KM กับ Technology


เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องการจัดเก็บและการแลกเปลี่ยนความรู้ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่รับประกันความสำเร็จของการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น

 หลังจากที่ตัดสินใจเข้าเรียนในเอกจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรแล้ว ก็ได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับ HR มายิ่งขึ้น ซึ่งตอนนี้มีการเรียน HRD ทำให้ได้รู้จักอะไรใหม่ ๆ มากมาย รวมถึง Knowledge Management (KM) ซึ่งที่บริษัทที่ทำอยู่ก็ได้มีการทำ KM นี้มาสักพักแล้ว ส่วน Group ที่ผมทำงานอยู่ด้วยก็มีการพัฒนาส่วนของ KM เป็นของตัวเองกันด้วย ซึ่งก็รู้เพียงว่าเวลามีอะไรแปลกให้ไปเขียนใส่ไว้ในนั้นด้วย หรือถ้าบางทีอยากรู้อะไรหรือเวลาทำงานมีปัญหาก็ให้ลองไปเปิดในระบบนั้นดูก็จะมีข้อมูลอะไรให้นั่งอ่านได้

ตอนนี้มีโอกาสต้องทำรายงานโดยเลือกได้ว่าอยากทำเรื่องอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับ HRD ก็เลยคิดว่า KM มันต้องไม่ใช่แค่การเอาข้อมูลไปกรอก ๆ หรือไปนั่งอ่านเฉยแน่ ๆ เลยทำเรื่องนี้ซะเลยจะได้รู้ว่าเป็นอย่างไร แต่เรื่องที่สนใจของผมจะไปอยู่ทางด้านเทคนิคหน่อย ๆ เพราะว่าอยากรู้เหมือนกันว่าการนำ technology เข้ามาใช้กับการจัดการข้อมูลองค์ความรู้ของคนนั้นจะทำได้อย่างไร มีกระบวนการเช่นไรที่จะช่วย support คนที่ต้องการเข้ามาหาความรู้ให้ได้รับความรู้กลับไปอย่างที่เค้าตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก และที่สำคัญคือที่ group และที่บริษัททำอยู่ตอนนี้มันมีประโยชน์มากแค่ไหน สูงสุดตามที่ระบบ KM ทำได้หรือยัง หรือว่ามีแค่ตามกระแสเท่านั้น

อย่างที่ทราบกันแล้วว่าความรู้มีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ความรู้ที่เรียกว่า Explicit knowledge เป็นความรู้ที่สามารถบอกหรืออธิบายออกมาเป็นตัวอักษรหรืออะไรก็ตาม และสามารถนำมาศึกษาได้โดยง่าย กับความรู้ที่เรียกว่า Tacit knowledge เป็นความรู้ที่ไม่สามารถเขียนหรืออธิบายเป็นตัวอักษรได้โดยง่าย จึงเป็นการยกที่จะถ่ายโอนความรู้ประเภทนี้ซึ่งต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ 

แหล่งความรู้ที่ต้องจัดการ ประกอบด้วย

  •  เอกสารสิ่งพิมพ์ เป็นงานที่มีการสร้างขึ้นทุกวันและมากขึ้นเรื่อย ซึ่งเกี่ยวโยงกับการทำงานประจำวัน
  • งานอีบุคหรืออีไลบรารี เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ในรูปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ Acrobat, XML, รูปภาพ, การสแกนเอกสารหนังสือ ฯลฯ
  •  ระบบฐานข้อมูล เป็นข้อมูลข่าสารทั้งที่เป็นข้อมูลดำเนินการ เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร สถานที่ การเงิน การบริการ ตลอดจนงานข้อมูลเกี่ยวกับนิสิตนักศึกษา งานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ งานวิจัย งานเอกสารสิ่งพิมพ์ เช่น วิทยานิพนธ์
  • เว็บ เป็นการเก็บข้อมูลจำนวนมากอีกวิธีหนึ่งคือ การเก็บไว้ใน web server ซึ่งทำได้ง่าย รวดเร็ว และสามารถเก็บข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ
  • อีเมล์, FTP, ไฟล์ข้อมูล เป็นแหล่งเก็บข้อมูลทั้งที่เป็นข้อมูลอีเมล์ส่วนตัว อีเมล์ของหน่วยงาน หรือขององค์กร นอกจากนี้ยังอาจสร้าง FTP server เพื่อเก็บข้อมูลที่มีจำนวนมาก เพื่อเก็บข้อมูลไว้ใช้งานร่วมกัน
  • บุคลากร เป็นทรัพยากรความรู้ความชำนาญเฉพาะตัวบุคคล  

การจัดการความรู้ขององค์กรผ่านการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่เทคโนโลยีมักเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทหลักในการจัดการความรู้ซึ่งประกอบด้วย 

  • เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) เป็นส่วนทำให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกขึ้น ผ่านทางเครือข่าย intranet, extranet หรือ internet
  • เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) เป็นตัวช่วยประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โปรแกรม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น
  • เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage Technology) เป็นส่วนจัดเก็บและจัดการความรู้ต่าง ๆ โดยรวบรวมข้อมูลจากระบบอื่นๆ ที่มีใช้อยู่ในองค์กร เช่น e-mail, ERP, CRM, Web Board, Data Warehouse เป็นต้น จากนั้นทำการแบ่งกลุ่มและจัดทำดัชนีเพื่อง่ายต่อการจัดเก็บและสืบค้น 

เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรจะต้องครอบคลุมกระบวนการต่าง ๆ ในการจัดการความรู้ให้ได้มากที่สุด เช่น มีระบบฐานข้อมูลและระบบการสื่อสารที่ช่วยในการสร้าง ค้นหา แลกเปลี่ยน จัดเก็บความรู้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะที่เรียกว่า Know-ware เช่น ระบบ Electronic document management หรือEnterprise knowledge portal 

เมื่อข้อมูลหรือสารสนเทศมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นการจัดเก็บก็จำเป็นต้องมีความซับซ้อนมากตามไปด้วยดังเห็นได้จากรูปแบบและกรรมวิธีของการจัดเก็บที่จัดเก็บแบบแฟ้มตัวอักษรมาเป็นระบบฐานข้อมูลทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ จนถึงระบบ data mining และ data warehouse 

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังเข้ามาทำหน้าที่หลัก ในการช่วยรวบรวม จัดเก็บ และนำความรู้ไปใช้งาน กระบวนการเหล่านี้จะเป็นการจัดการกับองค์ความรู้เก่า หรือความรู้ที่อยู่ในพนักงานบางคน (Personal knowledge) บางกลุ่มในองค์กร ให้สามารถนำมาใช้ได้ทั่วทั้งองค์กร (Organizational knowledge) จะเห็นได้ว่าโดยเพียงลำพังระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเองไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้เกิด สินค้า, บริการ หรือกระบวนการทำงานใหม่ที่ดีขึ้น แต่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องการจัดเก็บและการแลกเปลี่ยนความรู้ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่รับประกันความสำเร็จของการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ทั้งหมดนี้จะมีได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน

ต่อนะครับ คราวนี้ผมจะขอเสนอตัวอย่างเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้งานกับด้าน Knowledge Management
คิดว่าทุกคนคงรู้จักสารานุกรม ทีนี้ในอินเตอร์เน็ตเราก็มี "สารานุกรมออนไลน์" เช่นกัน หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า WikiPedia วิกิพีเดียเป็นแหล่งความรู้ที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตขนาดใหญ่ที่สุดอันหนึ่งก็ว่าได้ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2549 วิกิพีเดียมีบทความกว่า 3.2 ล้านเรื่อง ครอบคลุมกว่า 200 ภาษา ในจำนวนนี้กว่า 941,000 เรื่องเป็นบทความภาษาอังกฤษ มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนกว่า 846,000 คนทั่วโลก เป็นหนึ่งใน 35 เว็บไซด์ที่มีผู้ใช้สูงที่สุดในโลก โดยเฉพาะในช่วง 5 - 6 ปีที่ผ่านมาวิกิพีเดียได้เติบโตขึ้นอย่างมาก

เนื้อหาต่าง ๆ ภายใต้ wikipedia ทั้งหมดจะอยู่ในข่ายของ free license มาถึงประเด็นลิขสิทธิ์เสรี (free license) อะไรคือข้อได้เปรียบของเนื้อหาแบบเสรี? ข้อแรก คุณสมบัตินี้บังคับให้ผู้ที่นำข้อความในบทความไปใช้ต้องอ้างว่าได้ข้อมูลมาจากไหนด้วย ข้อสอง วิกิพีเดียเป็นโค้ดเสรีที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ (non-proprietary) คุณสมบัติข้อนี้สำคัญมากเพราะทำให้อาสาสมัครรู้สึกดีที่จะช่วยใส่บทความ ดูแล แก้ไข เพราะพวกเขารู้ว่าทุกอย่างที่เขาสร้างอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์เสรีที่ไม่มีวันหายไปได้ ทุกคนสามารถหยิบเนื้อหาไปใช้ทำอะไรก็ได้ นอกจากนี้ลิขสิทธิ์เสรีแปลว่าคนอื่นสามารถแก้ไขงานของคุณได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาข้อมูลไม่สมบูรณ์การที่เราปล่อยให้ทุกคนแก้ข้อเขียนของกันและกันได้ ทำให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์และถูกต้องมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันความเสรีนี้ก็ช่วยเพิ่มความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม (share ownership) ในแง่ที่ว่าพวกเราเป็นกลุ่มคนที่ดูแลเนื้อหาอันนี้ ซึ่งมีคนมากมายที่มีความกระตือรือร้นมาก ๆ ที่จะดูแลเนื้อหาในนั้นเพราะมันเป็นของเราทุกคนร่วมกัน เราสร้างมันขึ้นมาด้วยกัน จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วจะพบว่าเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งานด้าน Knowledge Management นั้นต้องมีบทบาท 3 ด้าน คือ ด้านการสื่อสาร, สนับสนุนการทำงานร่วมกัน, และการจัดเก็บข้อมูล จะเห็นว่าตัว WikiPedia เองนั้นผู้ใช้งานก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่ายไม่ว่าจะผ่านทาง internet หรือ intranet เอง นอกจากนั้นยังเป็นมีการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก จัดเก็บ หรือการสืบค้นข้อมูล ซึ่งในด้านการจัดเก็บข้อมูลนี้ตัว WikiPedia นั้นมีความสามารถสูงทีเดียว

สำหรับผู้สนใจว่า WikiPedia เป็นอย่างไรลองเข้าไปดูได้ในเว็บไซต์ของ WikiPedia ได้นะครับที่ http://wikipedia.org/

ตัวอย่างการนำ WikiPedia มาใช้ในองค์การ

ในองค์กรของผมเองก็มีการนำ WikiPedia มาใช้ในการจัดการ KM เหมือนกันแต่ไม่ได้เป็นการเข้าไปในเว็บของ WikiPedia แล้วใส่บทความลงไปนะครับ แต่เป็นการใช้ตัว Engine ของ WikiPedia ที่มีให้ มาสร้าง KM ขององค์กรขึ้นมาเอง และทางกลุ่มของผม (องค์กรผมแบ่งพนักงานออกเป็น group นะครับ) ก็ได้มีการสร้าง KM ของกลุ่มขึ้นมาเองโดยเฉพาะด้วย ในนี้ผมจะยกตัวอย่างจาก KM ที่กลุ่มผมทำขึ้นมาละกันนะครับ แล้วจะเสริมในส่วนขององค์กรผมนะครับ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็คือใช้ตัวเดียวกันครับ

โดยเราจะใช้ WikiPedia เป็น knowledge base สำหรับเก็บข้อมูล, รูปภาพ, เอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับงาน โดย scope ของ KM ของกลุ่มผมจะอยู่ในรายละเอียดระดับทีม โดยใช้งานร่วมกันในกลุ่ม เมื่อมีข้อมูลใหม่ ๆ ที่ต้องการประกาศให้ทุกคนทราบ หรือมีความรู้อะไรใหม่ ๆ ก็สามารถจัดเก็บลง WikiPedia และส่ง link ไปให้ทุกคนได้

วัตถุประสงค์ก็เพื่อการบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน เช่น ความรู้ใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ปัญหาที่พบในการทำงาน (ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะเมื่อเวลามีปัญหาอย่างเดียวกันก็สามารถเข้ามาสืบค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้เลย ไม่ใช่ว่าต้องรอให้ผู้พัฒนาโปรแกรมหรือผู้ที่เคยแก้ไขปัญหาคนนั้นมาเป็นผู้แก้ไข หรือต้องคอยมาหาวิธีแก้ปัญหาเดิม ๆ บ่อย ๆ) หรือรายละเอียดของ projects ต่าง ๆ โดยใช้จุดเด่นของระบบ Wiki ที่สามารถให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในบทความ ทำให้เสมือนทุกคนมาช่วยกันแบ่งปันความรู้ที่มีให้กับผู้อื่นในทีมหรือในองค์กร เป็นส่วนกลางที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งแบบ Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge ทำให้ความรู้ไม่สูญหายไป

โดยที่การจะใช้งาน WikiPedia ให้ไปโหลดตัว Engine จากเว็บไซต์ของ WikiPedia (http://mediawiki.org/)  เมื่อเราได้ Engine ของ WikiPedia มาแล้วก็ให้เราลงตัว Engine ในเครื่อง Server ที่จะใช้เป็นตัว Knowledge Management Server ซึ่งในส่วนของฐานข้อมูลต้องใช้ MySQL เป็นฐานข้อมูล เมื่อลงตัว Wiki เรียบร้อยแล้ว เครื่อง Server จะมี engine และฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดเก็บและสืบค้นความรู้ต่าง ๆ จากนั้นเวลาใช้งานไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความรู้ใหม่ ๆ แก้ไขความรู้เก่าให้สมบูรณ์มากขึ้น หรือการเข้าไปศึกษาบทความที่มีอยู่ในระบบ พนักงานในองค์การก็สามารถเข้าถึงฐานความรู้ของบริษัทได้โดยผ่านการใช้ intranet ในองค์การ ทำให้ความรู้ของพนักงานคนหนึ่งถ่ายทอดให้แก่พนักงานคนอื่น ๆ ได้โดยง่ายและจะศึกษาเมื่อไรก็ทำได้ทุกที่ทุกเวลา และจากคุณสมบัติของ WikiPedia ที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ทำให้บทความที่มีผู้ใดเขียนแล้ว ผู้อื่นที่เห็นว่ายังไม่สมบูรณ์ก็สามารถเข้ามาต่อเติมหรือแก้ไขได้ด้วย ทำให้ได้ข้อมูลที่ความสมบูรณ์มากที่สุด

ข้อดี ปัญหา และการวิเคราะห์ผลที่ได้

ผลที่ได้จากการที่องค์การของผมนำ WikiPedia มาใช้กับ KM ขององค์กร ทำให้พนักงานมีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทำให้ผลลัพธ์จากการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเรื่องปัญหาที่พบ รายละเอียดโปรเจ็คต่าง ๆ และเป็นแหล่งกระจายข่าวในบริษัทได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ก็อยู่ในระบบฐานข้อมูลที่จะไม่สูญหายไปโดยง่าย หรือหายไปเมื่อพนักงานลาออกจากบริษัท และยังมีการจัดหมวดหมู่องค์ความต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่เรียบร้อยอีกด้วย

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือการพยายามสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนในองค์กรรู้สึกเป็นส่วนร่วมในการพัฒนา Knowledge ในองค์กร (ซึ่งผมคาดว่าหลาย ๆ บริษัทก็คงประสบปัญหาเดียวกัน) เพราะในตอนนี้ก็ยังคงมีพนักงานไม่มากนักที่จะเข้ามามีส่วนร่วมใน KM ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม แก้ไข หรือการศึกษาบทความก็ดี ไม่ว่าจะเป็นเพราะงานยุ่ง หรือการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ประสบผลสำเร็จ

ผู้อ่านคงเห็นแล้วว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้งานในการช่วยจัดการความรู้ในองค์กรนั้น มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งยิ่งเทคโนโลยีมีความสามารถสูงและมีประสิทธิภาพมากเพียงใด ก็ยิ่งอำนวยความสะดวกและจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น ดัง WiKi ที่นำเสนอ มีความสามารถสูงมากในการทำงานด้านนี้ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วผลที่ได้น่าจะประสบความสำเร็จในการทำเรื่องของ Knowledge Management ในบริษัท แต่ว่ามันก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น

นั่นก็จะไปตรงกับที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าปัญหาสำคัญของ KM นั่นก็คือต่อให้มีเทคโนโลยีดีแค่ไหน ความรู้ดีสมบูรณ์ละเอียดแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีคนเข้าไปร่วมใช้งาน ไม่ว่าจะไปศึกษาหรือไปเพิ่มองค์ความรู้เข้าสู่ระบบ ระบบ KM ก็จะไม่มีทางประสบผลสำเร็จเป็นแน่แท้ครับ


ปล. ขอบคุณน้องวีรศักดิ์ วงศ์พันกมล (นุ) ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ WikiPedia และการนำมาใช้งานในทีม (น้องเค้าเป็นคนดูแล KM ของกลุ่มอยู่ครับ)

 Referent : http://wikipedia.org/

                http://mediawiki.org/


 นายอนวัทย์ ปันเต (คิม)

คำสำคัญ (Tags): #technology#knowledge management#km
หมายเลขบันทึก: 115958เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

พระเจ้ายอดดด ..........

สุดยอดจิงๆเลยยยยยย

KM ของทีม อยู่ที่ไหนหรออ เหอ..ๆ

 ไม่เคยได้เปิดเลยอ่ะ

พี่นพครับ ก็อยู่ในเครื่อง server ไงครับ ว่าง ๆ ลองเข้าไปดูนะครับ น้อง ๆ เค้าอัพข้อมูลขึ้นไปพอสมควรแล้วครับ

อย่างที่บอกนะครับว่าเทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือ แต่สิ่งที่สำคัญคือเรื่องของความสนใจของตัวบุคคล ซึ่งเราต้องสร้างตรงนี้ให้ได้ แต่คนที่ไม่ได้เข้าไปแลกเปลี่ยนความรู้ก็ไม่ได้หมายความว่าเค้าไม่สนใจ แต่อาจเป็นเพราะว่าไม่มีเวลาก็ได้ หรืออาจมีเหตุผลอื่น ๆ อีก อย่างพี่นพเองผมก็เห็นว่าพี่วุ่นทั้งวัน แต่ถ้าว่าง ๆ ก็ลองเข้าไปดูนะครับ

 ปล. พอดีคิมแนะนำพี่ ๆ และเพื่อน ๆ ที่ออฟฟิสให้รู้จัก Gotoknow ของเรา นะครับ เพราะว่าพวกพี่เค้ากำลังสนใจด้านนี้กันอยู่พอดี หวังว่าคงทำให้บล็อกของพวกเรามีสีสันขึ้นนะครับ

citrus say:

คิมคะ ดีมากค่ะที่ share ให้คนอื่นเข้ามาอ่านและให้ความเห็น

อย่าลืมกลับไปดูขอบเขตของการทำรายงานนี้ พี่คิดว่ายังไม่ครบประเด็น นะคะ

 ขอบคุณค่ะที่นำมาแชร์กันอ่าน พอดีทำหัวข้อ Peer Assist ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งของ KM เหมือนกัน ยังไงเข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นได้นะคะ สำหรับเรื่องนี้ อยากได้ case study น่ะค่ะ ไม่ทราบว่ามีหรือเปล่า ไม่แน่ใจว่าหาข้อมูลต่างๆเหล่านี้มาจากไหนบ้างนะคะ แต่ที่ค้นคว้าข้อมูลการทำรายงานตัวเอง เจอเล่มนึงชื่อ "สร้างองค์กรอัจฉริยะในยุคโลกาภิวัฒน์ " จะมีบทหนึ่งที่เกี่ยวข้องตรงเลย คือ เทคโนโลยีเพื่อการสนับสนุน Knowledge Management ถ้าสนใจจะหาข้อมูลเพิ่ม ก็ลองไปหาเล่มนี้อ่านได้นะคะ คิดว่าน่าสนใจทีเดียวค่ะ แล้วจะมาติดตามอ่านรายงานฉบับสมบูรณ์นะคะ :-)

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการความรู้ จะมีประโยชน์ต่อองค์การมาก เพราะสามารถสร้าง database เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากได้ นอกจากนี้ยังทำให้ความรู้ถูกจัดเป็นหมวดหมู่ สามารถค้นหาได้ง่าย เนื่องจากมีหลายช่องทางในการ access ข้อมูล แต่ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์เรื่องการจัดการความรู้โดยใช้เทคโนโลยีให้พนักงานทราบด้วยนะคะ จะได้มีพนักงานงานเข้ามาใช้บริการ และร่วม share ความรู้กันอย่างแพร่หลาย ไม่จำกัดอยู่ในแวดวงของคนกล่มใดกลุ่มหนึ่ง และจะทำให้ข้อมูลใน database กลายเป็นศูนย์รวมข้อมูลอย่างแท้จริงค่ะ

สุโรจน์ สุทธิตันตยาภรณ์ ( บอย )
หวัดดี คิมสำหรับ KM กับ Technology เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก สำหรับองค์กรที่มีการจัดทำ KM เนื่องจากการนำ Technology เข้ามาช่วยจะทำให้การจัดการความรู้สามารถตอบสนองทั้ง ผู้ที่ต้องการความรู้ และผู้ที่ต้องการ Share ความรู้ได้ทันเวลา และยังทำให้ผู้ที่ดูแลระบบ KM สามารถจัดการกับความรู้เหล่านี้ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันองค์กรต่างๆ พนักงานจะมีทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างดี ซึ่งจะสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แต่เราก็ไม่ควรมองข้ามพนักงานที่มีอาวุโส ซึ่งคนกลุ่มนี้มีประสบการณ์มาก ซึ่งก็จะมีความรู้ต่างๆมากเช่นกัน แต่มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์น้อย เราจึงควรมีวิธีการจัดการความรู้ของคนกลุ่มนี้ไว้ด้วย

คิมสามารถนำความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่ตัวเองชำนาญมาประยุกต็ใช้ได้ดีมากเลยค่ะ แต่ดูเหมือนยังขาดวิธีการที่จะจูงใจให้คนเข้าไปสู่กระบวนการนี้นะคะ ลองดูกรณีตัวอย่างที่เคยทำมีบ้างไหมคะ

อุไรวรรณ ทองเจริญ IO ค่ะ

โบว์ พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก

หวัดดีค่า พี่คิม

เรื่องการจูงใจนี่โบว์เห็นด้วยกะพี่อุเลยนะคะ ในฐานะคนที่จบ Com Sci มาเหมือนกัน จึงอยากถามว่า หากเกิดปัญหาคนไม่เข้ามาดู หรือไม่รู้ว่ามีความรู้อยู่ตรงนี้ พี่(หรือบริษัทพี่ก็ได้คะ)จะมีวิธีจัดการอย่างไร เพราะหากความรู้จะมีมากมาย และดีเยี่ยมอย่างไร แต่ถ้าขาดคนสนใจแล้วมันก็จะกลายเป็นเพียงข้อมูลที่เก็บอยู่ใน Memory รอวันลบออกไปเท่านั้นเอง จริงมั๊ยคะ ถ้ายังไงเดี๋ยวจะรอพี่คิมกลับมา Update แล้วกันนะคะ จะกลับมาอ่านเรื่อยๆค่าาาา

 Jubb Jubb

กขค.

 ปล.โบว์ขอโทษด้วยที่ทำ Blog ขึ้นหลังพี่คิม อิอิ

สำหรับKM มันช่วยป้องกันภาวะสมองไหลขององค์กรด้วยอ่ะคับ

เจ๋งมากคับพี่

 ปล.น้องต้องทให้เสร็จสมบูรณ์บ้างแล้ว

เป็นคนสุดท้ายของวัน เหอๆๆๆ

ไปละ คิด(ว่าจะ)ถึงนะคับ

ตอบคุณปอม

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำเรื่องหนังสือนะครับ สำหรับ case ผมลงให้แล้วนะครับ ลองอ่านเพิ่มดูนะครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์บ้าง

 

ตอบคุณภู่

เป็นอย่างที่ภู่ว่านะครับ และสิ่งสำคัญของการทำให้ KM ประสบผลสำเร็จก็คือการให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันทุกคนและเล็งเห็นถึงประโยชน์ของมันนะครับ ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นที่เอามาแชร์กัน

 

ตอบพี่บอย

สำหรับพี่บอยอันนี้ทางบริษัทคิมไม่มีปัญหาเพราะว่าเป็นบริษัทซอฟต์แวร์อยู่แล้วทุกคนจึงต้องมีพื้นฐานด้านนี้ แต่ถ้าถามคิมถึงปัญหาเรื่องพนักงานอาวุโสที่อาจมีปัญหาด้านการใช้คอมพิวเตอร์ เราอาจมีการจัดอบรมการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มเติมก็น่าจะเพียงพอนะครับ เพราะว่าเดี๋ยวนี้คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นเยอะ อย่าง WikiPedia เองก็สามารถใช้งานได้ง่ายมาก ๆ เลยครับ

 

ตอบพี่อุ

เรื่องการจูงใจนี่คือปัญหาสำคัญเลยครับพี่อุ ตอนนี้กลุ่มคิมก็เจอปัญหานี้อยู่ แต่ว่าทางบริษัทคิมหรือกลุ่มคิมยังดีเพราะว่าทุกคนตระหนักว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานของสายอาชีพคิมและต้องกระตือรือร้นตลอดเวลา แต่ปัญหาก็ยังอยู่ตรงที่ทุกคนมีงานเต็ม schedule ไม่ค่อยมีเวลาอ่ะครับ ถ้ายังไงเรื่องการจูงใจ พี่บอยอาจมีคำตอบมากกว่าของคิมนะครับ เพราะว่าเรื่องที่คิมเขียนจะออกแนวด้าน technique ครับ แต่ถ้าคิมได้เรื่องยังไงจะมาบอกนะครับ

 

ตอบน้องโบ

อันนี้ขอตอบเหมือนพี่อุละกันนะอ่านดูนะครับ

 

ตอบน้องออมผู้น่ารัก

ขอบคุณสำหรับความเห็นที่มาแชร์ เห็นด้วยเลยกับการแก้ปัญหาสมองไหล เป็นการป้องกันที่ดีทีเดียวครับ

 

ท้ายนี้ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาแชร์ความคิดเห็นกันนะครับ แล้วเด๋วจะเอาบทวิเคราะห์มาให้อ่านกันนะครับ หวังว่าคงมีคนเข้ามาอ่านและคอมเมนต์กันต่อนะครับ

คิมฮะ

ดูเหมือนปัญหาจะอยู่ที่การประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์กรรับทราบนะคะว่ามีKMของบริษัท บริษัทได้มีก่รประชาสัมพันธ์ให้พนักงานทราบหรือไม่เพราะดูจากcommentบางทีบริษัทยังไม่รู้เลยว่ามันมีอะ

พัฑ

ตอนนี้บริษัทกำลังดำเนินการจัดทำระบบการจัดการความรู้ (KM)อยู่พอดี แต่ก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง อย่างไรก็ตามเห็นด้วยกับบทความนี้ค่ะ ว่าการดำเนินการจัดการความรู้นั้น เทคโนโลยีมีบทบาท มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะเอื้อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน

ดีใจที่มีบทความดีดีแบบนี้ค่ะ

บังเอิญว่าหัวข้อที่เราเขียนก็เชื่อมโยงกับเรื่องนี้ด้วยค่ะ ก็เห็นว่าการจัดการความรู้ในองค์การนั้นต้องพึ่งพา Technology มากๆ เลยโดยเฉพาะในองค์การขนาดใหญ่ เรื่องของน้องคิมดีจังค่ะมีมีตัวอย่างจากองค์การของตัวเอง 

สงสัยนิดนึง หน้าเวปของ wikipedia ที่บ.น้องคิม เป็นหน้าเดียวกันกับเวลาบุคคลภายนอกเข้าไปดูเองหรือเปล่าคะ 

แป๋ม

ดี คิม

เพราะทุกคน ไม่อาจเก่งได้ทุกเรื่อง

 

เราจึงต้องช่วยกันรวมข้อมูลที่ตัวเองเก่งหรือชำนาญมาแชร์กัน ให้คนในองค์กรกัน

แต่บางทีถ้าไม่แรงจูงใจ มันก็อาจมีการ กั๊ก เกิดขึ้นได้อยู่ ซึ่งก็ตรวจสอบได้อยากนิดนึง การนำ WiKi มาใช้รวมข้อมูล KM แปลกและดีมากๆ เลยสิ่งที่คนในกลุ่มสนใจเหมือนกัน จะได้หาง่ายขึ้นด้วยเนอะ

 คิม

จากนอยามที่ให้มา "เป็นการจัดการกับองค์ความรู้เก่า หรือความรู้ที่อยู่ในพนักงานบางคน (Personal knowledge) บางกลุ่มในองค์กร ให้สามารถนำมาใช้ได้ทั่วทั้งองค์กร (Organizational knowledge)"

 พี่คิดว่าทางบริษัทน่าจะรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ที่เกิดจากประสบการณ์ การลองผิดลองถูก ในการทำงานมาประมวลไว้นะ มันน่าจะเป็นหัวใจของKM

บรษัทที่พี่อยู่นี่ เข้าจะมีการจัดเวทีTechniacal Meeting ทุกปี เพื่อเป็นการประกวด และ นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดในการทำงาน การเผยแพร่องค์ความรู้มีทั้ง ตีพิมพ์ CD และ Protal จ๊ะ

พี่บุป

 

ตอบความคิดเห็นนะครับ

พี่แป๋ม

ตัว wikipedia ของบริษัทกับของ wikipedia ที่เป็นตัวเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตเป็นคนละตัวกันนะครับ แต่ว่าถ้าถามว่าหน้าตาเหมือนกันหรือไม่คือคล้าย ๆ กันครับเพราะเราเอา engine เค้ามาแต่ว่า อย่างที่บอกครับมันคือคนละตัวกันครับ ตัววิกิของบริษัทคนภายนอกเข้าไม่ได้นะครับ

ต้องชาย

ถามถึงเรื่องกั๊ก อันนี้ต่อให้มีการจูงใจแค่ไหนถ้าเกิดคนคิดจะกั๊กเค้าก็ใส่ข้อมูลแบบกั๊ก ๆ อยู่ดีนะครับ การจูงใจคนพวกนี้ทำได้ลำบากเพราะเค้าไม่มีความจริงใจในการจะแบ่งปันความรู้ให้คนอื่นตั้งแต่ต้น ซึ่งคิมเชื่อว่าในโลกนี้คนเรารักกันและเอื้อเฟื้อกัน คงไม่มีคนเห็นแก่ตัวขนาดนั้นหรอกครับ

พี่บุป

KM คือการจัดการความรู้เก่าจากพนักงานต่าง ๆ มาเก็บรวบรวมไว้ แต่ว่าการรวบรวมความรู้ต่าง ๆ นั้นก็เป็นอย่างที่พี่บุปว่าไว้ครับ นั่นคือเป็นการใส่ประสบการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการใส่ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาครับ ส่วนเรื่องของการจัด techniacal meeting ของบริษัทพี่น่าสนใจมาก ๆ เลยครับ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเลย น่าจะทำให้ KM ประสบผลสำเร็จมากขึ้นนะครับ

อาจารย์ส้มครับ

ในเรื่องของการวิเคราะห์เนื้อหาและการใช้งานนั้น คิมไม่แยกออกมาเขียนเป็นหัวข้อต่างหากไม่ได้อ่ะครับ แต่ว่าตลอดที่เขียนมานอกจากจะมีเนื้อหาแล้วคิมก็ได้แทรกบทวิเคราะห์ของคิมเองลงไปตลอดอ่ะครับ

ชัยยุทธ (ปิค) กลีบบัว

สวัสดีพี่คิม

เรื่อง KM นี้บล็อกนี้มีคนเขียนเยอะเหมือนกันนะครับน่าเอามารวมกันหรือลิงค์ไว้เชื่อมกันเลย เรื่องที่พี่คิมเอามาเขียนบทความนี้ก็เป็นอีกแง่หนึ่งของการทำ KM ซึ่งดีครับได้อ่านเรื่องนี้หลายๆแนวดีในบล็อกนี้........แต่เรื่องเทคโนโลยีนี่ก็น่าจะประยุกต์ให้จูงใจคนเข้ามาแชร์ความรู้ได้นอกจากเอาใช้ในเรื่องให้ความสะดวก หรือใช้ง่าย ในความคิดนะคิดว่าน่าจะเอามาขึ้นป๊อบอัพเวลาจะเปิดเครื่องว่ามีข้อมูลอะไรอัพมั้งหรือข้อมูลที่สนใจแล้วเค้าสนใจติดตามก็มีป๊อบอัพขึ้นว่าเรื่องนั้นมีข้อมูลใหม่ หรือประยุกต์ใช้ SMS กับ KM เหมือนข่าวที่เค้าส่ง SMS กันอยู่ ไม่รู้ว่ามันเป็นไปได้แค่ไหนหรอกนะ ลองคิดดูเล่นๆอะ แต่มันน่าใช้เทคโนโลยีมาจูงใจในการทำ KM และถ้าทำให้KM ลงมือถือได้ก็จะดีนะ ตอบรับ lifestyle ของคนรุ่นใหม่ได้ด้วย ....ไม่รู้จะเม้นเรื่องไรอะนะเพราะก็เหมือนคนบนๆแหละ 5555+

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆที่นำมาแบ่งปัน

น้องคิมครับ

พี่ต่ายว่าเนื้อความมันวนๆนิดๆนะ ลองเรียบเรียงอีกนิด โดยเขียนเป็น step รับรองว่ามันต้องเพอร์เฟ็กแน่ๆเลย พี่เชื่อว่าคิมทำได้

 สู้ๆ นะคะ พี่สาวเอาใจช่วย

^_^

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆค่ะ  อ่านของพี่คิมแล้วได้อารมณ์แปลกไปอีกแบบ  ไม่เหมือนแนว HRD ของคนอื่นๆเลย  เท่าที่อ่านมานะคะ   ออกแนววิธีการเทคนิคมากเลย  ไอ้คนอย่างเราก้อเลยมึนๆ555

นันทน์

หวัดดี น้องคิมขอบคุณมากที่ทำเรื่องดีๆให้อ่านกันนะก็ตอนนี้พี่งุนงง อ่ะว่าE learning กับ Technology KM เนี่ยมันให้ผลลัพธ์ต่างกันมากหรือเปล่า แล้วการนำไปใช้ถ้าผสมผสานกันจะได้หรือเปล่า ดีกว่ามั้ย คิมมีตัวอย่างที่ไม่ได้นำเอา Technoไปใช้ในองค์กรที่ไม่ได้เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพวกโปรแกรมอะไรทำนองนี้มีมั้ย เป็นบริษัทที่ธรรมดาอาจจะประกอบกิจการทั่วไป จะสามารถเชื่อมโยงการใช้โปรแกรมนี้แบบใดบ้างอ่ะ เผื่อพี่จะเอาไปใช้ที่องค์กรพี่บ้างเพราะก็เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเทคนิคเยอะเหมือนกัน จะรอดูกรณีเพิ่เติมนะ แต่ถ้าคิดว่ามีความเห็นอะไรก็ตอบพี่มาได้

:เพื่อนสนิทคิดไม่ซื่อ5555:

 

เห็นด้วยกับพี่คิมค่ะที่ว่า

"นั่นก็จะไปตรงกับที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าปัญหาสำคัญของ KM นั่นก็คือต่อให้มีเทคโนโลยีดีแค่ไหน ความรู้ดีสมบูรณ์ละเอียดแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีคนเข้าไปร่วมใช้งาน ไม่ว่าจะไปศึกษาหรือไปเพิ่มองค์ความรู้เข้าสู่ระบบ ระบบ KM ก็จะไม่มีทางประสบผลสำเร็จเป็นแน่แท้ครับ "

นั่นเป็นสาเหตุที่เราต้องมาเรียนรู้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรมยังไงหละค่ะ  ไม่ว่าเทคโนโลยีจะรุดหน้าแค่ไหน แต่ปราศจากคนที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีก็อาจเป็นได้แค่ของเล่นชิ้นหนึ่งของยุคโลกาภิวัฒน์เท่านั้นก็ได้ค่ะ

เบญ เบญญาลักษณ์ ศรลัมพ์

เห็นด้วยกับพี่คิมนะคะที่ว่า

นั่นก็จะไปตรงกับที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าปัญหาสำคัญของ KM นั่นก็คือต่อให้มีเทคโนโลยีดีแค่ไหน ความรู้ดีสมบูรณ์ละเอียดแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีคนเข้าไปร่วมใช้งาน ไม่ว่าจะไปศึกษาหรือไปเพิ่มองค์ความรู้เข้าสู่ระบบ ระบบ KM ก็จะไม่มีทางประสบผลสำเร็จเป็นแน่แท้ครับ”นั่นเป็นสาเหตุที่เราต้องมาเรียนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรมอย่างไรหละคะไม่ว่าเทคโนโลยีจะรุดหน้าเพียงใด คนก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาที่สมบูรณ์ หากปราศจากคนที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพอันเกิดจากการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีก็คงเป็นแค่เพียงของเล่นแห่งยุคโลกาภิวัตน์เท่านั้นเอง

ชอบเรื่องนี้มากเลยคิม

เพราะอย่างที่ทำงานพี่นะ เห็นภาพเดียวกับที่คิมยกมาเป๊ะเลย "นั่นก็คือต่อให้มีเทคโนโลยีดีแค่ไหน ความรู้ดีสมบูรณ์ละเอียดแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีคนเข้าไปร่วมใช้งาน ไม่ว่าจะไปศึกษาหรือไปเพิ่มองค์ความรู้เข้าสู่ระบบ ระบบ KM ก็จะไม่มีทางประสบผลสำเร็จเป็นแน่แท้ครับ"

จะลองเอาไปคิดปรับปรุงกับที่ทำงานนะจ๊ะ

ที่ทำงานมีให้พนักงานเข้าไปศึกษาหาความรู้จาก KM โดยผ่าน Technology  หลากหลาย จนบางครั้งรู้สึกว่า Knowledge มีให้เยอะมากเกินไป ทำให้สับสนสลับกันไปมาในบางเรื่อง เพราะมีเนื้อหาที่เยอะมากบางครั้งก็สับสน มีวิธีการหรือทฤษฎีใดบ้างไหมคะที่เอื้อนเอ่ยถึงปริมาณการ KM ที่เหมาะสมบ้างไหมคะ

บุษบงค์ (ยิน : ปี 2)

ถึงน้องคิม.............FARMHOUSE เรื่องนี้คิมจับมาเชื่อมโยงได้ดีค่ะ

พี่เอ๋

  • แอบเห็นด้วยกับคิมเหมือนน้องนิวค่ะ....นั่นก็คือต่อให้มีเทคโนโลยีดีแค่ไหน ความรู้ดีสมบูรณ์ละเอียดแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีคนเข้าไปร่วมใช้งาน ไม่ว่าจะไปศึกษาหรือไปเพิ่มองค์ความรู้เข้าสู่ระบบ ระบบ KM ก็จะไม่มีทางประสบผลสำเร็จเป็นแน่แท้ครับ" (ลอกๆๆ555)
  • ที่ทำงานของเพื่อนๆพี่ๆน้องๆคนอื่นๆมีใครนำKMมาใช้บ้างยังคะ อยากเห็นตัวอย่างเพิ่มอีกค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ พอดีกำลังทำเรื่อง เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการความรู้ ใช้ประโยชน์ได้ดีทีเดียวค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท