ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social Support Theory)


ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social Support Theory

 

แรงสนับสนุนทางด้านสังคม (Social  Support)(House , 1985  อ้างใน  สรงค์กฏณ์  ดวงคำสวัสดิ์ , 2539 : 29 - 35)1.        ความหมาย    แรงสนับสนุนทางด้านสังคม    หมายถึง   สิ่งที่ผู้รับได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในด้านความช่วยเหลือทางด้านข้อมูล   ข่าวสาร   วัตถุสิ่งของ   หรือการสนับสนุนทางด้านจิตใจจากผู้ให้การสนับสนุน  ซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มคน   และเป็นผลให้ผู้รับได้ปฏิบัติหรือแสดงออกทางพฤติกรรมไปในทางที่ผู้รับต้องการ   ในที่นี้หมายถึงการมีสุขภาพดี   แรงสนับสนุนทางสังคมอาจมาจากบุคคลในครอบครัว  เช่น  พ่อแม่  พี่น้อง  เพื่อนบ้าน  ผู้นำชุมชน  เพื่อนร่วมงาน  เพื่อนนักเรียน  ครู  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)แคพแพลน (Caplan , 1976 : 39 - 42)  ได้ให้คำจำกัดความแรงสนับสนุนทางสังคม  หมายถึง  สิ่งที่บุคคลได้รับโดยตรงจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคล  อาจเป็นทางข่าวสาร  เงิน  กำลังงาน  หรือทางอารมณ์  ซึ่งอาจเป็นแรงผลักดันให้ผู้รับไปสู่เป้าหมายที่ผู้ให้ต้องการฟิลิชุก (Pilisuk , 1982 : 20)  กล่าวว่า  แรงสนับสนุนทางสังคม  หมายถึง  ความสัมพันธ์ระหว่างคน  ไม่เฉพาะแต่ความช่วยเหลือทางด้านวัตถุ   ความมั่นคง  ทางอารมณ์เท่านั้น   แต่ยังรวมไปถึงการที่บุคคลรู้สึกว่าตนเองได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของผู้อื่นด้วย 2.        แหล่งของแรงสนับสนุนทางสังคม        โดยปกติกลุ่มสังคม   จัดแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ  ได้  2  ประเภท คือ   กลุ่มปฐมภูมิและกลุ่มทุติยภูมิ  กลุ่มปฐมภูมิเป็นกลุ่มที่มีความสนิทสนมและมีสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกเป็นการส่วนตัวสูง กลุ่มนี้ได้แก่  ครอบครัว  ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้าน   ส่วนกลุ่มทุติยภูมิ  เป็นกลุ่มสังคมที่มีความสัมพันธ์ตามแผนและกฎเกณฑ์ที่วางไว้  มีอิทธิพลเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานของบุคคลในสังคมกลุ่มนี้  ได้แก่   เพื่อนร่วมงาน   กลุ่มวิชาชีพ  และกลุ่มสังคมอื่นๆ  ซึ่งในระบบแรงสนับสนุนทางสังคมถือว่า มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า   แหล่งของแรงสนับสนุนทางสังคมนั้นมีทั้งแหล่งปฐมภูมิ  และแหล่งทุติยภูมิ  แรงสนับสนุนจากแหล่งปฐมภูมิ  ได้แก่  ครอบครัว   ญาติพี่น้อง  ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจ็บป่วยและพฤติกรรมอนามัยของบุคคลเป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะแรงสนับสนุนทางอารมณ์  จากคู่สมรส   ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคมจากแหล่งทุติยภูมิถือว่าเป็นผู้ให้บริการทางสุขภาพ  ได้แก่   แพทย์  พยาบาล  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  และบุคลากรอื่นๆ  เช่น  ครู  พระ  ผู้นำชุมชน   อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)  ซึ่งมีความสำคัญในการสนับสนุนข้อมูล  ข่าวสาร  และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 3.        องค์ประกอบของการสนับสนุนทางสังคม (Pilisuk , 1982 : 20)หลักการที่สำคัญของแรงสนับสนุนทางสังคม  ประกอบด้วย1.        ต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับแรงสนับสนุน2.        ลักษณะของการติดต่อสัมพันธ์นั้น  จะต้องประกอบด้วย2.1     ข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ผู้รับเชื่อว่ามีความเอาใจใส่  และมีความรัก  ความหวังดีในสังคมอย่างจริงใจ2.2     ข้อมูลข่าวสารที่มีลักษณะทำให้ผู้รับรู้สึกว่าตนเองมีค่า  และเป็นที่ยอมรับในสังคม2.3     ข้อมูลข่าวสารที่มีลักษณะ  ทำให้ผู้รับเชื่อว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและมีประโยชน์แก่สังคม3.        ปัจจัยนำเข้าของการสนับสนุนทางสังคมอาจอยู่ในรูปของข้อมูล  ข่าวสาร  วัสดุสิ่งของ  หรือด้านจิตใจ  จะต้องช่วยให้ผู้รับได้บรรลุถึงจุดหมายที่เขาต้องการ 4.        ประเภทของแรงสนับสนุนทางสังคมเฮ้าส์    (House  อ้างใน  Babara  A.Israel , 1985 : 66)   ได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมในการให้การสนับสนุนทางสังคม เป็น  4  ประเภท คือ1.        Emotional  Support  คือ การสนับสนุนทางอารมณ์  เช่น  การให้ความพอใจ  การยอมรับนับถือ  การแสดงถึงความห่วงใย2.        Appraisal  Support   คือ การสนับสนุนด้านการให้การประเมินผล  เช่น  การให้ข้อมูลป้อนกลับ  (Feed  Back)  การเห็นพ้องหรือให้รับรอง (Affirmation)  ผลการปฏิบัติ  หรือการบอกให้ทราบผลถึงผลดี  ที่ผู้รับได้ปฏิบัติพฤติกรรมนั้น3.        Information Support  คือ การให้การสนับสนุนทางด้านข้อมูลข่าวสาร  เช่น  การให้คำแนะนำ (Suggestion)  การตักเตือน  การให้คำปรึกษา (Advice)  และการให้ข่าวสารรูปแบบต่างๆ 4.        Instrumental Support  คือ การให้การสนับสนุนทางด้านเครื่องมือ เช่น  แรงงาน  เงิน  เวลา  เป็นต้น 5.        ระดับของแรงสนับสนุนทางสังคมนักพฤติกรรมศาสตร์    ชื่อ   กอทต์ลิบ   (Gottlieb , 1985 : 5 - 12)   ได้แบ่งระดับ  แรงสนับสนุนทางสังคมออกเป็น  3  ระดับ  คือ1.        ระดับกว้าง (Macro  level)  เป็นการพิจารณาถึงการเข้าร่วม  หรือการมีส่วนร่วมในสังคม  อาจวัดได้จากความสัมพันธ์กับสถาบันในสังคม  การเข้าร่วมกับกลุ่มต่างๆ  ด้วยความสมัครใจและการดำเนินวิถีชีวิตอย่างไม่เป็นทางการในสังคม  เช่น  การเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมต่างๆ  ในสังคม  ชุมชนที่เขาอาศัยอยู่  อาทิ  กลุ่มแม่บ้านเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  กลุ่มหนุ่มสาวพัฒนาหมู่บ้าน  กลุ่มต้านภัยเอดส์  กลุ่มเลี้ยงสัตว์ปีก  กลุ่มจักสาน  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร  เป็นต้น2.        ระดับกลุ่มเครือข่าย (Mezzo  level)  เป็นการมองที่โครงสร้าง และหน้าที่ของเครือข่ายสังคม  ด้วยการพิจารณาจากกลุ่มบุคคลที่มีสัมพันธภาพอย่างสม่ำเสมอ  เช่น  กลุ่มเพื่อน  กลุ่มบุคคลใกล้ชิดในสังคมเสมือนญาติ  ชนิดของการสนับสนุนในระดับนี้   ได้แก่  การให้คำแนะนำ  การช่วยเหลือด้านวัสดุสิ่งของ  ความเป็นมิตร  การสนับสนุนทางอารมณ์  และการยกย่อง3.        ระดับแคบ หรือระดับลึก (Micro  level)  เป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากที่สุด  ทั้งนี้มีความเชื่อกันว่าคุณภาพของความสัมพันธ์มีความสัมพันธ์มากในเชิงปริมาณ  คือ  ขนาด  จำนวน  และความถี่ของความสัมพันธ์  หรือโครงสร้างของเครือข่าย   ในการสนับสนุนในระดับนี้ได้แก่  สามี  ภรรยา  และสมาชิกในครอบครัวซึ่งมีความใกล้ชิดทางอารมณ์  การสนับสนุนทางจิตใจ และแสดงความรักและห่วงใย (Affective  Support) 6.        ผลของแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อสุขภาพ     มีรายงานการศึกษาวิจัยมากมายที่บ่งบอก  ถึงความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคม  ที่มีต่อสุขภาพอนามัย  พอสรุปได้เป็น      2  กลุ่มใหญ่ คือ  1.        ผลต่อสุขภาพกาย  แบ่งออกเป็น1.1  ผลโดยตรง   จากรายงานผลการศึกษาของ เบอร์กแมน และไซม์ (Berkman and Syme , 1979 : 186 – 204  อ้างใน Minkler  1981 : 150)  ซึ่งติดตามผลในวัยผู้ใหญ่จำนวน  700  คน  ที่อาศัยอยู่ในเมือง  อามีดา  รัฐแคลิฟอร์เนีย  เป็นเวลานาน  9  ปี  โดยรวบรวมข้อมูล  เกี่ยวกับความเป็นอยู่ทั่วไปของสุขภาพอนามัย  และสถิติชีพที่สำคัญ  รวมทั้งแรงสนับสนุนทางสังคมน้อย  มีอัตราป่วยและตายมากกว่าผู้ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมมากถึง  2.5  เท่า  ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทุกเพศ  ทุกเชื้อชาติ  และทุกระดับเศรษฐกิจการศึกษาของ  คอบบ์และแคสเซล (Cobb  1976 and  Cassel  1961 อ้างใน Berkman and Syme , 1979 : 186 – 204)  พบว่าผู้ป่วยเป็นวัณโรค  ความดันโลหิตสูง  อุบัติเหตุ  ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ขาดแรงสนับสนุนทางสังคม  หรือถูกตัดขาดจากเครือข่ายแรงสนับสนุนทางสังคม  นอกจากนี้การศึกษาทางระบาดวิทยาสังคมยังพบว่า  คนที่ขาดแรงสนับสนุนทางสังคม  จะเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะของการติดโรคได้ง่าย  เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบต่อมไร้ท่อ  และมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลงอีกด้วย1.2     ผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาพยาบาล  (Compliance  to  Regismens)  มีรายงานผลการศึกษาเป็นจำนวนมากที่บ่งบอกถึงผลของแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรม  การปฏิบัติตามคำแนะนำของคนไข้  ซึ่งเบอร์กเลอร์(Burgler  อ้างใน  Pilisuk , 1985 : 94)  พบว่าผู้ป่วยที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์  ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีครอบครัวคอยให้การสนับสนุนในการควบคุมพฤติกรรม  และผู้ป่วยที่ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมมาก  จะเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามคำแนะนำมากกว่าผู้ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมน้อย1.3     ผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคคอบป์ (Cobb ,1976)และแลงกลี (Langlie, 1977)  ได้รายงานผลการศึกษาถึงพฤติกรรมการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ  เช่น  การตรวจสุขภาพร่างกายประจำ  การออกกำลังกาย  การบริโภคอาหาร   พบว่าผู้ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมจะมีพฤติกรรมการป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพดีกว่าผู้ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมน้อย2.        ผลต่อสุขภาพจิตผลของแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อสุขภาพจิต  มีลักษณะเช่นเดียวกับสุขภาพกาย  คือ  พบว่าแรงสนับสนุนทางสังคมเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตบุคคลช่วยลดความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากความเครียดและช่วยลดความเครียด  ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มความต้านทานโรคของบุคคลได้อีกด้วย  กอร์(Gore  1977  อ้างใน  Minkler , 1981 : 151)  ศึกษาในผู้ชายว่างงาน  จำนวน  110   คน  พบว่าผู้ที่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง  มีปัญหาทางด้านร่างกาย  และจิตใจน้อยกว่าผู้ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับต่ำ  และแคพแลน(Caplan  1974 : 7)  กล่าวว่า   การสนับสนุนทางอารมณ์เป็นสิ่งที่ช่วยลดผลของความเครียดที่มีผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจในผู้ที่ทำงาน  ซึ่งพบว่ามีความเครียดมาก  และยังพบอีกว่า  ผู้ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมต่ำมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมสูง

หมายเลขบันทึก: 115753เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2007 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

กำลังเรียนอยู่ปีสองค่ะ

เป็นนักศึกษา่ควต้าพยาบาลชุมชน

จบไปก็ทำงาน สอ.ค่ะ

ต้องการเนื้อหาทฤษฎีการพยาบาลค่ะ

ทฤษฎีการพยาบาล ประมาณไหนคะ ทฤษฎีอะไรคะ

ของไนติงเกล

กอดอล

จีน วัตสัน

นิวแมน

ไลนิงเจอร์ ค่ะ

ของคุณมากค่ะ

สันติ เพื่อนสาธารณสุข จ.ตรัง

เยี่ยมมากครับมีประโยชน์มากเลย ถ้าเป็นไปได้อยากได้แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมอีกนิดครับ ขอบคุณมาก กลับมาตรัง แวะมาพูดคุยกันได้นะ ผมอยู่ สสจ.ครับ

คุณสันติ....กำลังหาทางกลับไปทำงานที่ตรัง ชาวยได้มั้ยคะ :)

ข้อมูลเยี่ยมมากเลยค่ะ

พอจะมีกรอบแนวคิดของทฤษฎีนี้มั๊ยคะ

คือทำวิจัยอยู่อ่ะค่ะ แล้วไม่ทราบกรอบแนวคิด

ขอบคุณนะคะ

อยากได้เนื้อหาทฤษฎีการพยาบาลของคิงค่ะ

ช่วยหาให้หน่อยนะคะ

วัชราภรณ์ บัตรเจริญ

กำลังจะทำวิจัยโดยใช้ทฤษฎีของซาเทียร์ และทฤษฎีการพยาบาลของคิง

อยากได้เตรื่องมือที่ใช้วัดวิธีการสื่อสารในครอบครัวของซาเทียร์ และทฤษฎีการพยาบาลของคิง หรือคำแนะนำ

ขอบคุณค่ะ

อยากได้เนื้อหาทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล และ

ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ช่วยหาให้หน่อยค่ะ หรือแนะนำแหล่ง

อยากได้เนื้อหาการนำทฤษฏีคิงไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ HIVค่ะกำลังเรียนป.โทค่ะ

ช่วยหาข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของคิงส์ให้ด้วยนะคะ

ขอบคุณคะ

พยาบาลเรียนยากมากค่ะ เพราะต้องจำ และทำความเข้าใจ

อยากหาความรู้ทฤษฎีที่จะนำมาใช้กับผู้มีอาการทางจิต ติดสารเสพติดด้วย

สวัสดีค่ะคุณ βεη βεη

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

ตอนนี้กำลังทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยมะเร็ง

ที่ไดรับรังสีรักษาค่ะ ใช้ทฤษฎี Health Belife Model ร่วมกับ

Social support Theory ค่ะ

ปล.สำหรับคุณสุนันทา ทฤษฎี Stage of change น่าจะเหมาะกับผู้ป่วยสิดสารเสพติดค่ะ ^__^

พอดีทำวิจัยดเรื่องความหวังของผุ้ป่วยมะเร็งเต้านมและผู้ดูแล อยากทราบว่ามีทฤษฎีใดที่เกี่ยวข้องบ้างค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีทางการพยาบาลของคิง และนิวแมนคะ

มีประโยชน์มากเลยคะ

กำลังทำวิจัยค่ะ อยากรบกวนขอ ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social Support Theory) ฉบับเต็ม และอ้างอิงหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

กำลังทำวิจัยค่ะ อยากรบกวนขอ ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social Support Theory) ฉบับเต็ม และอ้างอิงหน่อย ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

ขอบคุณค่ะที่ให้ข้อมูล

เนื้อหาน่าสนใจอ่านแล้วเข้าใจง่ายขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

ขอบคุณข้อมูลครับ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท