New Employee Orientation


การปฐมนิเทศ (Orientation) ให้กับพนักงาน ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรในขั้นแรกที่ก้าวเข้ามาร่วมงาน เพื่อให้พนักงานใหม่นั้นได้รู้จักกับองค์กร เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร ระบบการทำงาน และธรรมเนียมปฏิบัติ ทำให้เกิดความมั่นใจ อุ่นใจ ว่าเขาได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และพร้อมที่จะปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป

สิ่งที่ทำให้สนใจเรื่องของการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ ก็เพราะในปัจจุบันนี้ความจงรักภักดี หรือ "Loyalty" ที่พนักงานมีให้ต่อองค์กรนั้น มีน้อยลงกว่าคนทำงานในสมัยก่อนๆ สังเกตได้จากการที่หลายองค์กรประสบกับปัญหาอัตราการลาออกสูง ซึ่งวิธีการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวไปได้บ้างไม่มากก็น้อย  และโดยส่วนตัวบริษัทที่ทำอยู่ก็ยังไม่มีการปฐมนิเทศที่ถูกต้องเท่าที่ควร เลยเป็นแรงบันดาลที่อยากจะศึกษาในเรื่องนี้ การปฐมนิเทศ (Orientation) ให้กับพนักงาน ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรในขั้นแรกที่ก้าวเข้ามาร่วมงาน เพื่อให้พนักงานใหม่นั้นได้รู้จักกับองค์กร เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร ระบบการทำงาน และธรรมเนียมปฏิบัติ ทำให้เกิดความมั่นใจ อุ่นใจ ว่าเขาได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร แต่หากการปฐมนิเทศไม่ชัดเจนหรือไม่ครอบคลุมเนื้อหาสาระในส่วนที่พนักงานใหม่ควรจะต้องทราบตั้งแต่ต้น อาจก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังได้

การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ โดยทั่วไปจะมีวัตถุประสงค์ดังนี้

                1.เพื่อให้พนักงานใหม่สามารถเรียนรู้ระบบการทำงาน และปรับตัวให้ทำงานในระบบใหม่ได้เร็วที่สุด และ ใช้ค่าใช้จ่ายและเวลาในการสร้างความพร้อมน้อยที่สุด 

                2.เพื่อให้ได้รับความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ จากพนักงาน เพราะหวังว่า "เลือดใหม่" เหล่านี้จะนำความคิดแปลกใหม่ นวัตกรรมใหม่ที่สร้างความแตกต่างจากแนวทางเดิมๆ ที่คนเดิมๆ เคยคิดและปฏิบัติกันอยู่ ซึ่งหากจัดปฐมนิเทศได้ดีก็จะทำให้พนักงานใหม่รู้สึกผ่อนคลาย มั่นใจในตนเองมากขึ้น และมั่นใจว่าภายใต้วัฒนธรรมการทำงานของบริษัทใหม่ของเขา พวกเขาจะได้รับการยอมรับจากผู้ใหญ่และเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ

                3.เพื่อจูงใจและรักษาให้พนักงานใหม่ทำงานอยู่กับบริษัทนานๆ ดังนั้น หากชาว HR ร่วมกับผู้จัดการแผนกสามารถสร้างความประทับใจและความรู้สึกดีๆ ให้กับพนักงานใหม่ในช่วงเวลาปฐมนิเทศได้ ก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผูกใจให้พนักงานอยู่กับบริษัทนานขึ้น

วิธีการปฐมนิเทศที่นิยมใช้มีอยู่ 2 วิธี คือ

- เน้นการให้ข้อมูล (Informational Approach) คือการที่บริษัทพยายามให้ข้อมูลต่างๆ แก่พนักงานใหม่ ได้แก่ ประวัติบริษัท ปณิธาน เป้าหมาย ค่านิยม โครงสร้างการทำงาน รวมไปถึงกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าบริษัทส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการนี้ ซึ่งโดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้อง แต่ ข้อควรระวังในการใช้วิธีการนี้ คือต้องรู้จักคัดเลือกข้อมูลที่สำคัญจริงๆ และจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่พนักงานใหม่ควรทราบ จากนั้นค่อยๆ จัดลำดับเวลาในการป้อนข้อมูลให้พนักงานทีละน้อย เพื่อที่พนักงานจะได้มีเวลาในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ อย่างเหมาะสม

                - เน้นการสร้างสัมพันธภาพ (Relational Approach) วิธีการนี้จะเน้นการช่วยให้พนักงานใหม่ได้มีโอกาสสังคมและสร้างสัมพันธภาพกับพนักงานเก่า ซึ่งจากการมีสัมพันธภาพนี้จะเปิดโอกาสให้พนักงานใหม่ได้เรียนรู้ถึงค่านิยม ธรรมเนียมปฏิบัติ สายการปฏิบัติงาน ฯลฯ จากเพื่อนร่วมงานในและนอกแผนกจากการพบปะพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการนี้เอง โดยลักษณะของการปฐมนิเทศวิธีนี้จะใช้วิธีให้ HR หรือผู้จัดการในแผนกพาพนักงานใหม่ไปทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมงานในแผนกต่างๆ หลังจากนั้นอาจจะจัดให้มีพนักงานรุ่นพี่ที่รู้งาน และสามารถทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีได้ ให้เป็นพี่เลี้ยงหรือเพื่อนคู่หู (Buddy) คอยประกบดูแลให้คำแนะนำแก่พนักงานใหม่สักประมาณ 1-2 เดือน ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้พนักงานใหม่ได้เรียนรู้สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับงานบริษัท วัฒนธรรม และสังคม ภายในบริษัทได้ดีและรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังของวิธีการนี้ คือหากพนักงานใหม่ได้พบกับพนักงานเก่าที่รู้งาน และทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีได้จริงๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่หากพบคนที่ไม่ค่อยมีคุณภาพ มีค่านิยมผิดๆ ก็อาจส่งผลเสียแก่องค์กรได้

กรณีตัวอย่างการจัดการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN

การปฐมนิเทศใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง  โดยจัดแบ่งหัวข้อการฝึกอบรมออกเป็น 4 หัวข้อ  ดังต่อไปนี้

                1.             แนะนำบริษัทฯ : บริษัทในเครือเซ็นทรัล  ประวัติ  ทีมผู้บริหาร  สาขา  โครงสร้างองค์กร  วิสัยทัศน์  กิจกรรมคุณภาพ: CG  AQA  EOS&VOC  วัฒนธรรมองค์กร (ADMIRED)  จรรยาบรรณของผู้บริหารและพนักงาน

2.             ระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  การจ่ายค่าตอบแทน  สวัสดิการและผลประโยชน์  และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  และวิธีการใช้โปรแกรม People Power

3.             การใช้ทรัพยากรสารสนเทศของบริษัท  กฎระเบียบในการใช้คอมพิวเตอร์  และความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์

4.             ความปลอดภัยในการทำงาน  และการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ

ตัวอย่างกำหนดการปฐมนิเทศของบ.เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

คลิ๊กที่นี่ http://gotoknow.org/file/neoindust/schedule.doc

 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของ CPN

- จากหัวข้อดังกล่าวข้างต้นจะสังเกตได้ว่าไม่มีการระบุในส่วนของการละลายพฤติกรรมซึ่งขอเสนอตรงจุดนี้ อาจเป็นเกมส์ง่ายๆเช่น ให้พนักงานใหม่แนะนำตัวเองโดยยกจุดเด่นของตัวเองขึ้นมา เพื่อทำให้พนักงานใหม่รู้สึกเป็นกันเองและสามารถจำกันได้มากขึ้น เป็นต้น

- เนื่องจากความปลอดภัยของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นนอกเหนือจากการป้องกันและระงับอัคคีภัย CPN เป็นตึกที่มีความสูง 45 ชั้นจึงควรเพิ่มเติมในเรื่องของความปลอดภัยเมื่อเกิดแผ่นดินไหวด้วย

**เนื่องจากบริษัทที่ดิฉันทำอยู่ในปัจจุบันหลักสูตรการปฐมนิเทศยังเป็นในลักษณะที่ไม่เป็นทางการมากนัก เนื่องจากพนักงานใหม่ในแต่ละเดือนมีจำนวนน้อย ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงใช้วิธีแจกคู่มือให้กับพนักงานไปอ่านด้วยตัวเอง และอธิบายกฎระเบียบ สวัสดิการต่างๆที่สำคัญให้พนักงานทราบ ในวันเริ่มงานก็มีการพาพนักงานใหม่ไปแนะนำกับผู้บริหาร และรู้จักเพื่อนร่วมงานในแผนกต่างๆ หากพนักงานมีปัญหาหรือข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้โดยตรง **แต่จากการศึกษารายละเอียดหลักสูตรการปฐมนิเทศของบริษัทเซ็นทรัลพัฒนาแล้ว ดิฉันคิดว่าในอนาคตจะลองจัดปฐมนิเทศให้กับพนักงานใหม่แบบรวมเดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อให้พนักงานได้รับทราบข้อมูลของบริษัทฯมากขึ้น อีกทั้งยังได้มีโอกาสทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆที่อยู่ต่างฝ่ายกันเพื่อสัมพันธภาพที่ดีเมื่อต้องมีการติดต่อประสานงานซึ่งกันและกัน อีกทั้งฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะได้มีโอกาสในการจัดระบบการรับพนักงานใหม่เข้ามา โดยมีการกำหนดวันที่แน่นอนอย่างเช่น ในวันที่ 1 หรือ 16 ของเดือนนั้นๆเพื่อสะดวกในการจ่ายเงินเดือน และการจัดปฐมนิเทศแบบรวมด้วย

 ณัฐดา  ปักษา (นัท) 5078267638

หมายเลขบันทึก: 115411เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2007 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

citrus say:

มาอ่านแล้วค่ะ รอให้สมบูรณ์ก่อนนะคะ จึงให้ความเห็นได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

ไว้เสร็จแล้ว จะมาเม้น เพิ่ม

 

น่าสนใจดีครับเรื่องนี้

หยิบเอาเรื่องที่ธรรมดามาเขียนให้น่าสนในขึ้นค่ะ จะติดตามต่อไปนะคะ

จากอุไรวรรณ ทองเจริญ i/o ค่ะ

อยากให้ยกตัวอย่างของการละลายพฤติกรรมด้วยค่ะ จะได้เข้าใจมากขึ้น

อ.ส้มคะ นัทได้เพิ่มเติมข้อมูลในเรื่องการปฐมนิเทศเรียบร้อยแล้วค่ะ ถ้ามีอะไรควรเพิ่มเติมรบกวนอ.ส้มด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

 ที่ทำงานเก่าก็มีการปฐมนิเทศที่ไม่เป็นทางการและใช้วิธีแจกคู่มือให้พนักงานไปอ่านเองเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็คงไม่ได้อ่าน เช่นนี้อาจทำให้พนักงานรู้สึกว่าองค์การไม่เห็นความสำคัญของเขาหรือไม่ได้รับการต้อนรับที่ดีเท่าที่ควร และมีความรู้สึกแปลกแยก แตกต่างในการที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย รวมทั้งอาจเกิดความเข้าใจอะไรที่ผิดๆหรือไม่ได้รับทราบในสิ่งที่ควรทราบ ดังนั้นการปฐมนิเทศพนักงานใหม่จึงถือว่ามีความสำคัญมากๆค่ะ องค์การไม่ควรละเลยหรือมองข้าม และควรหสวิธีการในการนำเสนอที่ดึงดูดความสนใจ เพราะเป็นจุดแรกในการสร้างความประทับใจหรือความรู้สึกต่างๆ ว่าจะมององค์การในแง่บวกหรือลบ และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานในระยะยาวต่อไปค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับว่า การปฐมนิเทศพนักงานใหม่นี้เป็นเรื่องที่องค์การควรที่จะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก อีกทั้งเขียนได้ดี อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายด้วยครับ

มีความเห็นส่วนตัวที่อยากแลกเปลี่ยนในส่วนนี้เล็กน้อยครับว่า ส่วนใหญ่การปฐมนิเทศจะเหมือนกับเป็นการยัดข้อมูลให้พนักงานใหม่ ซึ่งแทบจะยัดข้อมูลทั้งหมดให้ได้ภายใน 1 วัน ผมเชื่อได้เลยว่าไม่น่าจะมีใครที่สามารถรับข้อมูลได้ทั้งหมด (และยากด้วยที่จะหาผู้กล้าเดินเข้าไปถาม HR ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกะผลประโยชน์ของตนเองโดยตรง ^^" )

จากประสบการณ์ที่ทำการเก่า ทางองค์การจะให้ความสำคัญกับพนักงานใหม่มาก มีการจัดทำหลักสูตรปฐมนิเทศกันยาวนานถึง 1 เดือนเต็ม โดยจะเรียกว่า Booth camp เพื่อที่จะให้พนักงานใหม่ได้รู้จักกับบริษัท product ของบริษัท และพื่อนใหม่ ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีที่สุด แทบจะเรียกได้เลยว่า 1 เดือนแรก.. เรียนกันอย่างเดียว ไม่มีการทำงานเลย

ขอบคุณค่ะคุณหนุ่ม ที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น การปฐมนิเทศเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กร ถ้าองค์กรไหนเล็งเห็นประโยชน์ และให้ความสำคัญ ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีค่ะ แต่จัด 1 เดือนนี่ให้ความสำคัญสุดๆเลยนะคะ คงมีการแทรกในเรื่องของการสอนงานเข้าไปด้วยใช่มั้ยคะ ดีค่ะ

เจ้าของเรื่องค่ะ ณัฐดา (นัท)

ชัยยุทธ (ปิค) กลีบบัว

เป็นเรื่องที่ดีครับถ้าจะปฐมนิเทศพนักงานก่อนทำงานเพราะน่าจะช่วยลดอาการเกร็ง และลดความเครียดต่างๆที่เกิดขึ้นได้ และถ้าสร้างความประทับใจครั้งแรกได้ด้วยก็จะทำให้ได้ใจพนักงานไปอีกด้วย........และถ้าองค์กรไหนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้แบบขององค์กรของพี่หนุ่ม พนักที่นั่นคงได้รับวัฒนธรรมขององค์กร และมีความผูกผันกับองค์กรแน่ๆเลย  แต่องค์กรไหนที่ปฐมนิเทศแค่วันเดียวคงต้องระมัดระวังเรื่องการไปพบปะพนักงานอย่างที่พี่นัทบอก ว่าถ้าเจอคนที่นิสัยดีก็ทำให้เค้ารู้สึกดี แต่ถ้าเจอคนไม่ดีก็คงทำให้ติดภาพลบๆไปแน่ๆ........ก้าวแรกถ้าเราทำดีให้ความสำคัญกับเค้าแล้วเค้ารู้สึกดีขั้นต่อๆไปเราจะทำอะไรก็ง่ายขึ้น พนักงานก็ทุ่มเทให้กับงาน ดังนั้นก้าวแรกน่าจะเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งต่อองค์กรและพนักงาน

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆที่นำมาแบ่งปัน

นัท

อยากขอความเห็นของนัท ว่าถ้านัทเป็นพนักงานใหม่ นัทอยากให้บริษัทปฐมนิเทศน์อย่างไร

พี่บุป

ขอแชร์ประสบการณ์ด้วยคนค่ะ เคยเข้าปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของบริษัทหนึ่ง ชอบตรงที่ผู้บริหารระดับสูงเขาเห็นความสำคัญของพนักงานใหม่ โดยจะสละเวลามาพูดคุยและอธิบายงานของฝ่ายของตน ระยะเวลาอบรมประมาณ 1 วันครึ่ง  โดยครึ่งวันแรก President จะมาให้ความรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของบริษัท, vision, mission, code of conduct ฯลฯ แล้วก็จะทานอาหารกลางวันร่วมกับพนักงานน้องใหม่ด้วย  แม้จะเกร็งๆ กันอยู่บ้าง แต่ก็รู้สึกว่าเจ้านายเรา น่ารักจริงๆ แล้วก็จะมี Director ของแต่ฝ่าย หมุนเวียนมาอธิบายงานของฝ่ายของตนให้พนักงานใหม่พอเห็นภาพกว้างๆ   ก็รู้สึกดีค่ะ สร้างความประทับใจให้กับพนักงานน้องใหม่

แป๋ม

ตอบพี่บุปค่ะ...

ถ้านัทเป็นหนึ่งในพนักงานใหม่สิ่งที่เราอยากรู้นอกจากความเป็นมาของบริษัทแล้วก็คงจะเป็นเรื่องของกฎระเบียบต่างๆ สวัสดิการสิ่งที่เราจะได้รับและการต้อนรับที่อบอุ่นจากผู้บริหาร รวมถึงการได้ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ที่อาจจะอยู่ต่างฝ่ายกัน ส่วนรูปแบบของการปฐมนิเทศจะเป็นในรูปแบบไหน หรือสมบูรณืเพียงใดก็คงจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัทนั้น และอยากให้การปฐมนิเทศเป็นไปแบบสนุกๆมากกว่าตึงเครียดค่ะ...ขอบคุณพี่บุปค่ะ :-)

 

เห็นด้วยกับการให้ความสำคัญกับการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ครับ เนื่องจากการให้ความรู้ ความเข้าใจตั้งแต่เริ่มเข้าทำงาน จะทำให้พนักงานปรับตัวเข้ากับองค์กรได้เร็วขึ้น  ลดปัญหาความสับสน และการประสานงานระหว่างบุคคลได้ดี 

ที่บริษัทที่ผมทำอยู่ปัจจุบัน ผู้บริหารก็เริ่มให้ความสำคัญตรงนี้ โดยการจัด ปฐมนิเทศพนักงานเป็นรุ่นๆ โดยอธิบายภาพรวม และงานส่วนต่างๆของบริษัท แต่เนื่องจากเพิ่งเริ่มจึงยังไม่สมบูรณ์นัก  ก็คงต้องปรับปรุงในรุ่นต่อๆไป

 

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

อ่านทำความเข้าใจแล้วเป็นสิ่งที่น่าปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่ไม่ใหญมากหรือที่เรียกว่า ธุระกิจขนาดกลางและเล็ก เพราะยังสามารถเข้าถึงพนักงานได้และสามารถสร้างความมั่นใจและประทับใจให้กับพนักงานที่สำคัญคือ ซื้อใจพนักงานได้แต่ต้องอยู่ที่ ผู้บริหารด้วยว่าจริงใจกับพนักงานแค่ไหน

 แต่โดยรวมแล้วน่าสนใจเป็นอย่ายิ่งครับเพราะเหมาะกับธุระกิจแบบคนเอเซียคือ ทำระกิจแบบญาติพี่น้อง

เป็นเรื่องที่ดีครับที่ เพราะบริษัท ก็เปรียบเสมือนการดาษเปล่า ที่มีการขีดเขียนเส้นลงไปเส้นหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนเส้น อาจต้องการแสดงให้ทุกคนรู้ว่า เขาได้เขียนอะไรลงไป ก่อนที่จะตีความหมายเส้นนั้นเป็นอย่างอื่น เช่น 1(เลขหนึ่ง), l (ตัวแอลพิมพ์เล็ก), หรือ I (ตัวไอพิมพ์ใหญ่)

บริษัทที่เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ มักมองข้ามเรื่องนี้ไปในช่วงเริ่มต้นกิจการ เพราะเจ้าของกิจการสามารถตะโกนบอกทุกคนให้ทราบแนวทางการทำงานได้ในการพูดครั้งเดียว แต่เมื่อมีห้องทำงานมากขึ้น เสียงตะโกนนี้ก็ไม่สามารถเข้าหูข้องที่เกิดขึ้นใหม่ได้

 การปฐมนิเทศ จึงสามารถทำให้พนักงานทั้งหลาย ได้เกิดความรู้สึกที่ดี มีความเคารพซึ่งกันและกัน (โดยกิจกรรม) รวมถึงเข้าใจหน้าที่ของตน เสมือนว่าทุกคนนั้น มีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ เสมือนเป็นฝีพายบนเรื่อลำเดียวกัน (โดยการแถลงนโยบาย)

 

เห็นด้วยที่จะให้มีการจัดการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ เพื่อที่พนักงานจะได้ทราบประวัติของบริษัท ทราบถึงโครงสร้างการทำงานของแต่ละฝ่าย ทราบถึงกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆเกี่ยวกับการทำงาน ทราบถึงสวัสดิการและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับ

จากประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมการปฐมนิเทศพนักงานของบริษัทเก่านั้นตอนที่เข้าเริ่มงานแรกๆก็ไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทมาก และก็ไม่รู้จักเพื่อนร่วมงานเลย ไม่กล้าที่จะเสนออะไรกลัวว่าถ้าเสนอไปแล้วจะทำให้เพื่อนร่วมงานไม่พอใจหรือเปล่า แต่พอได้เข้ากิจกรรมการจัดการปฐมนิเทศทำให้ทราบเกี่ยวประวัติของบริษัททราบการทำงานขององค์กรและทำให้รู้จักเพื่อนร่วมงานเยอะ สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมงานได้ทำให้ทราบถึงทัศนวิสัยของเพื่อนร่วมงานด้วย

จึงเป็นการดีถ้าจะมีการจัดการปฐมนิเทศในองค์กรและขอให้จัดเป็นไปอย่างสนุกสนานไม่เครียดจนเกินไป.... นะ...........

 

 

ขอบคุณสำหรับทุกๆความคิดเห็นและแนวคิดดีๆที่นำมาแลกเปลี่ยนกันนะคะ.. การพัฒนาบุคลากรในองค์กรไม่ได้มีเพียงแต่การจัดการปฐมนิเทศเพียงอย่างเดียว ยังมีวิธีการอื่นๆอีกมากมาย และก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากคนเพียงแค่คนเดียว หรือเป็นหน้าที่ของ HR เท่านั้น แต่ทุกคนในองค์กรสามารถมีส่วนร่วมในการนำพาองค์กรไปสู่ความความหน้าและประสบความสำเร็จได้ แต่สิ่งที่ทำง่ายที่สุดก็คือเริ่มต้นจากการพัฒนาตนเองกันก่อนนะคะ :-)

จากที่ได้อ่านทั้งหมดของผู้เขียนบทความ และรวมถึงผู้ให้ความคิดเห็นต่างๆ

ผมก็มองว่าแต่ละองค์กร ก็อยากจะป้อนข้อมูลต่างๆ ขององค์กร ให้กับพนักงานใหม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และทราบถึงทิศทาง และเป้าหมายรวมขององค์กร ว่าจะไปในทิศทางใด แต่บางบริษัทฯ อาจจะลืมภาพรวมขององค์กรไป แต่หากว่าผู้ที่มีหน้าที่ สามารถมองถึงวัตถุประสงค์และผลลัพท์ ที่จะได้ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

แต่หากถามว่าระยะเวลาในการปฐมนิเทศนั้น จะใช้เวลาเท่าไหร่ อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับขนาดองค์กรและจำนวนคนในองค์กร คงต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อาจจะไม่สามารถทำมาตรฐานเพื่อให้ใช้ได้กับทุกองค์กรเป็นแน่

ดังนั้น โดยส่วนตัวมองว่า สิ่งที่จะสร้างความรู้สึกประทับใจ หรือสร้าง Team Building ที่ดีได้นั้น ก็คงมาจากการมีส่วนร่วมในฝ่าย และองค์กรที่อยู่ แต่ท้ายที่สุดแล้ว HR ควรเป็นผู้ผลักดันหลักแล้วจึงค่อยขยายไปสู่ส่วนงานต่างๆ ให้ครอบคลุมทั้งองค์กร คาดว่าน่าจะได้ผลที่ดีทีเดียว

หวัดดี นัท เรากำลังสงสัยว่าเรื่องนี้กับเรื่องSocialization เป็นเรื่องเดียวกันหรือเปล่า (หว่า) แต่ถ้าจากประสบการณ์คิดว่ามันน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ความสัมพันธ์ของคนในองค์กรดีขึ้น ถ้ามีการละลายพฤติกรรมแล้วก็ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะ ในเรื่องของการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้องที่เข้ามาใหม่เพราะว่าการที่องค์กรคัดเลือกคนที่อาจจะมีมุมมองต่อองค์กรไม่ดี ทำให้การรับรู้ความรู้สึกผูกพันกับองค์กรลดน้อยลง ดังนั้นถ้าเราสามารถค้นหาบุคคลที่จะเป็นพี่เลี้ยง หรือคู่หูที่ดีได้ย่อมจะต้องมีวิธีประเมินที่ชัดเจนและครอบคลุมกับสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในใจของพนักงานใหม่ ยกตัวอย่างกรณี ของ ปตท. เคมิคอลจก.(มหาชน)  จะเป็นการกำหนดเชิงนโยบายเลยว่าในแผนกจะต้องมีผู้รับผิดชอบในเรื่อง พี่เลี้ยงดูแลตั้งแต่เรื่องงานและเรื่องส่วนตัว เช่นการพาไปเลือกหอพัก เพราะเป็นโรงงานที่อยู่ต่างจังหวัด บางทีน้องใหม่อาจไม่มีข้อมูลว่าพักที่ไหนดี และยังเป็นข้อกำหนดว่าต้องมีคนพาน้องที่มาใหม่ไปกินข้าวกลางวันด้วย ก็นับเป็นการต้อนรับที่อบอุ่นและสามารถที่จะแบ่งเบาภาระของHR ไปได้มากเลยทีเดียว

การปฐมนิเทศ เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับตัวของพนักงานในการเข้าสู่องค์กรใหม่ ดังนั้นการจัดการปฐมนิเทศให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งที่บริษัทก็ได้จัดการปฐมนิเทศโดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ข้อมูล (Informational Approach) และสร้างสัมพันธภาพ (Relational Approach) ส่วนในเรื่องของการละลายพฤติกรรมนั้น น่าสนใจมาก คิดว่าจะนำมาใช้กับการปฐมนิเทศครั้งต่อไปให้มากขึ้น

หวัดดี นัท
New Employee Orientation เขียนอ่านง่ายเข้าใจง่ายดีมากเลยครับ
ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากครับ เพราะเท่าที่เห็นจากองค์กรผม ตอนนัดมาสัมภาษณ์ หรือนัดมาทำสัญญาจ้างงาน จะได้รับการดูแลจาก HR เป็นอย่างดี แต่พอได้มาทำงานแล้ว ไม่ค่อยจะมีใครมาดูและเรา ต้องช่วยตัวเอง ดังนั้น การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ จะเป็นการให้ข้อมูลต่างๆที่สำคัญมากแก่พนักงาน ทั้งในรูปแบบของธุรกิจขององค์กร และสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พนักงานจะได้รับ แต่ที่บริษัทของผมที่ผมคิดว่าทำได้ดีก็คือ วันแรกที่มาทำงาน HR ก็จะพาเราไปแนะนำตัวกับทุกๆหน่วยงานในองค์กร รวมทั้งกับผู้บริหารทุกๆสายงาน ทำให้รู้สึกได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี และสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก อีกทั้งเมื่อทำงานไปได้ประมาณ 1 ปี ผู้บริหารจะเรียกประชุมพนักงานที่มีอายุงานประมาณ 1 ปี เพื่อมาให้แสดงความคิดเห็นว่าหลังจากทำงานไปแล้ว 1 ปี มีความรู้สึกอย่างไรกับองค์กร และมีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับพนักงานและได้ทราบปัญหาต่างๆในองค์กรของผู้บริหารมากขึ้น เพื่อที่จะได้นำไปแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น

บอย

เห็นได้ว่า การปฐมนิเทศพนักงานใหม่เป็นกิจกรรมทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การที่สำคัญเลยทีเดียว ช่วยคลายความกังวลของพนักงานที่ต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคยไปได้มาก ทำให้พนักงานมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับงาน และถ้าจัดการปฐมนิเทศได้ประทับใจ ก็ยังจะส่งผลให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ลดอัตราการลาออกได้อีกทางหนึ่งด้วย

พี่นัทคะ...หวานเคยได้ยินศัพท์คำหนึ่งอ่ะค่ะ คือ Induction ไม่ทราบว่าวิธีการมันต่างจาก Oreintation หรือเปล่าคะ ยังงงๆ อยู่เลยค่ะ รบกวนพี่นัทให้ความกระจ่างทีนะคะ

ขอบคุณสำหรับตัวอย่างและแนวคิดดีๆ ที่เอามา share กันค่ะ ^_^  

ข้อมูลน่าสนใจดีนะ แต่อยากให้เพิ่มเกี่ยวการจัดการความรู้ ของพนักงานใหม่ที่ควรต้องรับรู้ (KM)  การช่วยเหลือของพนักงานรุ่นพี่ มาสู่พนักงานใหม่ นอกเหนือจากกฎระเบียบ ข้อบังคับๆ ที่ควรจะต้องทราบอยู่แล้ว

เมื่ออดีต ตอนเราเข้าทำงานนะ ไม่มีการปฐมนิเทศเลย แต่มาปัจจุบันที่ทำงานเราได้เปลี่ยนเป็นให้มีการปฐมนิเทศก่อนเข้าทำงาน โดยใช้ 2 วิธีข้างต้นในคราวเดียวกัน แต่เชื่อไหม พนักงานเข้าใหม่ก็ยังไม่มีความผูกพันกับองค์กรเลย แสดงว่าวิธีนี้ไม่ค่อยได้ผลหรือเปล่าคะ

บุษบงค์ (ยิน : ปี 2)

 ตอบอาฟจ้ะ

Socialization  คือ กระบวนการทางสังคมกับทางจิตวิทยา  ซึ่งมีผลทำให้บุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ 

การขัดเกลาทางสังคม =   การพัฒนาบุคลิกภาพ  หมายถึง  การที่สังคมแต่ละแห่งมีวัฒนธรรมไม่เหมือนกัน  มนุษย์ในแต่ละสังคมจึงมีบุคลิกภาพแตกต่างกัน เช่น  คนไทยมีบุคลิกภาพอ่อนโยนและเคารพอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่  ชาวตะวันตกมีบุคลิกภาพแข็งกระด้าง  ไม่มีระบบ การเคารพผู้อาวุโส  เป็นต้น

ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับการที่องค์กรรับพนักงานใหม่ๆเข้ามาซึ่งมาจากต่างที่ต่างวัฒนธรรม ก็ต้องมีการปรับพฤติกรรมของแต่ละกันให้สามารถอยู่ในองค์กรใหม่ได้ ซึ่งองค์กรก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม โดยวิธีการปฐมนิเทศนั่นเองจ้ะ  :-) นัทจ้ะ

 

สีวนมากตอนมีการปฐมนิเทศคนจะไมค่อยสนใจฟังเท่าไหร่

อย่างที่มีคนบอกว่า  มันเป็นการยัดข้อมูลจนทำให้รู้สึกเบื่อ  ถ้ามีการสร้างสรรค์การปฐมนิเทศน์ที่ทำให้รู้สึกสนุก  นอกจากสร้าง First Impreesion ให้กับพนักงานแล้ว  ยังช่วยกระตุ้นให้พนักงานนรู้สึกกระตือรือร้นตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้ามาทำงานด้วย  ก็จะได้ประโยชน์ทั้งตังพนักงานเองและองค์กร

ตอบน้องหวานจ้ะ

- การอบรมปฐมนิเทศ (Orientation)  = กระบวนการแนะนำเกี่ยวกับองค์กรแก่พนักงานใหม่

- การฝึกอบรมก่อนเข้าทำงาน (Induction Training)

+++ในความเป็นจริงแล้วสำหรับบางองค์กร induction ก็คือ : กิจกรรมที่แนะนำพนักงานใหม่ให้รู้จักคุ้นเคยกับบริษัท หรือที่เรียกว่า การปฐมนิเทศ( activity of introducing new employees the company )นั่นเอง สรุปแล้วมันก็คือกันแหละจ้า...:-) พี่นัทจ้ะ
  • เลือกเรื่องใกล้เคียงกันค่ะ Orientationก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของSocialization เรื่องที่แล้วก่อนเปลี่ยน เราก็เลือกเรื่องเดียวกันอีก (Organization Culture)เอ๊ะ!ยังไงเนี่ย นัท...555
  • ที่ทำงานเก่าเรามี New Employee Orientation ที่ยาวนานมาก(สำหรับเรานะ)6วันแน่ะแต่มีวันสุดท้ายเป็นรายการประทับใจ คือ เค้าให้พวกเราเหล่าNew Employee ได้มีโอกาสร่วมรับประทานอาหารกับผู้บริการระดับสูง เช่น กรรมการผู้จัดการ ผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ แล้วก็มีการเลี้ยงต้อนรับนอกรอบด้วย ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกดีต่อองค์กรมากๆค่ะ ที่ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญกับพนักงานใหม่ทุกคน

ถึงจะอบรมมาดีมากเพียงไรก็ตามนะครับ

 

แต่ถ้าสุดท้ายแล้วเพื่อนๆ พี่ๆ ในที่ทำงานมาพูดเกี่ยวกับองค์กรในทางลบหรือทางไม่ดี

คุณจะเชื่อใครละครับ

ซึ่งโปรแกรมนี้ดีอยู่เเล้ว

แต่เราควรจะให้โปรแกรมฟื้นฟูความเชื่อมั่นในองค์กรกับพนักงานเก่าๆ ด้วยนะครับ เพื่อให้พูดคุยกัน เหมือนดั่งโปรแกรมปฐมนิเทศน์พนักงานใหม่กันทุกคนไงครับ 

โบว์ พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก

โบว์ก็เพิ่งเป็นพนักงานใหม่มาเมื่อไม่นานนี้เองค่ะ ของโบว์มี Orientation ตั้ง2 วัน แถมยังมีกิจกรรม Training เกี่ยวกับ Culture องค์กรมีเพียบเลย สนุกดีค่ะ โบว์อยากทราบเหมือนกันว่าของที่อื่นมี Schedule เป็นยังไงกันบ้าง ทำ Orientation กี่วัน แต่ละวันทำอะไรบ้าง อะไรงี้อ่ะค่ะ ลองยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพซักบริษัทนึงก็ได้ค่ะ จะเจ๋งมากเลย ขอบคุณนะคะ แล้วจะเข้ามาอ่านอีกค่ะ :)

ตอบน้องโบว์จ้ะ

พี่ได้หยิบเอาตัวอย่างของกำหนดการปฐมนิเทศของบริษัทที่พี่เคยทำอยู่มาให้น้องโบว์ได้ลองดูนะคะว่าที่อื่นเค้ามีการจัดปฐมนิเทศกันยังไงบ้างแต่เท่าที่น้องโบว์เล่ามาการจัดปฐมนิเทศของบริษัทน้องโบว์ก็โอเคนะ มี 2 วันก็น่าจะได้รับประโยชน์ไปมากทีเดียว...พี่นัทจ้ะ :-)

    ก็เห็นด้วยนะครับว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฐมนิเทศพนักงานที่เข้ามาใหม่ แต่ก็ควรจะมีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) แล้วมีการมาประเมินผลดูว่าพนักงานที่ผ่านการปฐมนิเทศ แล้วเป็นอย่างไร  ไม่ใช่ฝ่าย HR มีหน้าที่เพียงแค่ปฐมนิเทศ หลังจากนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานนั้นเป็นผู้ขัดเกลาพนักงานนั้นๆ  ผมเชื่อว่า HR Management แนวใหม่น่าจะ Intregration เข้ากับทุกๆหน่วยงานเพื่อสร้างความสำเร็จควบคู่ไปกับองค์กรครับ

อ.อุไรวรรณ อยู่ชา ได้เคยถ่ายทอดประสบการณ์ในการจัดปฐมนิเทศที่ได้ผลและล้มเหลว

ของบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของอาจารย์จาก SCG ทำให้เห็นถึงความสำคัญ

ของการจัดปฐมนิเทศ และ การให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่พนักงานใหม่ อาจารย์สื่อให้เห็นภาพ

ของน้องใหม่ว่า วันแรกที่เข้ามาเขาต้องการรู้อะไรบ้างเพื่อจะได้ทำตัวให้ถูก และอยู่ในองค์กร

ได้อย่างไม่ใช่คนแปลกหน้า และอะไรที่องค์กรจำเป็นต้องให้รู้ในเบื้องต้น ถ้ามากไปน้องใหม่

จำไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าน้อยไปน้องทำตัวไม่ถูกก็ไม่ได้ผล ดังนั้น

จำนวนวันในการปฐมนิเทศและหัวข้อต้องทบทวน และก็นำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับน้องใหม่

มาแชร์ฺ เพื่อวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยนำมาไว้ในหัวข้อการปฐมนิเทศ

อาจารย์สอนเก่งมาก เข้าใจทั้งหัวอกของน้องใหม่ และ หัวอกของ HR ผู้ทำการปฐมนิเทศ

สุดยอดจริง ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท