แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model)


แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model)

 

 

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model)

              แนวคิดของทฤษฎีนี้เริ่มแรกสร้างขึ้นจากทฤษฎีเกี่ยวกับ อวกาศของชีวิต” (Life Space) ซึ่งได้คิดขึ้นครั้งแรกโดยนักจิตวิทยา Kurt Lewin ซึ่งมีสมมติฐานว่าบุคคลจะหันเหตนเองไปสู่พื้นที่ที่บุคคลให้ค่านิยมเชิงบวกและขณะเดียวกันจะหลีกเลี่ยงจากพื้นที่ที่มีค่านิยมเชิงลบ อธิบายได้ว่า บุคคลจะแสวงหาแนวทางเพื่อจะปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อการป้องกันและฟื้นฟูสภาพตราบเท่าที่การปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าเชิงบวกมากกว่าความยากลำบากที่จะเกิดขึ้น จากการปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวบุคคลจะต้องมีความรู้สึกกลัวต่อโรคหรือรู้สึกว่าโรคคุกคามตน และจะต้องมีความรู้สึกว่าตนเองมีพลังที่จะต่อต้านโรคได้ (ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สวิงสุวรรณ, 2536) ซึ่งต่อมาโรเซนสต๊อกได้สรุป องค์ประกอบพื้น ฐานของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพไว้คือ การรับรู้ของบุคคลและแรงจูงใจ การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรคจะต้องมีความเชื่อว่า เขามีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค โรคนั้นมีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งการปฏิบัตินั้นจะเกิดผลดีในการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือช่วยลดความรุนแรงของโรค โดยไม่ควรมีอุปสรรคด้านจิตวิทยามาเกี่ยวข้อ ง เช่น ค่าใช้จ่าย ความไม่สะดวกสบาย ความเจ็บป่วยและความอาย เป็นต้น (Rosenstock, 1974) ต่อมาเบคเกอร์ (Becker, 1974) เป็นผู้ปรับปรุงแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อนำมาใช้อธิบายและทำนายพฤติกรรมการป้องกันและพฤติกรรมอื่นๆ โดยเพิ่มปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากการรับรู้ของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติในการป้องกันโรค ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

3.2.1 การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค (Perceived Susceptibility)การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค หมายถึง ความเชื่อของบุคคลที่มีผลโดยตรงต่อการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย แต่ละบุคคลจะมีความเชื่อในระดับที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นบุคคลเหล่านี้จึงหลีกเลี่ยงต่อการเป็นโรคด้วยการปฏิบัติตามเพื่อป้องกันและรักษาสุขภาพที่แตกต่างกันจึงเป็นความเชื่อของบุคคลต่อความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคของแพทย์ การคาดคะเนถึงโอกาสของการเกิดโรคซ้ำหรือการง่ายที่จะป่วยเป็นโรคต่างๆ มีรายงานการวิจัยหลายเรื่องที่ให้การสนับสนุนความเชื่อต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคว่ามีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เช่นเมื่อบุคคลป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง ความรู้สึกของบุคคลที่ว่าตนเองจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนั้นๆอีกจะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ การปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไม่ให้เกิดกับตนเองอีก (Heinze, 1962; Elling et al.,1960)

3.2.2 การรับรู้ความรุนแรงของโรค (Perceived Severity)เป็นการประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรค ปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบจากการเกิดโรคซึ่งก่อให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิต การประเมินความรุนแรงนั้นอาศัยระดับต่างๆของการกระตุ้นเร้าของบุคคลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยนั้น ซึ่งอาจจะมองความรุนแรงของการเจ็บป่วยนั้นทำให้เกิดความพิการหรือตายได้หรือไม่หรืออาจมีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน เมื่อบุคคลเกิดการรับรู้ความรุนแรงของโรคหรือการเจ็บป่วยแล้วจะมีผลทำ ให้บุคคลปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อการป้องกันโรค ซึ่ง จากผลการวิจัยจำนวนมากพบว่า การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรค เช่น การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

3.2.3 การรับรู้ถึงประโยชน์ของการรักษาและป้องกันโรค (Perceived Benefits)การรับรู้ถึงประโยชน์ของการรักษาและป้องกันโรค หมายถึง การที่บุคคลแสวงหาวิธีการปฏิบัติให้หายจากโรคหรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคโดยการปฏิบัตินั้นต้องมีความเชื่อว่าเป็นการกระทำที่ดีมีประโยชน์และเหมาะสมที่จะทำให้หายหรือไม่เป็นโรคนั้นๆ ดังนั้นการตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำก็ขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบถึงข้อดีและข้อเสียของพฤติกรรมนั้นโดยเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสีย

3.2.4 การรับรู้ต่ออุปสรรค (Perceived Barriers)การรับรู้ต่ออุปสรรคของการปฏิบัติ หมายถึง การคาดการณ์ล่วงหน้าของบุคคลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของบุคคลในทางลบ ซึ่งอาจได้แก่ ค่าใช้จ่าย หรือผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกิจกรรมบางอย่าง เช่น การตรวจเลือดหรือการตรวจพิเศษทำให้เกิดความไม่สุขสบาย การมารับบริการหรือพฤติกรรมอนามัยนั้นขัดกับอาชีพหรือการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นการรับรู้อุปสรรคเป็นปัจจัยสำคัญต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค และพฤติกรรมของผู้ป่วยนี้สามารถใช้ทำนายพฤติกรรมการให้ความร่วมมือในการรักษาโรคได้

3.2.5 สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ (Cues to Action)สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติเป็นเหตุการณ์หรือสิ่งที่มากระตุ้นบุคคลให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการออกมา ซึ่ง Becker, Maiman (1975) ได้กล่าวว่า เพื่อให้แบบแผนความเชื่อมีความสมบูรณ์นั้นจะต้องพิจารณาถึงสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติซึ่งมี 2 ด้าน คือ สิ่งชักนำภายในหรือสิ่งกระตุ้นภายใน (Internal Cues)ได้แก่ การรับรู้สภาวะของร่างกายตนเอง เช่น อาการของโรคหรือ การเจ็บป่วย ส่วนสิ่งชักนำภายนอกหรือสิ่งกระตุ้นภายนอก (External Cues) ได้แก่ การให้ข่าวสารผ่านทางสื่อมวลชนหรือการเตือนจากบุคคลที่เป็นที่รักหรือนับถือ เช่น สามี ภรรยา บิดา มารดา เป็นต้น

3.2.6 ปัจจัยร่วม (Modifying Factors)ปัจจัยร่วม เป็นปัจจัยที่ไม่มีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมสุขภาพ แต่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะส่งผลไปถึงการรับรู้และการปฏิบัติ ได้แก่

         3.2.6.1 ปัจจัย ด้านประชากร เช่น อายุ ระดับการศึกษา เป็นต้น

         3.2.6.2 ปัจจัยทางด้านสังคมจิตวิทยา เช่น บุคลิกภาพ สถานภาพทางสังคม กลุ่มเพื่อนกลุ่มอ้างอิง มีความเกี่ยวข้องกับบรรทัดฐานทางสังคม ค่านิยมทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานทำให้เกิดการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคที่แตกต่างกัน

         3.2.6.3 ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ความรู้เรื่องโรค ประสบการณ์เกี่ยวกับโรค เป็นต้น

3.2.7. แรงจูงใจด้านสุขภาพ (Health Motivation)แรงจูงใจด้านสุขภาพ หมายถึง สภาพอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการถูกกระตุ้นด้วยเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ได้แก่ ระดับความสนใจ ความใส่ใจ ทัศนคติและค่านิยมทางด้านสุขภาพ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 115420เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2007 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

ขอบคุณค่ะกำลังหาไปทำวิทยานิพนธ์ ป.โทอยู่พอดีแต่รู้สึกว่าจะไม่ได้เขียน reference เต็ม ๆ ไว้จะได้ไปหาอ่านเพิ่มได้อีก    แค่นี้ก็เก่งแล้ว

เจ๋งมากเลยกำลังหาอยู่พอดี

นิสิตแพทย์ในตำนาน

ขอบคุณมากคับ

กำลังหาอย่างดุเดือดเลือดพล่านสาดกระเซ็นเลย

ขอบคุณมากค่ะพี่ 

ขอบคุณด้วยคนนะค่ะ จะเอาไปทำ thesis พอดีเรย มีอีกส่งมาให้ด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากๆๆ พลอย

It would be nice if you can give references at the end.

hank

thank you too.

I'm going to do an I.S., hence this is very very much useful to me.

if reference available,perfect

ขอบคุณค่า กำลังทำวิจัยอยู่เหมือนกัน

มีงานวัจัยตัวอื่นให้ดูไหมคะ

ถ้ามีรบกวนส่งมาให้หน่อยตาม mail เลยนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ขอบคุณค่ะ กำลังทำงานส่งอาจารย์อยู่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

กำลังทำวิจัยเหมือนกัน

ขอบคุณมากค่ะ

ทำให้เข้าใจHBMมากขึ้นค่ะ

รบกวนขอข้อมูลเพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงในวิทยานิพนธ์หน่อยนะคะ กำลังทำ ป.โท ด้านสาธารณสุขศาสตร์ค่ะ

ขอบคุญมากนะคะ

ขอบคุณมากๆๆเลยค่ะกำลังทำวิจัยป.โทสาขาการพยาบาลครอบครัวเช่นกันค่ะ

รบกวนขอข้อมูลเพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงในวิทยานิพนธ์เช่นกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณเช่นกัน กำลังหาข้อมูลทำงานวิจัย

รบกวนส่งเมล์ ข้อมูลเพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงให้บ้างนะคะ

และรบกวนบอกแหล่ง REVIEW ต่อให้ด้วยจะขอบคุณมาก

เบนซ์ ขวัญนะ พอดีลอง Search HBM ดูมาเจอพอดีก้อเรยขอ Ment ซะหน่อย

เงียบหายเรยนะ ... เราก้อใกล้จะจบละแต่คงรับไม่ทันปีนี้หรอก ล่วงหน้าไปก่อนเรยนะ

นู๋ขวัญ

ขอบคุณท่นำสิ่งดีดีมาวางไว้อีกแล้ว

อยากได้ตัวโครงการมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเพราะกำลังทำpaper เรื่องนี้อยู่ ภาษาไทยหาแหล่งอ้างอิงได้น้อยจริงๆค่ะ พอดีต้องทำโครงการส่งด้วยยังมึนๆๆอยู่เพราะตั้งต้นหา social diagnosis ได้แต่phase ต่อไป ยังตาลอยอยู่เลย ถ้ามีตัวอย่างโครงการมาให้ดูบ้างตาม e-mail ด้วยนะคะจะเป็นพระคุณยิ่ง ขอบคุณมากๆค่ะ

ขอบคุณนะคะกะลังทำโครงการส่งเสริมสุขภาพที่โรงพยาบาลชุมชนพอดีเลย

ขอบคุณน่ะค่ะ กำลังหาข้อมูลทำวิทยานิพนธ์อยู่พอดีเลย แต่รบกวนขอเอกสารอ้างอิงฉบับสมบูรณ์หน่อยได้มั้ยค่ะ

สุดยอดจริงๆ,,,เลยค่ะ

กำลังหาข้อมูลทำวิจัยเรื่องนี้อยู่พอดีเลยค่ะ...รบกวนขอเอกสารอ้างอิงฉบับสมบูรณ์หน่อยน่ะค่ะ...

รบกวนด้วยน่ะค่ะ....ขอบคุณค่ะ

self efficacy และ Perceived benefits นี่ต่างกันยังไงครับ ไม่ค่อยเข้าใจ ขอคำแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ

[email protected]

ผมอยากทราบระบบความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย

ไม่ทราบว่าพอจะมีข้อมูลให้ผมไหมครับ

ขอบคุณนะคะ มีประโยชน์มากค่ะ ผู้ที่มาหยิบยืมไป reference ต้องอ่านเป็นแนวทางเพราะรายละเอียดที่นำเสนอนี้เป็นmodel เดิมปี 1975 ที่ยังไม่ได้เพิ่ม self efficacy ที่แยกออกมาเป็น construct ใหม่ และ perceived susceptibility and severity ofdisease ส่งผลให้เกิด perceived threat (model ที่ใช้ปัจจุบัน ปี 1987 modified by Rosenstock , Stretcher and Becker ) ลองหาหนังสืออ่านจาก reference ข้างล่างนะคะ

Source: Champion, V.L., & Skinner, C.S. (2008). The health belief model. In K. Glanz, B.K. Rimer, & K. Viswanath, Health behavior and health education: Theory research, and practice (pp. 45-65). San Francisco: Jossey-Bass.

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล อิอิ

ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้คะ

ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ ช่วยได้เยอะเลย...

รบกวนข้อจำกัดของHBM เพราะนำมาวิจัยแล้วไม่พบความสัมพันกับการสูบบุหรี่น่ะค่ะ..แนะนำทีนะคะ

กำลังหาข้อมูลทำงานวิจัยอยู่คับขอรบกวนส่งเมล์ ข้อมูลเพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงให้ได้ไหมครับ

และรบกวนบอกแหล่ง REVIEW ต่อให้ด้วยจะขอบคุณมากเลยครับ

ขอบคุณนะครับมีประโยชน์มากครับ ผมนำไปใช้เรียนในวิชา ผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ของสาขาการจัดการสุขภาพชุมชน คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนครับ

รบกวนสอบถามน่ะค่ะ ถ้าสนใจจะใช้ทฤษฎี Health Belief Model และใช้ปัจจัยเรื่อง แรงสนับสนุนทางสังคม สามารถรวม แรงสนับสนุนทางสังคมเข้า Health Belief Model ใน Modiflying Factor ได้ไหมค่ะ หรือควรใช้ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม อีกทฤษฎีเข้ามาร่วมด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลน่ะค่ะ เป็นประโยชน์ในการทำรายงานส่งอาจารมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท