พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พศ. 2545


Critical Issues of HRD - โดยนายอรรณพ ผลแจ้ง รหัส 507 83260 38

                   

                   

                    ด้วยวัตถุประสงค์ พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พศ. 2545 มีขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบการภาคเอกชน(ที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป) มีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มากยิ่งขึ้น โดยการใช้มาตราการจูงใจ ด้านการยกเว้นและลดหย่อนภาษีอากร รวมทั้งการให้สิทธิและประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยปรับปรุงสิทธิและประโยชน์ในกรณีที่นายจ้างและสถานประกอบการดำเนินการฝึกอบรมแรงงานให้กับลูกจ้างของตนเองให้มีความเหมาะสมและเพิ่มมากขึ้น               

                   ดังนั้นในการจัดอบรมเพื่อพัฒนาพนักงาน ฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ และกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ให้เหมาะสมกับ พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545  รวมถึงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง                

                    โดยในการบังคับใช้ พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 นั้นได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฏีกา เล่ม 119 ตอนที่ 98/1ก วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546 ซึ่งในสาระสำคัญของพรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 มีแบ่งออกเป็น 3 หมวดหมู่คือ การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน, การฝึกเตรียมเข้าทำงาน และการฝึกเปลี่ยนสาขาวิชาชีพ  ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนขอยกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงาน Human Resource Development โดยตรงคือ การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน

                    ซึ่งประเด็นที่สำคัญของ พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ได้อธิบายเกี่ยวกับการได้สิทธิลดหย่อนภาษีอากรได้เป็นกรณีพิเศษ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกรณีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน  ตามพระราชกฤษฏีกาที่ออกตามประมวลรัษฏากร โดยฝ่ายสถานประกอบการจะต้องมีการจัดอมรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งมีหลักเกณฑ์รายละเอียดโดยย่อดังนี้คือ

·        การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน โดยกรณีส่งไปฝึกกับสถานศึกษา/สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน และกรณีจัดฝึกเอง/จ้างจัดฝึก

1.        ระยะเวลาในการดำเนินการนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ

2.       หลักสูตรที่จัดขึ้นต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นตามสาขาอาชีพที่ลูกจ้างนั้นปฎิบัติงานอยู่ตามปกติหรือสาขาอาชีพอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากลักษณะงานที่ปฎิบัติอยู่ตามปกติ

3.       เนื้อหาวิชาหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการของสถานประกอบกิจการนั้นหรือเพื่อประโยชน์ต่อลูกจ้างที่จะพัฒนา ไปสู่การทำงานในสาขาอาชีพอื่นเพิ่มเติมได้

4.       ระยะเวลาในการฝึกอบรมต้องสอดคล้องกับหลักสูตร และระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

5.        จำนวนผู้รับการฝึกต้องไม่เกินกลุ่มละ 50 คน

6.       สถานประกอบการต้องจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของลูกจ้างทั้งหมด (โดยไม่นับซ้ำหัว) เช่น บริษัท A จำกัด มีลูกจ้างจำนวน 500 คน ดังนั้นบริษัท A จำกัด ต้องดำเนินฝึกอบรมให้กับพนักงานในบริษัทอย่างน้อย 250 คน (โดยไม่นับซ้ำหัว)

7.        ในขั้นตอนดำเนินการขอสิทธิลดหย่อนภาษีอากรได้เป็นกรณีพิเศษ สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในการจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานของสถานประกอบการนั้นๆ ต้องปฏิบัติและดำเนินการตามขั้นตอนที่ทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้กำหนดไว้ตามคู่มือพรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

8.        บทลงโทษในกรณีที่สถานประกอบการไม่ปฏิบัติตามพรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 สถานประกอบการนั้นๆ ต้องจ่ายค่าปรับตามจำนวน 3,990 บาทต่อคน เพื่อสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

ดังตัวอย่างเช่น บริษัท A จำกัด มีลูกจ้างจำนวน 500 คน หากบริษัท A จำกัด ดำเนินฝึกอบรมให้กับพนักงานในบริษัทแค่เพียง 200 คน ซึ่งจำนวนดังกล่าวไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด ดังนั้นบริษัท A จำกัดต้องจ่ายค่าปรับโดยนับจำนวนลูกจ้างที่ขาดไปโดยเป็นจำนวนเงินดังนี้คือ : 50(คน) X 3,990(บาท) = 199,500บาท

                    ดังที่กล่าวไว้ตอนต้นเกี่ยวกับ พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545  ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานประการภาคเอกชนที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ซึ่งต้องปฏิบัติและดำเนินการอย่างเคร่งครัด ซึ่งจากข้อมูลที่ผู้เขียนได้ศึกษามานั้นสามารถสรุปจำนวนสถานประกอบการ และจำนวนแรงงานต่างๆ ได้ดังตาราง (โดยอ้างอิงจากข้อมูลสำนักงานประกันสังคม พ.ศ. 2548)

ประเภทสถานประกอบการ

สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป   สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป
จำนวน   จำนวน
สถานประกอบการ แรงงาน   สถานประกอบการ แรงงาน
สถานประกอบการ : ทั่วประเทศไทย 362,559 8,225,477   13,333 4,855,153
สถานประกอบการ : กรุงเทพมหานคร 135,963 2,884,459   4,451 1,596,477

                     ตารางแสดงการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนสถานประกอบการและจำนวนแรงงาน ในกรณีที่มีสถานประกอบการมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และสถานประกอบการมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป               

                    ซึ่งจากตารางพบว่าจำนวนสถานประกอบการทั่วประเทศไทยที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน มีเพียงร้อยละ 3.68 เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนสถานประกอบการทั่วประเทศไทยที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป  แต่ในทางกลับกันจำนวนแรงงานของสถานประกอบการทั่วประเทศไทยที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนมีร้อยละ 59.03 เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนแรงงานของสถานประกอบการทั่วประเทศไทยที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

                    นอกจากนี้จำนวนสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน มีเพียงร้อยละ 3.27 เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป  และจำนวนแรงงานของสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนมีร้อยละ 55.35 เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนแรงงานของสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

                    จากข้อมูลดังกล่าวที่ผู้เขียนได้นำเสนอนั้น จะเห็นได้ว่าพรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 นั้นมีความตั้งใจและพยายามในการที่จะช่วยเหลือให้แรงงานในประเทศไทยได้รับการพัฒนา ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์กับสถานประกอบการนั้นๆ แล้ว ยังเป็นการยกระดับแรงงานในประเทศไทยให้มีศักยภาพ และมีความทัดเทียบกับแรง....งานในประเทศต่างๆ

ดังนั้นหากมองในมุมมองของกระทรวงแรงงาน หรือในฐานะฝ่ายวางแผนนโยบายในการออก พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 นั้น วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ดีในการที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาแรงงานในประเทศไทยขึ้น อย่างน้อยซึ่งก็เป็นการลดภาวะการเอารัดเอาเปรียบที่นายจ้างมีต่อลูกจ้าง รวมถึงการสร้างคุณค่าต่อตัวแรงงาน และส่งผลดีต่อภาพรวมของเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน หากแต่เพียงว่าจุดอ่อนของพรบ. พัฒนาฝฝีมือแรงงาน 2545 นี้ มีผลบังคับใช้แค่องค์กรที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปเท่านั้น นั่นก็หมายความว่า หากองค์กรใดที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 100 คน การพัฒนาลูกจ้างขององค์กรนั้นๆ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ก็เพียงแค่ขึ้นอยู่กับนายจ้าง...

ส่วนในมุมมองของฝ่ายสถานประกอบการ หรือฝ่ายนายจ้าง หรือฝ่ายปฎิบัตินั้นนอกจากจะเป็นการโดนบังคับโดยผ่านพระราชบัญญัติแล้ว สถานประกอบการต่างๆต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆที่ทางกระทรวงแรงงานได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เช่น แบบฟอร์มต่างๆที่มีมากกว่า 20 แบบฟอร์ม ที่เกี่ยวข้องกับ พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 นี้ นอกจากนี้รายละเอียดต่างๆในแบบฟอร์ม ยังคงต้องกรอกให้ครบสมบูรณ์ทั้งหมด เช่น เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน คำนำหน้าชื่อ รายละเอียดข้อมูลต่างๆ ฯลฯ นั่นก็แสดงให้เห็นว่าหากองค์กรใดที่ยังไม่มีระบบในการจัดเก็บข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้แล้ว ย่อมหมายถึงภาระหน้าที่ของฝ่ายนายจ้าง โดยเฉพาะฝ่ายทรัพยากรบุคคลในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ส่งให้กับทางกระทรวงแรงงาน

ซึ่งแต่หากมองในอีกมุม พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ก็เปรียบเสมือนหลักประกันขั้นพื้นฐานอันหนึ่ง ที่ลูกจ้างจะได้รับการพัฒนาโดยผ่านการอบรมในเรื่องต่างๆ โดยสถานประกอบการนั้นๆ อย่างน้อยก็เพื่อเป็นการสร้างคุณค่าให้กับแรงงาน สร้างคุณค่าให้กับผลผลิต และสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจไทยครับ

  ***************************************************************************     

ข้อมูลอ้างอิง

: สาระสำคัญ พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

: The Summary of Social Security Statistics 2005

: สำนักงานประกันสังคม (www.sso.go.th)

: กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน: กระทรวงแรงงาน

หมายเลขบันทึก: 115785เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2007 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

ขออภัยผู้อ่านทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

เกิดความผิดพลาดในเรื่องการจัดวางข้อความ เนื่อจาผมได้เขียนในMS. Word และ copy มาวางอีกที จึงเป็นสาเหตุทำให้การจัดวางข้อความเลยดูแปลกตาออกไปครับ

จึงขออภัยมาณ ที่นี้ด้วยครับ

อรรณพ

citrus say:

แวะมาดูหลายรอบแล้ว รออ่านฉบับปรับหน้าตาอยู่ค่ะ

ได้ปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อยแล้วครับ

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจนะคะ สามารถนำกฎหมายมาเชื่อมโยงกับ HRD ได้ ^O^ รบกวนขอตัวอย่างของหลักสูตรของการฝึกอบรมด้วยได้ไหมคะ พอดีอยากทราบว่า กิจการประเภทไหนควรได้รับการฝึกอบรมในเรื่องอะไรถึงจะสอดคล้องตามกฎหมายค่ะ

คำถาม:

อยากทราบว่า กิจการประเภทไหนควรได้รับการฝึกอบรมในเรื่องอะไรถึงจะสอดคล้องตามกฎหมายค่ะ

คำตอบ:

จริงๆแล้วการที่นายจ้างหรือสถานประกอบการจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานหรือลูกจ้างของตนเองนั้นสามารถอบรมในเรื่องอะไรก็ได้ครับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทธุรกิจของนายจ้างนั้น แต่เพียงให้การอบรมนั้นๆ มีวัตถุประสงค์ในการจัดขึ้นเพื่อ

1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน หรือ

2. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน หรือ

3. การฝึกเปลี่ยนสาขาวิชาชีพ

และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอื่นๆที่ทาง พรบ. ได้กำหนดไว้ครับเช่น จำนวนชั่วโมง, จำนวนผู้เข้ารับการอบรม ฯลฯ

ขอบคุณครับสำหรับคำถาม

น่าสนใจดีค่ะ เป็นเรื่องที่ควรรู้ อยากดูวิธีการนำมาใช้กับหลักสูตรจริงๆ ค่ะ ที่บริษัทของโน๊ต มีตัวอย่างวิธีการทำบ้างไหมคะ

อุไรวรรณ ทองเจริญ ค่ะ

เป็นหัวข้อที่แหวกแนวดีค่ะ นำกฎหมายเข้ามาจับกับ HRD อยากเห็นตัวอย่างหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานน่ะค่ะ การออกแบบคร่าวๆ วัตถุประสงค์ จำนวนพนักงาน ระยะเวลา ฯลฯ ที่หลักสูตรนี้ปฎิบัติได้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้น่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ :-)

ขอบคุณครับสำหรับคำถาม...

โดยปกติทั่วไปในการจัดหลักสูตรอบรมให้กับพนักงานภายในบริษัทนั้นเชื่อได้ว่าส่วนใหญ่ก็มีวัตถุประสงค์กว้างๆ ก็เพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ระบบงานใหม่ๆ เทคนิคใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือแม่กระทั่งความรู้ต่างๆ ฯลฯ

ดังนั้นหลักสูตรที่องค์กรแต่ละที่จัดขึ้นมาก็ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรที่เข้าข่ายเป็นหลักสูตรที่ยกระดับฝีมือแรงงาน เช่นการาจัดอบรมภาษาอังกฤษ, การอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอรืที่จำเป้นในการทำงาน, ทักษะในการทำงานต่างๆ เป็นต้นครับ...นอกจากควรให้ความสำคัญกับประเด้นอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วยนะครับเช่น จำนวนคนเข้ารับการอบรม, จำนวนชั่วโมง, ค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นต้น

ขอบคุณครับสำหรับคำถาม

 

ดี ดี

 

อยากรู้เรื่องกฏหมายางด้านแรงงานเยอะๆ เหมือนกัน นอกจากจะรู้เอาไว้เพื่อตนเองแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ในงานด้าน HR ของพวกเราได้อีกด้วย ฉะนั้นก็รู้ไว้ดีกว่าเนอะ

 

ในเรื่องการพัฒนาบุคคลนั้นดีครับที่ฝ่ายรัฐจะส่งเสริม โดยการลดหย่อนภาษีให้ ฉะนั้นใครที่อยากให้มีการฝึกอบรมก็เอาข้อกฏหมายนี้ไปเสนอกับหัวหน้า หรือเจ้าของบริษัทนะครับ

 

แล้วพวกเราก็ไปซื้อกฏหมายแรงงานมาอ่านกันคนละเล่มกันมั้ยครับบบบ เจ้านาย

โน๊ต

มีตัวอย่างบริษัทที่ได้ทำตามเรื่องที่เขียนมาบ้างไหมจ๊ะ

พี่บุป

พี่บุปครับ

จริงๆแล้วตัวอย่างของบริษัทที่ทำ พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545  นี้ไม่มีครับ แต่ว่าทุกบริษัทต้องโดนบังคับให้ปฏิบัติตามพรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ทุกบริษัทที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปครับ ซึ่งหากดูตามตารางด้านบนครับจะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ 2548 มีสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100 คนทั่วประเทศไทย 13,333 แห่ง ดังนั้น นั่นหมายความว่าสถานประกอบการทั้ง 13,333 ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ทั้งหมดครับ

ชัยยุทธ (ปิค) กลีบบัว

เป็น HR นี่ต้องรู้รอบๆจริงๆเลยเนอะพี่โน๊ต ต้องคิดคำนึงหลายๆอย่างมากไม่ว่าจะจัดอบรมแบบไหน จัดอะไร จัดเองหรือให้คนอื่นจัดให้ แล้วต้องรู้กฎหมายอีก ..................เรื่องที่พี่เอามาเขียนนี่ดีมากเลยนะ สามารถเอาไปประกอบกับวิชานี้ได้เลย สร้างหลักสูตรฝึกอบรมได้และถูกต้องตามกฎหมายด้วย   ....ขอถามพี่โน๊ตหน่อยครับเคยได้ยินว่าอีกหน่อย(หรือตอนนี้หว่า)ที่กฎหมายจะเริ่มผูกการอบรมเข้ากับ competency ของบริษัทนั้นๆด้วย คือต้องจัดอบรมให้ตรงกับ competency ของบริษัท และดูว่าการอบรมนั้นไปเสริมหรือพัฒนา competency  ข้อไหน ......ไม่ทราบว่าใช่หรือไม่ครับ..เพราะไม่ค่อยแน่ใจว่าได้ฟังตอนเรียนมาถูกมั๊ย ถ้าใช่บริษัทไหนที่ยังไม่มี competency ก็คงต้องลำบากกันหน่อย

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆที่นำมาแบ่งปัน

 

 

โบว์ พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก

จากที่พี่อุ พี่ปอม และพี่บุปได้ถามถึงเรื่องตัวอย่างของบริษัทที่ได้ทำตามเรื่อง พรบ. ที่ได้เขียนมาแล้ว ตอนแรกก็อยากทราบเหมือนกัน แต่พี่โน๊ตก็บอกว่าไม่มี case study เนื่องจากทุกบริษัทต้องทำตาม พรบ.นี้อยู่แล้ว ถ้าอย่างนั้โบว์ขอเสนอแนะนิดนึงนะค่ะว่าพี่โน๊ตน่าจะเอา Link หรือเอกสารที่บอกรายละเอียดของ พรบ.มาแนบไว้ใน Blog ด้วยก็จะดีมากเลยล่ะค่ะ

 

ส่วนเนื้อเรื่องได้ประโยชน์ดีมาเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

เป็นประโยชน์มากๆเลย แต่จากข้อมูลที่โน๊ตบอกมาข้างต้นแล้วว่าทุกบ.ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปต้องทำตาม ทีนี้อยากรู้ต่อว่าทุกบ. เค้าได้ทำตามจริงๆเหรอ เพราะถึงแม้ว่าจะเอาไปหักลดหย่อนภาษีได้ แต่บางบ.อาจจะเห็นว่าเป็นภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมรึเปล่า

ได้มีการตรวจสอบผลการนำไปใช้ตาม พรบ. มากน้อยแค่ไหน

 

พรบ.ฉบับนี้ใช้สำหรับเอกชนอย่างเดียวโดยไม่ครอบคลุมราชการใช่ไหมคะ น่าจะมีการเผยแพร่ให้คนทำงานในสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้ พรบ.นี้ให้รับรู้ทั่วกันนะคะ เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ซะมากกว่า ทำให้ลูกจ้างต้องพลาดเรื่องดี ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเข้าฝึกอบรมฯ ฝึกอาชีพ ผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับ น่าจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงนะคะ เห็นด้วยปละ

บุษบงค์ (ยิน : ปี 2)

หวัดดี โน๊ต
เป็นความรู้ที่ดีมากเลยครับ เพราะเป็นสิ่งที่ HR จำเป็นต้องรู้ โดยเฉพาะในส่วนของ training ซึ่งส่วนตัวผมไม่ได้ทำในส่วนนี้ แต่อยากหาอ่านมานานแล้ว พอได้อ่านบทความนี้ของโน๊ตก็เข้าใจได้ดีเลยครับ แต่เท่าที่เห็นที่บริษัทเค้าทำกัน ค่อนข้างวุ่นวายเหมือนที่โน๊ตบอกจริงๆ มีแบบฟอร์มค่อนข้างเยอะ ซึ่งบริษัทของผมมีบริษัทในเครือด้วย และมีการย้ายคนข้ามบริษัทไปมาบ่อยๆ ซึ่งก็ยิ่งทำให้การจัดฝึกอบรมต้องเช็คจำนวนคนกันวุ่นวายอยู่เสมอ และการขอรับรองหลักสูตรบางครั้งก็ช้ามาก แต่อีกหน่อยเค้าคงจะพัฒนาให้ทำได้ง่ายขึ้น

บอย

เป็นคนที่ไม่ได้ทำงาน (ฮา)

เลยไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับ HR เท่าไหร่  สิ่งที่พี่โน้ตมาแขร์มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ

 

จะเอาไปถามที่บ้านว่าทำตามนี้ครบแล้วหรือยัง

 

ขอบคุณนะคะ  ^^

ดีมากเลยโน้ต เพราะไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย พอดียังมีพนักงานไม่ถึง 100 คน ไว้อีก 2-3 ปีนะ จะให้มาเป็นที่ปรึกษา

  • ได้ความรู้เพิ่มค่ะ ว่า การจัดฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ตามหลักเกณฑ์ที่พรบ.กำหนด
  • จริงๆอยากอ่านcaseที่มีบริษัทที่ทำได้จริงๆจังเลยค่ะ แต่โน้ตบอกว่ายังไม่มี เพราะจะทำให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น

ขอบคุณค่ะ

        ได้เรื่องราวใหม่ๆอีกแล้ว  เพิ่งทราบนะคะเนี่ยว่าการจัดฝึกอบรมเอาไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย   แล้วใน พรบ. มีการกำหนดไว้ในเรื่องของระยะเวลา  เนื้อหาหลักสูตร  วัตถุประสงค์  จำนวนคน ในการฝึกอบรม   ต้องครึ่งนึงของจำนวนพนักงานทั้งหมดด้วย  แถมมีเสียค่าปรับอีก  ดีนะคะจะได้เป็นการส่งเสริมการฝึกฝนอบรมพนักงานให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น   

         อยากดูตัวอย่างหลักสูตรที่สอดคล้องกับที่ พรบ. กำหนดอ่ะค่ะ  จำนวนการอบรมแบบ 50 ไม่เกินคน นี่เค้าจะอบรมในเรื่องอะไร  แล้วได้ผลเป็นยังไง  ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการรึเปล่า

น้องนันทน์

          เป็นเจ้าของกระทู้ครับ รู้สึกยินดีและดีใจเป็นอย่างยิ่งครับ สำหรับข้วความ และความคิดเห็นต่างๆ ที่ได้เสนอแนะครับ

          สำหรับตัวพรบ.นี้ ทางกระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์มาได้สักระยะใหญ่ๆแล้วครับ โดยวิธีการในการประชาสัมพันธ์ ก็มีทั้งผ่านทางเวปไซต์ของกระทรวงแรงงาน และเอกสารจดหมายจากราชการ รวมถึงการจัดประชุมเพื่อประชาสัมพันะและให้ความเข้าใจแก่องค์กรเอกชนทั่วไปที่เข้าข่ายกับพรบ นี้ครับ...

          ส่วนกลุ่มเป้าหมายสำหรับองค์กร หรือนายจ้างที่เกี่ยวข้องกับ พรบนี้บังคับใช้เฉพาะหน่วยงานเอกชนเท่านั้นครับ...ซึ่งผู้อ่านที่สนใจสามารถอพเดตข้อมูลข่าวสารได้ตามลิงค์นี้ครับ www.dsd.go.th

          นอกจากนี้หากผู้อ่านท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ยังไม่นึกหัวข้อหลักสูตรในการอบรมพัฒนาให้กับพนักงานไม่ได้ล่ะก็ ผมมีเวปไซต์ดีๆ มาแนะนำครับ ซึ่งเป็นเวปไซต์ที่รวมหลักสูตรสำหรับการพัฒนาพนักงานมาให้ดู เพื่อที่ว่าอาจจะเป็นประโยชน์ในอนาคตได้ไม่มากก็น้อยครับ www.trainer.in.th หรือ www.thaitrainingzone.com ครับ ซึ่งได้มีการแบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างเรียบร้อบครับ

 

บุญรักษา

 อรรณพ

          เป็นเจ้าของกระทู้ครับ รู้สึกยินดีและดีใจเป็นอย่างยิ่งครับ สำหรับข้วความ และความคิดเห็นต่างๆ ที่ได้เสนอแนะครับ

          สำหรับตัวพรบ.นี้ ทางกระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์มาได้สักระยะใหญ่ๆแล้วครับ โดยวิธีการในการประชาสัมพันธ์ ก็มีทั้งผ่านทางเวปไซต์ของกระทรวงแรงงาน และเอกสารจดหมายจากราชการ รวมถึงการจัดประชุมเพื่อประชาสัมพันะและให้ความเข้าใจแก่องค์กรเอกชนทั่วไปที่เข้าข่ายกับพรบ นี้ครับ...

          ส่วนกลุ่มเป้าหมายสำหรับองค์กร หรือนายจ้างที่เกี่ยวข้องกับ พรบนี้บังคับใช้เฉพาะหน่วยงานเอกชนเท่านั้นครับ...ซึ่งผู้อ่านที่สนใจสามารถอพเดตข้อมูลข่าวสารได้ตามลิงค์นี้ครับ www.dsd.go.th

          นอกจากนี้หากผู้อ่านท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ยังไม่นึกหัวข้อหลักสูตรในการอบรมพัฒนาให้กับพนักงานไม่ได้ล่ะก็ ผมมีเวปไซต์ดีๆ มาแนะนำครับ ซึ่งเป็นเวปไซต์ที่รวมหลักสูตรสำหรับการพัฒนาพนักงานมาให้ดู เพื่อที่ว่าอาจจะเป็นประโยชน์ในอนาคตได้ไม่มากก็น้อยครับ www.trainer.in.th หรือ www.thaitrainingzone.com ครับ ซึ่งได้มีการแบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างเรียบร้อบครับ

 

บุญรักษา

 อรรณพ

          เป็นเจ้าของกระทู้ครับ รู้สึกยินดีและดีใจเป็นอย่างยิ่งครับ สำหรับข้วความ และความคิดเห็นต่างๆ ที่ได้เสนอแนะครับ

          สำหรับตัวพรบ.นี้ ทางกระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์มาได้สักระยะใหญ่ๆแล้วครับ โดยวิธีการในการประชาสัมพันธ์ ก็มีทั้งผ่านทางเวปไซต์ของกระทรวงแรงงาน และเอกสารจดหมายจากราชการ รวมถึงการจัดประชุมเพื่อประชาสัมพันะและให้ความเข้าใจแก่องค์กรเอกชนทั่วไปที่เข้าข่ายกับพรบ นี้ครับ...

          ส่วนกลุ่มเป้าหมายสำหรับองค์กร หรือนายจ้างที่เกี่ยวข้องกับ พรบนี้บังคับใช้เฉพาะหน่วยงานเอกชนเท่านั้นครับ...ซึ่งผู้อ่านที่สนใจสามารถอพเดตข้อมูลข่าวสารได้ตามลิงค์นี้ครับ www.dsd.go.th

          นอกจากนี้หากผู้อ่านท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ยังไม่นึกหัวข้อหลักสูตรในการอบรมพัฒนาให้กับพนักงานไม่ได้ล่ะก็ ผมมีเวปไซต์ดีๆ มาแนะนำครับ ซึ่งเป็นเวปไซต์ที่รวมหลักสูตรสำหรับการพัฒนาพนักงานมาให้ดู เพื่อที่ว่าอาจจะเป็นประโยชน์ในอนาคตได้ไม่มากก็น้อยครับ www.trainer.in.th หรือ www.thaitrainingzone.com ครับ ซึ่งได้มีการแบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างเรียบร้อบครับ

 

บุญรักษา

 อรรณพ

ชัยณรงค์ ศุนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี

เรียน สมาชิกทุกท่าน  ยินดีให้ คำแนะนำ คำตอบ  การทำหลักสูตรฝึกอบรมตรม  พรบ. ส่่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ปี พ.ศ. 2545 ทุกท่านครับ 084 - 6820 180

สามารถนำไปใช้กับการพัฒนาชุมชนได้รึป่าว ค่ะ ในการเพิ่มศักยภาพของคนภายในชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท