TOTAL QUALITY MANAGEMENT (TQM)


        T  =  TOTAL (ทั้งหมดทุกคน/เบ็ดเสร็จ) ทุกคน ทุกระดับ ทุกงาน ทุกเวลา (อาจรวมถึงลูกค้าและผู้ส่งมอบด้วย) 

       Q  =  QUALITY(คุณภาพ) การทำได้ตรงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ทั้งคุณภาพของงานและบริการ

      M  =  MANAGEMENT(ฝ่ายบริหาร) การบริหาร หรือวิธีการจัดการ

      สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกคน หัวข้อที่ผมจะมานำเสนอในวันนี้ก็คือ เรื่อง Total Quality Management (TQM) ซึ่งมีชื่อเป็นภาษาไทยว่า การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์การ นั้นเอง ที่ผมสนใจในหัวข้อนี้เพราะเห็นว่าสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกองค์การ (รวมทั้งองค์การของผมด้วย ^^” ซึ่งจะขอกล่าวในตอนท้ายนะครับ) ในปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจมีสูงมาก ทุกๆ องค์การต่างจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพในการทำงาน และการให้บริการที่สูงขึ้น ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ TQM ที่มีอยู่ว่า หากองค์การสามารถผลิตสินค้าหรือบริการ ให้ลูกค้าที่พึงพอใจได้แล้ว ลูกค้าก็จะกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการ” 

         การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (TQM) คือ แนวทางในการบริหารขององค์การที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วม และมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า เกินกว่าที่ลูกค้าคาดหวังไว้ รวมทั้งการสร้างผลประโยชน์แก่หมู่สมาชิกขององค์กรและแก่สังคมด้วย <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ปรัชญาของ TQM มุ่งหวังให้บุคลากรทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือกันในการสร้างคุณภาพของงานขององค์กร สอนให้ป้องกันของเสีย ซึ่งหมายรวมถึงความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า  ข้อมูลข่าวสาร  หรือความสำเร็จของเป้าหมายตามที่ลูกค้าทั่วทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งฝ่ายบริหารคาดหวัง TQM ยังหมายรวมถึงระบบการตรวจหรือสืบค้น เพื่อสามารระบุปัญหาได้อย่างถูกต้อง  รวดเร็ว ได้รับการแก้ไขปรับปรุง</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">แนวคิด (Concept ) ของการบริหาร TQM</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">    1. เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ ซึ่งคำว่าลูกค้าในที่นี้
รวมถึงลูกค้าทั้งภายใน และ
ภายนอกบริษัททั้งหมด
</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">    2  มองว่าลูกค้าคือหน่วยงานที่ถัดไป</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">    3. เชื่อมั่นในคุณค่าของคนเป็นการบริหารแบบให้บุคลากรทุกระดับมีส่วน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">   4. ใช้หลัก  Plan – Do – Check – Action  (P D C A)
เป็น
พื้นฐานในการบริหารงานซึ่งการจัดการที่ดีจะต้องมีการวางแผนหรือพัฒนาเป้าหมายสำหรับแผนงานและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามแผน หลังจากนั้นแผนต้องถูกนำไปปฏิบัติผล การปฏิบัติจะต้องถูกตรวจสอบหรือทบทวนตามระยะเวลาที่กำหนด และในที่สุดผู้บริหารจะต้องพิจารณาดำเนินการหรือตัดสินใจในการดำเนินการขั้นต่อไป</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">   5. ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจมากกว่าความรู้สึก (SQC)</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">   6. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (CQI / Kaizen)</p> <p style="text-indent: 36pt; text-align: left" class="MsoBodyText" align="left">  เทคนิคที่ใช้ใน TQM สามารถนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ได้อย่างมากมาย เช่น 7 tools, SPC, JIT, TPM และ QCC เป็นต้น ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทฤษี TQM เพิ่มเติมได้ ที่นี้ ครับ
</p> <p style="text-indent: 36pt; text-align: left" class="MsoBodyText" align="left">มีหลักการอยู่ว่า การสร้างโครงการ TQM ให้กับองค์การนี้เปรียบเสมือนการสร้างบ้าน ดังนั้นการทำ TQM ด้วยเทคนิคต่างๆ ก็จะเปรียบได้กับเสาของบ้าน หากเสามีความแข็งแรงคงทนเท่าไหร่ บ้านก็จะมั่นคง และยั่งยืนได้เท่านั้น โดยอาจแสดงให้เห็นเป็น model ได้ตาม Kano House of Quality</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText"></p>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText"> </p><p class="MsoNormal">การพัฒนา TQM ในองค์การ</p><p class="MsoNormal">                จากที่กล่าวมาเบื้องต้นวัตถุประสงค์ของ TQM ที่สำคัญที่สุดก็คือ คือ การพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมใน การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ อันจะทำให้คุณภาพชีวิต ของพนักงานทุกคนดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง</p><p class="MsoNormal"> </p><p style="text-indent: 36pt" class="MsoNormal">บทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้าง TQM ในองค์การ</p><p style="text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ผู้บริหาร จะต้องเห็นความสำคัญของหลักการโดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการให้มากขึ้น มิใช่มองที่เรื่องการเงินเพียงอย่างเดียว  และเป็นแบบอย่างในเรื่องของคุณภาพให้แก่พนักงาน มีการสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้พนักงานอยากรู้ อยากทำงาน และอยากคิด เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการสื่อสารแนวคิดเรื่อง TQM ให้พนักงานทุกระดับเข้าใจอย่างชัดเจน และตรงกัน
                โดยหากจะให้พนักงานมีความต้องการเป็นส่วนร่วมในองค์การ ผู้บริหารจะต้องมีการจูงใจพนักงานให้ได้ ทั้งการเสริมแรงในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การให้โบนัส รางวัล หากพนักงานร่วมกันนำหลัก TQM ไปใช้ในงานได้สำเร็จ เพื่อทำให้พนักงานมองเห็นความสำคัญของหลักนี้และเกิดความมีส่วนร่วมกับความสำเร็จขององค์การด้วย
</p><p style="text-indent: 36pt" class="MsoNormal">พนักงาน ทุกคนในองค์กรจะต้องรับผิดชอบเรื่อง “คุณภาพ” ร่วมกัน ต้องฝึกอบรมให้พนักงานมีความรู้ความสามารถที่จะตรวจสอบงานทุกอย่างที่ทำว่าสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้หรือไม่ อีกทั้งหัวหน้างานต้องมอบอำนาจการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ตลอดจนฝึกฝนให้พนักงานมีความรู้ความสามารถที่จะแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างเป็นระบบ</p><p style="text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้น ผมจึงขอเสนอ การฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการและกิจกรรมต่าง ๆ ของ TQMเพื่อนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยหากองค์การจะเริ่มทำกระบวนการ TQM อาจจะนำหลักดังกล่าวไปใช้ได้ ดังนี้</p><p class="MsoNormal"></p><p style="text-indent: 36pt" class="MsoNormal">กิจกรรม 5 ส  นั้นเป็นกิจกรรมที่เน้นในเรื่องการจัดเก็บเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดความปลอดภัยให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงาน และที่สำคัญคือ ทำให้เกิดการสร้างลักษณะนิสัยที่ดี อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคี และความมีวินัยในการทำงาน  </p><p style="margin-left: 18pt" class="MsoNormal">        กิจกรรมทีมคุณภาพ (QT) เป็นกิจกรรมที่เน้นในเรื่องการแก้ปัญหา  การปรับปรุงงานและ</p><p class="MsoNormal">การพัฒนางานในระดับของผู้บังคับบัญชา   ปัญหาที่นำมาดำเนินการฯ จะเป็นปัญหาใหญ่ ๆ ในระดับของผู้บริหาร การแก้ปัญหาของทีมจะเป็นการแก้ปัญหาแบบเป็นวิทยาศาสตร์   คือมีเหตุมีผล</p><p class="MsoNormal">มีการเก็บข้อมูลตัวเลข  กราฟ  สถิติต่างๆเพื่อเปรียบเทียบก่อน/หลังการแก้ปัญหา </p><p style="text-indent: 36pt" class="MsoNormal">การที่เราจะทำให้พนักงานมีความรู้ในส่วนนี้ได้โดย ทำการ Workshop มีการจัดตั้งทีม / คัดเลือกปัญหาขึ้นมาปรับปรุงโดยดำเนินการในลักษณะของโครงการเล็กๆ เบื้องต้นก่อน จากนั้นก็ให้ลองดำเนินการและประเมินผลว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่</p><p style="margin-left: 18pt; text-indent: 18pt" class="MsoNormal">กิจกรรมคิวซี (QC) เป็นกิจกรรมที่เน้นในเรื่องของการปรับปรุงงานในระดับผู้ปฏิบัติ โดย</p><p class="MsoNormal">การจัดตั้งเป็นทีมขึ้นมาตามลักษณะของงาน  เช่น  ทีมของงานธุรการ  ทีมของงานการผลิต ทีมของงานขาย เป็นต้น   </p><p style="text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม QC ดำเนินการเช่นเดียวกับกิจกรรม QT ต่างกันเพียงทีม QT เป็นทีมของผู้บังคับบัญชา ปัญหาที่นำมาดำเนินการ เป็นปัญหาในระดับของหน่วยงาน ส่วนทีม QC เป็นทีมของผู้ปฏิบัติ ปัญหาที่นำมาดำเนินการ เป็นปัญหาหน้างานหรือของฝ่าย</p><p style="margin-left: 18pt; text-indent: 18pt" class="MsoNormal">กิจกรรมข้อเสนอแนะ (SS) เป็นกิจกรรมที่เน้นในเรื่องของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการ</p><p class="MsoNormal">แก้ปัญหาและปรับปรุงงาน เป็นการปรับปรุงงานในระดับผู้ปฏิบัติ โดยผู้ปฏิบัติงานในแต่ละฝ่ายสามารถเสนอแนะการปรับปรุงงานของฝ่ายอื่นได้ สามารถพัฒนาได้โดย </p><p class="MsoNormal">1.  ตั้งคณะกรรมการข้อเสนอแนะ </p><p class="MsoNormal">2.  พนักงาน / เจ้าหน้าที่เสนอความคิดโดยกรอกแบบฟอร์มตามที่จัดไว้ให้    </p><p class="MsoNormal">3.  นำไปใส่กล่องรับข้อเสนอแนะ</p><p class="MsoNormal">4.  คณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอแนะเพื่อแยกเรื่อง แล้วมีการ Feed back ผู้ให้ข้อเสนอแนะกลับ หากเข้าหลักเกณฑ์  = ให้รางวัล / ไม่เข้าหลักเกณฑ์ = แจ้งกลับ/ขอบคุณ </p><p class="MsoNormal">5.  นำข้อเสนอแนะที่ได้ไปปฏิบัติ ซึ่งหากปฏิบัติแล้วได้ผลก็ควรมีให้รางวัลอีกรอบหนึ่งด้วย</p><p style="text-indent: 36pt" class="MsoNormal">นอกเหนือจากนี้องค์การอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานเอกชนอาจจะมีการนำกิจกรรม ISO  เข้าไปเพื่อช่วยในการทำงานของพนักงานให้ได้มาตรฐานและเพื่อรักษาร่วมทั้งประกันคุณภาพของงาน</p>  การนำ TQM มาใช้ในองค์การต่างๆ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">           ตัวอย่างผลของการนำ TQM ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมจะ เห็นได้จากประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่รับแนวคิด TQM ของอเมริกามาแล้ว 30 ปีต่อมาญี่ปุ่นก็ประสบ ชัยชนะในตลาดรถยนต์ในสหรัฐอเมริกา เพราะ ได้นำเอาความช่วยเหลือจากผู้บริหาร หัวหน้างาน ตลอดจนพนักงาน ระดับล่างทุกคนเข้ามาแก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพ โดยให้ความรู้ และโอกาสในการเข้าปรับปรุง ความต่อเนื่องของการบริหารคุณภาพทั้ง องค์กรของญี่ปุ่น ส่งผลให้สินค้าของญี่ปุ่นมีคุณภาพ และมีความสามารถ ในการแข่งขันในตลาดโลก นอกจากนี้ดังจะเห็นได้จากการรายงานของผู้อำนวยการ หน่วยระบบข้อมูลของบริษัท Hewlett-Packard เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2523 ว่าหลังจากการทดสอบ 16K RAM 300,000 ชิ้น จากผู้ผลิตของ สหรัฐอเมริกา 3 ราย และผู้ผลิตของญี่ปุ่น 3 ราย พบว่า มีคุณภาพ แตกต่างกันมาก 16K RAM ของญี่ปุ่นมีอัตราความล้มเหลวเป็นศูนย์ อัตราความล้มเหลวที่นำมาเปรียบเทียบกันในบรรดาผู้ผลิตของสหรัฐ อเมริกา 3 ราย อยู่ระหว่าง 11-19 ชิ้น จากจำนวน 1,000 ชิ้น และถ้าหากมี การใช้เกิน 1,000 ชั่วโมง อัตราความล้มเหลวของ 16K RAM ของญี่ปุ่น อยู่ระหว่าง 1-2 ชิ้น จากจำนวน 1,000 ชิ้น ส่วน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">        TQM สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์การประเภทอื่นได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา หรือโรงพยาบาลที่เน้นการให้บริการเป็นหลัก ดวงจันทร์ บัวคลี่ (2546)ได้ศึกษา นำระบบบริหารคุณภาพทั้งองค์กร (Total quality management/TQM) มาพัฒนาระบบบริการการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มงานการพยาบาล พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลทีมการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText"> </p><p style="text-indent: 36pt" class="MsoNormal">การนำ TQM มาประยุกต์ใช้ในองค์การ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างองค์การของผมเอง ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบันพบว่ามีปัญหาต่างๆ อยู่บ้างพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการที่มีลูกค้า complain มาเรื่องตัวงานว่าไม่ตรงกับแบบที่ตีไว้ เลยคิดว่าจะนำหลัก TQM มาใช้ซึ่งจะได้ช่วยลดปัญหาในส่วนนี้ในเบื้องต้น และแผ่ขยายไปยังผลอื่นๆ ต่อไป โดยปัจจุบันในองค์การได้มีการเริ่มทำ 5 ส อยู่แล้วและได้รับการตอบรับค่อนข้างใช้ได้ ต่อมาจะเริ่มใช้ระบบ QC เข้ามาควบคุมการทำงานโดยจะต้องให้ความรู้กับพนักงานที่เป็นหัวหน้าช่างเสียก่อน แล้วให้หัวหน้าช่างไปช่วยถ่ายทอดให้กับพนักงานช่างทุกคนต่อไป จากนั้นจะขอความเห็นข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากพนักงานทั้งหมด เพื่อช่วยให้เห็นแนวทางของการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ จะเสริมแรงพนักงานหากกลุ่มงานไหนมีการพัฒนางานได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีไซน์ ฝ่ายผลิตงานไม้ และฝ่ายผลิตงานสี อีกทั้งจะต้องมีการติดตามแล้วสอบถามถึงปัญหาที่เกี่ยวเกี่ยวกับการนำระบบดังกล่าวไปใช้กับหัวหน้าช่างด้วย  </p>จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า TQM เป็นระบบการบริหารจัดการที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับองค์การทุกประเภท ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพื่อส่งเสริมให้องค์การมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการบริหารจัดการที่ได้มาจากการร่วมแรงร่วมใจจากทุกคนในองค์การเนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับในองค์การถึงจะประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นองค์การเองก็ควรที่จะมีการพัฒนา ฝึกอบรมทรัพยากรบุคคลขององค์การให้สอดคล้องกับบทบาทของพนักงานทุกระดับด้วย <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText"></p>

อ้างอิงจาก : http://www.med.nu.ac.th/office/PASSADU/DATA/TQM%5B1%5D.pdf                
http://www.dmh.go.th/abstract/details.asp?id=3422                 http://gotoknow.org/blog/modernmanagement/52657                 http://doi.eng.cmu.ac.th/elearning/qa/chapter5.htm

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText"> </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">กฤติพงษ์ จิวไพโรจน์กิจ : หนุ่ม 4978252738
</p>
<p></p></span></span></span></span></span>

คำสำคัญ (Tags): #tqm
หมายเลขบันทึก: 115690เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2007 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

citrus say:

คุณหนุ่มคะ

เนื้อหาพอควรในส่วนหลักการ แต่ยังค่อนข้างไปทางบริหารจัดการ  แล้วจะเกี่ยว หรือเชื่อมโยงกับ HRD อย่างไรคะ  เคยอ่านหนังสือเรื่อง TQM  for Training  ไหมคะ

ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมโยง จะทำให้น่าสนใจมากขึ้นและเป็นประโยชน์มากๆ ค่ะ เพราะมันมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก

มาให้กำลังใจ

ตอนจะทำหัวข้อของตัวเอง ก็เห็นเรื่อง TQM ที่ชั้นหนังสือเหมือนกัน มีมากกว่าหัวข้อของเราอีก เรื่องนี้ จากที่ได้ยินเพื่อนๆ พูดถึงเวลา present  ก็เพิ่งเคยได้อ่านเป็นตัวหนังสือจากหนุ่มนี่แหละ ถ้าเป็นไปได้อยากอ่านตัวอย่างองค์การที่นำมาใช้ เช่น แต่ละระดับของพนักงานต้องปฏิบัติตนอย่างไร หรือ มีกรอบปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของ TQM น่ะค่ะ

พี่แป๋ม

มาแล้วค่า หลังจากที่มัวไป comment บันทึกของคนอื่นๆ ถึงคราวของเพื่อนตัวเองบ้าง แบบว่าตามลำดับการนำขึ้น blog อ่ะนะ :-) นี่ยังเขียนไม่จบใช่หรือเปล่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจดีนะ ได้ยินบ่อยๆด้วย แต่อยากทราบว่าที่บอกว่า องค์การเองควรที่จะมีการพัฒนา ฝึกอบรมทรัพยากรบุคคลขององค์การให้สอดคล้องกับบทบาทของพนักงานทุกระดับ ให้สอดคล้องกับการทำ TQM นี่น่ะค่ะ อยากให้ยกตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรม รวมทั้ง case study เพิ่มเติมและการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์การตัวเอง ในเชิง HRD อ่ะค่ะ...แล้วจะมาติดตามอ่านตอนต่อไป สู้ๆๆ 

ลองอ่านดูแล้วเห็นว่าเป็นวิธีที่ดีมากเลยค่ะเพราะเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ทุกระดับชั้น แต่น่าจะบอกถึงวิธีที่จะทำให้คนเหล่านั้นมีวิธีคิดแบบนั้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรหรือเปล่าคะ

อุไรวรรณ ทองเจริญค่ะ

ชัยยุทธ (ปิค) กลีบบัว

เนื้อหาเรื่องนี้ดีครับแล้วเอกสารเพิ่มเติมที่ให้มาก็ดีนะครับอ่านแล้วเข้าใจแนวคิดมากขึ้น......แต่ไม่ทราบว่าพี่จะมีตัวอย่างการปฏิบัติมาให้ดูเพิ่มมั๊ยครับ  ถ้ามีคิดว่าจะทำให้เห็นและเข้าใจได้มากขึ้นครับ

 .....จะเข้ามาติดตามอ่านต่อนะครับ.........

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆที่นำมาแบ่งปัน

หนุ่ม

พอดีเจอบทความดีๆเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยส่งมาให้จ๊ะ

http://library.kmitnb.ac.th/journal/v005n002/lib8.html

http://opdc.dgr.go.th/PMQA/TQM.head.doc

พี่บุป

 

การทำTQM เนี่ยมีการเชื่อมโยงกับการพัฒนาบุคคลด้านอื่นหรือเปล่าคะ เพราะว่าพอจะเข้าใจคะในแง่การนำมาเพิ่มศักยภาพการผลิตแต่ที่นำมาใช้กับคนยังงงงค่ะ สงสัยคะว่าที่เมืองไทยมีองค์กรอื่นอีกมั้ยที่ทำTQMแบบเป็นระบบ เห็นมีแต่ ปูน ที่สามารถทำออกมาได้ดีมาก ถ้ามีขอกรณีตัวอย่างด้วยนะคะ และขอเสริมคะว่าการทำ TQM น่าจะมีการเสริมแรงว่ากำหนดเป็นหัวข้อธงรบในแต่ละปีเลยว่าจะมีการให้รางวัลกับคนที่สามารถคิดการทำTQMในเรื่องที่น่าสนใจได้ก็จเป็นการส่งเสริมให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการทำเรื่องนี้ ไม่ใช่จะให้มาจากผู้บริหารอย่างเดียว เมื่อเกิดความคิดที่จะทำเรื่องนี้ ก็จะทำให้การเพิ่มศักยภาพเป็นไปได้พร้อมกันทั้งองค์กร

พอดีที่ทำงานเป็นธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการเป็นสำคัญ ถือว่าตรงใจพอดีค่ะ แต่ทำอย่างไรถ้าองค์กรมีขนาดใหญ่ แต่อยากจะให้มีคุณภาพทั่วทั้งองค์กร คงต้องอาศัยวิธีการอื่นเข้าช่วยปลูกฝัง และต้องมีจิตใต้สำนึกบางส่วนมาช่วยด้วยอีกแรง พอมีวิธีการแนะนำไหมคะ ขอบคุณค่ะ

บุษบงค์ (ยิน : ปี 2)

TQM เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจมากเลยนะคะ สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็น่าจะทำให้บุคลากรสามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ด้วยการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงปรับปรุงวิธีการทำงาน รวมถึงสินค้าและบริการได้ อีกทั้งน่าจะเอามาใช้ประโยชน์ในเรื่องของการประเมินผลและพัฒนาผลการทำงานในองค์กา

ขอขอบคุณตัวเองและน้องมากค่ะที่เข้ามาอ่านเรื่องนี้พี่เอ๋ได้ความรู้เพิ่มเติมมากค่ะ

พี่เอ๋

เคนงงกับคำว่า TQM มาเหมือนกันครับ

 

ตอนนี้กระจ่างแก่ใจเเล้วครับ ไม่ต้องไปหาอ่านที่อื่นเลย

ขอบคุณครับ

โบว์ พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก

อยากเห็นตัวอย่างของการทำ TQM ในประเทศไทยเพิ่มน่ะค่ะ เพราะเท่าที่อ่าน Case Study ของต่างประเทศแล้วดูน่าสนใจดี

 ขอบคุณค่ะ :)

ดีคับพี่หนุ่มสวย

          องค์ในประเทศไทยก็ได้มีการนำหลักการนี้มาใช้ในการพัฒนาคนและองค์กรอยู่หลายที่เหมือนกัน  แต่ไม่ค่อยได้มีcase ที่จะเอามาเขียนบรรยายกันให้เห็นภาพได้ซักเท่าไหร่ 

          อย่างเช่น คุณ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)  ได้นำแนวคิดต้องการให้เป็นองค์กรแบบ TQM : Total Quality Management เรียกร้องคุณภาพในทุกระดับ ไม่ต้องการให้มี "นายทาส" ที่ถนัดแต่ออกคำสั่ง และบรรดา "ทาส" ทั้งหลายที่ไม่สั่งก็ไม่ยอมเคลื่อนไหวใดๆ   ลองอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://learners.in.th/blog/newboy/19596  นะคะ

         และ คุณ สุวนันท์ ชาติอุดมพันธ์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  เช่นกัน  ก็ได้กล่าวถึงการจัดการเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยหลักการในการจัดการเข้ามาใช้ในการบริหาร   TQM (Total Quality Management) เป็นหลักการอย่างหนึ่ง   เมื่อนำไปใช้จนได้คุณภาพก็สามารถนำเสนอเพื่อขอรางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award (TQA)  อันเป็นรางวัลระดับชาติ  อ่านบทความเพิ่มเติมที่    http://learners.in.th/blog/prachyanun/30518  ค่ะ

          คงไม่ค่อยได้ช่วยอะไรได้มาก  แต่ก็ฝากไว้อ่านกันเล่นๆแล้วกันนะคะ case ในไทยอ่ะค่ะ

 นันทน์

เพิ่งมา update blog ใหม่อีกรอบครับ.. น่าจะมีข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมให้กับผู้ที่พบเห็นได้มากกว่าเดิม (มั้งคับ) ^^"

สุดท้าย.. ขอบคุณทุกๆ คนที่มาให้คำแนะนำ และให้กำลังใจนะคับ แล้วก็.. พี่บุป กะน้องนันทน์ ขอบคุณมากๆ สำหรับข้อมูลดีๆ นะครับ

กฤติพงษ์ : หนุ่ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท