออ่านบทความนี้แล้ว

ชักเป็นห่วงกังวล จังเลย กลัวลูกหลับไปขณะกำลังขับเครีองบินอยู่ จะแย่กันหมดทั้งลำน่ะสินะ

พอจะมีหนทางแก้ไขได้มั๊ย เจ้าโรคนี้น่ะ หรือว่าต้องเตรียมร่างกายอย่างไร จึงจะปลอดภัยกันทุกคน

หรือว่าให้เปลี่ยนอาชีพไปเลย คะ

สอบถามคุณหมอหน่อยค่ะ .. คุณหมอพอจะมีหนังสือหรือแนวข้อสอบเกี่ยวกับเวชศาสตร์การบินไหมคะ .. เห็นส่วนใหญ่มีคอสติวอ่ะค่ะ หาหนังสืออ่านเองไม่เจอเลยค่ะ ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ ^^

ขอบคุณค่ะ

เขียนได้เข้าใจง่าย สนุกมากค่ะ  5555 ขอบคุณที่สร้างเว็บไซต์ดีๆแบบนี้ให้คนที่สงสัยเกี่ยวกับเวชศาสตร์การบินนะคะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท