ค่ายก้าวแรก


ความมุ่งมั่นในการที่จะสร้างสรรค์งานเยาวชนในพื้นที่ภาคกลางมากกว่าการดำเนินงานโครงการเยาวชน๑๐๐๐ทาง

๒๒ กรกฎาคมได้ฤกษ์หารือค่ายก้าวแรกในส่วนของอนุภูมิภาคกลางคณะทำงานของNodeมากันคับคั่งไม่ว่าจะเป็นทีมจากสิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยาและสมุทรสงคราม เรายังคงใช้ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยาเป็นฐานที่มั่น โดยในการพูดคุยส่วนใหญ่ได้หารือถึงเป้าหมายและแนวโน้มต่อการดำเนินงานค่ายก้าวแรกโดย หลายคนรู้สึกเป็นห่วงประเด็นความละเอียดอ่อนการทำงานในพื้นที่ ดังนี้

๑) การนำร่องในพื้นที่จำนวนมาก ๘ จังหวัดในความดูแล แต่สามารถสนับสนุนโครงการได้น้อย (๓๐ โครงการ)อาจส่งผลต่อความรู้สึกในการพิจารณาโครงการ โดยจากบทเรียนการทำงานในระดับพื้นที่ที่ผ่านมามักพบคำถามและผลกระทบภายหลังการพิจารณาโครงการ โดยเฉพาะในประเด็นที่เปิดโอกาสสูงกับกลุ่มคนและประเด็นในการเรียนรู้

๒) เราจะมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไรในการคัดสรรคนเพื่อเข้าค่ายก้าวแรกในกรณีที่มีคนสมัครมาเป็นจำนวนมาก

 ๓) ทำอย่างไรจะให้ค่ายก้าวแรกเกิดผลประโยชน์สูงสุดในการเคลื่อนงานต่อ ระดับพื้นที่

๔)  ความคาดหวังของเด็กที่มาร่วมค่ายก้าวแรกต่อการได้รับการสนับสนุนโครงการ เป็นอย่างไรประเด็นนี้ต้องแยกหลักการกับความเป็นจริงในสังคมออกจากกัน เพราะในทางหลักการเราสามารถบอกได้แต่ในความเป็นจริงมันยากจะเข้าใจ

                ภายใต้ข้อกังวลต่าง ๆ เหล่านี้จึงมีการพยายามขบคิดแนวทางการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินงานในระดับพื้นที่ จึงได้กำหนดเป้าหมายค่ายก้าวแรกในเชิงโครงการและในเชิงการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่เป้าหมายของค่ายก้าวแรก

o       เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเยาวชนพื้นที่ภาคกลางในอนาคต

o       เพื่อระดมข้อคิดเห็นเบื้องต้นของเยาวชนต่อแนวทางการดำเนินงานโครงการ

o       เพื่อทำความเข้าใจโครงการเยาวชน ๑,๐๐๐ ทาง (การสนับสนุนและการเขียนโครงการ)

กลุ่มเป้าหมายอายุประมาณ ๑๕ ๒๒ ปีคละอายุและเพศ เป็นแกนนำเยาวชนที่ดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาและสร้างการเรียนรู้อยู่ในจังหวัดและสามารถเป็นสื่อกลางในการขยายผลโครงการให้กับเยาวชนในระดับอื่น ๆ ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

                -  ตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด   จังหวัดละ ๑ คน รวม ๘ คน

            -  ตัวแทนกลุ่มเยาวชน แต่ละจังหวัดรวม ๒๒ คน

                -  คณะทำงาน ๑๐ คน

กำหนดการจัดกิจกรรม วันที่ ๑๓ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตวัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยากรอบคิดการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

-          มุมมองของเยาวชนต่อสังคม

-          บทบาทของเด็กและเยาวชนต่อการช่วยเหลือสังคม

-          เรียนรู้และทำความเข้าใจโครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม

-          ทักษะการเขียนโครงการ

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้และรู้สึกในวันนี้คือเห็นความมุ่งมั่นในการที่จะสร้างสรรค์งาน

เยาวชนในพื้นที่ภาคกลางมากกว่าการดำเนินงานโครงการเยาวชน๑๐๐๐ทาง สิ่งที่

สะท้อนให้เห็นคือความพยายามพูดคุยและออกแบบการเรียนรู้และออกแบบการบริหาร

จัดการที่คำนึงถึงความรู้สึกและปัจจัยข้อจำกัดของคนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ความ

พยายามในการออกแบบการเรียนรู้วันนี้ทำให้เราเห็นแนวทางในการเคลื่อนงานต่อใน

ประเด็นเด็กและเยาวชนร่วมกันในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 115624เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2007 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เย้  ไว้เจอกันนะครับพี่ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท